Tuesday, December 28, 2010

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ปราศรัย ใน การประชุม สมัชชา สยามอารยะ



ศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ปราศรัย ใน การประชุม สมัชชา สยามอารยะ "เรื่อง อารยะธรรมรุ่ง: ปัจจัยความเจริญ ของอารยะธรรมโลก"

Monday, December 27, 2010

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับข้อคิดความสัมพันธ์ที่ดีของผู้นำที่พึงมี

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของผู้นำคือ ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น หากปราศจากสิ่งนี้เขาก็ไม่มีสิทธิ์เป็นผู้นำ

ผู้นำต้องเห็นคุณค่าคนทุกประเภท โดยสะท้อนออกมาทางการประพฤติ เปิดทางให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มองคนเป็นเพียงเครื่องมือ เพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ เพียงฝ่ายเดียว หรือแสดงออกในลักษณะ ดูหมิ่นเหยียดหยาม อันเป็นเหตุให้เราทำลายตัวเอง ทำลายความสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว

ผู้นำที่ชาญฉลาดย่อมเป็นผู้ที่มี “มนุษยสัมพันธ์ดีเลิศ” เพราะเขารู้ว่ามนุษยสัมพันธ์นั้น เปรียบเสมือน มีคนที่คอยเปิดประตูแห่งความสำเร็จ ซึ่งง่ายกว่าการดั้นด้นหาทางด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียว

ผู้นำควรไวต่อความรู้สึกผู้อื่น โดยคำนึงเสมอ ก่อนปฏิบัติต่อบุคคลอื่นว่า เขา “คิดอย่างไร” “ปรารถนาเช่นไร” “เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น” “เป้าหมายของเขาคืออะไร” “เราจะมีส่วนสนับสนุน ความสำเร็จของเขาได้เพียงไหน” มากกว่าคำนึงถึงแต่เพียงว่า เขาสามารถทำอะไรให้กับเราได้บ้าง

เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนแม้มีความถนัด และความเชี่ยวชาญสักเพียงใด ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ หากไร้ซึ่งการพึ่งพาผู้อื่น มนุษยสัมพันธ์... จึงเป็นเหตุให้เราได้รับการเรียนรู้ การยอมรับและถ่อมใจ ที่จะยินดีรับการช่วยเหลือ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่เรา ปฏิสัมพันธ์ด้วย


คัดจากส่วนหนึ่งของหนังสือ ข้อคิดเพื่อผู้นำ
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Professor Kriengsak Chareonwongsak is President of the Institute of Future Studies for Development in Thailand and Chairman of Success Group of Companies in Thailand.

Wednesday, December 22, 2010

ศาสตราจารย์อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผลดีของการมีวิสัยทัศน์

ผลดีของการมีวิสัยทัศน์

เส้นทางไปสู่วิสัยทัศน์นำมาแต่ความเจริญ เกิดการพัฒนา กล้าหาญทำสิ่งดีที่ไม่เคยทำมาก่อน


วิสัยทัศน์นำมาซึ่งทิศทาง ทิศทางนี้จะเป็นกรอบให้แก่ผู้บริหาร ในการจัดระบบและดำเนินการทุกอย่างในองค์กรอย่างประสานสอดคล้อง เกิดประสิทธิผล ประสิทธิภาพสูงสุด ถูกต้อง ตรงเป้าหมาย

ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน จะวางแผนชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ต้องกำหนดทิศทางชัดเจน จะมีทั้งแผนระยะสั้น กลาง และยาว ว่าต้องทำอะไรบ้าง

เป็นธรรมดาที่ผู้นำและทีมงานที่รู้ทิศทางชัดเจน จะประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์ทำให้คนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทีมงานจึงเป็นเอกภาพโดยอัตโนมัติ

ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ จะเป็นบุคคลผู้บรรทุกความฝันแห่งความสำเร็จในอนาคต แปรเปลี่ยนเป็นภาระใจและพลังผลักดันให้ความฝันนั้นเป็นจริงได้

การได้ทำงานในที่ที่มีวิสัยทัศน์จึงเป็นกำไรชีวิต เพราะจะทำให้เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ส่วนตัว ได้รับความสำเร็จทั้งส่วนตัว และส่วนรวมด้วย

Professor Dr Kriengsak Chareonwongsak
Executive Director, Institute of Future Studies for Development (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, http://www.ifd.or.th

Tuesday, December 21, 2010

เนื้อเพลงสยามอารยะ

ตามคำขอ เนื้อเพลงสยามอายะ



เมืองไทยเป็นเมืองรักสงบ ยามศึกเรารบยามสงบเรารักกัน

แต่ปัจจุบันมันไม่เป็นอย่างนั้น มามัวทะเลาะกันมันจะได้อะไร

อยากสร้างไทยให้เจริญทางจิต เริ่มที่ชีวิตต้องมีอารยะ

คิดพูดทำอย่างคนมีทักษะ คนอารยะร่วมสร้างสังคมไทย

**สยามอารยะ ให้เป็นสยามอารยะ

สยามอารยะ ให้เป็นสยาม(ทีมี) อารยะ

บ้านเมืองยังคงต้องไปต่อ หากมัวรั้งรอคงไม่ดีแน่ๆ

เพราะบ้านเมืองเหมือนถูกรังแก คนดีแท้ๆ คงยอมไม่ได้

ก้าวเดินด้วยใจที่เป็นหนึ่ง ไปให้ถึงซึ่งอารยะธรรม

มาร่วมแรงร่วมใจเป็นพลัง ปฏิรังสรรค์สังคมอารยะ



Friday, December 17, 2010

อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับ ข้อคิดเพื่อผู้นำ หนังสือ

kriengsak chareonwongsak
ความสามารถของผู้นำที่ชาญฉลาด มิใช่ความเก่งกาจ หรือความเลอเลิศเฉพาะตัว แต่เป็นความสามารถในการมองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ในการถ่ายทอดอำนาจ และความรอบรู้สู่ผู้อื่น และมีวิญญาณ ในการบุกเบิกกระทำสิ่งใหม่ ๆ ในขณะที่ไม่มีใครริเริ่มคิดจะทำ

ผู้นำที่มีอุดมคติ และมีความคาดหวังสูงเท่านั้น จึงกล้า และสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน จะต้องมีหัวใจ “โต” เพียงพอ ที่จะสามารถรองรับ สภาพการโถมทับของความผิดหวัง ที่อาจตกลงมาเมื่อใดก็ได้

หากระบบภายในองค์กรดี แต่ผู้นำขาดความสามารถในการบริหาร องค์กรก็ล้มเหลว แต่ถึงแม้ระบบไม่ดี หากมีผู้นำที่มีความสามารถในการบริหาร ความสำเร็จขององค์กร ก็จะเกิดขึ้นในที่สุด

จากหนังสือ ข้อคิดเพื่อผู้นำ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Sunday, December 12, 2010

คำถาม : สังคมอารยะ





คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 13 ธันวาคม 2553
ถามว่า :


หลักปรัชญาสังคมอารยะ เพื่อความสงบสุขและยั่งยืน ต้องคำนึงเรื่องอะไรบ้าง?

Friday, December 10, 2010

ผู้นำที่บรรลุภาวะทางอารมณ์

ผู้นำที่บรรลุภาวะทางอารมณ์จะเป็นผู้ที่ประพฤติ และวางตนได้อย่างเหมาะสม จนได้รับการยอมรับและวางใจจากผู้ตาม ว่าสามารถนำทิศทางพวกเขา ยามเผชิญวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ได้
การรักการอ่าน มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ คือคุณสมบัติของผู้นำ ที่มีความคิดกว้างไกล
  • ผู้นำที่เป็นคนช่างสังเกต และเห็นคุณค่าของผู้ร่วมงานรอบข้าง จะมองเห็นจุดดีของทุกคน ทะลุผ่านความผิดและข้อบกพร่องของเขาเหล่านั้นได้เสมอ

ความเพียรพยายามของผู้นำ ถือเป็นต้นกำเนิดที่นำมาซึ่งความสำเร็จ เขาจะสามารถ ฝ่าฟันขวากหนามแห่งอุปสรรคที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายนอกและภายใน ด้วยหัวใจที่ไม่มีคำว่า “ยอมแพ้” หรือ “หวั่นไหว” แม้จะต้องแบกรับความผิดหวังสักปานใด
“วินัย” สร้างชีวิตคนธรรมดาให้เป็น “ผู้นำ” ผู้นำที่ขาดวินัย แสดงว่าผู้นั้นได้รับการเลือกบนพื้นฐานความมืดบอดแห่งจิตใจของใครบางคน

  • ผู้นำคือผู้ที่สวมไว้ด้วยวิญญาณแห่งความ “ดีเลิศ” เริ่มต้นตั้งแต่ ความคิดดีเลิศ เป้าหมายดีเลิศ การตัดสินใจดีเลิศ ทีมงานดีเลิศ การทำงานดีเลิศ และสุดท้าย “ผลลัพธ์ดีเลิศ”
ความเก่งกาจสามารถของผู้นำ จะไม่สามารถช่วยนำไปถึง ซึ่งความสำเร็จได้เลย จนกว่าลักษณะชีวิตของผู้นำนั้นจะได้รับการปรับเปลี่ยน ให้อยู่ภายใต้การบังคับใจของตนเอง ได้รับการกุมบังเหียนให้อยู่ในร่องในรอย
การบังคับตนเอง เป็นคุณสมบัติหลัก ของผู้ที่จะปกครองคน หากขาดซึ่งสิ่งนี้ ผู้นำคนนั้นจะไม่ได้รับการยอมรับนับถือ และอาจเป็นที่เกลียดชังของคนภายใต้

ข้อคิดเพื่อผู้นำ ศ.ดร. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ <Professor Kriengsak Chareonwongsak>

Thursday, December 9, 2010

คำถาม : ชีวิต อารยะ

คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 10 ธันวาคม 2553
ถามว่า :

หลักปรัชญาการดำเนิน ชีวิตของคนอารยะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง?

Tuesday, December 7, 2010

คำถาม : การปกครอง

 คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2553
ถามว่า :

แนวคิดทางการปกครองแบบ อารยะที่ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ นำเสนอ เป็นประชาธิปไตยบนฐานธรรมาธิปไตย หรือการใช้คุณธรรม ความถูกต้อง ความดีงาม เป็นหลักในการสนับสนุนอำนาจ เรียกระบอบการปกครองนี้ว่าอะไร?

Sunday, December 5, 2010

คำถาม : คลื่นอารยะ ลูกที่ 6


คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 5 ธันวาคม 2553
ถามว่า :


เป้าหมายสูงสุดของสยาม อารยะ ตั้งใจร่วมกันสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคลื่นลูกที่ 6 คือ สังคมอะไร?

Thursday, December 2, 2010

คำถาม : สังคม พหุเอกานิยม


คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2553
ถามว่า :


เป้าหมายหนึ่งของสยาม อารยะ คือ ต้องการสร้างสังคมพหุเอกานิยม ...คำถามคือ สังคมพหุเอกานิยมมีลักษณะอย่างไร? (ตอบสั้นๆ ไม่เกิน 40 คำ)

Tuesday, November 30, 2010

คำถาม : คลื่นอารยะ 7 ลูก

คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2553
ถามว่า :


คลื่นอารยะ 7 ลูก ตั้งแต่คลื่นลูกที่ 0 ตั้งแต่โบราณกาล
จนถึงคลื่นลูกที่ 6 ในอนาคต ที่พึงประสงค์ มีชื่อคลื่นว่าอะไรบ้าง?

Sunday, November 28, 2010

คำถาม : บวกเป็น บวก บวก


คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553
ถามว่า :


กระบวนการอารยาภิวัฒน์ ระยะที่สาม เป็นการพัฒนาให้ดีที่สุด โดยมีความดีและความถูกต้องเป็นตัวกำกับ หรือจาก + ให้เป็น ++ เรียกว่าอะไร? ยกตัวอย่างสัก 1 เรื่องที่เราต้องการตั้งเป้าหมายพัฒนาไปสู่ความดีสูงสุด

Thursday, November 25, 2010

คำถาม : ศูนย์เป็นบวก


คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2553
ถามว่า :


กระบวนการอารยาภิวัฒน์ ระยะที่สอง เป็นการพัฒนาให้ดีขึ้นจากเป็น 0 ให้เป็น + เรียกว่าอะไร? ยกตัวอย่างสัก 1 เรื่องที่เราต้องการตั้งเป้าหมายพัฒนาให้ดีขึ้น

Wednesday, November 24, 2010

professor kriengsak chareonwongsak planning for good working

professor-kriengsak-chareonwongsak
แม้แผนงานนั้นจะดีเลิศ และมีความเป็นไปได้มากเพียงใดก็ตาม แต่หากปราศจากผู้นำที่ดี แผนนั้นก็เป็นเพียงแค่เศษกระดาษที่หาคุณค่าอันใดมิได้

ปรัชญาผู้นำองค์กร

เป็นตัว

สะท้อน

ปรัชญา และ

ความสำเร็จ

ขององค์กร
หากหน่วยงานใดเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จอย่างสูง เราสามารถสันนิษฐานได้เลยว่า หน่วยงานนั้นมีผู้นำที่ดีอยู่ที่นั่น
ภาวะขาดแคลนผู้นำเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทุกยุคทุกสมัยกว่าจะหาผู้นำได้สักคนนั้น ยากดุจงมเข็มในมหาสมุทร
แต่ปัญหาที่เลวร้ายและรุนแรงเสียยิ่งกว่าภาวะขาดแคลนผู้นำ
นั่นคือ ปัญหาการขาดผู้นำที่มีคุณลักษณะ “คุณภาพ” สูง “ศักยภาพ” สูง และ “คุณธรรม” สูง
การไร้ผู้นำนั้น เปรียบประดุจเรือเดินทะเลขาดกัปตัน เมื่อเจอพายุโหมกระหน่ำ ลูกเรือก็เคว้งคว้าง สับสน หวาดหวั่น เพราะควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวยังไม่รุนแรง เท่ากับการมีผู้นำที่เลวร้าย เพราะแม้คลื่นลมสงบก็ทำให้เรืออับปาง และลูกเรือทั้งหมดเสียชีวิตได้
ผู้นำ เป็นผู้ที่กำหนดผลปลายทางของคนอื่น ยากนักที่คนจะไปไกลกว่าผู้นำของเขา เพราะผู้นำเป็นเสมือนสมองคอยสั่งให้เท้าเดินไปตามทางที่ต้องการ เป็นไปไม่ได้ที่เท้าจะเดินไปถูกทิศทาง ก่อนสมองสั่งการ

คัดจากหนังสือข้อคิดเพื่อผู้นำ ของ ศ.ดร. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Tuesday, November 23, 2010

คำถาม : ลบเป็นศูนย์


คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553
ถามว่า :


กระบวนการอารยาภิวัฒน์ ระยะที่หนึ่ง การแก้ปัญหาต่าง ๆ
จากเคยติดลบ (-) ให้กลายเป็น 0 เรียกว่าอะไร?
ยกตัวอย่างสัก 1 เรื่องที่เราต้องการให้แก้ไข

ผู้นำ กับข้อคิดดี ๆ (ต่อ)

professor-kriengsak-chareonwongsak
  • ผู้นำ

    คือ บุคคลที่เปี่ยมล้นไปด้วยภาระใจ เป็นผู้ปรารถนา ที่จะเห็นเป้าหมายแห่งความฝันของส่วนรวมสัมฤทธิผล
  • ผู้นำ

    คือคนธรรมดาที่มี “ใจ” เกินธรรมดา
  • ทุกคนล้วนมีปรัชญาอยู่เบื้องหลังความคิดของตนเองเสมอ แต่ผู้นำคือคนที่สามารถนำปรัชญานั้นมาใช้เพื่อก่อประโยชน์หรือเกิดโทษต่อคนจำนวนมากได้
  • ผู้นำเปรียบเสมือนเด็กที่ดึงสายป่าน บังคับทิศทางของว่าวด้วยความเต็มใจ ปลื้มปิติที่เห็นว่าวมีอิสระในการล้อเล่นลม เขาจึงรับผิดชอบไม่ปล่อยให้สายป่านหลุดมือจนว่าวลอยเคว้งคว้างอย่างไร้ทิศทาง
  • ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ เริ่มต้นจากประชากรคุณภาพ ผู้ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากผู้นำที่สูงด้วยศักยภาพ ในการถ่ายทอดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางการดำเนินชีวิต และการเสียสละเพื่อส่วนรวม
  • ปัญหาของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ จะถูกแก้ไขอย่างถาวรก็ต่อเมื่อมีผู้นำที่กล้ายืนหยัดในหลักการที่ถูกต้อง


คัดจากหนังสือข้อคิดเพื่อผู้นำ ของ ศ.ดร. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Monday, November 22, 2010

คำถาม : อารยาภิวัฒน์

คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553
ถามว่า :

อารยาภิวัฒน์ หรือกระบวนการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นอารยะหรือประเทศที่เจริญแล้ว แบ่งการดำเนินการเป็นกี่ระยะ ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

Friday, November 12, 2010

ข้อคิด คำคม


  • เราไม่อาจทำงานที่ยิ่งใหญ่กันได้ทุกคน

    แต่เราทำงานเล็ก ๆ ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ได้ (แม่ชีเทเรซ่า)
  • ผมไม่สามารถทำทุกอย่างเพื่อทุกคนได้ แต่ผมสามารถทำบางอย่างเพื่อใครบางคนได้ และ อะไรที่ผมทำได้ ผมก็ต้องทำ (ดร.บ๊อบ เพียส)
  • สิ่งสำคัญในชีวิตคือ มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ และ ความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย (โยฮัน วูลฟ์กัง ฟอน์ เกอเต้)
  • การมีความคิดจิตใจที่ดี ยังไม่เพียงพอ สิ่งทำสำคัญ คือ ต้องรู้จักใช้ความคิดนั้นให้ดี ด้วย (เรอเน่ เดสคาร์ทส์)

Thursday, October 28, 2010

รู้จักกับวิสัยทัศน์

รู้จักกับวิสัยทัศน์





ถ้าเราไม่รู้ว่าวิสัยทัศน์คืออะไร เราจะมีและใช้วิสัยทัศน์อย่างเป็นประโยชน์ไม่ได้เลย

จากหนังสือ ข้อคิดเพื่อวิสัยทัศน์ อาจารย์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

Tuesday, October 26, 2010

มรดกโลก ว่ากันว่า กรุงเทพฯ

ถึงเวลาผลักดันกรุงเทพฯ เป็นมรดกโลก

จากการที่รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬาได้เสนอนโยบายพัฒนาแหล่งท่อง เที่ยวเมืองเก่าเชียงแสน น่าน ลำพูน สู่การเป็นมรดกโลกผมคิดว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ ldquo;ยูเนสโกrdquo; เพียง 5 แห่ง คือ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก หากเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมากมายในประเทศไทย

หากพิจารณาตัวเลขของ World Tourism Organization จะสังเกตได้ว่า ประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกอยู่มาก มักจะติดอันดับประเทศจุดหมายของนักท่องเที่ยว 1 ใน 10 ของโลก (ยกเว้นอินเดีย) มีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับต้น ๆ ของโลกทั้งสิ้น อาทิ อิตาลีมีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดถึง 41 แห่ง มีจำนวนนักท่องเที่ยว 37.1 ล้านคนต่อปี ประเทศสเปนมีมรดกโลก 40 แห่ง มีจำนวนนักท่องเที่ยว 52.4 ล้านคนต่อปี เป็นต้น ขณะที่ประเทศไทยมีมรดกโลก 5 แห่ง มีจำนวนนักท่องเที่ยว 11.7 ล้านคนต่อปีเท่านั้น (ตารางที่ 1)


Professor Kriengsak Chareonwongsak Good link

Thursday, October 21, 2010

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย » ข้อคิดเพื่อการสร้างวิสัยทัศน์

ข้อคิดเพื่อการสร้างวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ คือสิ่งที่เราทุกคนพึงประสงศ์ และน่าจะต้องประสงศ์ เพราะนับวันยิ่งจะเห็นความห่างชั้นกันอย่างได้ชัด ระหว่างผู้ที่มีวิสัยทัศน์ กับผู้ที่ไม่มีวิสัยทัศน์ เช่น ประเทศที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน จะเป็นเหมือนคนที่วิ่ง ไปตามลู่วิ่งอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งต่างจากประเทศที่ไม่มีวิสัยทัศน์ ซึ่งเปรียบเหมือนคนเดินที่มิได้แต่เดิน แต่ยังหันซ้ายหันขวา เพราะไม่รู้ว่าต้องเดินไปทิศทางใด

Professor Kriengsak Chareonwongsak

From the book of Professor Kriengsak Chareonwongsak

ศ.ดร. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย » ข้อคิดเพื่อผู้นำ

ข้อคิดเพื่อผู้นำ
ผู้ นำ โดยความหมายอาจกล่าวได้ว่า คือ ผู้ที่สามารถนำทิศนำทางผู้อื่นให้ก้าวไปข้างหน้าสู่จุดมุ่งหมายตามที่ตั้งใจ ไว้ได้ โดยใช้ศักยภาพของความเป็นผู้นำที่มีอยู่ ทั้งในด้านสถานภาพ ความสามารถ อิทธิพลชีวิต และ พฤติกรรม เพื่อส่งผลให้สามารถกำหนดทิศทางของบุคคลผู้ติดตามให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ฉะนั้น ผู้นำจึงจำเป็นต้องเป็นแบบอย่าง และ สามารถโน้นน้าวให้ผู้อื่นตามได้ด้วยความเต็มใจ


หนังสือ ข้อคิดเพื่อผู้นำ Professor Kriengsak Chareonwongsak

Kriengsak chareonwongsak : The Power for You part 2

ถึงกระนั้น การใช้อำนาจของพ่อแม่จะเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง หากพ่อแม่เองไม่ได้ตระหนักถึงเป้าหมายที่แท้จริงของการใช้อำนาจนั้นว่าใช้ไป เพื่อต้องการเห็นสิ่งดีใด ๆ เกิดขึ้นในชีวิตของลูกไม่ใช่เพื่อการลุแก่อำนาจหรือเพื่อการระบายอารมณ์ของ พ่อแม่เอง รวมทั้งการตระหนักถึงสิทธิที่ลูกพึงได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการได้รับความรัก การให้เกียรติ การเลี้ยงดูอย่างดีทั้งร่างกายและจิตใจจากพ่อแม่ของตน โดยหลักสำคัญของการใช้อำนาจให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลดีสูงสุดกับ ตัวลูกนั้นต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้

เจือด้วยความรัก ความเข้าใจ
มีคำกล่าวว่า “การฆ่าคนด้วยวิธีการที่เลือดเย็นมากที่สุดคือ การไม่รัก และการไม่แสดงออกซึ่งความรัก” พ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่คำนึงถึงจิตใจของเด็กน้อยเกินไป แม้จะมีความรักให้แก่ลูกแต่อาจเป็นการใช้อำนาจในทางที่ก่อให้เกิดความกลัว มากกว่าแสดงออกถึงความรัก อาทิ การจ้องจับผิดลูกอยู่เสมอ มีแต่คอยซ้ำเติม ไม่เคยพูดชมเชยในความพยายามของลูก ไม่ได้ให้เวลา ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอ ไม่ได้เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจแต่เป็นผู้ที่ชอบใช้คำสั่งและอยากให้ลูกทำ นั่นทำนี่เสมอ เพราะคิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงออกซึ่งความรักและความหวังดีที่มีต่อ ลูก

การใช้อำนาจในบทบาทของการเป็นพ่อแม่จึงต้องเจือด้วยความ รักควบคู่ไปด้วยในทุกครั้ง เพื่อสามารถเอาชนะใจลูกได้ และให้ลูกซึมซับในทุกครั้งที่พ่อแม่ใช้อำนาจกับตนว่า นั่นคือการแสดงออกของความรักที่พ่อแม่มีต่อตนเอง แม้ในขณะที่ลูกยังเป็นเด็กจะยังไม่เข้าใจมากนักก็ตาม แต่เขาจะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้เป็นคนที่น่ากลัวสำหรับเขา เขาสามารถกล้าเข้ามาหาได้เมื่อยามที่ทำความผิดและสามารถพูดคุยได้ในทุก ๆ เรื่อง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาในสถานะที่สามารถเลือกที่จะเชื่อฟังหรือไม่เชื่อฟัง คำของพ่อแม่ได้นั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อย่างเข้าสู่ วัยรุ่นซึ่งมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เขาย่อมมีแนวโน้มเลือกที่จะเชื่อฟังหรือยอมฟังเราอย่างเปิดใจมากกว่าการตั้ง ป้อมอคติแต่แรก เนื่องจากลูกจะเกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่พ่อแม่สั่ง ห้าม หรืออบรมสั่งสอนมานั้น เป็นเพราะความรักและความห่วงใยอย่างมากมายที่พ่อแม่มีให้แก่เขา อันเป็นเป็นผลมาจากการใช้อำนาจอย่างสมดุลทั้งพระเดชและพระคุณของผู้เป็นพ่อ แม่นั่นเอง

การชี้ผิดชี้ถูกอย่างมีเหตุผล
สมาคมชมรมพ่อ ถึงพ่อ (Dad-to-Dad) ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้แบ่งปันประสบการณ์การเลี้ยงลูกให้เพื่อนสมาชิกและผู้ สนใจผ่านเวบไซต์ทางอินเทอร์เน็ตว่า เมื่อ จอห์น ลูกชายวัยสองขวบของผมต้องการที่จะออกไปเล่นนอกบ้าน แกจะเดินมาหาผมแล้วพูดว่า “ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! “ (ด้วยการออกคำสั่ง)

แต่ผมจะตามใจแกได้อย่างไรเมื่อในยามที่ฝน กำลังตก หรือเป็นเวลาที่ไม่เหมาะสมในการออกไปข้างนอกบ้าน แทนที่ผมจะตอบคำเว้าวอนของแกว่า “ไม่ ไม่ ไม่ไป” วันหนึ่งผมมองจ้องตาของแกแล้วพูดเบา ๆ ด้วยน้ำเสียงติดตลกว่า “จอห์น … ลูกรู้ไหมว่าทำไมจึงออกไปข้างนอกไม่ได้…เหตุผลหรือ เพราะว่าข้างนอกฝนมันตกน่ะสิ” จอห์นหยุดและนิ่งฟัง หยุดไปชั่วขณะหนึ่งผมจึงพูดต่อ เอาล่ะไหนบอกพ่อมาว่าทำไมลูกจึงออกไปข้างนอกไม่ได้ จอห์นหยุดร้องไห้ เอามือเช็ดน้ำตาแล้วตอบว่า “เพราะฝนกำลังตก” หลังจากนั้นมาผมใช้เทคนิคนี้มาตลอด โดยพบว่าตราบเท่าที่แกค้นพบคำตอบว่าทำไมจึงทำบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ เมื่อพบแล้วจอห์นจะหยุดร้องและถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นทันที โดยจะเริ่มต้นเรื่อง “ไม่” เรื่องใหม่มาให้พ่อแม่ต้องปวดหัวเล่นต่อไป

ไม่ ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กโต เขาต้องการรู้เหตุผล นอกเหนือไปจากคำสั่ง “ห้าม” แต่เพียงอย่างเดียวในสิ่งที่เขาต้องการจะทำ เพราะการห้ามขึ้นมาลอย ๆ ไม่สามารถทำให้เขาเข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ นั้นไม่ได้ พ่อแม่จึงต้องคอยชี้แจงเหตุผลให้ลูกเข้าใจอย่างเหมาะสมตามแต่ละช่วงวัยของ เขา ไม่ใช่ใช้แต่การออกคำสั่งเท่านั้น โดยตระหนักว่าเด็กต้องการความเข้าใจและต้องการตอบตัวเองให้ได้ว่าเหตุใดเขา จึงทำสิ่งนี้ได้ เหตุใดจึงทำไม่ได้ เพื่อเป็นการฝึกฝนแยกแยะความถูกผิด ดีชั่ว ได้เองต่อไปเมื่อเขาเติบโตขึ้น แบบอย่างชีวิตที่หนักแน่น

มา ริโอ คูโอโม อดีตนักการเมืองพรรคดีโมแครตของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงพ่อของเขาอย่างน่าประทับใจ เมื่อปี ค.ศ. 1984 ว่า “ผมเฝ้าดูชายร่างเล็กผู้ที่มีมือทั้งสองหยาบกระด้างทำงาน 15 -16 ชั่วโมงต่อวัน ครั้งหนึ่งผมเห็นเลือดไหลออกมาจากส้นเท้าของเขา เขาคือชายผู้เดินทางมาที่นี่อย่างโดดเดี่ยว ไร้การศึกษา ไม่สามารถพูดภาษาของที่นี่ได้ แต่ชายคนนี้สอนผมทุกสิ่งที่ผมต้องการจะรู้เกี่ยวกับความศรัทธาและการทำงาน หนักด้วยคำพูดโน้มน้าวใจที่แสนจะธรรมดาจากตัวอย่างชีวิตของเขา”

จาก หนังสือข้อคิดเพื่อครอบครัวที่ผมเขียนนั้นได้กล่าวไว้ว่า

“ชีวิต ย่อมดังกว่าคำพูด ลูกจะเลียนแบบชีวิตของพ่อแม่มากกว่าทำตามสิ่งที่ได้รับการพร่ำสอน”

การ บอกกับลูกว่าจงเชื่อฟังทำตามในสิ่งที่พ่อแม่สอน แต่อย่าทำตามในสิ่งที่พ่อแม่ทำนั้นนับเป็นเรื่องที่ไร้สาระอย่างแท้จริง เพราะหากเราต้องการเป็นพ่อแม่ที่สามารถเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีได้ เราต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกด้วย เช่น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เป็นแบบอย่างเรื่องความประหยัดด้วยการจัดทำแผนการใช้เงินสำหรับครอบครัว ตนเอง และลูก ๆ เป็นแบบอย่างเรื่องความเสียสละด้วยการให้ได้แม้แต่ของรักของหวง เป็นแบบอย่างความยุติธรรมด้วยการรักลูก ๆ ทุกคนอย่างเท่าเทียม

เป็น แบบอย่างการเห็นคุณค่าความสำเร็จด้วยการพากเพียรเอาจริงเอาจังทำงานหนักไม่ ลดละหรือเลิกกลางคัน หรือเป็นแบบอย่างความมีวินัยในชีวิตด้วยการมีตารางเวลา การตรงต่อเวลา รักษาระเบียบของบ้าน เป็นต้น ทุกสิ่งที่พ่อแม่สอนลูกด้วยลักษณะชีวิตจะช่วยให้ลูก ๆ สามารถมีพฤติกรรมเลียนแบบได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการใช้อำนาจบีบบังคับ หรือการพูดมาเพียงลอย ๆ อันเป็นการยากที่ลูกจะเรียนรู้และประพฤติปฏิบัติตามได้

พ่อ แม่นับได้ว่ามีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยมในการอบรมดูแลเลี้ยงดูลูกของตนในฐานะ ผู้นำหรือผู้ปกครองของครอบครัว แต่การใช้อำนาจนั้นต้องกอปรไปด้วยความรัก ความเข้าใจ การมีเหตุมีผลและการเป็นแบบอย่างชีวิตควบคู่ไปด้วยเสมอ อำนาจการปกครองนั้นจึงสามารถสัมฤทธิ์ผลในการสร้างลูกให้เติบโตมาเป็นคนดีมี คุณภาพของสังคมได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

ปัญญา ที่มาของ ปรัชญา ผู้มีปัญญา ที่มาของ เมธี ตอนที่ 3

ถึงเวลายกระดับปัญญาประชาชนประชาชน + ปัญญา = ประชาเมธีสังคมควรได้รับการยกระดับประชาชนให้เป็นผู้ที่ดำเนินชีวิต ด้วย “ปัญญา” คือดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล ยึดมั่นในหลักการ และใช้ความคิดที่ลึกซึ้งในการดำเนินชีวิต ประชาชนควรจะกลายเป็น “ประชาเมธี” หรือเป็นนักปรัชญาที่สร้างโลกทัศน์ของตนและดำเนินอย่างสอดคล้องตลอดทาง เป็นคนที่สามารถให้เหตุผลได้กับการกระทำของตนและไม่หลงติดอยู่กับความงมงาย ไร้เหตุผล

ถึงเวลาแห่งการฉุกคิดร่วมกันแล้วว่า การที่คนในสังคมยอมรับในสิ่งใด ควรให้เขายอมรับบนพื้นฐานของเหตุและผลอย่างแท้จริง มิใช่การยอมรับบนพื้นฐานความกลัว การยอมรับเพราะเชื่อตาม ๆ กันมาโดยขาดการพิสูจน์ การยอมรับโดยมิได้อยู่บนพื้นฐานของความงมงายในสิ่งไร้สาระ แต่ต้องสอนให้คนในสังคม “คิดเป็น ทำเป็น ประยุกต์ใช้เป็น” ในทุก ๆ สิ่งที่เขาได้เรียนรู้ ให้ทุกคนมีปรัชญาการมองโลกที่สอดคล้องกับความดีงามในการดำเนินชีวิต และมีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะค้นพบตัวเอง ค้นพบชีวิต ค้นพบความหมาย และมีความปรารถนาจะเป็นผู้ที่ยกระดับปัญญาของตนเองตลอดชีวิต

สังคม แห่งประชาเมธี จึงควรเป็นสังคมที่เปิดโอกาสและเอื้อให้คนสามารถสร้างโครงสร้างความคิดของตน ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตนเองทำ สิ่งที่ตนเองพูด หรือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตน ไม่ปล่อยให้ประชาชนดำเนินชีวิตไปตามอารมณ์ความรู้สึก หรือความไม่สามารถคิดให้ลึกซึ้งได้หรือต้องเรียนรู้จากบทเรียนประสบการณ์ ชีวิต จนกระทั่งแก่เฒ่าจึงสรุปเป็นปรัชญาการดำเนินชีวิตของตนเองได้ สังคมควรมีอิสรภาพโดยเฉพาะอิสรภาพในด้านความคิดและเสรีภาพทางปัญญา ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคม เริ่มตั้งแต่เด็กเล็กๆ สามารถเติบโตด้วยปัญญาและก้าวสู่การเป็น “ประชาเมธี” ได้ทุกทั่วตัวคนเมื่อถึงวัยแห่งความเดียงสา

ปัญญา ที่มาของ ปรัชญา ผู้มีปัญญา ที่มาของ เมธี ตอนที่ 2

ในความเป็นจริงทุกคนนั้นเป็น “นักปรัชญา” ถึงระดับหนึ่ง ตามความหมายของคำว่าปรัชญาประการหนึ่งที่ได้กล่าวถึงแล้วก็คือ ทัศนะส่วนตัวที่ทุกคนมีต่อชีวิตและโลก หรือปรัชญาการมองโลกที่มีผลต่อค่านิยมและการแสดงออกในชีวิตของคนแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตามปรัชญาที่แต่ละคนยึดถือนั้นอาจไม่ได้แสดงออกถึงซึ่ง “ปัญญา” ของบุคคลนั้น อันเป็นเหตุทำให้คนจำนวนไม่น้อยยึดปรัชญาที่ไม่สร้างปัญญาอันเป็นปรัชญาที่ ผิดในการดำเนินชีวิต สร้างความเสียหายให้ตนเองและผู้อื่นหรือหาทางออกให้กับชีวิตตนเองไม่ได้ตลอด ชีวิต และหากคนในสังคมส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ที่ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต ก็จะส่งผลร้ายต่อสังคมในภาพรวมได้ ปัญญาจึงเป็นเรื่องที่จะต้องมีผสมผสานอยู่ในปรัชญาการดำเนินชีวิตของคนใน สังคมทุกคนด้วย

ประชาชนทุกคนควรเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตด้วย ปัญญา เป็นผู้ที่รักในการแสวงหาปัญญา และมีความสามารถในการใช้วิจารณญาณในการดำเนินชีวิตมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก ประชาชนที่มีลักษณะเช่นนี้เราสามารถเรียกได้ว่าเป็น “ประชาเมธี” หรือ ประชาชนที่ใช้ปัญญา หรือ สังคมที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ซึ่งหากประชาชนส่วนใหญ่ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต สังคมนั้นก็จะเต็มไปด้วยความหวังความสงบสุขและความเจริญ เพราะมีความคิดที่ถูกต้อง ไม่ล่องลอยไปกับอารมณ์ความรู้สึก ไม่ถูกหลอกง่าย หรือหลงเชื่อในสิ่งใดอย่างงมงายไร้เหตุผล แต่เป็นผู้ที่สามารถให้เหตุผลต่อสิ่งที่ทำได้อย่างเหมาะสม สร้างความเจริญให้กับประเทศชาติได้ในที่สุด

Wednesday, October 20, 2010

Kriengsak Chareonwongsak : all-RE.......ation

Kriengsak Chareonwongsak : ประเทศไทยต้อง “ปฏิวัฒน์”

“ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ไม่ว่าฝ่ายใดจะชนะ ประชาชนและประเทศชาติก็พ่ายแพ้อยู่ดี”


ผมวิเคราะห์และชี้ให้เห็นบทสรุปต่ออนาคตสถานการณ์บ้านเมือง ไม่ว่าฝ่ายใดจะชนะ ประชาชนและประเทศชาติย่อมพ่ายแพ้อยู่ดี เพราะอนาคตของประเทศไทยในเวลานี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับชัยชนะของฝ่ายใด กลุ่มใด แต่ขึ้นอยู่กับการวางรากฐานประเทศเพื่อ “อนาคต” ….วันนี้เราเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง?

เราจำเป็นต้องก้าวข้ามความขัดแย้งในเวลานี้ และมองให้ไกล เพราะการต่อสู้ครั้งนี้ เป็นเพียงการแย่งชิงพื้นที่ของ “ขั้วอำนาจ 2 ขั้ว” โดยใช้มวลชนเป็นฐานยึดโยงอำนาจ ไม่ว่าฝ่ายใดได้อำนาจบริหารประเทศ ประเทศไทยจะเข้าสู่วงจรเดิม ขับเคลื่อนประเทศแบบ “นักการเมือง” ไม่ใช่ “นักสร้างเมือง” ไม่ได้มองเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ หรือมวลชนโดยรวมในระยะ เช่นเดียวกับรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา

ผมได้นำเอาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ Production Function มาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์โลกมนุษย์ ตั้งแต่ยุคบรรพกาล มาจนถึงปัจจุบันและอนาคต พบว่า สังคมต่าง ๆ มีทั้งผู้ชนะ-ผู้แพ้ มีประเทศที่ชนะเป็นมหาอำนาจ และประเทศที่แพ้ โดยวิเคราะห์เป็นคลื่นแต่ละยุค ได้บทสรุปสำคัญคือ ใครขี่ยอดคลื่นมาก่อนเป็นผู้ชนะ ใครขี่ยอดคลื่นไม่ได้เป็นผู้แพ้

เริ่มต้นจากคลื่นลูกที่ 0 สังคมเร่ร่อน ผู้ชนะคือ ผู้ที่ล่าสัตว์เก่ง ได้เป็นผู้นำแห่งยุค ถัดมาคลื่นลูกที่ 1 สังคมการเกษตร ผู้ชนะคือ นักรบ ใครรบเก่ง รุกรานขยายดินแดนได้มากกว่า ได้เป็นผู้นำแห่งยุค จากนั้นคลื่นลูกที่ 2 สังคมอุตสาหกรรม ยุคแรกอังกฤษขี่ยอดคลื่นมาก่อน เพราะเป็นผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีอิทธิพลในโลกอย่างมาก จากนั้นประเทศที่มีทุนมากกว่ากลายเป็นประเทศมหาอำนาจ บรรดานายทุน ได้เป็นผู้นำประเทศ ต่อมาโลกพัฒนาเข้าสู่คลื่นลูกที่ 3 คือ สังคมข้อมูลข่าวสาร ผู้ที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลก่อนได้เป็นผู้นำแห่งยุค เช่น บิลล์ เกตส์ และประเทศที่ขี่ยอดคลื่นลูกที่สามได้ก่อน กลายเป็นประเทศผู้ชนะ อยู่แนวหน้าของโลก

ขณะนี้ โลกมาถึงคลื่นลูกที่ 4 คือ สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง มีการวิจัยและพัฒนาในกระบวนการผลิตมาก เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำแห่งยุค มีการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างมากมาย

ในเวลานี้ ประเทศไทยเลือกได้สองอย่าง คือ ชนะ หรือ แพ้

ถ้าเรายังเดินไปเช่นในปัจจุบันนี้ เราจะถอยหลังไปเรื่อย ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรากับญี่ปุ่นพัฒนาใกล้เคียงกัน ไม่นานนักญี่ปุ่นก็แซงหน้าเราไป จากนั้น สมัยสงครามเกาหลี เกาหลียากจนข้นแค้นกว่าเรา เพียงประมาณสองทศวรรษกลับก้าวหน้าทิ้งห่างเราไกล เราถอยลงมาเรื่อย ๆ แข่งกับไต้หวัน แข่งกับสิงคโปร์ แข่งกับมาเลเซีย ประเทศเหล่านี้ ไปไกลกว่าเรามากนัก วันนี้เวียดนามแทบไม่ต้องแข่งกับเราแล้ว เพราะเห็น ๆ อยู่ว่าเราแพ้ คู่แข่งขันต่อไปคงเป็นกัมพูชา และลาวในที่สุด

หากประเทศไทยต้องการที่จะพัฒนาไปข้างหน้าและได้ประโยชน์จากกระแสของโลก จำเป็นต้องก้าวไปขี่ยอดคลื่นลูกที่ 4 นำประเทศเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ด้วยการ “ปฏิวัฒน์ประเทศ” อย่างเร่งด่วน

ปฏิวัฒน์ประเทศ เป็นศัพท์ที่ผมได้บัญญัติขึ้น โดยให้นิยามไว้ว่า หมายถึง การทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ อย่างยั่งยืนและครบถ้วนทุกด้าน

การปฏิวัฒน์ประเทศเป็นการวางรากฐานประเทศครั้งใหญ่ ทั้งระบบ ทั้งประเทศ ทุกเรื่อง ทุกมิติ เช่น การศึกษา สาธารณสุข อาชีพ ความยากจน ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะ น้ำเน่า ฯลฯโดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

กำหนดกระบวนทัศน์การสร้างชาติ เพื่อนำพาประเทศไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ นั่นคือ การนำประเทศไปสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป้าหมายต้องครบทุกด้าน อันได้แก่ เศรษฐกิจมั่งคั่งและยั่งยืน การเมืองมีเสรีภาพและเสถียรภาพ สังคมสมานฉันท์และหลากหลาย โดยจะต้องมีอุดมการณ์แห่งชาติ วิสัยทัศน์แห่งชาติ นโยบายแห่งชาติ วาระแห่งชาติ เพื่อผลประโยชน์ของทุกคนในชาติ ทุกคนในชาติรับรู้ร่วมกัน มองเห็นภาพชัดว่าประเทศไทยกำลังไปในทิศทางใด เพื่อบรรลุเป้าหมายใด เช่น กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศ ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ในปี 2030 ประเทศไทยไม่มีคนจน ยกเว้นสมัครใจ ประเทศไทยเป็นที่หนึ่งด้านพลังงานทดแทน ระบบราชการมีประสิทธิภาพติด 1 ใน 10 ของโลก คนรุ่นใหม่สื่อสารได้ 3 ภาษา ประเทศไทยติด 1 ใน 20 ประเทศที่จดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก เป็นต้น

ใช้หลัก “4 ปฏิ” ในการปฏิวัฒน์ประเทศ โดยจัดประเทศไทยเป็น 4 กระบุง กระบุงที่หนึ่ง เรียกว่า ปฏิสังขรณ์ หมายถึง สิ่งที่ยังพอใช้ได้ ให้ซ่อมแซมทําให้กลับคืนใช้ได้เหมือนเดิม กระบุงที่สอง เรียกว่า ปฏิรังสรรค์ หมายถึง สิ่งใดที่องค์ประกอบต่าง ๆ มันยังดีอยู่ แต่ต่อกันผิด ให้นำมาต่อใหม่ให้มันถูก กระบุงที่สาม เรียกว่า ปฏิรูป หมายถึง สิ่งที่หลักการยังดีอยู่ แต่รูปแบบผิด วิธีแก้คือเปลี่ยนรูปแบบให้ตรงกับหลัก เพื่อให้ใช้การได้ เช่น เราจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการรอบใหม่ และกระบุงที่สี่ การปฏิวัติ การปฏิวัติไม่ใช่รัฐประหาร แต่หมายถึง การเปลี่ยนแบบถอนรากถอนโคน เช่นในยุคหน้า เราอาจจำเป็นต้องปฏิวัติการศึกษา

วันนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในทางแพร่ง เราในฐานะประชาชน คงต้องถามตัวเองว่า เราอยากเป็นพลเมืองของประเทศที่ชนะหรือพ่ายแพ้ ถ้าอยากเป็นผู้ชนะ เราต้องผลักดันให้เกิดการปฏิวัฒน์ประเทศ เราต้องการคนมาวางรากฐานประเทศแบบมีวิสัยทัศน์เหมือนสมัยรัชกาลที่ห้า เพื่อก้าวสู่สังคมคลื่นลูกที่สี่ให้เร็วที่สุด

Kriengsak Chareonwongsak : Knowledge base economy

Kriengsak  Chareonwongsak :ไทยต้องเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของผมในงานสัมมนาที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเกริก เรื่อง “ยุคสังคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์: ความฝันหรือความจริงแห่งอนาคต” ซึ่งนอกจากผมแล้วยังมีวิทยากรหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ซึ่งปัจจุบันเป็นนโยบายที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นไว้อย่างน่าสนใจ


โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าการจะเข้าใจทิศทางของประเทศว่าควรจะเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือไม่นั้นต้องเข้าใจพัฒนาการทางสังคมโดยรวมเสียก่อน ซึ่งผมได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ในหลายโอกาสว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกนั้นมีลักษณะเป็น “คลื่น 7 ลูก” เริ่มต้นจากคลื่นลูกที่ 0 คือ สังคมเร่ร่อน ทักษะสำคัญในยุคนี้ คือ การล่าสัตว์ ดังนั้นผู้ที่ล่าสัตว์เก่งจึงได้เป็นผู้นำแห่งยุค ถัดมาคลื่นลูกที่ 1 คือ สังคมการเกษตร ซึ่งคนเริ่มตั้งรกราก ปัจจัยที่สำคัญในยุคนั้น คือ ที่ดิน ทำให้ผู้ที่มีความสามารถในการรบเพื่อขยายเขตแดน ได้เป็นผู้นำแห่งยุค จากนั้นคลื่นลูกที่ 2 คือ สังคมอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ ทำให้อังกฤษมีอิทธิพลในโลกอย่างมาก เนื่องจาก มีทักษะที่จำเป็นมากกว่าใครนั่นคือ ความสามารถในการผลิต การค้า และการลงทุน ต่อมาโลกพัฒนาเข้าสู่คลื่นลูกที่ 3 คือ สังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งข้อมูลข่าวสารมีความซับซ้อนขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจึงได้เป็นผู้นำแห่งยุค (เช่น บิลล์ เกตส์) ปัจจุบันโลกมาถึงคลื่นลูกที่ 4 คือ สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ทำให้ประเทศที่สามารถใช้ความรู้ในการผลิต มีนวัตกรรม มีการวิจัยและพัฒนาในกระบวนการผลิตมาก ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าประเทศอย่างสหรัฐ ได้เป็นผู้นำแห่งยุค เนื่องจาก มีการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างมากมาย อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐนั้นมีมูลค่าสูงถึง 5 – 5.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์สูงถึง ร้อยละ 50

ในขณะที่โลกพัฒนามาถึงคลื่นลูกที่ 4 แต่ประเทศไทยเองยังอยู่ในช่วงคลื่นลูกที่ 1 ลูกที่ 2 และ คลื่นลูกที่ 3 ผสมผสานกัน เกิดการต่อสู้และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุนเก่า (คลื่นลูกที่ 2) กับ กลุ่มทุนใหม่ที่มาจากสายโทรคมนาคม (คลื่นลูกที่ 3) ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลมากกว่า ดังนั้นหากประเทศไทยต้องการที่จะพัฒนาไปข้างหน้าและได้ประโยชน์จากกระแสของโลก รัฐบาลต้องพยายามขี่ยอดคลื่นลูกที่ 4 หรือพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เพียงเป็นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เท่านั้น

เศรษฐกิจฐานความรู้ แตกต่างจากเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เนื่องจาก ความรู้เกิดจากความสามารถในการคิด ซึ่งการคิดให้ได้ความรู้อย่างครบถ้วนนั้น ต้องอาศัยการคิด 10 มิติ ซึ่งผมได้เขียนเป็นหนังสือเอาไว้แล้ว การคิดสร้างสรรค์เป็นเพียงการคิดมุมหนึ่งใน 10 มิติเท่านั้น ยังขาดอีก 9 มิติ การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้เท่านั้น ซึ่งภาครัฐไม่ควรละเลยมิติอื่นๆ ในการคิดเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยบนพื้นฐานของความรู้ด้วย ดังนั้น ผมจึงเห็นว่าประเทศไทยควรตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตัวเองเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้มากกว่า

สถานการณ์ปัจจุบันจำนวนการจดสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาหรือจำนวนการตีพิมพ์งานวิชาการในวารสารรวมทั้งสิ่งใหม่ที่เกิดจากการคิดเองของคนไทยโดยไม่ลอกเลียนต่างชาตินั้นมีน้อยมาก การจะผลักดันประเทศไทยให้เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้นั้นถือเป็นงานหนักของรัฐบาลที่ต้องอาศัยการปฏิรูปอย่างรอบด้าน เช่น

ปฏิรูปคน คนไทยจำนวนมากคิดไม่เป็น เนื่องจาก ขาดประสบการณ์ และไม่ได้ฝึกฝนการใช้ความคิดมากนัก เนื่องจาก ระบบการศึกษาไม่มีคุณภาพ การเรียนและการทำงานส่งนั้นอาศัยการท่องจำและการตัดแปะ ซึ่งในอนาคตจะทำให้ปริญญา นั้นไร้คุณค่าลงไป คนที่มีปริญญาและไม่มีปริญญาจะไม่ต่างกันมาก นอกจากคิดไม่เป็นแล้วคนไทยยังมีค่านิยมหลายประการที่เป็นอุปสรรค เช่น ความรักสบาย ทำให้ชอบลอกเลียนแบบมากกว่าที่จะคิดเอง เป็นต้น ดังนั้นรัฐต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูปคนอย่างจริงจัง

ปฏิรูประบบ ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องระบบองค์ความรู้อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องฐานข้อมูลที่นิยามไม่ตรงกัน ไม่ครบถ้วน มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบและค่อนข้างจะต่างคนต่างทำ โดยไม่เชื่อมโยงกัน นอกจากนี้แล้วสิ่งสำคัญ คือ ประเทศไทยขาดระบบการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ เห็นได้จากงบประมาณในด้านการวิจัยและพัฒนาต่อจีดีพีที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศอื่น เป็นต้น หากเราไม่ปฏิรูปเรื่องนี้จะทำให้ประเทศไทยไม่สามารถที่จะสร้างสรรค์หรือสร้างความรู้ได้มากนัก เนื่องจาก การขาดองค์ความรู้

ปฏิรูปบริบท สังคมไทยมีลักษณะหลายประการที่ไม่สนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้และทำให้คน

ใช้ความคิดมากนัก เช่น สังคมอาวุโส ที่เน้นการเชื่อฟังมากกว่าความเข้าใจ หรือ สังคมที่ไม่ยอมรับความแตกต่าง ไม่อนุญาตให้คนเป็นแกะดำ หรือคิดต่าง เพราะจะมีการให้ร้ายหรือก่อให้เกิดความไม่พอใจ ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมอยู่ในกรอบอนุรักษ์นิยม เป็นต้น ลักษณะสังคมเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปจากภาครัฐโดยเร่งด่วนเช่นเดียวกัน

ผมเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังสามารถแข่งขันและเอาตัวรอดได้ในระยะยาวท่ามกลางการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น หากรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความรู้ ไม่ใช่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เป็นเพียงกระแสนิยมเท่านั้น

Kriengsak Chareonwongsak : Siamaraya define

Kriengsak Chareonwongsak : นิยามสยามอารยะ

“สยามอารยะ” เกิดมาจากการนำคำที่มีความหมายในเชิงนัย 2 คำมารวมกัน ได้แก่ คำว่า สยามกับคำว่า อารยะ


สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ใช่ชื่อชนชาติและไม่ใช่ชื่อชาติพันธุ์ใดหรือเผ่าพันธุ์ใดโดยเฉพาะ[1]ชื่อ สยาม ได้เป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังคงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ คนไทยเราคุ้นเคยกับคำว่า “สยาม” มาเป็นระยะเวลายาวนาน จวบจนกระทั่งปัจจุบันคำว่า “สยาม” ก็ยังคงอยู่ในมโนสำนึกของคนไทย และเป็นคำที่ยังคงใช้กันอยู่ทั่วไปในสังคม

สยามเป็นดินแดนที่ตั้งของอารยธรรมของชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลายาวนาน สามารถศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนขึ้นไปตามลำดับจากอยุธยาไปสู่ละโว้, พิมาย, สุโขทัย, โยนก, ศรีธรรมราช, ไชยาหรือศรีวิชัย, จานาศปุระ, ทวารวดี, พนมหรือฝูหนาน ฯลฯ และตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานจวบจนปัจจุบัน ดินแดนสยามยังคงมีความหลากหลาย ทั้งมิติด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม แต่ยังสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ ถ้อยทีถ้อยอาศัย ยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีความสมานฉันท์ ซึ่งสังคมที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกได้ว่าเป็นสังคมที่มีความงดงามโดยแท้

การใช้คำว่า สยาม จึงเป็นความตั้งใจที่จะสื่อสาร “เอกภาพแห่งดินแดน” ที่รวมความหลากหลายของชนหลายเชื้อชาติ หลากเผ่าพันธุ์ ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน โดยไม่แบ่งแยกหรือสะท้อนอัตลักษณ์ของชนเพียงบางกลุ่ม และเพื่อสะท้อนความตั้งใจของสมัชชาสยามอารยะ ที่ต้องการสร้างสังคมไทยให้เป็น “สังคมพหุเอกานิยม” สามารถธำรงเอกภาพท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย

อารยะคำว่า “อารยะ” ในที่นี้ให้ความหมายถึง ความเจริญเติบโต งอกงามที่มีความสมดุลครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งมิติทางด้านวัตถุ ความอยู่ดีกินดี มิติทางด้านจิตใจ และมิติทางด้านคุณธรรมโดยคำนึงถึงทั้งผลที่จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาว และการดูแลปัญหาความจำเป็นเร่งด่วนในระยะสั้น

คำว่า อารยะ ที่กำหนดไว้ใน สยามอารยะ จะให้ความหมายที่แตกต่างจากความหมายที่กำหนดไว้ในพจนานุกรม ซึ่งหมายถึง ความเจริญ งอกงาม โดยมาจากคำว่า civilize ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าที่มนุษย์ได้กระทำขึ้นในด้านต่าง ๆ อาทิ การปกครองศิลปะสถาปัตยกรรม อักษรและการใช้ตัวอักษรความรู้และเทคโนโลยี แต่ทั้งนี้ มักให้ความสำคัญด้านวัตถุมากกว่าจิตใจหรือคุณธรรม สังคมที่มีอารยะย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนอยู่อีกทั้ง เมื่อพิจารณาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า civilis ซึ่งแปลว่าพลเมือง แต่ "พลเมือง" ในสมัยโรมัน หมายถึงคนเมืองเท่านั้น ไม่นับคนชนบท อันอาจเป็นเหตุให้เกิดวิถีคิดแบบครอบงำ โดยคนเมืองที่เจริญแล้วชี้นำหรือดูถูกคนกลุ่มอื่น ๆ ว่าด้อยกว่า หรือเป็นพวกอนารยะ

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการตีความดังกล่าว อารยะในที่นี้ จึงได้ให้นิยามไว้ว่า ความเจริญเติบโต งอกงามที่มีความสมดุลครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งมิติทางด้านวัตถุ ความอยู่ดีกินดี มิติทางด้านจิตใจ และมิติทางด้านคุณธรรม

--------------------------------------------------------------------------------

[1] จิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายไว้ในหนังสือความเป็นมาของคำสยาม ว่าสยามเป็นชื่อดินแดนและกลุ่มชนไม่จำกัดเผ่าพันธุ์หนึ่งใด แต่ไม่ใช่ชื่อชนชาติและไม่ใช่ชื่อชาติพันธุ์ใดหรือเผ่าพันธุ์ใดโดยเฉพาะ หากเป็นชื่อพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่ง มีรากจากคำพื้นเมืองดั้งเดิมว่าซัม ซำ หรือสาม หมายถึงบริเวณที่มีน้ำซับน้ำซึมเป็นตาน้ำพุน้ำผุดโผล่ขึ้นจากแอ่งดินอ่อนหรือดินโคลน แล้วเรียกคนจะเป็นชาติพันธุ์อะไรก็ได้ที่มีหลักแหล่งทำมาหากินบริเวณนี้ว่าชาวสยามทั้งนั้น

สยามเป็นชื่อดินแดนและกลุ่มชนไม่จำกัดชาติพันธุ์ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าสยามเป็น "พวกร้อยพ่อพันแม่"คือ มิได้หมายถึงชนชาติใดชนชาติหนึ่ง แต่อาศัยลักษณะภายนอกเป็นตัวกำหนด เช่น ใช้เรียกผู้ทำมาหากินกันในบริเวณตาน้ำพุที่ผุดจากแอ่งดินอ่อนหรือดินโคลนหรืออาจใช้เรียกผู้ที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำโขง

ชาวสยามหรือเสียมเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นละติจูด 19° เหนือลงมา เป็นการผสมผสานของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารนายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้เขียน "คนไทย มาจากไหน" จึงเสนอให้เรียกผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันว่า "ชาวไทยสยาม" แทน เพราะคำว่า "ชาวไทย" มีความหมายครอบคลุมถึง "ชาวไทยใหญ่" และ "ชาวไทยน้อย" ซึ่งอาศัยอยู่นอกประเทศไทยด้วย

สังคมที่มีความเจริญทางด้านวัตถุเพียงอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นสังคมที่มีอารยะอย่างแท้จริงตามความหมายนี้ แต่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบด้านจิตใจ และคุณธรรมด้วย โดยให้ความสำคัญที่คนเป็นหลัก

ท้ายที่สุดเมื่อนำทั้ง 2 คำมารวมกันเป็นคำว่า “สยามอารยะ”จึงให้ความหมายถึง การพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญงอกงามอย่างสมดุลและยั่งยืนในทุกด้านทั้งทางด้านวัตถุ จิตใจ และคุณธรรมภายใต้สังคมพหุเอกานิยม ที่มีเอกภาพในความแตกต่างหลากหลายคนทุกกลุ่มได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน ทุกคนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่มีใครถูกทอดทิ้ง และไม่มีใครยากจนยกเว้นสมัครใจ เพื่อนำประเทศสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน

Kriengsak Chareonwongsak : Siamaraya quote and words

 Kriengsak Chareonwongsak : คำคมสยามอารยะ

" สยามอารยะ: คิดอารยะ พูดอารยะ ทำอารยะ "

" ปัญญา คือ การผสม ‘ศิลป์’ เข้าไปใน ‘ศาสตร์’ "

" ถ้าความดีแพ้ความชั่ว เราต้องลาออกจากความเป็นคน เพราะความดีต้องชนะ "

" เราต้องการสยามประเทศที่เดินไปข้างหน้า เป็นกรีนเลนอย่างแท้จริง "

" ในโลกนี้ มีประเทศแพ้ กับ ประเทศชนะ ชนะนาน ๆ เป็นมหาอำนาจ เป็นมหาอำนาจนาน ๆ เป็นอารยธรรม "

" ถ้าอยากอาสาจนไม่ว่า แต่อย่าบังคับให้จน ในสยามอารยะ...คนไม่อยากจน ต้องไม่จน "

" การนำประเทศคือ การนำประชาชนด้วยความเข้าใจว่าทุกคนคือคนที่มีคุณค่า "

" ในสยามอารยะ ต้องไม่มีใครถูกกทอดทิ้ง ทุกคนต้องอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี "

 " สยามอารยะ คือ สังคมพหุเอกานิยม มีเอกภาพในความหลากหลาย "

" สยามอารยะจะไม่ให้ความแตกต่าง ก่อให้เกิดความแตกแยก "

" เราจะไม่ให้ความแตกต่าง มากดให้คนรู้สึกต่ำต้อยลง แต่จะยกเขาให้สูงขึ้น "

" เทคโนโลยี คือ การทำให้มนุษย์เป็นซุปเปอร์แมน เป็นอภิมนุษย์ "

" คนอารยะ คือ คนที่ใช้ประวัติศาสตร์เป็นห้องทดลอง แล้วพาคนหลบหลุมพรางไปสู่ความรุ่งโรจน์ได้ "

" ผู้ปกครองบ้านเมืองต้องไม่ละเลยคนทุกข์ยาก รู้สึกทุกข์ร้อนแทนประชาชน ไม่สนใจแต่อภิสิทธิ์ชนเท่านั้น "

" สังคมอารยะ ต้องสร้างคนให้เข้มแข็ง สังคมจึงจะเป็นปึกแผ่น ไม่ถูกทำลายล้าง เพราะมีเอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย "

Kriengsak Chareonwongsak : Siamaraya declaration

Kriengsak Chareonwongsak :  ปฏิญญาสมัชชาสยามอารยะ


1. สมัชชาสยามอารยะ คือ กลุ่มคนที่รวมตัวกันขึ้นบนพื้นฐานอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือ ต้องการเห็นและมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมไทยให้อารยะ หรือเจริญก้าวหน้าอย่างครบถ้วนทุกด้าน อาทิ ด้านความกินดีอยู่ดี ด้านจิตใจ ด้านวัฒนธรรมและคุณธรรม เป็นสังคมพหุเอกานิยม ทุกคนในชาติมีเอกภาพท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย

2.สมัชชาสยามอารยะ มีเป้าหมายหลักเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่สังคมแห่งความรู้ จากนั้นจะขับเคลื่อนสู่สังคมแห่งปัญญา และสังคมแห่งความดีในที่สุด

3.สมัชชาสยามอารยะ มีเป้าหมายในการธรรมาภิวัฒน์ประเทศ (ปฏิวัฒน์ + อภิวัฒน์) เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่มั่งคั่งและยั่งยืน การเมืองมีเสรีภาพและเสถียรภาพ สังคมพหุเอกานิยม สมานฉันท์และหลากหลาย

4.สมาชิกสมัชชาสยามอารยะ ประกอบด้วยคนที่มีความคิด คำพูด และการกระทำที่อารยะ เป็นผู้มีจิตสาธารณะและมีคุณธรรม สามารถส่งอิทธิพลเชิงบวกเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม และมีความตั้งใจจะมีส่วนร่วมสร้างชาติในภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง

5.สมาชิกสมัชชาสยามอารยะเป็นผู้มีจิตสาธารณะ เห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความเสียสละ ยินดีอุทิศกำลังและทรัพยากรเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม

6.สมาชิกสมัชชาสยามอารยะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบอย่างดีเลิศ เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ

7.สมาชิกสมัชชาสยามอารยะเป็นคนที่ถ่อมตัวรับฟังกันและกัน ยอมเปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยใช้เหตุใช้ผล ไม่เอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ถือว่าตัวเองถูกต้องเสมอ สมาชิกทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

8.สมาชิกสมัชชาสยามอารยะใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ ยินดีอุทิศความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญที่มี มาใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยประสานกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สยามอารยะ

9.สมัชชาสยามอารยะจะระดมสรรพกำลังและทรัพยากรจากทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อให้มีส่วนร่วมกันพัฒนาประเทศไทยสู่สยามอารยะ

10.สมาชิกสยามอารยะจะชุมนุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงเจตนารมณ์และสร้างความเข้าใจตรงกันในจุดยืนและทิศทางการสร้างชาติบ้านเมืองแบบสยามอารยะ

11.สมาชิกสยามอารยะทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบตามความรู้ความสามารถ ความถนัดความสนใจ และมีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ตามภูมิลำเนาหรือประเด็นที่ห่วงใย

12.สมาชิกสยามอารยะจะมีการแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรให้ประเทศของเราจึงพัฒนา เจริญก้าวหน้าในทุกด้าน ก้าวไปสู่จุดที่ดีงาม โดยจะช่วยกันรวบรวมปัญหาทั้งหมดของชาติ ตั้งแต่ปัญหาในระดับซอย ถนน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และประเทศ ตั้งเป้าหมายว่า จะไม่มีปัญหาใด ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครเหลียวแล และจะช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้น ช่วยกันจัดทำนโยบาย ช่วยกันจัดทำตัวบ่งชี้และนำไปสู่ตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของประเทศ รวมทั้ง มีส่วนลงไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเท่าที่จะสามารถทำได้

13.สมัชชาสยามอารยะจะนำเสนอนโยบายแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศที่ครอบคลุมทุกประเด็น ทุกพื้นที่ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

14.สมัชชาสยามอารยะมีความหวังที่จะมีส่วนสร้าง “ต้นแบบ” ความอารยะในเรื่องต่าง ๆ อาทิ โรงเรียนสยามอารยะ มหาวิทยาลัยสยามอารยะ หมู่บ้านสยามอารยะ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมได้กระทำตาม

15.สมัชชาสยามอารยะจะสนับสนุนคนดี คนมีความรู้ความสามารถ ให้มีโอกาสในการเข้าไปมีบทบาทในการเข้าไปมีส่วนพัฒนาประเทศ

Kriengsak Chareonwongsak : Harvard Sustainable University

Kriengsak Chareonwongsak : ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านความยั่งยืน


ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

ผลจากการสำรวจของเว็บไซต์ The College Sustainability Report Card ซึ่งได้ทำการสำรวจมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาจำนวน 332 สถาบันในมิติด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ทำการสำรวจติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 สำหรับในปี ค.ศ.2009 ฮาร์วาร์ดได้รับการประเมินให้มีคะแนนรวมอยู่ในระดับ A- ซึ่งจากจำนวนสถาบันที่ทำการสำรวจทั้งหมด มีเพียง 26 สถาบันเท่านั้นที่ได้รับคะแนนรวมในระดับดังกล่าวนี้

เกณฑ์การพิจารณาให้เกรดจะคำนวณจากหมวดใหญ่ 9 หมวด 48 ตัวชี้วัด อันประกอบไปด้วย หมวดการบริหารจัดการ หมวดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและพลังงาน หมวดอาหารและการนำกลับมาใช้ใหม่ หมวดอาคารสีเขียว หมวดการมีส่วนร่วมของนักศึกษา หมวดการขนส่ง หมวดความโปร่งใสในการบริหารจัดการทางด้านการเงิน หมวดการให้ความสำคัญในเรื่องการลงทุน และหมวดข้อตกลงของการเป็นหุ้นส่วน โดยข้อมูลทั้งหมดจะมาจากเหล่าผู้บริหารและนักศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งนั้น

ผลการประเมินพบว่า ฮาร์วาร์ดได้คะแนนในระดับ A อยู่ทั้งหมด 6 หมวดด้วยกัน โดยในบทความนี้ยกตัวอย่าง 3 หมวด อาทิ

  • การบริหารจัดการ พิจารณาจากความพยายามในการขับเคลื่อนข้อตกลงร่วมกัน 3 ประการ ได้แก่ การกำหนดข้อปฏิบัติว่าด้วยความยั่งยืนและการตั้งเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย โดยการจัดตั้งสำนักงานเพื่อความยั่งยืน (Office for Sustainability) เพื่อขับเคลื่อนงานดังกล่าว ปัจจุบันสำนักงานแห่งนี้ มีพนักงานประจำทั้งหมด 22 คน ไม่เพียงเท่านั้น มหาวิทยาลัยยังมีการระดมบุคลากรมากกว่า 130 คน ทั้งที่เป็นระดับผู้บริหาร พนักงาน คณาจารย์ และนักศึกษา เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะที่ปรึกษาซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์คอยตรวจสอบการทำงานดังกล่าวเป็นระยะ

  • การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและพลังงาน พิจารณาจากการตั้งเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งฮาร์วาร์ดให้การสนับสนุนและผลักดันให้เกิดโครงการทางด้านการอนุรักษ์และพัฒนามากกว่า 12 โครงการด้วยกัน รวมทั้งยังให้การสนับสนุนเงินทุนกู้ยืมสำหรับทำโครงการดังกล่าวเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า เงินทุนกู้ยืมสู่วิทยาลัยสีเขียว (Green Campus Loan Fund) ให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกด้วย นอกจากนั้น ฮาร์วาร์ดยังได้มีการติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนทั้งหมด 4 แผง แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้สำหรับทำน้ำร้อนอีกจำนวน 3 แผง และติดตั้ง rooftop wind เมื่อไม่นานมานี้

  • ด้านอาหารและการนำกลับมาใช้ใหม่ พิจารณาจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า Dining service ซึ่งได้ใช้งบประมาณกว่าร้อยละ 25 ในการซื้อผลผลิตตามฤดูกาลที่ผลิตโดยท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับการทำอาหาร นอกจากนี้ ฮาร์วาร์ดยังผลักดันให้มีการดำเนินโครงการทำปุ๋ยหมักที่ครอบคลุมกระบวนการทั้งก่อนและหลังการบริโภคอาหาร ตลอดจนขยะที่เกิดจากการจัดกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินโครงการลดปริมาณของเสียที่แหล่งกำเนิด โดยจัดให้มีสถานที่สำหรับเก็บหรือสถานีรับบริจาคก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้าย เพื่อนำไปดำเนินการตามกระบวนการหรือขั้นตอนอื่นต่อไป

ประยุกต์สู่ประเทศไทย

การพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนที่มีส่วนดูแลรักษาส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เพราะมิได้ส่งผลเฉพาะการบริหารทรัพยากรมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสร้างและหล่อหลอมการมีทัศนคติเห็นแก่ส่วนรวมและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมแก่บุคลากรและผู้เรียน ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมให้ความใส่ใจและสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

กระแสการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย มีการตื่นตัวมากขึ้น เนื่องด้วยสภาพความจำกัดและความเสื่อมโทรมทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการเปิดเสรีทางการค้าที่มีประเด็นด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ผมเสนอว่า มหาวิทยาลัยไทย โดยเฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ ควรมีบทบาทเป็นตัวแบบและกระตุ้น ให้ภาคีอื่นและสังคมไทยภาพรวม พัฒนาสู่การเป็นองค์กรและสังคมที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การมุ่งพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคมที่ยั่งยืนไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และยุทธศาสตร์แผนงานการดำเนินการมีอยู่แล้ว ดังนั้นหากมหาวิทยาลัยจะมีบทบาทนี้ ควรกำหนดจุดยืนที่ชัดเจน บนจุดแกร่งของสถาบันการอุดมศึกษา กลุ่มมหาวิทยาลัยควรวางยุทธศาสตร์ดำเนินการร่วมกันอย่างเป็นระบบภายในกลุ่มมหาวิทยาลัย และขยายผลสู่ภาคีอื่น มีการพัฒนาโครงการต้นแบบที่กลุ่มภาคีอื่นจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ฯลฯ โดยอาจเริ่มจากกลุ่มที่มหาวิทยาลัยค่อนข้างมีความสัมพันธ์หรือมีอิทธิพล เช่น สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน บริษัทหรือส่วนราชการที่อยู่รายล้อมรอบมหาวิทยาลัย เป็นต้น

Kriengsak Chareonwongsak : Resource for community

Kriengsak Chareonwongsak : ฮาร์วาร์ดสร้างสรรค์ใช้ประโยชน์ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน


ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

ด้วยวิสัยทัศน์และข้อตกลงร่วมกันของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้ฮาร์วาร์ด ใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินของตนเองที่มีอยู่อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนมีส่วนในการให้บริการสังคมกับชุมชนที่อยู่บริเวณละแวกใกล้เคียงนั้น ล่าสุดจึงทำให้ฮาร์วาร์ดได้ริเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาปรับปรุงอาคารที่เคยใช้เป็นโรงรถ บริเวณถนน Western Ave. ให้กลายเป็นลานเล่นสเก็ตน้ำแข็งในร่มขนาด 40  60 ฟุต และเปิดโอกาสให้ชุมชนในออลสตันได้เข้ามาใช้บริการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งลานเล่นสเก็ตน้ำแข็งดังกล่าวมีลักษณะพิเศษประการสำคัญที่น่าสนใจ คือ

  • เป็นบริการที่เปิดให้ใช้ชั่วคราว ในช่วงระหว่างที่ทางมหาวิทยาลัยรอให้มีผู้เช่ารายใหม่เท่านั้น ซึ่งได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา ภายหลังจากที่มีการจัดงานเฉลิมฉลองการเปิดใช้สถานที่ดังกล่าวร่วมกันในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้พักอาศัยในบริเวณออลสตันเข้าร่วมมากกว่า 100 คน สำหรับลานเล่นสเก็ตน้ำแข็งที่ฮาร์วาร์ดได้เปิดให้บริการในครั้งนี้ จะเปิดให้ใช้ในทุก ๆ วันศุกร์เวลาบ่าย 3 โมงถึง 2 ทุ่ม วันเสาร์เวลา 10 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม และวันอาทิตย์เวลา 10 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น เรื่อยไปจนถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการให้บริการพิเศษในวันสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ วัน Martin Luther King Jr. ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม และช่วงสัปดาห์ปิดภาคการศึกษาของโรงเรียนในเมืองบอสตัน ระหว่างวันที่ 15 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าถึง 2 ทุ่มอีกด้วย

  • ส่งเสริมการใช้เวลาของครอบครัวและชุมชน ในแต่ละวันลานเล่นสเก็ตน้ำแข็งแห่งนี้ จะมีครอบครัวและคนในชุมชนทุกเพศทุกวัยที่อาศัยอยู่ในบริเวณออลสตันเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก จนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นแหล่งพบปะและใช้เวลาร่วมกันแห่งใหม่ที่ผู้ใช้บริการต่างมีความรู้สึกพึงพอใจ เนื่องจากกิจกรรมที่นี่ถูกออกแบบให้มีความน่าดึงดูดใจ เหมาะสม สามารถรองรับคนได้ทุกเพศทุกวัย ท่ามกลางสภาพบรรยากาศที่เป็นกันเอง ซึ่งช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในครอบครัวและชุมชนเป็นอย่างมาก อาทิ ในช่วงเวลากลางคืนเมื่ออากาศเริ่มเย็น หลาย ๆ ครอบครัวอาจจะเลือกนั่งดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ และเล่นจับฉลาก โดยมีตั๋วกีฬาและเสื้อกีฬาของฮาร์วาร์ดเป็นรางวัล ซึ่งตั๋วกีฬาเหล่านี้เป็นตั๋วกีฬาที่ไม่สามารถหาได้ที่ไหนนอกจากที่นี่เท่านั้น

  • จัดให้มีบริการอำนวยความสะดวกอื่นๆ ในที่นี้ได้แก่ บริการยืม-คืนรองเท้าสเก็ต เพื่อเป็นบริการเสริมให้กับผู้ใช้บริการที่ไม่มีรองเท้าสเก็ตเป็นของตนเอง โดยผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะใช้หลักการผู้ที่มาก่อนจะได้ก่อน เนื่องจากรองเท้ามีจำนวนจำกัด เป็นต้น

ประยุกต์สู่ประเทศไทย

จากตัวอย่างของฮาร์วาร์ดกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งทุกแห่งมหาวิทยาลัยทั่วโลกสามารถดำเนินกิจการดังนี้ได้ เพราะทรัพยากรของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ยังมีจำนวนมากที่สามารถเพิ่มการใช้ประโยชน์ได้ หากมีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ โดยผนวกการคิดนอกกรอบ จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้ประโยชน์จากสนามกีฬาต่าง ๆ ให้ชุมชนร่วมใช้ประโยชน์ การใช้อาคารหรือห้องประชุมสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่เปิดกว้างให้สามารถใช้สวนสาธารณะของมหาวิทยาลัยในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตลอดปี โดยอาจให้นักศึกษา คณาจารย์หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมทำกิจกรรม เช่น การสร้างงานอาสาสมัครต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ การให้เอกชนเข้าใช้สถานที่ เพื่อเพิ่มรายได้นอกงบประมาณเข้ามหาวิทยาลัย

แนวทางการดำเนินการ อาจเปิดช่องให้กลุ่มประชาคมมหาวิทยาลัย ทั้งคณาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร เสนอความคิดเห็นในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของคณะต่าง ๆ อาจเป็นการนำเสนอโครงการประกวด การศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เป็นต้น โดยมีระบบการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ และประการสำคัญคือมีกลุ่มผู้ประเมินโครงการที่มีแนวคิดสมัยใหม่หรือมีทัศนคติที่เปิดกว้างในการบริหารทรัพยากร

Kriengsak Chareonwongsak : Harvard cooperation with Boston

Kreingsak Chareonwongsak : ฮาร์วาร์ดจับมือกับเมืองบอสตันจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชน


ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ปี ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมา ฮาร์วาร์ดได้ร่วมมือกับเมืองบอสตันจัดตั้งกองทุนที่เรียกว่า Harvard Allston Partnership Fund ขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาชุมชนในเขตออลสตันร่วมกัน โดยกองทุนดังกล่าวจะจัดสรรเงินสนับสนุนให้กับสมาชิกชุมชน กลุ่มหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อนำไปใช้สำหรับดำเนินกิจกรรมทางด้านการพัฒนาปรับปรุงชุมชนย่านที่อยู่อาศัย การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม และโครงการทางด้านการศึกษา บริเวณพื้นที่ชุมชนออลสตันเหนือและไบรท์ตันเหนือ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นไป ซึ่งในจำนวนนี้จะแบ่งเงินทุนสนับสนุนออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เกิน 5,000 เหรียญสหรัฐฯ และกลุ่มที่อยู่ระหว่าง 5,000 – 25,000 เหรียญสหรัฐฯ

ช่วงปี ค.ศ.2009 ที่ผ่านมา กองทุน Harvard Allston Partnership Fund ได้เปิดรับสมัครทั้งหมด 2 รอบ ซึ่งรอบแรกได้มีการประกาศผลไปแล้วเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมา มีองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรท้องถิ่นที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมด 6 องค์กร ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างโครงการที่ได้รับการคัดเลือกบางส่วน เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับมหาวิทยาลัยไทยในการนำไปประยุกต์ใช้ ได้แก่

  • โครงการ Allston Brighton Arts Bridge เป็นโครงการใหม่ที่จัดขึ้น เพื่อให้ความรู้กับเยาวชนในบริเวณพื้นที่ออลสตันและไบรท์ตัน เป็นการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนของพวกเขา ผ่านทางการแสดงผลงานศิลปะด้วยสื่อแบบดั้งเดิมและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุน Harvard Allston Partnership Fund เป็นจำนวนทั้งสิ้น 20,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เรียกว่า My Allston/Brighton ให้กับกลุ่มเยาวชนจำนวน 15 คน โดยมีผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ นักแสดง นักดนตรีที่มากความสามารถ ตลอดจนนักศึกษาฮาร์วาร์ดทั้งหมดจาก Graduate School of Education Arts in Education program มาร่วมให้ความรู้ ซึ่งเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้เรียนรู้ถึงวิธีการผลิตผลงานศิลปะที่เกี่ยวกับชุมชนของพวกเขา และผลงานดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ให้กับสาธารณะชนต่อไป

  • โครงการ Allston/Brighton Baby เป็นโครงการแจกผ้าอ้อมและประสานงานแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าเด็กทารกและของเล่น ให้แก่ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ออลสตันและไบรท์ตัน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุน Harvard Allston Partnership Fund เป็นจำนวนทั้งสิ้น 5,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อผ้าอ้อมให้กับครอบครัวที่มีเด็กทารกทั้งหมดประมาณ 90 ครอบครัว ซึ่งใช้บริการดังกล่าวนี้ในแต่ละเดือน โครงการ Allston/Brighton Baby มีเป้าหมายหลักเพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชน โดยผ่านทางการสร้างพื้นที่ให้แต่ละครอบครัวได้มีส่วนในการช่วยเหลือกันและกัน

  • โครงการ The Fishing Academy (TFA) กองทุน Harvard Allston Partnership Fund ได้ให้เงินทุนสนับสนุนจำนวน 20,000 เหรียญสหรัฐฯ กับองค์กร TFA องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจรจัด ปัญหายาเสพติด และปัญหาความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับกลุ่มเยาวชน โดยการจัดกิจกรรมให้คำปรึกษาและสอนวิธีตกปลาให้กับกลุ่มเยาวชนเหล่านี้ เพื่อให้พวกเขาได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเงินทุนสนับสนุนที่ได้รับดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดกิจกรรมภาคฤดูร้อน การท่องเที่ยวสุดสัปดาห์และกิจกรรมอื่นขององค์กรในช่วงปีที่ผ่านมา กิจกรรมที่จัดขึ้น ช่วยเปิดโอกาสและโลกทัศน์ใหม่ในการใช้ชีวิตอย่างสมคุณค่ามีความสุขให้เยาวชนที่เข้าร่วมมากกว่า 400 คน

ประยุกต์สู่ประเทศไทย บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนาชุมชน เป็นประเด็นที่ไม่เพียงแต่จะมีส่วนช่วยคนในชุมชน แต่ยังจะมีส่วนในการพัฒนาบุคลากร นักศึกษา และคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยด้านการมีจิตสาธารณะ และเป็นตัวแบบสำคัญให้สังคมในการพัฒนาส่วนรวม ซึ่งการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนมีหลายรูปแบบ อาจเป็นการจับมือร่วมกับเมืองดังที่ฮาร์วาร์ดทำ หรือเป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นเองหรือร่วมมือกับภาคีอื่น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ลักษณะหลักของการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ผมเสนอไว้ 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

  • กำหนดกิจกรรมที่สอดรับความต้องการและพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย การจัดกิจกรรมหรือโครงการความร่วมมือใด ๆ จำเป็นต้องเริ่มจากการสำรวจความต้องการ และความจำเป็นของชุมชน รวมถึงการศึกษาเชิงพฤติกรรมของกลุ่มคนในชุมชนนั้น เพื่อนำมาประกอบการจัดกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น การจัดกิจกรรมสำหรับวัยรุ่นที่เป็นแม่ลูกอ่อน ต้องมีการศึกษาเชิงพฤติกรรมและความต้องการของคนกลุ่มนี้ที่ชัดเจน เพื่อสามารถจัดกิจกรรมได้สอดคล้องความต้องการและได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี

  • ช่วยให้ชุมชนช่วยเหลือตนเองได้ ผมพูดเสมอว่า “พยายามสอนคนให้จับปลาเป็น ไม่ใช่ยื่นปลาให้เขากิน” เพื่อในอนาคตเขาจะได้สามารถหาเลี้ยงปากท้อง หรือดูแลตนเองได้ ดังนั้นกิจกรรมบางอย่างควรเป็นกิจกรรมสนับสนุนการช่วยเหลือตนเองของชุมชน เช่น อาจเป็นกิจกรรมการฝึกอาชีพ การพัฒนาผู้เลี้ยงเด็กหรือดูแลผู้สูงอายุในชุมชน การให้การศึกษาหรือเรียนรู้ เป็นต้น

  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมืออย่างเป็นระบบ ที่ผ่านมาเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ มักล่มในเวลาอันสั้น หรือไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องด้วยการขาดการให้ความสำคัญและการวางระบบการจัดการเครือข่าย ทั้งด้านการจัดตั้งเครือข่าย การบริหารจัดการเครือข่าย และการธำรงเครือข่าย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหนังสือที่ผมเขียนไว้ ชื่อ “การจัดการเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา” เป็นการสรุปแนวคิดและแนวทางพัฒนาเครือข่ายอย่างมีหลักการ และเป็นระบบ จึงจะสามารถพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคส่วนมหาวิทยาลัยกับชุมชนได้อย่างเกิดผลและยั่งยืน

  • เป็นสะพานเชื่อมภาคีอื่นเข้าร่วม มหาวิทยาลัยควรเป็นแกนนำในการเชื่อมภาคีอื่นเข้าร่วมพัฒนาชุมชน เนื่องด้วยมหาวิทยาลัย มีศักยภาพทั้งด้านความน่าเชื่อถือ องค์ความรู้ เครือข่ายเทคโนโลยี การมีคณาจารย์ นักศึกษา หรือบุคลากรที่จะมาเป็นอาสาสมัคร ที่จะเป็นจุดเชื่อมหรือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการนำภาคีอื่นมีส่วนร่วมจากภาคีต่าง ๆ ในสังคมที่อยู่ร่วมกัน ในการช่วยผู้ด้อยโอกาสกว่า อันเป็นการพัฒนาทั้งชุมชนและสังคมสู่ความยั่งยืน

Kriengsak Chareonwongsak : Harvard Help in Heti

Kriengsak Chareonwongsak : ฮาร์วาร์ดระดมสรรพกำลังช่วยสถานการณ์ภัยพิบัติในเฮติ




ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com



หลังการเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในประเทศเฮติ เมื่อวันอังคารที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2010 ที่ผ่านมา ประชาคมฮาร์วาร์ดไม่ได้นิ่งนอนใจแต่ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยในพื้นที่ดังกล่าว ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร นักศึกษา คณาจารย์ และพนักงานมหาวิทยาลัย โดยตระหนักว่าสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนี้เป็นความรับผิดชอบอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยในการให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง กิจกรรมการช่วยเหลือดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2010 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย

  • การระดมเงินบริจาค ฮาร์วาร์ดได้จัดตั้งกองทุนเฉพาะสำหรับนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยตรง ซึ่งในที่นี้ได้เปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักศึกษา และพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีความต้องการ แต่ไม่สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ ได้มีช่องทางในการแสดงออก รวมทั้งทางมหาวิทยาลัย ยังได้อำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนเหล่านี้ โดยการช่วยรวบรวมรายชื่อองค์กรสาธารณประโยชน์ที่เปิดรับเงินบริจาคแบบออนไลน์ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ลงในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยให้อีกด้วย

  • การส่งบุคลากรและร่วมมือกับองค์กรในเครือข่าย วิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ได้ส่งแพทย์เดินทางไปเข้าไปในประเทศเฮติทันทีหลังจากการเกิดเหตุภัยพิบัติ 1 วัน อีกทั้งยังมีบุคลากรทางการแพทย์อื่นเดินทางไปร่วมสมทบด้วย เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ Central Plateau ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ Partners In Health องค์กรมนุษยธรรมด้านการแพทย์ในเครือฮาร์วาร์ด ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยและวิชาการทางด้านมนุษยธรรมของฮาร์วาร์ด หรือ Harvard Humanitarian Initiative ได้ทำงานให้การสนับสนุนข้อมูลที่จำเป็นกับหน่วยงานหุ้นส่วนอื่น ๆ ในฮาร์วาร์ด, องค์กร Partners In Health, โรงพยาบาลกลางแมสซาชูเชตส์, โรงพยาบาลบริกแฮมแอนด์วีเมนส์ เมืองบอสตัน เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย หลังจากที่ได้ประเมินสถานการณ์ความจำเป็นของเฮติแล้ว

  • การผนึกกำลังขององค์กรนักศึกษาในมหาวิทยาลัย จัดแสดงคอนเสิร์ตการกุศล เพื่อกระตุ่นความห่วงใยและระดมเงินบริจาคจากกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและชุมชนฮาร์วาร์ด ตัวอย่างขององค์กรดังกล่าวเหล่านี้ ได้แก่ Harvard Caribbean Club, Harvard African Students Association, Harvard Haitian Alliance, Kuumba Singers of Harvard College, Harvard South Asian Men’s Collective และ Harvard Undergraduate Council เป็นต้น

ประยุกต์สู่มหาวิทยาลัยประเทศไทย

จากสภาพการณ์ดังกล่าว ฮาร์วาร์ดได้ใช้สถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินในระดับโลก ในการมีส่วนร่วมกระตุ้นและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นของประชาคมฮาร์วาร์ด โดยมีกลไกในการดำเนินกิจกรรมจากหลากหลายกลุ่ม หลายคณะและหลากหลายช่องทาง นับเป็นการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ในการพัฒนาการปลูกจิตสำนึกและการลงมือร่วมการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์

มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนให้ประชาคมมหาวิทยาลัยทำกิจกรรมการส่งเสริมจิตสาธารณะอย่างกว้างขวางเมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกที่แสดงออกเป็นรูปธรรมในการมีความห่วงใยสังคมและการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหา

นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยควรมีการพัฒนากลไกและช่องทางที่เป็นรูปธรรมและมีการดำเนินการต่อเนื่อง ในการให้ประชาคมมหาวิทยาลัยได้แสดงออกและมีส่วนร่วมทำดีเพื่อผู้อื่นแม้ในสถานการณ์ปกติ ทั้งการบริจาคด้วยทรัพสินเงินทอง และการบริจาคเวลาและแรงกายด้วย การส่งเสริมการบริจาคเวลาและความสามารถเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นจะทำให้ผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อื่น ซึ่งสามารถสร้างจิตสาธารณะได้มากกว่าการบริจาคแค่เงินทอง ดังเช่น โครงการกองทุนเวลาเพื่อสังคมที่ผมได้จัดตั้งขึ้นมาได้หลายสิบปีแล้วที่มีการพัฒนากิจกรรมอาสาสมัครที่หลากหลาย มีการดำเนินการอย่างกว้างขวาง โดยมีองค์กรทำงานอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการเป็นจำนวนมาก มีการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ มีการจับคู่ระหว่างผู้ต้องการความช่วยเหลือและผู้สนใจหรือต้องการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ประการสำคัญควรมีระบบการประเมินและพัฒนากิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นที่สนใจและมีอาสาสมัครมาร่วมในโครงการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Kriengsak Chareonwongsak: example of qulified teaching in Harvard 2

Kriengsak Chareonwongsak  ฮาร์วาร์ดกับการพัฒนาคุณภาพผู้สอน (2)


 

 
ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com


 
ต่อเนื่องจากบทความในสัปดาห์ที่ผ่านมาที่กล่าวถึง ตัวอย่างบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการสอนในฮาร์วาร์ดที่ ศูนย์เดเร็ค บ็อก เพื่อการพัฒนาการสอนและการเรียนรู้ (Derek Bok Center for Teaching and Learning) ศูนย์ฯ นี้ ยังมีกิจกรรมช่วยพัฒนาคุณภาพผู้สอนและการสอน ซึ่งมีความน่าสนใจในหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อช่วยพัฒนาผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับการสอน อาทิ

 
  • การประเมินผลและให้ประกาศนียบัตรทางด้านการสอน หรือที่เรียกว่า Certificates of Distinction and Derek C. Bok Awards โดยศูนย์ฯ จะใช้แบบประเมินที่เรียกว่า Q evaluation เพื่อประเมินการสอนของคณาจารย์ ผู้ช่วยสอน ผู้บรรยาย และวิทยากรพิเศษที่สอนในแต่ละภาคการศึกษา ซึ่งคณาจารย์ ผู้ช่วยสอน ผู้บรรยาย และวิทยากรพิเศษที่จะได้รับรางวัลดังกล่าวนี้ ทางศูนย์ฯ กำหนดให้จะต้องได้คะแนนการประเมินตั้งแต่ 4.5 ขึ้นไปจากคะแนนเต็มทั้งหมด 5 คะแนน โดยในช่วงสิ้นสุดภาคการศึกษาของแต่ละภาคการศึกษา ศูนย์ฯ จะส่งแบบประเมิน Q evaluation นี้ไปให้นักศึกษากรอกทาง e – mail หลังจากนั้นจึงนำมารวบรวม สรุปผล และให้ประกาศนียบัตรต่อไป
  • การให้เงินรางวัลจำนวน 1,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า Derek C. Bok Award for Excellence in Graduate Student Teaching of Undergraduates โดยศูนย์ฯ จะให้กับผู้ช่วยสอนที่สอนในวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (Graduate School of Arts and Sciences) จำนวน 5 คนเป็นประจำทุกปี ซึ่งแต่ละภาควิชาในวิทยาลัยดังกล่าวนี้ จะเป็นผู้นำเสนอรายชื่อผู้ช่วยสอนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และส่งให้ทางศูนย์ฯ พิจารณาคัดเลือกอีกครั้ง
  • การจัดประชุมสัมมนาอภิปรายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน หรือ Christensen discussion seminar ศูนย์ฯ จะจัดให้มีการประชุมสัมมนา 10 สัปดาห์ขึ้นในทุกช่วงฤดูใบไม้ร่วงของทุกปี เพื่อให้คณาจารย์และผู้ช่วยสอนได้มีโอกาสในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนร่วมกัน ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวจะใช้กรณีศึกษาจากชั้นเรียนจริง มีการสำรวจสภาพปัญหาในห้องเรียน การทดสอบปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคปัญหาเฉพาะหน้า และทางเลือกของอาจารย์ผู้สอนในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ในแต่ละปีมีอาจารย์ผู้สอนจากหลากหลายสาขาวิชาเข้าร่วมการสัมมนาที่จัดขึ้นนี้กว่า 30 คน
  • การจัดสัมมนาเกี่ยวกับเว็บช่วยสอน โดยมาจากความร่วมมือกันระหว่างศูนย์เดเร็ค บ็อก และกลุ่มเทคโนโลยีทางวิชาการ การสัมมนาที่จัดขึ้นนี้มิได้มีเป้าหมายเพียงแค่การปรับปรุงวิธีการสอนด้วยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงนวัตกรรมทางด้านศิลปะและวิธีการสอนทั่ว ๆ ไปอีกด้วย เทคโนโลยีถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญของนวัตกรรมทางด้านการสอนในปัจจุบัน ซึ่งศูนย์ฯ ค่อนข้างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
  • การประชุมพัฒนาการสอนให้คณาจารย์ใหม่ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้คำแนะนำทางด้านการสอนกับคณาจารย์ใหม่โดยเฉพาะ เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 2004 หลังจากนั้นได้จัดให้มีการประชุมแบบหลายวันติดต่อกันในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนเป็นประจำทุกปี ในแต่ละปีมีคณาจารย์ใหม่ที่สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

 
นักแสดงของศูนย์เดเร็ค บ็อก หรือ Bok Center Players กลุ่มละครใหม่ที่เพิ่งดำเนินการจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2007 ที่ผ่านมา เพื่อเชื่อมโยงการแสดงเข้ากับการอภิปรายถกเถียงกันในประเด็นที่เกี่ยวกับศิลปะและวิธีการสอนที่มีความสลับซับซ้อนและประเด็นทางวิชาการอื่น ๆ สำหรับเป้าหมายสูงสุดของนักแสดงกลุ่มนี้ คือ การทำให้เกิดความเท่าเทียมกันเชิงวิชาการที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ การผลักดันให้เกิดการปรับปรุงในเรื่องคุณภาพการสอน การเรียนรู้ และเป็นห้องปฏิบัติการแห่งประสบการณ์ที่ผู้ชมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง การแสดงของนักแสดงศูนย์เดเร็ค บ็อกนี้จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การแสดงสั้น ๆ ประมาณ 10 – 20 นาที หลังจากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ปฎิสัมพันธ์กับนักแสดงหรือถามคำถาม ตามมาด้วยการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ชมเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเห็นในการแสดงนั้น ๆ สุดท้ายนำเสนอบทบาทสมมติ 1 หรือ 2 ตอนสั้น ๆ จากการแสดง แล้วให้ผู้ชมเสนอพฤติกรรมใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการสอน

 
ประยุกต์สู่มหาวิทยาลัยไทย

 
ดังข้างต้นจะเห็นได้ว่า ฮาร์วาร์ดได้ประยุกต์ใช้วิธีการที่หลากหลายในการพัฒนาคุณภาพการสอนของคณาจารย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยไทยเอง ควรมีระบบการพัฒนาคุณภาพการสอนคณาจารย์ที่หลากหลายและเหมาะสมกับคณาจารย์กลุ่มต่างๆ เช่น คณาจารย์เข้าใหม่ คณาจารย์จากภายนอก และคณาจารย์ประจำ ซึ่งควรมีการจัดทำการสำรวจปัญหาหรือความต้องการของคณาจารย์ในการพัฒนาการสอน การใช้วิธีการให้คณาจารย์หรือนักศึกษาเสนอแนวทางหรือโครงการพัฒนาคุณภาพการสอนของคณาจารย์ การจัดทำโครงการนำร่องในบางคณะหรือบางส่วนของมหาวิทยาลัย การประเมินความเป็นไปได้และผลจากการพัฒนาโครงการ รวมถึงการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการสอนของคณาจารย์ที่มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องให้ได้มากที่สุด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาและดึงศักยภาพคณาจารย์ในระบบ ได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังไม่ได้มีส่วนในการพัฒนาคุณภาพคณาจารย์ที่อยู่ในระบบเท่านั้น แต่ยังจะเป็นส่วนดึงดูดคณาจารย์เก่งที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่มหาวิทยาลัยได้ด้วย อันเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มคุณภาพและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย

 

Friday, October 15, 2010

Profressor Kriengsak Chareonwongsak To be a Gentleman

“ การจะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่านี่ต้องเกิดจากการทิ้งมรดกของการทำบางอย่างไว้ ก่อนที่เราจะตายจากโลกนี้ไป แล้วก็อยากเป็นการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองในเชิงสร้างสรรค์ที่ทิ้งบ้านเมืองที่ ดีในอนาคตเพื่อคนรุ่นต่อไปจะได้เป็นอยู่ ”

หากจะเปรียบเปรยคำพูดข้างต้นของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ชายผู้มากความสามารถ รวมถึงในฐานะนักคิด นักเขียน ผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 51 ปี ผู้นี้ คงเสมือนดั่งวรรคทองในกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระปรมานุชิตชิโณรส ที่ว่า

พฤษภกาสร   อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง   สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย   มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี   ประดับไว้ในโลกา

อาจเป็นเพราะชีวิตมีอะไรให้ค้นหาไม่รู้จบ หนอนหนังสือตัวน้อยจึงเติบโตเป็นผีเสื้อแสนสวยสร้างสรรค์ความงามแก่โลกใน ภาระหน้าที่ตามวิถีทางแห่งชีวิตของตน

Thursday, October 14, 2010

Kriengsak Chareonwongsak Harvard library Part 2

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด

                    ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานเฉพาะกิจจึงเสนอให้มีการปฏิรูประบบโครงสร้างการบริหารจัดการและรูปแบบทางการเงินของห้องสมุดใหม่ ใน 5 ประเด็นหลักดังต่อไปนี้
                 
  1. การจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางการบริหารจัดการห้องสมุดร่วมกัน เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพและมีความคุ้มทุนมากขึ้น ซึ่งในที่นี้ยังคงยืนอยู่บนพื้นฐานหลักคิดการเป็นผู้นำทางด้านสติปัญญาและความเชี่ยวชาญของห้องสมุดย่อยในแต่ละแห่ง รวมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลาย นับได้ว่าเป็นจุดแข็งของระบบห้องสมุด ฮาร์วาร์ดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คณะทำงานเฉพาะกิจฯ ได้เสนอให้มีรูปแบบการบริหารจัดการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ระบบการดูแลรักษา และการบริการเชิงเทคนิคอื่น ๆ ร่วมกัน 
  2. การปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ โดยสร้างและปรับปรุงรูปแบบการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ซึ่งระบบเทคโนโลยีหลักของห้องสมุดแต่ละแห่งภายในมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การทำงานทางด้านวิชาการร่วมกัน ทั้งระดับภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบการตัดสินใจและระบบการบริหารจัดการทางด้านเงินทุนของห้องสมุดทั้งระบบดังจะกล่าวในหัวข้อถัดไป
  3. การปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการทางการเงิน ปัจจุบันระบบการบริหารจัดการทางด้านการเงินของห้องสมุดเกี่ยวกับการซื้อวัสดุอุปกรณ์และการให้บริการ ยังเป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัยจึงควรจัดให้มีการประเมินระบบการบริหารจัดการทางการเงินเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และการให้บริการของห้องสมุดใหม่ โดยเริ่มต้นจากการประเมินระบบการบริหารจัดการทางด้านการเงินของ Harvard Depository ก่อน การเริ่มต้นปรับปรุงที่สถานที่เก็บวัสดุอุปกรณ์นี้ จะทำให้ได้รูปแบบผลลัพธ์ที่เป็นต้นแบบ ซึ่งอาจขยายสู่ความร่วมมือในลักษณะอื่น ๆ ได้
  4. การบริหารจัดการห้องสมุดภายในฮาร์วาร์ด อย่างเป็นองค์รวม หากห้องสมุดแต่ละแห่งแยกกันจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ แทนที่จะซื้อร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย จะมีผลทำให้ห้องสมุดขาดอำนาจในการต่อรอง จนในที่สุดแล้วจะทำให้ห้องสมุดย่อยแต่ละแห่งเหล่านี้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป เมื่อเทียบกับสัดส่วนของการให้บริการ ขาดประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรในภาพรวมของห้องสมุดทั้งระบบ ซึ่งความพยายามที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยเชิงเดี่ยว เพื่อเพิ่มพลังอำนาจการต่อรอง และผลักดันให้มีการบริหารทรัพยากรของห้องสมุด นอกเหนือจากขอบเขตการครอบครองของคณะหรือสาขาของตนนี้ จะต้องทำให้ความร่วมมือระหว่างกันของห้องสมุดต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจมีการจัดตั้งสำนักงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดซื้อและการให้ใบอนุญาต ตลอดจนทำหน้าที่เจรจาต่อรองกับผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น
  5. การร่วมมือใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างห้องสมุด ร่วมกันปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำให้การปฏิบัติงานร่วมกับระบบอื่น ๆ ของห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางวิชาการได้มากที่สุด ขณะเดียวกันห้องสมุด ฮาร์วาร์ด พยายามขยายความร่วมมือดังกล่าวไปยังสถาบันอื่นด้วย เช่น MIT เพื่อลดค่าใช้จ่ายและทำให้เกิดการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของห้องสมุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต


ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

Kriengsak Chareonwongsak Harvard library Part 3

ปฏิรูประบบห้องสมุดฮาร์วาร์ด

ประยุกต์สู่ประเทศไทย

            ห้องสมุดหรือสถาบันวิทยบริการของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นับเป็นหัวใจสำคัญในการค้นคว้าวิจัยที่สำคัญและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในระดับการอุดมศึกษาและระดับประเทศ ผมเชื่อว่า “คนจะเก่ง รู้ลึก รู้กว้าง และรู้ไกลได้ จะมาจากการค้นคว้าเพิ่มเติม การเรียนรู้ในชั้นเรียนไม่เพียงพอ”

           ดังนั้นการพัฒนาห้องสมุดที่มีการบริการหนังสือและสื่อวิชาการที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่เท่าทันพรมแดนความรู้ระดับโลกและมีความทันสมัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

 ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาห้องสมุดหรือสถาบันวิทยบริการมาโดยตลอด เมื่อมีโอกาสในบรรยายกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ห้องสมุดควรพัฒนาสู่การเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อควรอยู่ในรูป E-book การพัฒนาระบบบริการ E-book ถึงบ้านและที่ทำงาน การสร้างความร่วมมือและการเป็นพันธมิตรระหว่างห้องสมุด มหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เดียวกันในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การสร้างเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์กับห้องสมุดทั่วโลก การมีระบบค้นหาความต้องการหนังสือและสื่อองค์ความรู้ที่จำเป็นจากกลุ่มคนต่าง ๆ เพื่อคัดสรรสื่อความรู้ที่มีคุณภาพเข้าสู่ห้องสมุดต่อเนื่อง การสร้างกลไกการบริจาคทุนทรัพย์จากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกสู่ห้องสมุด โดยผู้บริจาคควรมีส่วนได้รับเกียรตินั้นเช่น การตั้งชื่อห้อง ชื่อตึก หรือแผนกที่เก็บสื่อความรู้เป็นชื่อผู้ที่บริจาค หรือการเปิดเวลาทำการนอกเวลาราชการ โดยเฉพาะช่วงเย็น และเสาร์อาทิตย์ที่ผู้คนจะสามารถเข้ามาใช้เวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ เป็นต้น


ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

Tuesday, October 5, 2010

Kriengsak Chareonwongsak : example of qulified teaching in Harvard

ตัวอย่างบริการเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนในฮาร์วาร์ด

คุณภาพการสอนเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาในฮาร์วาร์ด ซึ่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยในแต่ละยุคแต่ละสมัยต่างให้ความสำคัญมาโดยตลอด เห็นได้จากการจัดให้มีโปรแกรมอบรมการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้สอนที่มีความหลากหลายอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่เฉพาะเพียงแค่กลุ่มคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ในที่นี้ยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มวิทยากรรับเชิญ ผู้ช่วยในวิชาที่เรียน (Course Assistance (CA) ผู้สอนที่เป็นบุคคลภายนอกในการสอนระดับบัณฑิตศึกษา (Graduate student teaching fellows (TFs)) และผู้ช่วยสอนอื่น ๆ (teaching assistants) ควบคู่ไปกับการจัดหาและจัดเตรียมทรัพยากรที่สำคัญจำเป็น ซึ่งช่วยทำให้การสอนมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

Thursday, September 30, 2010

Kriengsak Chareonwongsak : renovate the public park in Harvard

Kriengsak Chareonwongsak :ฮาร์วาร์ดพัฒนาสวนสาธารณะแหล่งเรียนรู้ที่ชุมชนมีส่วนร่วม

ในช่วงที่ผ่านมา ฮาร์วาร์ดได้ร่วมมือกับชุมชนเขตออลสตันและเมืองบอสตันวางแผนสร้างสวนสาธารณะแห่งใหม่ เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ละแวกใกล้เคียง โดยสวนสาธารณะดังกล่าวนี้จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างบริเวณด้านหลัง Honan - Allston Branch ของห้องสมุดประชาชนเมืองบอสตัน ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดถึง 1.74 เอเคอร์ เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงให้กลายเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่มีความเงียบสงบ มีความเขียวขจี และเต็มไปด้วยต้นไม้ผลัดใบพันธ์พื้นเมืองหลากหลายชนิด ลักษณะเด่นของสวนสาธารณะแห่งนี้คือ

Friday, September 24, 2010

Kriengsak Chareonwognsak : Prof. Kriengsak Chareonwongsak Meeting parent in Harvard

การจัดกิจกรรมวันหยุดสุดสัปดาห์สำหรับผู้ปกครองของนักศึกษาปี 1 (Freshman Parents weekend) เป็นประเพณีที่ฮาร์วาร์ดได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับนักศึกษา ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ปกครองของนักศึกษาเหล่านี้ ได้เข้าใจในสภาพบริบทการเรียนการสอนและได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตการเป็นนักศึกษาฮาร์วาร์ดมากขึ้น โดยฮาร์วาร์ดคาดหวังเป็นอย่างมากว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับตัวและการพูดคุยกันระหว่างมหาวิทยาลัยและผู้ปกครองกับนักศึกษา
สำหรับปีนี้ ฮาร์วาร์ดได้จัดให้มีกิจกรรมวันหยุดสุดสัปดาห์สำหรับผู้ปกครองขึ้นในวันที่ 23 – 24 ตุลาคมที่ผ่านมา

Thursday, September 23, 2010

Prof Kriengsak Chareonwognsak comment R&D in Harvard

ฮาร์วาร์ดกับงานวิจัยและวิชาการด้านจีนศึกษา

ที่ผ่านมา นอกจากฮาร์วาร์ดจะมุ่งดำเนินนโยบายโดยให้ความสำคัญกับการทำงานแบบสหวิทยาการร่วมกันระหว่างคณะ วิทยาลัย และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยแล้ว ฮาร์วาร์ดยังได้ขยายพรมแดนความร่วมมือดังกล่าวนี้ไปยังมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในต่างแดน ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงความร่วมมือกับประเทศจีน มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการทำวิจัยและการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการในประเด็นเกี่ยวกับประเทศจีนร่วมกัน รวมทั้ง เพื่อเป็นแนวทางที่จะช่วยพัฒนาให้ความสัมพันธ์และความร่วมมือที่มีระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาฮาร์วาร์ดกับสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยในจีน ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอีกด้วย