Thursday, July 19, 2012

ทิศทางการพัฒนาการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม

 ประเด็นร้อนที่สุดสำหรับรัฐบาลในเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนข้อสงสัยของสังคม
เกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลได้มุ่งไปที่ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง
นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายใช้อำนาจในการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตนเองและพวกพ้อง อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการบริหารจัดการที่ผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือ
ไม่ก็ตาม 

     ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่เด่นชัดของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหาร
ประเทศมีหลายนโยบายและโครงการที่มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ จนทำให้การดำเนิน
งาน ขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 


ในสมัยก่อนชื่อ เมืองพัทลุง ไม่ได้เขียนอย่างที่ปรากฏให้เห็น จากหลักฐานพบว่าบนเหรียญอีแปะพัทลุง พ.ศ. 2426 เขียนว่า พัททะลุง และพัตลุง ในเอกสารของไทย ใช้ต่างกันมากมายได้แก่ พัตะลุง พัดทลุง พัทธลุง พัตทลุง พัฒลุง พัทลุง 
ในเอกสารเบอร์นีของอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 3 เขียนว่า Bondelun และ Merdelong ของนายลามาร์ วิศวกรชาวฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนว่า Bourdelun ความหมายของชื่อเมืองหมายถึงเมืองช้างหรือเมืองเกี่ยวเนื่องด้วยช้างซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงหลายประการ 

คำว่า "พัต-พัท-พัทธ" ยังไม่อาจทราบได้ว่าคำเดิมเขียนอย่างไร คำไหน ทราบเพียงว่าใช้เป็นคำขึ้นต้น ส่วนคำพื้นเมืองที่เรียกว่า"ตะลุง"แปลว่าเสาล่ามช้างหรือไม้หลักผูกช้างชื่อบ้านนามเมืองของพัทลุงที่เกี่ยวกับ ช้างมีมากหรือจะเรียกว่าเป็น"เมืองช้าง"ก็ได้โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาในแถบชะรัดซึ่ง อยู่ติดกับเทือกเขาบรรทัด มีช้างป่าชุกชุม 

และในตำนานนางเลือดขาวตำนานเมืองพัทลุงกล่าวว่า ตาสามโมยายเพชรเป็นหมอสดำหมอเฒ่านายกองช้าง เลี้ยงช้างส่งเจ้าพระยากรุงทองทุกปี ต่อมาพระกุมารกับนางเลือดขาวก็ได้รับมรดกเป็นนายกองเลี้ยงช้าง ส่งส่วย 

จังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานจากการค้นพบขวานหินขัดในท้องที่ทั่วไปหลายอำเภอในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 –14 ) บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งชุมชนที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ในด้านพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีหลักฐานค้นพบ เช่น พระพิมพ์ดินดิบจำนวนมากเป็นรูปพระโพธิสัตว์ รูปเทวดาโดยค้นพบบริเวณถ้ำคูหาสวรรค์ และถ้ำเขาอกทะลุ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพัทลุงได้ตั้งขึ้นอย่างมั่นคงภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา มีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี ซึ่งนับได้ว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของพระราชอาณาจักรทางใต้ ในสมัยนั้นเมืองพัทลุงมักจะประสบปัญหา การโจมตีจากกลุ่มโจรสลัดมาเลย์อยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มโจรสลัดราแจะอารู และอุยงคตนะ ได้โจมตีเผาทำลายสร้างความเสียหายแก่เมืองพัทลุงถึงสองครั้ง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืออยู่เสมอ และก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวเมืองพัทลุงเป็นนักต่อสู้ที่เข้มแข็ง ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอีกหลายครั้งและได้ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นโทในรัชกาล พระบาทาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงนี้เมืองพัทลุงมีผู้นำที่มีความสำคัญในการสร้างความเจริญ และความมั่นคงให้กับบ้านเมืองหลายท่าน อาทิ พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) พระยาวิชิตเสนา (ทองขาว) พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทร์โรจน์วงศ์) (ขำ) ส่วนประชาชนชาวเมืองพัทลุงก็ได้มีบทบาทในการร่วมมือ กับผู้นำต่อสู้ป้องกันเอกราชของชาติมาหลายครั้ง เช่น เมื่อสงครามเก้าทัพ (พ.ศ.2328 – 2329) พระมหาช่วย วัดป่าลิไลยก์ได้นำชาวพัทลุงต่อสู้ป้องกันการรุกรานของพม่า จนได้รับความดีความชอบโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ช่วยราชการเมืองพัทลุงนอกจากสงครามกับพม่าแล้ว ชาวพัทลุงยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศชาติในหัวเมืองภาคใต้ เพราะปรากฏอยู่เสมอว่าทางเมืองหลวงได้มีคำสั่งให้เกณฑ์ชาวพัทลุง พร้อมด้วยเสบียงอาหารไปทำสงครามปราบปรามกบฏในหัวเมืองมลายูเช่น กบฏไทรบุรี พ.ศ.2373 และ พ.ศ.2381 ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองลุง ทางด้านการเมือง การปกครองในอดีตเป็นอย่างดี 

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาลใน พ.ศ.2437 และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ.2439 ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง 7 ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม 

สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร อำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ จนกระทั่ง พ.ศ.2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่ตำบลคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟ และสะดวกในด้านติดต่อกับเมืองต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน เมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้ง สถานที่เคยเป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงมาแล้ว ได้แก่ โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง เขาชัยสน(เขาเมือง) ปัจจุบัน เขต 3 ตำบล คือตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง ตำบลพนมวังก์ และมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อ.เมืองพัทลุง บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อ.เมืองพัทลุง บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อ.เมืองพัทลุง บ้านโคกสูง ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลลำปำ อ.เมืองพัทลุง ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้เมืองพัทลุงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง ในปัจจุบันจังหวัดพัทลุง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอบางแก้ว และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์ นอกจากด้านการเมืองการปกครองแล้ว 

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เมืองพัทลุงเคยมีชื่อเสียงในการละเล่นพื้นเมือง คือหนังตะลุง มโนราห์ ลิเกป่า ส่วนด้านศาสนา ได้มีการทะนุบำรุงพุทธศาสนาตั้งแต่อดีต มีการพระราชทานพื้นที่พระกัลปานา วัดเขียนบางแก้ว วัดสทัง วัดพะโค๊ะ เพื่อบำรุงรักษาวัดให้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา

วิสัยทัศน์กล่าวได้เป็น 2 คำ


·        วิสัยทัศน์กล่าวได้เป็น 2 คำที่เกี่ยวเนื่องกันคือ 'การเห็น' และ 'ภาพ' คนที่มีวิสัยทัศน์จึงเริ่มจากการเห็น "ภาพ" ไม่ใช่มองเห็นด้วยตา แต่ปรากฏในมโนคติทางความคิด
-          ภาพใดที่มองเห็นไม่ชัดเจนในมโนคติ แม้อยากให้เกิดขึ้นก็ทำไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดเป็นภาพอะไร
·        วิสัยทัศน์ต้องให้ภาพอย่างชัดเจนที่ตอบคำถามได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร
·        วิสัยทัศน์ เป็นภาพที่สะท้อนความฝันซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาในวันนี้ แต่ในมโนทัศน์นั้นชัดเจนเหมือนเป็นจริงแล้ว
-          วิสัยทัศน์เป็นศิลป์ของการเห็นประจักษ์ในสิ่งที่ยังไม่ปรากฏ