Thursday, December 31, 2009

มีวิสัยทัศน์ มีความหวัง

•    ทอม วัตสัน จูเนียร์ เล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งพ่อของเขา ทอม วัตสัน ซีเนียร์ กลับมาถึงบ้าน พร้อมกับประกาศอย่างภาคภูมิใจว่า "ต่อไปนี้ บริษัท Computing Tabulating Recording จะเป็นที่รู้จักกันในนามใหม่ว่า International Business Machine (IBM) ซึ่งดูเพ้อฝันในการทำบริษัทข้ามชาติในขณะนั้น แต่ต่อมาในปี 1924 บริษัทใหม่นี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ระดับโลก และกลายเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ได้ในที่สุด
•    ยูจีน แลงก์ เคยมีความยากลำบาก มีปัญหามาก แต่เขาเป็นคนมีวิสัยทัศน์ และกลายเป็นเศรษฐีในที่สุด เขากล่าวว่า เด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสภาพที่ยากจนตลอดไป แต่ควรฝันว่าจะดีขึ้น และการศึกษาจะเป็นตัวทำให้ฝันเป็นจริงได้
Professor Kriengsak Chareonwongsak
•    ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ เคยถูกจำคุกหลายครั้งหลายหนเนื่องจากหนี้ที่เขาก่อขึ้นในขณะคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่เขาได้ใช้ความพยายามอย่างมาก ตรากตรำทำงานหนักในการคิดค้นนี้ เขามีวิสัยทัศน์ มีความหวัง ที่จะหลุดพ้นจากหนี้สินและเป็นคนมั่งคั่ง

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Tuesday, December 29, 2009

วิสัยทัศน์ส่งผลให้เกิดการประเมินผลตลอดเวลา

•    วิสัยทัศน์ส่งผลให้เกิดการประเมินผลตลอดเวลา คือเทียบกับความจริงว่ายังขาดสิ่งใด ถ้าไม่มีวิสัยทัศน์ ก็จะขาดภาพชัดในการเปรียบเทียบประเมิน
-    การไม่ประเมินจะทำให้ไม่ไปไหน หยุดอยู่กับที่ ในทางกลับกัน การประเมิน จะทำให้ไปถึงวิสัยทัศน์ได้มากขึ้นด้วย
•    วิสัยทัศน์ไม่เพียงทำให้เราไม่มองเพียงปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ยังทำให้เรามองไกลออกไปในอนาคต มองระยะยาว และเตรียมแผนการลงมือกระทำในเวลานี้
Professor Kriengsak Chareonwongsak
•    ถ้ามีคำว่า "วิสัยทัศน์" จะไม่มีคำว่า "ปัญหาเฉพาะหน้า" เพราะปัญหาถูกค้นพบมาก่อน และเตรียมพร้อมป้องกันไว้เรียบร้อย 
•    คนไม่มีวิสัยทัศน์ จะไม่คิดอะไรมาก พอใจกับสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ไม่คิดว่าจะทำให้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้นได้

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Wednesday, December 23, 2009

การไร้วิสัยทัศน์เหมือนกับฉีดน้ำจากสายยางไปทั่ว ๆ

•    การไร้วิสัยทัศน์เหมือนกับฉีดน้ำจากสายยางไปทั่ว ๆ สู่ขวดน้ำที่วางเรียงรายอยู่ ไม่ว่าจะฉีดกระจายนานเท่าใด น้ำก็ไม่เต็มขวดสักที
-    แต่การมีวิสัยทัศน์ ขวดน้ำจะเต็มได้ง่าย แม้ด้วยน้ำเอื่อย ๆ จากสายยาง เมื่อถูกนิ้วกดปลาย จะทำให้น้ำที่พุ่งออกมามีพลังขับเคลื่อนรุนแรง และตรงเป้าหมาย
•    เมื่อแต่ละคนมีจุดโฟกัสชัดเจน พลังงานที่มีจะไม่ถูกใช้ไปอย่างเรี่ยราด
•    คนบางคน ตลอดชีวิตทำอะไรได้มากมาย แต่บางคนใช้ชีวิตไปอย่างไร้คุณค่า
•    เมื่อสมาชิกทุ่มเทชีวิตเพื่อวิสัยทัศน์องค์กร เขาจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร และจะทำงานเสมือนองค์กรเป็นของเขาโดยอัตโนมัติ
•    เมื่อรู้ว่าจะไปทิศทางไหน ก็จะนั่งลงคิดอย่างจริงจังได้ว่าจะทำอะไรในชีวิต

Professor Kriengsak Chareonwongsak

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Monday, December 21, 2009

เป้าหมายที่มีคุณภาพโดยการมีวิสัยทัศน์

•    คนมีคุณภาพย่อมปรารถนาทำสิ่งที่มีคุณภาพ ซึ่งมักมาจากเป้าหมายที่มีคุณภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ ถ้าเรามีวิสัยทัศน์ แน่นอนว่าจะมีคนที่มีคุณภาพมาร่วมงานด้วย
-    เหมือนกับมีคลื่นย่านเดียวกัน คนมีวิสัยทัศน์จะรับสัญญาณ จากองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ได้ชัดเจนโดยไม่ต้องจูนคลื่น
-    ขณะที่คนมีวิสัยทัศน์ถูกดึงดูดเข้าสู่องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ คนที่ไม่มีวิสัยทัศน์ ขาดคุณภาพ ไม่ร่วมมือกัน จะถูกคัดออกจากองค์กรไปในตัว
•    คนมีวิสัยทัศน์จะสนุกกับงานหนัก ๆ ในองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ และอยากทำมากขึ้นอีก ขณะเดียวกัน คนที่ไม่มีวิสัยทัศน์ร่วม จะไม่อยากมาทำงาน เพราะงานหนักเกินไป แรงจูงใจไม่พอ

Professor Kriengsak Chareonwongsak
บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Saturday, December 19, 2009

การกระตุ้นทีมงานให้มีวิสัยทัศน์

 * ทีมงานที่มีวิสัยทัศน์จะถูกกระตุ้นให้เหยียดความสามารถและศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายในออกมาใช้ตลอดเวลา ผู้นำจึงสามารถสร้างทีมงานที่มีคุณภาพได้
 * อุปสรรค ปัญหา ความยากลำบาก การกระทบกระเทือนจิตใจ หรือเรื่องเลวร้ายใด ๆ จะไม่เป็นเหตุให้คนที่มีวิสัยทัศน์ล้มเลิกการเดินทาง
 * คนมีวิสัยทัศน์จะเดินต่อไปข้างหน้าได้ เพราะเขารู้ตั้งแต่แรกว่าจะต้องมีอุปสรรคและสิ่งกีดขวาง
Profressor Kriengsak Chareonwongsak
-    เห็นปัญหาอุปสรรคอยู่เหมือนกัน แต่การมีวิสัยทัศน์ไม่ได้โฟกัสอยู่ที่นั่น ภาพอนาคตสดใสต่างหาก ที่ดึงดูดใจให้มองดูยิ่งนัก
 * วิสัยทัศน์ จะทำให้เห็นภาพที่สร้างกำลังใจ ซึ่งทำให้ฝ่าอุปสรรคไปจนถึงความสำเร็จของวิสัยทัศน์ได้
 * บ่อยครั้งที่ผู้มีวิสัยทัศน์จะมีความกล้าหาญเกินกว่าปกติ เพราะเขามองไปข้างหน้าจึงยินดีกล้าเสี่ยง
 * วิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่เพียงพอเท่านั้น จะสร้างพลังขับเคลื่อนแรงกล้าในการทำเป้าหมายที่ตั้งใจให้สำเร็จ

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Tuesday, December 15, 2009

มีวิสัยทัศน์จึงเป็นกำไรชีวิต

 **การได้ทำงานในที่ที่มีวิสัยทัศน์จึงเป็นกำไรชีวิต เพราะจะทำให้เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ส่วนตัว ได้รับความสำเร็จทั้งส่วนตัว และส่วนรวมด้วย
Professor Kriengsak Chareonwongsak
 **การไปถึงวิสัยทัศน์ต้องมีความพยายามมากกว่าปกติ แต่ตามปกติคนทั่วไปใช้ศักยภาพในตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อัจฉริยะของโลกยังใช้พลังสมองไปเพียงเล็กน้อย
 **เรายังขยายความสามารถได้อีก ถ้ามีแรงจูงใจเป้าหมาย คอยเร้าให้นำศักยภาพออกมาใช้
 **ไม่มีนักวิ่งคนใดอยากได้เหรียญทอง แต่ออมแรงในการวิ่งแข่ง
 **วิสัยทัศน์ยิ่งใหญ่และชัดเจนเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เรากระตุ้นให้ตัวเองใช้ความสามารถอย่างเต็มที่มากขึ้นเท่านั้น
-    คนที่ตั้งใจจะประสบความสำเร็จ จะค้นและดึงศักยภาพในตัวออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ภายในช่วงระยะเวลาไม่นานนัก

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Saturday, December 12, 2009

ข้อคิดเพื่อชีวิตที่ดีของเรา ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

เราควรใช้ชีวิตของเราอย่างมีคุณค่าสูงสุด คือ ให้ความเสียสละนั้นได้เข้ามาจรรโลงใจของเรายกระดับคุณธรรมในจิตใจของเราในฐานะผู้ให้และผู้สร้างสรรค์สังคมและมีค่านิยมของชีวิตที่ลึกซึ้งไปกว่าเพียงความอยู่รอด
ถ้าเราเสียสละบางสิ่งบางอย่างส่วนตัวแล้ว จะทำให้ภาพรวมทั้งหมดดีขึ้น เราจะไม่ยินดีหรือ?
ความรู้สึกไม่ยอมเสียสิทธิ์เกิดจากความเห็นแก่ตัว ต้องการตั้งตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางและให้ทุกอย่างหมุนโคจรรอบชีวิตของตน
การให้อภัยทำให้เรามีความสุขเพราะเรารู้ว่า คนเราล้มเหลวได้ คนเราผิดพลาดได้ คนเราพลั้งเผลอได้
การให้อภัยเป็นกุญแจอีกดอกหนึ่ง ที่จะช่วยให้เราหมดความขมขื่นไปได้ ตรงกันข้ามกับการไม่ให้อภัยจะนำความเลวร้ายมาถึงชีวิตเรา และทำให้เกิดความเสียหายมากแก่ชีวิต
เราต้องมีโลกทัศน์ในการมองสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องแล้วเราจะไม่ขมขื่น
คนไม่ได้ต้องการแต่ไม้เรียว แต่ต้องการการอุ้มชูประเล้าประโลมใจด้วย
ในความสำเร็จใดๆนั้น ถ้าพื้นฐานชีวิตไม่รองรับม้าว่าเราจะมีองค์ประกอบภายนอกดีเลิศเพียงไรความสำเร็จนั้นไม่ยั่งยืนและจะไม่ดำรงอยู่ตลอดไป
การวางแผนนั้นไม่ยาก แต่การทำให้แผนการนั้นสำฤทธิ์นั้นเป็นเรื่องยากกว่า
แม้ว่าจะมีเป้าหมายชีวิตที่ดีเลิศคงไม่สำเร็จได้เลย หากปราศจากความเอาจริงเอาจัง
ถ้าเราไม่ทำอย่างจริงจัง แม้เก่งก็ล้มเหลวได้
ปลาต้องเป็น ปลาเป็นจึงจะว่ายทวนน้ำได้ปลายตายก็ไหลตามน้ำไปสบายๆ ไม่ต้องออกแรงไม่ต้องตั้งอะไรก็ไหลได้
พวกที่ชอบทำอะไรแบบง่ายๆก็เจอปัญหาง่าย ๆ เหมือนกัน
ความผิดพลาดและความล้มเหลวนั้น เป็นเหมือนครูเพื่อการเรียนรู้ในก้าวต่อไป

Friday, December 11, 2009

เส้นทางไปสู่วิสัยทัศน์

Professor Kriengsak Chareonwongsak
 เส้นทางไปสู่วิสัยทัศน์นำมาแต่ความเจริญ เกิดการพัฒนา กล้าหาญทำสิ่งดีที่ไม่เคยทำมาก่อน


 วิสัยทัศน์นำมาซึ่งทิศทาง ทิศทางนี้จะเป็นกรอบให้แก่ผู้บริหาร ในการจัดระบบและดำเนินการทุกอย่างในองค์กรอย่างประสานสอดคล้อง เกิดประสิทธิผล ประสิทธิภาพสูงสุด ถูกต้อง ตรงเป้าหมาย
 ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน จะวางแผนชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ต้องกำหนดทิศทางชัดเจน จะมีทั้งแผนระยะสั้น กลาง และยาว ว่าต้องทำอะไรบ้าง
-    เป็นธรรมดาที่ผู้นำและทีมงานที่รู้ทิศทางชัดเจน จะประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
 วิสัยทัศน์ทำให้คนมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทีมงานจึงเป็นเอกภาพโดยอัตโนมัติ
 ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ จะเป็นบุคคลผู้บรรทุกความฝันแห่งความสำเร็จในอนาคต แปรเปลี่ยนเป็นภาระใจและพลังผลักดันให้ความฝันนั้นเป็นจริงได้

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Saturday, December 5, 2009

กองทุนเวลาของ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

จาก สถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2544 จำนวนผู้พิการในไทยทั้งหมดอยู่ที่ 1 ล้านคน มีเด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งถือเป็นความพิการอย่างหนึ่งอยู่ถึง 1 แสนคน และในแต่ละปีจะมีเด็กที่รอการรักษาเช่นนี้อีกราว ปีละ 2,500 คน โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะเป็นเด็กที่เกิดในครอบครัวฐานะยากจน ในแต่ละปีหน่วยงานภาครัฐสามารถรองรับการรักษาได้เพียง 250 คน นั่นหมายถึงว่า มีเด็กอีกกว่า 7 – 8 หมื่นคน ในปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษา
(อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 8 ธันวาคม 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4060) เด็กเหล่านี้ส่วนมากเกิดในบ้านที่มีฐานะยากจน พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในระหว่างการตั้งครรภ์ จึงกินยาบางชนิด หรือป่วยเป็นโรค ทำให้เด็กที่เกิดมามีอาการปากแหว่งบ้าง เพดานโหว่บ้าง หรือทั้ง 2 อย่างในคนเดียว และด้วยฐานะที่ยากจนนี้เอง ทำเด็กไม่ได้รับการรักษา เด็กๆ เหล่านี้ได้รับความทุกข์ทรมานมากอันเนื่องจากอาการของโรค คือไม่สามารถทานอาหารได้เต็มที่เหมือนเด็กปกติ ทำให้น้ำหนักตัวไม่ได้มาตรฐาน หรือป่วยซ้ำซ้อน เพราะกินอาหารไปจาก 100 % จะเหลือเพียง 20 - 50 % เท่านั้น นอกจากนั้นหากเด็กไม่ได้รับการรักษา เมื่อถึงวัยที่เข้าโรงเรียน มักจะโดนเพื่อน ๆ ล้อ จนเด็กเหล่านี้มีปมด้อยและไม่อยากไปเรียนหนังสือ

Friday, December 4, 2009

Kreingsak Chareonwongsak's Tip to working

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวเสมอว่า หากชีวิตของเราอยู่เพื่อหาเลี้ยงชีพ เราคงไม่ต่างกับสิงสาราสัตว์ที่และเล็มหญ้าเพื่อเอาตัวรอดไปวันๆ

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ จึงมีปรัชญาการทำงานว่า ทำสิ่งที่มีค่า ทำสิ่งที่ตนรัก ซึ่งวัดไม่ได้ด้วยตำแหน่งหน้าที่หรือชื่อเสียงเงินตรา แต่วัดด้วยการทำสิ่งที่มีประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมหรือไม่ หากเราเลือกทำงานที่มีคุณค่าและทำด้วยเห็นคุณค่า ส่งผลให้สามารถทำงานอย่างมีความสุข และสามารถใช้ศักยภาพที่ตนมีอย่างเต็มที่ ผลผลิตที่ได้จากการลงแรงจึงเกิดขึ้นากมาย อันนำความภาคภูมิใจมาสู่ชีวิต

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้รวบรวมปรัชญาและแนวทางการทำงานตลอดชีวิต 20 กว่าปีของชีวิตการทำงานของ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ไว้ใน "ข้อคิดเพื่อการทำงาน" เล่มนี้ ด้วยหวังว่าจะเป็นข้อคิดที่มีส่วนช่วยให้ทุกท่านสามารถใช้ชีวิตการทำงานที่เหลืออยู่ได้อย่างมีความสุขและได้ผลผลิตที่มีคุณค่า นำมาซึ่งความภาคภูมิใจและความสำเร็จในบั้นปลายของชีวิต

Thursday, November 26, 2009

Professor Kriengsak Chareonwongsak Critical Thinking

4.  การคิดเชิงวิพากษ์

หมายถึง  ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ  ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม  เป็นการตั้งคำถามท้าท้ายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง  พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆมากขึ้นให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม  หลักการคิดเชิงวิพากษ์ได้แก่

หลักที่  1  ให้สงสัยไว้ก่อน................อย่าเพิ่งเชื่อ

หลักที่  2  เผื่อใจไว้...............อาจจะจริงหรืออาจจะไม่จริงก็ได้

หลักที่  3  เป็นพยานฝ่ายมาร............ตั้งคำถามซักค้าน



5.  การคิดเชิงบูรณาการ

                   ผู้บริหารต้องคิดแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ  ผู้บริหารต้องคิดไม่แยกส่วน  ต้องคิดแบบแกนหลักได้อย่างเหมาะสม  ครบถ้วนทุกมุมมอง  ไม่แยกส่วนในการแก้ปัญหา  หลักการคิดเชิงบูรณาการได้แก่

1.    ตั้ง  “แกนหลัก”

2.    หาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแกนหลัก

3.    วิพากษ์เพื่อให้เกิดการบูรณาการครบถ้วน

จากบทความ

การคิดแบบนักบริหาร

บรรยายโดย :  ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

professor kriengsak chareonwongsak Creative Thinking

3. การคิดเชิงสร้างสรรค์

ผู้บริหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์ โจทย์ไม่เหมือนเดิม คำตอบไม่เหมือนเดิม วิธีตอบคำถามคือไม่เหมือนเดิม จึงมีความแปลกใหม่ ต้องการนวัตกรรมในการตอบคำถาม ในการบริหารงานต่าง ๆถูกบังคับให้เราต้องเอาชนะสิ่งต่าง ๆด้วยวิธีการใหม่ ๆการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนสามารถทำให้เราค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด และอีกอย่างการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการฝ่าวงล้อมในการคิดเล็ก ๆ หรือการแวกม่านความคิดต่าง ๆออกไปเพื่อค้นพบในการแก้ปัญหาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ใครคิดก่อนได้เปรียบ หลักการคิดสร้างสรรค์ได้แก่

1. ฝึกถามคำถามที่กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ

2. อย่าละทิ้งความคิดใด ๆจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์

3. การพัฒนาเทคนิคช่วยคิดสร้างสรรค์

วงการโฆษณามักจะใช้ขอบเขตทั้ง 3 ข้อดังกล่าว


จากบทความ

การคิดแบบนักบริหาร

บรรยายโดย :  ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

Wednesday, November 25, 2009

การคิด 10 มิติ โดย ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

Professor Kriengsak Chareonwongsak
วิธีคิดแบบผู้บริหารผ่านการคิด  10  มิติ

1.    การคิดเชิงกลยุทธ์

2.    การคิดเชิงอนาคต

3.    การคิดเชิงสร้างสรรค์

4.    การคิดเชิงวิพากษ์

5.    การคิดเชิงบูรณาการ

6.    การคิดเชิงวิเคราะห์

7.    การคิดเชิงเปรียบเทียบ

8.    การคิดเชิงสังเคราะห์

9.    การคิดเชิงมโนทัศน์

10.   การคิดเชิงประยุกต์

สุดยอดหนังสือ How to  แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Monday, November 23, 2009

Kriengsak Chareonwongsak Synthesistype Thinking

8.  การคิดเชิงสังเคราะห์

เป็นความสามารถขององค์ประกอบต่าง ๆแล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามความประสงค์ที่เราต้องการ  ในคำตอบจะตอบได้หลาย ๆอย่าง  นำข้อดีของแต่ละอันมาสังเคราะห์เพื่อเป็นวิธีใหม่ที่นำมาใช้ในหน่วยงานของเราได้เลย  เช่น  การสังเคราะห์ช่วยให้เราไม่ต้องคิดสิ่งต่าง ๆจากสูตร  หากเราไม่รู้ประโยชน์จากความคิดของคนรุ่นเก่าแทบจะไม่มีอะไรที่ยากที่ทำไม่ได้  ทุกอย่างมักจะมีแง่มุมที่ทำไว้แล้ว  แต่เราใช้แรงสักหน่อย  นำมาศึกษา  นำมาสังเคราะห์  ดูจากเรื่องเดียวกันว่ามีปัญหาเคยเกิดไหม

การคิดจากเชิงสังเคราะห์เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า  มีอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการสังเคราะห์นำเอาสิ่งนั้นมาแยกแยะออกจากกัน  ที่นำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน  การกำหนดลักษณะและขอบเขตข้อมูลที่จะนำมาสังเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ  เช่น  การเลือกเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้  โดยเลือกขอบเขตที่ชัดเจน



9.  การคิดเชิงมโนทัศน์

                    หมายถึง  การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง  การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมอบภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด  กระชับสามารถอธิบายได้  เป็นการคิดรวบยอด  สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน  สามารถถ่ายทอดออกไปได้  การที่เราต้องเรียนรู้เชิงมโนทัศน์นั้นเพราะว่า  กรอบความคิดเรื่องประสบการณ์และความรู้  ฉะนั้นการปรับมโนทัศน์ของเราและสร้างมโนทัศน์ใหม่จะเป็นเรื่องสำคัญ  ยกตัวอย่างเช่น  คำว่า  “นายอำเภอ”  นั้น  เบื้องหลังสะท้อนถึงโครงสร้างการบริหารงาน  สะท้อนถึงหน้าที่  บุคลิก  บทบาทของขอบข่ายงาน  เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกมาเรียงไว้  แล้วคิดออกมาเป็นมโนทัศน์  เช่น  มโนทัศน์เรื่องของยาเสพติด  เมื่อก่อนเรามีมโนทัศน์หมายถึง  เสพแล้วติดให้โทษ  แต่ปัจจุบัน  ยาเสพติดที่ขายตามท้องตลาดซื้อได้ตามร้านขายยาด้วย  ที่กินแล้วอาจไม่ได้ให้โทษมากมาย  วิธีการสร้างมโนทัศน์ประกอบด้วย

1.    การเป็นนักสังเกต

2.    การตีความ

3.    การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่ได้รับมากับกรอบความคิดเดิม

ก.      สามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง/เหมือนกันในรายละเอียด

ข.      สามารถแยกมโนทัศน์หลัก -  มโนทัศน์ย่อยได้

4.    การปรับกรอบมโนทัศน์ใหม่

ก.      การปรับกรอบเพิ่มในรายละเอียดมากขึ้น

ข.      การขยายกรอบความคิดออกไปแนวข้างมากขึ้น

5.    การรับกรอบความคิดใหม่เข้ามาทั้งหมด

6.    การสร้างมโนทัศน์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน


10.  การคิดเชิงประยุกต์

          หมายถึง  ความสามารถที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในบริบทใหม่  คล้าย ๆกับนำต้นไม้  เช่น  นำต้นยางจากภาคใต้ไปปลูกภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ต้นยางไม่เปลี่ยนแปลงแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนว่าเรานำกรอบ  วิธีการหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆที่มีอยู่นั้น  นำมาประยุกต์พวกนี้เกิดจากการคิดว่า  เหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ไหม  เกิดผลดีผลเสียอย่างไร  นำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่  หลักการคิดเชิงประยุกต์ประกอบด้วย

1.    ใช้หลักการทดแทนคุณสมบัติหลัก

2.    ใช้หลักปรับสิ่งเดิมให้เข้ากับสถานการณ์

3.    ใช้หลักการหาสิ่งทดแทน

การคิด  10   มิติ  นำมาจากหนังสือการคิดเชิงเปรียบเทียบ จำนวน  10   เล่ม  สามารถอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมได้  หากทุกคนรู้จักวิธีการคิดและรู้จักพัฒนาความคิดทั้ง  10   มิติ     ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานสำหรับนักบริหารให้รู้จักคิด  รู้จักไตร่ตรอง  หาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือรู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์  ทำให้ไม่เผชิญสถานการณ์แบบหนัก ๆ

จากบทความ

การคิดแบบนักบริหาร

บรรยายโดย :  ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

Friday, November 20, 2009

Kriengsak Chareonwongsak Strategic thinking

1.  การคิดเชิงกลยุทธ์

          การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องที่จำเป็น  จริง ๆแล้วความคิดทั้ง  10  มิติ  เป็นการใช้ตลอดเวลา  และจำเป็นต้องใช้ในอนาคต  สำหรับอันดับแรกเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์  ผู้บริหารเป็นคนชี้ขาด  คือ  คนที่นำในองค์กร  คนแรกที่ต้องพบปัญหา  คนแรกที่ตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวา  ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์เปลี่ยนมาก  สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลา  และมีทรัพยากรจำกัด  บุคลากรก็มีจำกัด  สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาตามเคยชินได้  ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหาร์มากในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ  ในการวางแผน  การบริหารจัดการ  การกำหนดว่าจะทำอะไรก่อนหลัง  นักวิชาการด้านการบริหารบอกว่า  การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนเพื่ออนาคตเพื่อการตัดสินใจในอนาคต  มี  2  วิธีที่จะเผชิญในอนาคต  วิธีหนึ่งที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น  เดินไปเรื่อย ๆ  ชีวิตนี้ปล่อยไปตามเวรตามกรรม  ตามสภาวะแวดล้อม  ตายเอาดาบหน้า  อีกวิธีหนึ่ง  คือ  แน่นอนท่านไม่สามารถรู้อนาคตได้  เราคิดไปก่อนแล้วเราวางแผนไว้  แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้นและต้องตัดสินใจ  ณ  วันนี้  นักวิชาการอีกคนหนึ่งนายไมเคิลบอกว่า  ขบวนการคิดเชิงกลยุทธ์  เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว   โดยการจัดสรรทรัพยากรตั้งแต่วันนี้  เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่จำกัด  ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง  บริหารงบประมาณ  บริหารบุคลากรให้บรรลุเป้าหมาย  การจะให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม  การประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบของสถานการณ์  ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์ของอนาคต  การเลือกกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการประสบความสำเร็จ  หลักการคิดเชิงกลยุทธ์มีดังนี้

                   ขั้นที่หนึ่ง  กำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง

                   ขั้นที่สอง  วิเคราะห์และประเมินสถานะ

                   ขั้นที่สาม  การหาทางเลือกกลยุทธ์

                   ขั้นที่สี่  การวางแผนปฏิบัติการ

                   ขั้นที่ห้า  การวางแผนคู่ขนาน

                   ขั้นที่หก  การทดสอบในสถานการณ์จำลอง

                   ขั้นที่เจ็ด  การลงมือปฏิบัติการ

                   ขั้นที่แปด  การประเมินผล

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Wednesday, November 18, 2009

professor kriengsak chareonwongsak Futuristic Thinking

   การคิดเชิงอนาคต

มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม  การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี  แต่ใช้วิธีที่เหมาะสมและประกอบด้วย   6  หลักดังนี้คือ

        หลักการมองอย่างองค์รวม (Holistic  Approach)  ต้องมองทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน
        หลักความต่อเนื่อง (Continuity)  การคาดการณ์ในอนาคตต้องคาดการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน
        หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุผล(Causal  Relationship)  การคิดเชิงอนาคตไม่ใช่เป็นการคิดแบบเดาสุ่ม  แต่เป็นหลักของความคิดแบบมีความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลได้
        หลักการอุปมา(Analogy)  โดยยึดหลักว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆในโลกนี้ล้วนมีแบบแผน  ล้วนดำเนินไปอย่างมีระบบ  เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์อื่นตามมาด้วย
        หลักการจินตนาการ(Imagination)  การใช้จินตนาการเป็นการที่ทำให้การวาดภาพได้ในอนาคตเป็นการท้าท้าย  การจะใช้หลักจินตนาการเราต้องใช้หลักเหตุผล  เพื่อที่จะให้การจินตนาการไม่ไร้หลักการ
        หลักดุลยภาพ (Equilibrium)  เป็นหลักการที่บอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง  ต้องปรับเข้าหาส่วนดีเสมอ  หากมีการเสียสมดุลย์เกิดขึ้นระบบก็จะพยายามปรับให้เกิดความสมดุลย์แก่ตัวเอง  ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลย์ทางด้านเศรษฐกิจ  ความสมดุลย์ในร่างกายของเราเอง

จากบทความ

การคิดแบบนักบริหาร

บรรยายโดย :  ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

Tuesday, November 17, 2009

การคิดเกี่ยวข้องกับผู้บริหารอย่างไร

บทความโดย www.kriengsak.com
การคิดเกี่ยวข้องกับผู้บริหารอย่างไร

·       การคิดเกี่ยวข้องกับความอยู่รอด  ทำให้คนอยากคิด  เพื่อความอยู่รอดก็จะเริ่มคิดอะไรออกมา

              หากไม่มีก็เป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอด

·       ความต้องการสิ่งแปลกใหม่  กระตุ้นให้คิด  คนอยากคิดก็คือไม่อยากยึดติดของเดิม ๆ พยายาม หารูปแบบใหม่ ๆ  นักคิดก็คือ  กบฏตัวน้อย  มีใครคิดทฤษฎีใหม่ที่ไม่คิดกบฏต่อทฤษฎีเดิม  ไม่พอใจของเดิมแต่หาดีกว่าจึงจะกล้าคิด  หากเราบอกตัวเองว่า  เขาเป็นข้าราชการที่เสียแล้ว  หากเราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงในขณะที่รุ่นพี่ของเราเป็นอย่างนี้เราต้องนำการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่เรา

·       ความสงสัย  กระตุ้นให้คิด  สร้างให้เกิดความรู้  ความอยากรู้อยากเห็น  บางครั้งเด็กอยากรู้อยากเห็น  แต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ตอบว่า  ถามอยู่ได้อย่างนี้ตัดความคิดเห็น  พ่อแม่ต้องเป็นผู้สร้างการอยากรู้อยากเห็น

·       สภาพปัญหา  กระตุ้นให้คิด  ปัญหาทำให้เราคิดสารพัด  เราต้องหาวิธีออก  วิธีคิด  การที่เราพบปัญหานั้นทำให้เรานำมาใช้ประโยชน์ได้  การทำงานไม่ทำให้ออกมาเป็นรูปแบบเดิม ๆ  ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เกิดวิธีการคิดโดยมีวิธีการคิด  10  มิติ  การคิด  10  มิติ  เกิดจากการประชุมระดับชาติ  เป็นการสอนให้คนเกิดการคิด  นอกกรอบ


บทความการบรรยาย ของ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak) หลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่  56  เมื่อวันจันทร์ที่   13  ธันวาคม  2547  เวลา 13.00 -  16.00  น.  ณ  โรงเรียนนายอำเภอ  วิทยาลัยการปกครอง  กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย

Sunday, November 15, 2009

ความคิดคืออะไร

ความคิดคืออะไร

            ความคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind)  ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive  system)  โดยในส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึกผ่านกระบวนการทางความคิดอันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น  การคิดเป็นเรี่องที่สำคัญ  การคิดไม่เหมือนกัน  การคิดแบบจินตนาการ  การคิดหวนรำลึกถึง       การคิดใช้เหตุผล  และการคิดแก้ปัญหา

article from professor Kriengsak Chareonwongsak

จากบทความ

การคิดแบบนักบริหาร

บรรยายโดย :  ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา