Friday, May 28, 2010

วิสัยทัศน์ไม่ใช่เพียงความฝัน

ความฝัน วิสัยทัศน์ สรุปอย่างไร


วิสัยทัศน์ไม่ใช่เพียงความฝัน เราจึงเห็นคนจำนวนมากในโลกที่เกิดมา, ฝัน, และตายไปพร้อมกับความฝันนั้น โดยไม่เคยเห็นฝันนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้เลย
หลายครั้งที่ความฝัน กลายเป็นเพียงภาพแห่งความเพ้อเจ้อ เราเองยังไม่รู้เลยว่าเป็นจริงได้หรือไม่
ภาพฝัน และภาพเพ้อเจ้อ ในที่สุดจะจืดจางลงไปหมด
การมองการณ์ไกล และ ความสามารถในการคาดการณ์อนาคตได้ เป็นประโยชน์ต่อการฉกฉวยโอกาสในอนาคตเท่านั้น แต่วิสัยทัศน์ต้องไปไกลกว่านั้น
ภารกิจของชาวนาทุกคน คือ การปลูกข้าว แต่วิสัยทัศน์ของชาวนาอาจแตกต่างกันไป บางคนจะแปรรูปข้าวสู่อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป บางคนจะพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ดีที่สุดในโลก


-ภาพจาก www.kriengsak.com

ข้อคิดดี ๆ จากหนังสือ ข้อคิดเพื่อวิสัยทัศน์ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

Monday, May 17, 2010

kriengsak chareonwongsak book

* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงกลยุทธ์=Strategic Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793กก 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงบูรณาการ=Integrative Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793กบ 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงประยุกต์=Applicative Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793กป 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงเปรียบเทียบ=Comparative Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793กช 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงมโนทัศน์=Conceptual Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.4 ก793กม 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงวิเคราะห์=Analytical Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793กว 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงวิพากษ์=Critical Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.43 ก793กว 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงสร้างสรรค์=Creative Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793กส 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงสังเคราะห์=Synthesis-Type Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793กค 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงอนาคต=Futuristic Thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793กอ 2549)
* เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. ลายแทงนักคิด=A Guidebook to Thought Analysis. กรุงเทพฯ : ซัคเซลมีเดีย, 2549 (153.42 ก793ล 2549)
* Project Management Institute. Practice Standard for Work Breakdown Structures. 2nd ed. Newtown Square, Pa : Project Management Institute, 2006. (658.4 P963p)

simulation of the stratetic thinking by kriengsak chareowongsak

การทดสอบ การใช้ความคิดเชิงกลยุทธิ์
การทดสอบในสถานการณ์จำลอง เป็นการทดสอบแผนการดำเนินงานในสนามทดลอง โดยการจำลองเหตุการณ์ที่สร้างขึ้นตามแผนที่วางไว้ เพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์ และดูความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ช่วยให้ทีมงานมีความมั่นคง ไม่ตื่นตระหนกกับเหตุบังเอิญต่าง ๆ เพราะได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว

เมื่อผ่านขั้นตอนทั้ง 6 ขั้นตอนที่กล่าวข้างต้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การลงมือปฏิบัติการ ถือเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะจะต้องดำเนินการอย่างมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับแผนที่ได้กำหนดไว้แล้วล่วงหน้า แต่เป็นการปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่ได้เผชิญ เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนด ขั้นตอนสุดท้ายคือ การประเมินผล เป็นการประเมินว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ หรือเข้าใกล้เป้าหมายเพียงใด เป็นการตรวจสอบผลสำเร็จ หรือผลล้มเหลว (ถ้ามี) ที่เกิดขึ้น หากพบว่ามีผลล้มเหลวเกิดขึ้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ต่อไป ...


คัดจากส่วนหนึ่งของหนังสือบทความจากหนังสือ ความคิดเชิงกลยุทธิ์ ของ ศาสตราจารย์ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Kriengsak Chareonwongsak) หนังสือแนะนำที่คุณ ๆ ต้องอ่าน