Thursday, October 21, 2010

ปัญญา ที่มาของ ปรัชญา ผู้มีปัญญา ที่มาของ เมธี ตอนที่ 2

ในความเป็นจริงทุกคนนั้นเป็น “นักปรัชญา” ถึงระดับหนึ่ง ตามความหมายของคำว่าปรัชญาประการหนึ่งที่ได้กล่าวถึงแล้วก็คือ ทัศนะส่วนตัวที่ทุกคนมีต่อชีวิตและโลก หรือปรัชญาการมองโลกที่มีผลต่อค่านิยมและการแสดงออกในชีวิตของคนแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตามปรัชญาที่แต่ละคนยึดถือนั้นอาจไม่ได้แสดงออกถึงซึ่ง “ปัญญา” ของบุคคลนั้น อันเป็นเหตุทำให้คนจำนวนไม่น้อยยึดปรัชญาที่ไม่สร้างปัญญาอันเป็นปรัชญาที่ ผิดในการดำเนินชีวิต สร้างความเสียหายให้ตนเองและผู้อื่นหรือหาทางออกให้กับชีวิตตนเองไม่ได้ตลอด ชีวิต และหากคนในสังคมส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ที่ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต ก็จะส่งผลร้ายต่อสังคมในภาพรวมได้ ปัญญาจึงเป็นเรื่องที่จะต้องมีผสมผสานอยู่ในปรัชญาการดำเนินชีวิตของคนใน สังคมทุกคนด้วย

ประชาชนทุกคนควรเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตด้วย ปัญญา เป็นผู้ที่รักในการแสวงหาปัญญา และมีความสามารถในการใช้วิจารณญาณในการดำเนินชีวิตมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก ประชาชนที่มีลักษณะเช่นนี้เราสามารถเรียกได้ว่าเป็น “ประชาเมธี” หรือ ประชาชนที่ใช้ปัญญา หรือ สังคมที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ซึ่งหากประชาชนส่วนใหญ่ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต สังคมนั้นก็จะเต็มไปด้วยความหวังความสงบสุขและความเจริญ เพราะมีความคิดที่ถูกต้อง ไม่ล่องลอยไปกับอารมณ์ความรู้สึก ไม่ถูกหลอกง่าย หรือหลงเชื่อในสิ่งใดอย่างงมงายไร้เหตุผล แต่เป็นผู้ที่สามารถให้เหตุผลต่อสิ่งที่ทำได้อย่างเหมาะสม สร้างความเจริญให้กับประเทศชาติได้ในที่สุด

No comments:

Post a Comment