Thursday, August 26, 2010

Professor kriengsak chareonwongsak : social entrepreneur

Professor Kriengsak Chareonwongsak idea about Social Entrepreneur


สังคมในยุคปัจจุบันประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมหลากหลายประการ ทั้งปัญหาในระดับบุคคล เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ปัญหาการกระทำทารุณเด็ก การแพร่ระบาดของยาเสพติด การเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ หรือปัญหาในระดับสังคม เช่น ความยากจน การขาดการศึกษาระดับพื้นฐาน การเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างไม่เป็นธรรม ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ เป็นต้น

ที่ผ่านมา มีความพยายามจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ช่วยกันดำเนินการเพื่อการแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้น ต่างพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา แต่ หากวิเคราะห์ลงในรายละเอียดแล้วจะพบว่า ความพยายามในการแก้ไขปัญหาของแต่ละภาคส่วน มีจุดแข็งและมีข้อจำกัดในตัวเอง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาไม่อาจเกิดประสิทธิผลได้อย่างเต็มที่

ภาครัฐ มีจุดแข็งในแง่ของเครือข่ายของส่วนราชการ ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทรัพยากรบุคลากรที่มีจำนวนมากมายกระจายทั่วประเทศ รวมทั้งงบประมาณที่ต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกัน เราพบว่ารัฐบาลหรือส่วนราชการยังประสบปัญหาการขาดความคล่องตัวในการดำเนินการด้วยข้อจำกัดเรื่องกฎระเบียบ การขาดความต่อเนื่องในนโยบาย เนื่องจากการขาดเสถียรภาพของรัฐบาลและการเปลี่ยนรัฐบาล และการเน้นแก้ปัญหาในจุดที่มีผลต่อฐานคะแนนเสียงและประโยชน์ทางการเมือง มากกว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริงของสังคม

ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจ ที่มีจุดแข็งในแง่ของความคล่องตัวในการดำเนินการที่ไม่ถูกจำกัดด้วยกฎระเบียบที่เคร่งครัด เช่น ราชการ การปรับเปลี่ยนตัวที่รวดเร็ว การมีทรัพยากรที่ต่อเนื่องตามผลประกอบการขององค์กร ความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ แต่ขณะเดียวกัน แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงานธุรกิจจำนวนมาก ที่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับกิจกรรม ที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาคธุรกิจเองยังมีข้อจำกัดในการทำหน้าที่เป็นตัวแสดงหลัก ที่จะขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคม เนื่องจากเป้าหมายหลักของการทำธุรกิจ คือ ความอยู่รอดทางธุรกิจมากกว่าการมุ่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมอย่างเจาะจง ภาคธุรกิจจะไม่สนใจอยากมีส่วนช่วยเหลือสังคม หากกิจการของตนเองยังไม่สามารถอยู่รอดได้

ยิ่งกว่านั้น จุดหมายสูงสุดของธุรกิจคือ การสร้างผลประกอบการที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่ผู้ลงทุน ไม่ใช่การมุ่งเพิ่มสวัสดิการสูงสุด ให้กับสังคม ความรับผิดชอบที่แท้จริงของกิจการธุรกิจจึงอยู่ที่พันธะต่อผู้เป็นเจ้าของและผู้ถือหุ้น หาใช่พันธะความรับผิดชอบต่อสังคมไม่

ในส่วนของภาคองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งมักถูกนับว่าเป็นภาคที่สาม มีจุดแข็งอยู่ที่ประสบการณ์ในการทำงาน ที่เข้าถึงประชาชนได้ใกล้ชิด เกาะติดในพื้นที่ และมีความคล่องตัวในการดำเนินการ ไม่ติดกับกฎระเบียบ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการสามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้มีปัญหา และจัดการกับสภาพปัญหาได้จริง แต่ภาคที่สามนี้ก็มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ เรื่องเงินทุน ที่ไม่มีแหล่งรายได้ประจำ องค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนมาก ต้องขอเงินสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ ซึ่งมักจะต้องทำตามวาระที่กำหนดมาตามความต้องการของผู้ให้ทุน ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างอิสระตามรูปแบบและแนวทางของตนเอง ในขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนมาก จัดตั้งขึ้นในลักษณะของอาสาสมัคร แต่ขาดความเป็นมืออาชีพในการบริหารโครงการหรือการติดตามการใช้จ่ายเงิน รวมถึงขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เพราะภาครัฐมีความหวาดระแวงการดำเนินงานของภาคส่วนดังกล่าว ว่าอาจจะต่อต้านการทำงานของภาครัฐจากจุดแข็ง และจุดอ่อนของภาคส่วนต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หากมีการนำจุดแข็งในแต่ภาคส่วน มาใช้ผสมผสานกันอย่างกลมกล่อม น่าจะช่วยให้ได้แนวทางใหม่ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคม ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Dr.kriengsak ได้พบว่ามีแนวคิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในระดับนานาชาติ เป็นแนวคิดที่ได้ผสานจุดแข็งของแต่ละภาคส่วนมาใช้ นั่นคือ แนวคิดเรื่อง "การประกอบการเพื่อสังคม" (Social Entrepreneurship) แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์การขยายตัวของภาคส่วนใหม่ในสังคม ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมไทย

แนวคิดเบื้องต้นของ การประกอบการเพื่อสังคม คือ เป็นกิจการที่ริเริ่มโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายเพื่อสังคมโดยตรง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่ได้สนใจเรื่องของการมุ่งหวังให้ได้กำไรหรือผลตอบแทนสูงสุด ความสนใจของคนเหล่านี้ ไปไกลกว่าการแสวงหาความมั่งคั่งเพื่อตนเอง แต่เป็นการมุ่งเข้าไปมีส่วน หรือมีบทบาทในการช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมในประเด็นที่สนใจเป็นสำคัญ เป็นความปรารถนาที่จะเห็นสังคมถูกพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ผ่านกิจการที่คนเหล่านี้ดำเนินการ

กิจการที่ทำอาจจะเป็นกิจการที่สร้างรายได้หรือไม่สร้างรายได้ก็ได้ จะมีกำไรหรือไม่มีกำไรก็ได้ แต่ต้องเป็นกิจการที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ สามารถสร้างรายได้เพียงพอที่จะสนับสนุนการดำเนินกิจการนั้นต่อไป แต่หากมีกำไรก็เป็นกำไรในระดับที่เพียงพอให้มีรายได้หมุนเวียนสนับสนุนกิจการให้ดำเนินต่อไปได้ หรืออาจจะเอากำไรส่วนเกินไปใช้ เพื่อสร้างกิจการเพื่อสังคมกิจการใหม่ได้ หากทำเป็นธุรกิจ ก็ใช้ธุรกิจของตนเป็นเครื่องมือหาแหล่งเงินทุน เพื่อสนับสนุนความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมที่ตนเองสนใจ
ด้วยวิธีนี้ทำให้การดำเนินกิจกรรมแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคม สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน เพราะไม่ขาดแคลนแหล่งทุนสนับสนุน เหมือนบางองค์กรที่แม้มีความตั้งใจดี แต่ขาดกำลังทรัพย์สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภารกิจขององค์กรไม่บรรลุผลอย่างที่ควรจะเป็น

แต่ในอีกทางหนึ่ง หากจะเป็นกิจการที่ไม่ได้สร้างรายได้โดยตรงจากตัวกิจการนั้น ผู้ประกอบการเพื่อสังคมก็มีแนวทาง หรือช่องทางอื่นในการระดมทรัพยากร เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่จำเป็นต้องการดำเนินการกิจการ อย่างเพียงพอที่จะทำให้กิจการดำเนินต่อเนื่องได้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรด้านเงินทุน บุคลากร หรือเทคโนโลยีที่จำเป็น ผู้ประกอบการเหล่านี้มักมีความสามารถในการบริหารจัดการกิจการของตนเองอย่างมืออาชีพ

ลักษณะของผู้ประกอบการเพื่อสังคม จึงเป็นการประสานองค์ประกอบของความคล่องตัว ความมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมแบบผู้ประกอบการ ร่วมกับความมีจิตสำนึกต่อสังคม และความมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมแบบนักพัฒนาสังคมไว้ด้วยกัน

กล่าวโดยสรุป แนวคิด "การประกอบการเพื่อสังคม" จึงเปรียบเหมือนแนวคิดที่ประสานจุดแข็ง แก้ไขจุดอ่อนของภาคส่วนต่างๆ และน่าจะเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมไทยได้อย่างน่าสนใจ

จึงสนับสนุนแนวคิดเรื่องการประกอบการเพื่อสังคม ที่ dr kriengsak แนะนำไว้

http://www.seint.org/

Sunday, August 22, 2010

Professor Kriengsak Chareonwongsak ; The Budget Allocation for 2011

Professor Kriengsak Chareonwongsak' artilce : The Budget Allocation for 2011

Not so long ago, the prime minister announced to parliament that the annual government expenditure for 2011 would be 2.07 trillion baht with a budget deficit of 420,000 million baht or 4.1 percent of GDP. The 2011 annual budget has increased by 370,000 million baht (21.8 percent) of 2010’s annual budget. After this announcement, the opposition party debated the opinion that many facets should be investigated in the government’s allocation of the 2011 budget.

After following this debate and information on this issue, Dr.Kriengsak shared observations about the government’s budget for 2011, as follows,


Is setting a budget deficit in 2011 suitable for the situation right now?


Normally, when an economic recession hits, private sector consumption and investment as well as exports will be decreased and may be unable to drive the economy normally. So governments have to set budget in deficit in order to stimulate the economy.


However, in Thailand, the economy will now likely expand due to an economic growth rate (GDP) of 12 percent in the first quarter of 2010. Overall, this year the economy might have expanded by 6-7 percent if there had been no political demonstrations. In addition, Thailand’s future economic expansion in 2011 may expand generously by 3.5 to 4.5 percent as exports can still expand according to a situation of world economic recovery.

In addition, the government’s economic stimulation measures in recent months have made consumption and employment improve continuously, so although there may be a private investment problem, the economy in 2011 may be considered normal in condition.




Professor Kriengsak questions why the government must set a high budget deficit of 420,000 million baht (This is an amount equal to the amount of budget that the government intended to borrow through a 400,000 million baht Borrowing Bill, though this was cancelled). If the government says that extra budget is needed to solve the problem of income inequality and unfairness in society according to its roadmap towards national reconciliation (Paen Prong Dong), this should not be so, because if we consider the budget document, we will know that this strategy is neither new nor different from the development of social and quality of life strategy in 2010. But this 2011 strategy has added the phrase “decrease of social differences" in the headline of its budget. Thus, the 2011 budget should not be more than 2010 that much.

(prof.Kriengsak Chareonwongsak)



Will the 2011 budget deficit negatively affect economic stability and the fiscal position of our country?

If we consider Thailand’s fiscal position, the public debt level is now 41.9 percent of GDP, which is still lower than the fiscal sustainability framework that limits public debt to 50 percent of GDP.

However, we should not forget that the government borrowed 400,000 million baht to stimulate the economy during 2010-2012 following the Thai Kem Kaeng plan last year. Therefore, Thailand’s public debt is supposed to increase to 57 percent of GDP which is above the fiscal sustainability framework.

For this reason, having a deficit budget that exceeds what is necessary may negatively affect Thailand’s fiscal position in the future, even though the deficit in 2011 may already have been totaled to the public debt.

Besides, if we consider Thailand economically stable, the inflation rate will still tend to increase due to the fluctuation of oil price. Also, to have a deficit budget over-stimulate the economy may aggravate and increase inflation that affects the daily lives of people, especially the poor and labourers who depend on their monthly salaries.

Prof. Kriengsak chareonwongsak , hope for Thailand



kriengsak chareonwongsak ,ifd chairman

kriengsak chareonwongsak ,drdan
................................................................................................................................................

Wednesday, August 11, 2010

Professor kriengsak chareonwongsak mom and kids

ที่มาของภาพ http://www.socpa.com/content_images/mother's%20day.gif 
            ข่าวเล็ก ๆ ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 ระบุว่า โรงเรียนบางแห่งอาจงดจัดงานวันพ่อ - วันแม่ สาเหตุเพราะปัจจุบันมีเด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวแตกแยกสูงถึงร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งโรงเรียน ครูจึงเกิดความสงสารเกรงว่า เด็กสะเทือนใจ เกิดการเปรียบเทียบกับคนอื่น เมื่อมีการจัดงานไม่มีพ่อหรือแม่มาร่วม
            การ ตัดสินใจ "งด" จัดงานในวันสำคัญดังกล่าว แม้มุมหนึ่งจะเกิดผลดีต่อเด็กนักเรียนที่พ่อแม่หย่าร้าง แต่ในความเป็นจริง ผมคิดว่า ไม่จำเป็นต้องงดจัดงานนี้ แต่ควรปรับเปลี่ยนใหม่ให้เหมาะสม ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันพ่อ–วันแม่ เป็นการตอกย้ำให้เด็ก ๆ เห็นคุณค่าของผู้ที่เลี้ยงดูตนมา เป็นเวทีให้ครอบครัวมีโอกาสแสดงออกถึงความรัก เอื้ออาทรต่อกัน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องความกตัญญูรู้คุณ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่โรงเรียนควรจัดต่อไป
            ด้วยเหตุนี้ ผมเห็นว่า การจัดงานในโรงเรียนเนื่องในวันสำคัญของชาตินี้ อาจปรับเปลี่ยน คำที่ใช้เรียกชื่องาน เช่น "งานวันผู้มีพระคุณ", "งานตอบแทนพระคุณ" ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป และยังรักษาวัตถุประสงค์เดิมของการก่อตั้งวันสำคัญนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเด็กทุกคนย่อมมีผู้ปกครอง ผู้อุปการะเลี้ยงดูนอกเหนือจากพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็น ปู่-ย่า ตา-ยาย ฯลฯ หรือบุคคลที่เป็นญาติรับเลี้ยงดู อุปการะเด็กเสมือนหนึ่งเป็นพ่อแม่ บุคคลเหล่านี้ย่อมเป็นผู้มีพระคุณสำหรับ เด็กเช่นเดียวกัน
            การ ปรับเปลี่ยนชื่องานเป็น "งานวันผู้มีพระคุณ" แทน วันพ่อ วันแม่ ย่อมลดความรู้สึกบีบคั้นในใจเด็กและเป็นการเปิดโอกาสอย่างเท่าเทียมให้เด็ก ๆ ทุกคน สามารถเชิญผู้ปกครองมาร่วมงานเพื่อแสดงความรักความกตัญญูได้เช่นกัน และหาก โรงเรียนจัดงานวันแม่ ก็ไม่ควรจำกัดที่จะให้ "แม่" ตามฝ่ายธรรมชาติมาเท่านั้น แต่บุคคลที่ทำหน้าที่เช่น แม่ของเด็กสามารถมาร่วมได้
            ข้อเสนอข้างต้นเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่สิ่งสำคัญที่สังคมต้องขบคิดร่วมกันคือ การส่งเสริมสถาบันครอบครัวไทยให้เข้มแข็ง      
            ผมได้นำเสนอแนวคิดการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ในหนังสือ "ปฏิรูปครบวงจร: สู่ยุคเรืองรองของเมืองไทย" ผ่านการพัฒนาคนให้เห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว รู้จักบทบาทของตนเอง โดยการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวเข้มแข็ง จัดทำหลักสูตรครอบครัวศึกษาเพื่อประชาชน ส่งเสริมครอบครัวตัวอย่าง เชิดชูเกียรติให้คู่สมรสที่แต่งงานอยู่ร่วมกันยาวนานโดยไม่หย่าร้าง ส่งเสริมการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีของสามี ให้เลิกใช้ความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงสนับสนุนการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทุกคนในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ
            สถาบัน ครอบครัวนับว่าเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและคิดค้นวิธีที่เป็นรูปธรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เป็นสถาบันที่สำคัญในการสร้างบุคลากรที่เข้มแข็งแก่สังคมต่อไป 



บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.oknation.com/kriengsak