Tuesday, April 17, 2012

สหกรณ์ไทยจะอยู่รอดได้ ต้องเปลี่ยนแนวคิด


ผมได้รับเชิญไปร่วมอภิปรายในงานเสวนา “100 ปี สหกรณ์ไทย ก้าวใหม่แห่งการพัฒนา”
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองอธิบดีกรม
ส่งเสริมสหกรณ์ และประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์ เป็นวิทยากรผู้ร่วมการอภิปราย
งานเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทบทวนบทเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ไทยในช่วง 100 ปี
ที่ผ่านมา และแสวงหาทิศทางการพัฒนาสหกรณ์ไทยในอนาคต
     สหกรณ์ในประเทศไทยเปรียบเหมือนนักมวยที่ได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ เหมือนไข่ในหิน สหกรณ์
จึงไม่ค่อยได้เผชิญกับการแข่งขันมากนัก แตกต่างจากธุรกิจภาคเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ซึ่งต่างต้องขึ้นสังเวียนต่อสู้ในโลกธุรกิจที่แท้จริง จนทำให้ธุรกิจต้องล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก
    ดังตัวอย่างของร้านโชว์ห่วยซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาพยายามผลักดันให้สู้กับธุรกิจโมเดิร์นเทรด อย่าง
เช่น เทสโก้โลตัส บิ๊กซี หรือคาร์ฟู แต่ด้วยธรรมชาติของร้านโชว์ห่วยที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเงินทุน ทำวิจัย
และ พัฒนาได้ยาก ทำการตลาดแข่งขันไม่ได้ และไม่มีความประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ทำให้แข่งขันไม่ได้ จนโชว์ห่วยมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ

    ขณะที่สหกรณ์ยังไม่ต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงดังกล่าว เพราะมีกฎหมายและกลไกของรัฐ
ปกป้องอยู่ แต่ในอนาคตหากสหกรณ์ถูกบังคับให้ต้องแข่งขัน สหกรณ์จำนวนมากอาจแข่งขันไม่ได้
หากการดูแลสหกรณ์ยังเป็นแบบเดิมๆ
 
ซึ่งไม่สมจริงและไม่ทำให้สหกรณ์แข่งขันได้จริง ถึงกระนั้นไม่ได้
หมายความว่าสหกรณ์ไม่ควรแข่งขัน แต่ระบบการดูแลสหกรณ์ต้องมีการยกเครื่องเพื่อให้สหกรณ์มีความ
พร้อมที่จะออกไปต่อสู้ในโลกธุรกิจที่แท้จริง
    ในฐานะที่ผมได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการสหกรณ์ และมีความห่วงใยความอยู่รอดของ
สหกรณ์ 
ผมยินดีที่เห็นความพยายามของผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะผลักดันให้สหกรณ์ลุกขึ้นสู้ แต่การทำให้สหกรณ์
แข่งขันได้ ภาครัฐในฐานะพี่เลี้ยงของสหกรณ์จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ซึ่งผมมีข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาสหกรณ์ดังนี้...
‘ฟันธง’ หากไม่เล็กก็ต้องใหญ่ไปเลย
     ผมเคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งคือ “SLE: ทิศทางธุรกิจไทยในอนาคต” หนังสือเล่มนี้อธิบายว่า
ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ในอนาคตจะต้องเป็น S คือธุรกิจขนาดเล็ก หรือไม่ก็ L คือธุรกิจขนาดใหญ่
ส่วน M หรือธุรกิจขนาดกลางๆ จะอยู่รอดได้ยาก
    ในทำนองเดียวกันสหกรณ์ที่จะอยู่รอดได้ในอนาคตต้องเป็นสหกรณ์ขนาดเล็กหรือใหญ่ไปเลย สนับสนุนสหกรณ์ให้ใหญ่คับโลก ผมเห็นว่าสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่แข่งขันได้ในอนาคตนั้นไม่ใช่ใหญ่
ระดับชาติแต่ต้องใหญ่ระดับโลก เพราะสหกรณ์ต้องแข่งขันในระดับโลก คู่แข่งของสหกรณ์เป็นธุรกิจ
ขนาดใหญ่ระดับโลก ดังจะเห็นได้จากกระแสการควบรวมของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สถาบัน
การเงิน บริษัทยา บริษัทน้ำมัน เป็นต้น เนื่องจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต้อง
แข่งกันด้วยประสิทธิภาพ ซึ่งการควบรวมกิจการทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบจากความประหยัดจาก
ขนาดมากขึ้น
     วิสัยทัศน์การพัฒนาสหกรณ์จึงควรเป็นพยายามทำให้สหกรณ์ที่มีศักยภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยอาจ
พิจารณาถึงแนวทางในการเปิดโอกาสให้สหกรณ์ในระดับชั้นคุณภาพดีมีข้อจำกัดในการดำเนินงานลดลง
มีโอกาสในการทำธุรกิจได้กว้างขวางขึ้น ระดมสมาชิกได้หลากหลายมากขึ้น และเข้าถึงทรัพยากรและ
เงินทุนได้มากขึ้น ตลอดจนการสนับสนุนการควบรวมกันของสหกรณ์ ทั้งการควบรวมกับสหกรณ์ประเภท
เดียวกันหรือต่างประเภทกัน หรือแม้กระทั่งการรวมตัวกับองค์กรธุรกิจรูปแบบอื่น
     ทำให้สหกรณ์เป็นสหกรณ์เฉพาะทาง (Specialized Co-op) โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้าง
ของสหกรณ์ให้มีความคล่องตัว กระฉับกระเฉงมากขึ้น โดยเน้นเฉพาะการทำธุรกิจที่เป็นจุดแข็งหรือ
ความเชี่ยวชาญหลัก (core competence) ของสหกรณ์ และเน้นการทำธุรกิจที่เป็นช่องว่างการตลาด (niche market) ซึ่งมีความแตกต่างจากสิ่งที่ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันโดยตรงกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความได้เปรียบมากกว่า ตัวอย่างเช่น หาก
สหกรณ์ต้องการจำหน่ายเสื้อผ้าอาจเน้นการจำหน่ายเสื้อผ้าสำหรับคนอ้วน หรือการจำหน่ายสินค้าสำหรับ
คนถนัดซ้าย เป็นต้น
‘ปลดแอก’ ให้ดำเนินงานได้ครบวงจร
    ในปัจจุบัน กฎระเบียบของรัฐได้กำหนดกรอบการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยจำแนกสหกรณ์เป็น 7
ประเภทที่มีขอบเขตการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี การจำกัดขอบเขตการดำเนินงานของ
สหกรณ์เช่นนี้ แม้ว่ามีเหมาะสมกับสถานการณ์ในอดีต แต่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนิน
ธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจมีความ
ผันผวนมากขึ้น โอกาสและเครื่องมือทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีมากขึ้น และขอบเขตของธุรกิจมีความชัดเจน
น้อยลง เนื่องจากการเชื่อมโยงและบูรณาการของกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ มีมากขึ้น 
การจำกัดขอบเขต
การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์จึงอาจทำให้สหกรณ์ขาดความยืดหยุ่น และไม่สามารถกระจายความเสี่ยง
ทางธุรกิจได้ รวมทั้งปิดโอกาสในการดำเนินธุรกิจอื่นที่อาจมีส่วนสนับสนุนหรือเพิ่มความเข้มแข็งให้กับ
ธุรกิจหลัก
      ผมได้เสนอให้ภาครัฐเปลี่ยนแนวคิดการกำกับดูแลและส่งเสริมสหกรณ์ จากการแบ่งประเภทสหกรณ์
เป็นแท่งๆ เป็นการเปิดโอกาสให้สหกรณ์ที่มีอยู่กลายเป็น “สหกรณ์สากล” (Universal
Cooperatives) หรือสหกรณ์ที่สามารถทำธุรกิจได้ครบวงจรในตัวเอง ซึ่งจะทำให้สหกรณ์สามารถ
กระจายความเสี่ยงได้ และมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ออมทรัพย์
ซึ่งหากแข่งขันกับธนาคารโดยตรงจะไปไม่รอด ภาครัฐจึงควรเปิดโอกาสให้สหกรณ์ออมทรัพย์ทำธุรกิจ
การเงินได้หลากหลายมากขึ้น เพราะแม้แต่ธนาคารพาณิชย์เองยังต้องปรับตัวให้เป็นธนาคารครบวงจร
(Universal Bank) เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการและกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ 
...

ทิศทางการพัฒนาการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม

ประเด็นร้อนที่สุดสำหรับรัฐบาลในเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนข้อสงสัยของสังคม
เกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลได้มุ่งไปที่ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง
นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายใช้อำนาจในการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตนเองและพวกพ้อง อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการบริหารจัดการที่ผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือ
ไม่ก็ตาม

     ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่เด่นชัดของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหาร
ประเทศมีหลายนโยบายและโครงการที่มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ จนทำให้การดำเนิน
งาน ขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ อาทิ 
 


ELETTER                                                                                           มีนาคม 2554
 

                    ทิศทางการพัฒนาการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม
                               
     ประเด็นร้อนที่สุดสำหรับรัฐบาลในเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนข้อสงสัยของสังคม
เกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลได้มุ่งไปที่ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง
นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายใช้อำนาจในการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตนเองและพวกพ้อง อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการบริหารจัดการที่ผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือ
ไม่ก็ตาม

     ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่เด่นชัดของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหาร
ประเทศมีหลายนโยบายและโครงการที่มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ จนทำให้การดำเนิน
งาน ขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ อาทิ 
    

- การจัดงานแสดงสินค้า “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่และรูปแบบ
การจัดงาน จนได้รับการต่อว่าอย่างรุนแรงจากผู้ประกอบการที่มาออกร้านแสดงสินค้า ทำให้ต้อง
กลับไปจัดในรูปแบบเดิมในปีต่อมา - โครงการต้นกล้าอาชีพที่มีการประเมินผิดพลาดทำให้มีผู้เข้
มาฝึกอาชีพน้อยกว่าเป้าหมายมากจนต้องยกเลิกโครงการบางส่วนที่ดำเนินการไม่ได้ไปในที่สุด

- การเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างล่าช้า ทำให้ภาคเอกชนกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน
การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

- โครงการขายไข่ตามน้ำหนักที่ขาดการศึกษาอย่างรอบคอบ ทำให้โครงการนี้ไม่ได้รับความ
สนใจจากผู้บริโภค และถึงแม้เป็นเพียงโครงการเล็กๆ แต่กลับใช้งบประมาณจำนวนมากในการ
ดำเนินโครงการ    การบริหารนโยบายน้ำมันปาล์มเป็นอีกคำรบหนึ่งที่สะท้อนถึงความผิดพลาด
ในการบริการจัดการของรัฐบาล เพราะการบริหารนโยบายไม่สอดคล้องกับสภาพของตลาด
น้ำมันปาล์มในประเทศ

      สภาพตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศไทยในปัจจุบันมีลักษณะของการแทรกแซงกลไกตลาด
 โดย ด้านอุปทานมีการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยห้ามนำเข้าหรือจำกัดโควตาการนำเข้า
และรัฐบาลพยายามกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกร ส่วนด้านอุปสงค์ ความต้องการน้ำมัน
ปาล์มมาจาก 3 ส่วน ส่วนแรก คือน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภค (น้ำมันปาล์มบรรจุขวด) ซึ่ง
ควบคุมเพดานราคา เพื่อดูแลด้านค่าครองชีพของประชาชน ส่วนที่สอง คือน้ำมันปาล์ม ที่ใช้เป็น
วัตถุ ดิบของอุตสาหกรรม (น้ำมันปาล์มบรรจุถัง) ซึ่งราคาเป็นไปตามกลไกตลาด และส่วนที่สาม คือน้ำมันปาล์ม สำหรับผลิตไบโอดีเซล ซึ่งรัฐบาลให้การอุดหนุนผู้ผลิตไบโอดีเซล เพื่อสนับสนุน
การใช้พลังงานทางเลือก

     ในภาวะปกติที่น้ำมันปาล์มมีปริมาณที่เหมาะสม  กลไกการแทรกแซงตลาดดังกล่าวยังสามารถ
ดำเนินการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มใดอย่างเด่นชัด เพราะไม่ฝืนกลไกตลาดมาก
นัก แต่ในภาวะที่ปริมาณน้ำมันปาล์มในประเทศขาดแคลนจนทำให้ราคาสูงขึ้นมากดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะขาดแคลน น้ำมันปาล์มบรรจุขวดย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม
ที่มีพฤติกรรมแสวงหากำไรสูงสุด ย่อมไม่ต้องการผลิตน้ำมันปาล์มบรรจุขวดที่มีการกำหนดเพดาน
ราคาที่ไม่สะท้อนกลไกตลาด (แม้รัฐบาลจะขยับเพดานราคาขึ้น 9 บาทแล้วก็ตาม) แต่จะหันไป
ผลิตน้ำมันปาล์มสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ไม่มีการแทรกแซงกลไกราคา และน้ำมันปาล์มสำหรับ
ผลิตไบโอดีเซลซึ่งบริษัทน้ำมันยินดีรับซื้อในราคาตลาดเพราะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

      ในระยะยาว การปล่อยให้กลไกตลาดทำงานน่าจะเป็นหนทางที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ใน การจัดสรรน้ำมันปาล์มแก่ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ และไม่ทำให้เกิดการขาดแคลนดังที่ปรากฏใน
ปัจจุบัน แต่เนื่องด้วยเหตุผลของความไม่พร้อมของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศ โครงสร้าง
พื้นฐาน และกลไกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้รัฐบาลยังจำเป็นต้องแทรกแซงตลาด แต่ด้วยวิธีการบริหาร
จัดการตลาดน้ำมันปาล์มในปัจจุบันที่ใช้ดุลพินิจของผู้กำหนดนโยบายเป็นหลัก การจัดสรรน้ำมัน
ปาล์มอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น จึงต้องการรัฐบาลที่สุจริตและมีความสามารถสูงในการ
บริหารจัดการ (ดูภาพที่ 1)

      อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การบริหารจัดการของ
รัฐบาล มีความผิดพลาด ทั้งความผิดพลาดในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลผลิตน้ำมันปาล์ม ความผิดพลาด ในการบริหารปริมาณน้ำมันปาล์มสำรองจนทำให้ปริมาณเหลือน้อย ความล่าช้า
ในการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อลดการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในประเทศ การนำเข้าน้ำมันปาล์ม
ผิดประเภท โดยนำเข้าเป็นน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ทำให้ต้องเสียเวลาในการกลั่นเป็นน้ำมันปาล์ม
บริสุทธิ์ การแบ่งโควตาผลิตน้ำมันปาล์มไม่สอดคล้องกับกำลังการผลิตของแต่ละโรงงาน การไม่
ควบคุมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มให้ผลิตน้ำมันบรรจุขวดในปริมาณที่ได้รับโควต้า และการกระจาย
สินค้าไม่ทั่วถึง 
อ่านบทความเรื่องอื่นๆ ได้ที่     www.kriengsak.com

น้ำมันปาล์มแสนตัน ทางแก้หรือยิ่งแย่


ราคาน้ำมันปาล์มมันแพงก็เพราะว่ามีเรื่องผิดปกติบาง
ส่วนเข้ามาผสมอยู่ด้วย ผมเข้าใจว่ามีผู้ได้ประโยชน์พอ
สมควร จากการที่ราคาน้ำมันปาล์มขึ้น สมมุติยกตัวอย่าง
ง่ายๆว่า เราเป็นเจ้าถิ่นผู้ยิ่งใหญ่ที่มีน้ำมันปาล์มอยู่แล้ว เรา
สามารถนำไปกักตุนไว้บ้าง บางระดับเพื่อทำให้มันขาด
ตลาดบ้างบางส่วน ผสมกับสภาพจริงด้วย หลายอย่างที่มี
แนวโน้มเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วที่จะไม่เพียงพอราคามันขึ้นอยู่
แล้วเรายังจะทำให้มันขึ้นไปอีก แล้วยังจะสามารถได้
ประโยชน์ส่วนต่างเยอะๆ คนนั้นก็จะรวยขึ้นมาได้จากการ
ที่เล่นกลจากสิ่งเหล่านี้

      ดังนั้น การจะพยายามให้ขาดแคลนเพื่อทำให้ราคาขึ้น
ชั่วคราวก็ตาม มันจะทำให้มีผู้ได้ประโยชน์อย่างมีนอกมีใน
อย่างไม่เหมาะสมก็เป็นได้ ผมก็คิดว่าเรื่องนี้แก้ไม่ยากก็
เสนอตั้งแต่วันแรกที่มีปัญหาที่เป็นข่าวขึ้นมา ผมก็ให้
สัมภาษณ์สดรายการวิทยุบอกว่าก็ปล่อยน้ำมันปาล์มใน
ที่อื่นไหลเข้ามาช่วงนี้ให้มากหน่อย ราคามันก็จะลงไปเอง
ก็พูดอย่างนี้แล้วตอนนี้ก็ปล่อยเข้ามาเล็กน้อย มันก็ไม่
เพียงพอ

      ฉะนั้นถ้าอยากกลับไปสู่ราคาปกติ ไม่ไปทำให้ชาวบ้าน
เดือดร้อนมากราคาน้ำมันที่ใส่ขวดไปขาย ในขวดไม่กี่บาท
มันก็เป็นต้นทุนแพงมากกับการทำข้าวแกง การผัดกับข้าว
ขายกับพ่อค้าแม่ค้าต่างๆ ประชาชนอยู่ก็ลำบากเพราะว่า
ราคาน้ำมันที่เอามาใช้ในครัวเรือนแพงมาก ฉะนั้นผมจึง
คิดว่าวิธีการง่ายสุดก็ต้องอย่าฝืน กลไกลตลาดก็ต้องปล่อย
น้ำมันที่มีล้นหลามในประเทศอื่น ในราคาที่ดีกว่าเรานี้ไหล
เข้ามา ราคามันก็จะลงไปเอง ก็ง่ายๆแต่ไม่ยอม มันก็แสดง
ถึงความแปลกประหลาดนิดหน่อยที่จะเกิดขึ้นถ้าเราจะกลัว
ว่าผลผลิตปาล์มของเราจะออกมาสักอีกหลายเดือนข้าง
หน้าแล้วจะทำให้ผลผลิตของผู้ผลิตซึ่งเขาเป็นผู้อุดหนุน
รายใหญ่ของพรรคการเมืองต่างๆอยู่ สมมุติว่าเรากลัวว่า
เขาจะเสียประโยชน์เลยเกรงใจ ก็เลยทำให้ประชาชน
เดือดร้อนเวลานี้มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องแต่แม้จะเอาใจ
ช่วยเขาและต้องการให้เขาไม่ลำบากและก็ได้ราคา เวลาที่
ผลผลิตออกมาเยอะๆ ก็ควรอย่างน้อยก็ทำเฉพาะหน้า
ให้พอสมควร

      ผมเข้าใจกลไกลการเมืองดีว่าต้องพึ่งพิงนายทุนที่มา
จากธุรกิจต่างๆรวมทั้งน้ำมันปาล์มบ้างบางส่วน แต่ผมก็
อยากจะฝากบอกว่าเราก็ต้องนึกถึงคนเดือดร้อนที่เป็นผู้
บริโภคด้วยไม่ใช่นึกแต่นายทุนเป็นหลักเท่านั้น และถ้า
เผื่อ เราปล่อยสภาพกลไกลตลาดให้ทำงานอยากปกติสุข
ก็ต้องแข่งขันกับเขาได้ราคาเราสู้ได้ ผลิตออกมาอย่าง
เหมาะสมยังไงมันก็ไม่ได้เสียหายต่อผู้อื่นที่เขาผลิตอยู่แล้ว
     ดังนั้น เราก็อย่าเพียงแต่เอาเปรียบประชาชนมากเกิน
ไปมีอะไรที่เป็นเรื่องความจำเป็นของประชาชนเช่นอาหาร
ต้องระวังครับอย่าทำให้ประชาชนเดือนร้อนครับ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์: ข้อเสนอในการจัดทำดัชนีความก้าวหน้าของชาติ


เมื่อไม่นานมานี้ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงาน
สนับสนุน การขับเคลื่อนสังคมด้วยดัชนีความก้าวหน้าของชาติ ในฐานะกรรมการท่านหนึ่ง
ที่ได้รับเชิญจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งทำหน้าที่เป็น
เจ้าภาพในการขับเคลื่อนงานนี้

          สสส.ได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้พัฒนาตัวชี้วัด ซึ่งสามารถวัดความก้าวหน้าของ
ประเทศได้อย่างแท้จริง ซึ่งมากไปกว่าการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยจีดีพีที่
อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงมิติการกระจายรายได้ ไม่ได้สะท้อนถึงสวัสดิการสังคมที่มีให้แก่
ประชาชน ไม่ได้สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และไม่ได้บอก
ว่าสังคมมีความเป็นธรรมหรือเอื้ออาทรต่อกันหรือไม่

  ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นด้วยกับแนวคิดนี้เป็นอย่างยิ่ง เป็นเวลานานหลายปีมาแล้วที่ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้เสนอแนะให้
มีการจัดทำดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุข (National well being index) เพื่อกำกับการทำงานของประเทศ
ในทุกเรื่องและทุกหน่วยงาน เพื่อจะเห็นประเทศถูกขับเคลื่อนไปในทุกมิติอย่างแท้จริง ส่วนดัชนี
ความก้าวหน้าของชาตินั้น ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้เคยเสนอความเห็นในเรื่องนี้ไปแล้วครั้งหนึ่งในช่วงแรกที่สสส.
มีแนวคิดเรื่องนี้ออกมาผ่านทางบทความเรื่อง “การจัดทำดัชนีความก้าวหน้าของประเทศ”
ในหนังสือพิมพ์โกลบอลบิซิเนส ฉบับวันที่ 24-30 เมษายน 2552

           ในการประชุมครั้งล่าสุดนั้น มีหลายประเด็นที่คณะกรรมการได้ร่วมอภิปรายกัน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิด
ว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านหากศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องนี้ โดยมีหลายสิ่งที่ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็น
ว่าคณะกรรมการชุดนี้ควรดำเนินการหากต้องการพัฒนาดัชนีความก้าวหน้าของชาติที่ใช้
งานได้อย่างแท้จริง อาทิ

          การจัดทำเมทริกซ์เพื่อแสดงผู้มีส่วนได้เสียในมิติต่างๆ ให้ครบถ้วน

          การพัฒนาดัชนีความก้าวหน้าของชาติเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย โดย สสส.ได้พยายาม
นำหน่วยงานที่สนใจและมีความห่วงใยในเรื่องนี้ หรือรับผิดชอบงานด้านที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ
ข้อมูลสถิติ ข้อมูลการพัฒนา รวมทั้งนักวิชาการ เครือข่ายสื่อ และเครือข่ายภาคประชาสังคม
เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งพยายามให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการ
สร้างดัชนีนี้ด้วย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีและศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นด้วยกับแนวคิดนี้

           อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่าการเลือกผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะนี้อาจทำให้ได้กลุ่มผู้มีส่วน
ได้เสียไม่ครบถ้วน อาจมีกลุ่มที่ไม่สนใจในประเด็นนี้มากนัก แต่มีความเกี่ยวข้อง และไม่ได้เข้า
มาร่วม ดังนั้น  ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่าควรมีการจัดระบบผู้มีส่วนร่วมให้เป็นระบบ โดยการจัดทำ “เมทริกซ์
ผู้มีส่วนได้เสีย” หรือตารางไขว้สำหรับบรรจุรายชื่อผู้มีส่วนได้เสียที่มีลักษณะตรงกับประเด็น
ในมิติต่างๆ เช่น ภาคส่วนต่างๆ ประเด็นที่สนใจ (เช่น ความยากจนหรือสิ่งแวดล้อม
สิทธิมนุษยชน ฯลฯ) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ เป็นต้น (ดูตัวอย่างในตารางที่ 1) วิธีนี้จะทำ
ให้เห็นภาพรวมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดและเห็นช่องโหว่ที่ยังขาด เพื่อจะสามารถนำ
กลุ่มคนต่างๆ เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนงานนี้ได้อย่างเหมาะสม


การนำฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมกับคณะทำงานตั้งแต่เริ่มต้น

            ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นว่าการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้พยายามใช้ “ยุทธการป่าล้อมเมือง” คือ
พยายามที่จะหว่านล้อมให้กลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด แต่ดูเหมือนจะละเลยกลุ่มที่สำคัญ
ไปนั่นคือ ฝ่ายการเมือง ซึ่งดูเหมือนจะถูกนำไปไว้ที่ชายขอบ ไม่ได้เกี่ยวข้องจนกว่างานจะสำเร็จ
แล้วนำไปเสนอให้ฝ่ายการเมืองพิจารณา ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นว่าวิธีการที่ดีกว่าคือ คณะทำงานนี้ควรนำฝ่าย
การเมืองเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรฝ่ายการเมือง เมื่อดัชนี
ความก้าวหน้าได้รับการพัฒนาแล้วเสร็จและนำไปใช้ในภาคปฏิบัติ ฝ่ายการเมืองจะได้มีความ
เข้าใจและขับเคลื่อนไปได้เต็มที่มากกว่า

การเชื่อมโยงกัน (Synchronization) ต้องมาจากทั้งบนลงล่างและล่างขึ้นบน

            คณะกรรมการให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเปิดโอกาส
ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบแนวคิดและตัวชี้วัดที่แสดงถึงความก้าวหน้า
ของประเทศและเหมาะสมกับบริบทของไทย ไม่เพียงเท่านั้นศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เสนอว่าควรมีการจัดกระบวนการ
เชื่อมโยงจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่างให้มีความสมดุล โดยคณะทำงานควรเชื่อมโยงข้อมูล
จากคณะกรรมการและภาคีอื่นไปยังประชาชนมากขึ้น ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสาร-
สนเทศที่มีอยู่เป็นสื่อกลาง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าถึงข้อมูลได้ระหว่างทางตลอดเวลา ทุกภาคี
สามารถเข้าถึง วิพากษ์วิจารณ์ได้ เสนอแนะได้ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานได้ผลมากขึ้นและเร็ว
ขึ้น เป็นต้น

            นอกจากนี้ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่า การสร้างวาทกรรมบางประการให้เกิดความสนใจในสังคมนั้นเป็น
สิ่งที่จำเป็นเช่นกัน เนื่องจากหากคนไม่เข้าใจสิ่งดีที่คณะทำงานพยายามทำนั้น เขาอาจไม่ได้ให้
ความร่วมมืออย่างเต็มที่ การกระตุ้นความสนใจของสังคมสามารถทำได้ทันทีควบคู่ไปกับการ
วางกรอบและจัดทำดัชนี โดยไม่จำเป็นต้องรอจนดัชนีแล้วเสร็จ

            ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การผลักดันวาระการจัดทำดัชนีฯ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
กรอบเวลาในการขับเคลื่อนเป็นสิ่งสำคัญ ขณะนี้การเมืองอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อคณะกรรมการ
ต้องติดตามสถานการณ์ว่าช่วงเวลาใดที่เสนอดัชนีแล้วแผนงานจะถูกขับเคลื่อนมากสุด ซึ่งศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เชื่อ
ว่าเวลาจะมาถึงในอีกไม่ช้า

            การประชุมที่ผ่านมาเป็นเพียงครั้งแรกเท่านั้น ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าดัชนีนี้จะออกมา
เป็นรูปเป็นร่างได้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์หวังว่าสังคมไทยจะถูกขับเคลื่อนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่านภาคส่วน
ต่างๆ ที่เข้ามาร่วมในการกระบวนการจัดทำดัชนีวัดความก้าวหน้าแห่งชาติในครั้งนี้

ได้รับการตีพิมพ์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์การเมือง : ทัศนะวิจารณ์วันอังคารที่ : 15 กุมภาพันธ์ 2554