Thursday, October 21, 2010

Kriengsak chareonwongsak : The Power for You part 2

ถึงกระนั้น การใช้อำนาจของพ่อแม่จะเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง หากพ่อแม่เองไม่ได้ตระหนักถึงเป้าหมายที่แท้จริงของการใช้อำนาจนั้นว่าใช้ไป เพื่อต้องการเห็นสิ่งดีใด ๆ เกิดขึ้นในชีวิตของลูกไม่ใช่เพื่อการลุแก่อำนาจหรือเพื่อการระบายอารมณ์ของ พ่อแม่เอง รวมทั้งการตระหนักถึงสิทธิที่ลูกพึงได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการได้รับความรัก การให้เกียรติ การเลี้ยงดูอย่างดีทั้งร่างกายและจิตใจจากพ่อแม่ของตน โดยหลักสำคัญของการใช้อำนาจให้เกิดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลดีสูงสุดกับ ตัวลูกนั้นต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้

เจือด้วยความรัก ความเข้าใจ
มีคำกล่าวว่า “การฆ่าคนด้วยวิธีการที่เลือดเย็นมากที่สุดคือ การไม่รัก และการไม่แสดงออกซึ่งความรัก” พ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่คำนึงถึงจิตใจของเด็กน้อยเกินไป แม้จะมีความรักให้แก่ลูกแต่อาจเป็นการใช้อำนาจในทางที่ก่อให้เกิดความกลัว มากกว่าแสดงออกถึงความรัก อาทิ การจ้องจับผิดลูกอยู่เสมอ มีแต่คอยซ้ำเติม ไม่เคยพูดชมเชยในความพยายามของลูก ไม่ได้ให้เวลา ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอ ไม่ได้เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจแต่เป็นผู้ที่ชอบใช้คำสั่งและอยากให้ลูกทำ นั่นทำนี่เสมอ เพราะคิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงออกซึ่งความรักและความหวังดีที่มีต่อ ลูก

การใช้อำนาจในบทบาทของการเป็นพ่อแม่จึงต้องเจือด้วยความ รักควบคู่ไปด้วยในทุกครั้ง เพื่อสามารถเอาชนะใจลูกได้ และให้ลูกซึมซับในทุกครั้งที่พ่อแม่ใช้อำนาจกับตนว่า นั่นคือการแสดงออกของความรักที่พ่อแม่มีต่อตนเอง แม้ในขณะที่ลูกยังเป็นเด็กจะยังไม่เข้าใจมากนักก็ตาม แต่เขาจะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้เป็นคนที่น่ากลัวสำหรับเขา เขาสามารถกล้าเข้ามาหาได้เมื่อยามที่ทำความผิดและสามารถพูดคุยได้ในทุก ๆ เรื่อง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาในสถานะที่สามารถเลือกที่จะเชื่อฟังหรือไม่เชื่อฟัง คำของพ่อแม่ได้นั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อย่างเข้าสู่ วัยรุ่นซึ่งมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เขาย่อมมีแนวโน้มเลือกที่จะเชื่อฟังหรือยอมฟังเราอย่างเปิดใจมากกว่าการตั้ง ป้อมอคติแต่แรก เนื่องจากลูกจะเกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่พ่อแม่สั่ง ห้าม หรืออบรมสั่งสอนมานั้น เป็นเพราะความรักและความห่วงใยอย่างมากมายที่พ่อแม่มีให้แก่เขา อันเป็นเป็นผลมาจากการใช้อำนาจอย่างสมดุลทั้งพระเดชและพระคุณของผู้เป็นพ่อ แม่นั่นเอง

การชี้ผิดชี้ถูกอย่างมีเหตุผล
สมาคมชมรมพ่อ ถึงพ่อ (Dad-to-Dad) ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้แบ่งปันประสบการณ์การเลี้ยงลูกให้เพื่อนสมาชิกและผู้ สนใจผ่านเวบไซต์ทางอินเทอร์เน็ตว่า เมื่อ จอห์น ลูกชายวัยสองขวบของผมต้องการที่จะออกไปเล่นนอกบ้าน แกจะเดินมาหาผมแล้วพูดว่า “ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! ไปข้างนอก! “ (ด้วยการออกคำสั่ง)

แต่ผมจะตามใจแกได้อย่างไรเมื่อในยามที่ฝน กำลังตก หรือเป็นเวลาที่ไม่เหมาะสมในการออกไปข้างนอกบ้าน แทนที่ผมจะตอบคำเว้าวอนของแกว่า “ไม่ ไม่ ไม่ไป” วันหนึ่งผมมองจ้องตาของแกแล้วพูดเบา ๆ ด้วยน้ำเสียงติดตลกว่า “จอห์น … ลูกรู้ไหมว่าทำไมจึงออกไปข้างนอกไม่ได้…เหตุผลหรือ เพราะว่าข้างนอกฝนมันตกน่ะสิ” จอห์นหยุดและนิ่งฟัง หยุดไปชั่วขณะหนึ่งผมจึงพูดต่อ เอาล่ะไหนบอกพ่อมาว่าทำไมลูกจึงออกไปข้างนอกไม่ได้ จอห์นหยุดร้องไห้ เอามือเช็ดน้ำตาแล้วตอบว่า “เพราะฝนกำลังตก” หลังจากนั้นมาผมใช้เทคนิคนี้มาตลอด โดยพบว่าตราบเท่าที่แกค้นพบคำตอบว่าทำไมจึงทำบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ เมื่อพบแล้วจอห์นจะหยุดร้องและถามเกี่ยวกับเรื่องนั้นทันที โดยจะเริ่มต้นเรื่อง “ไม่” เรื่องใหม่มาให้พ่อแม่ต้องปวดหัวเล่นต่อไป

ไม่ ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กโต เขาต้องการรู้เหตุผล นอกเหนือไปจากคำสั่ง “ห้าม” แต่เพียงอย่างเดียวในสิ่งที่เขาต้องการจะทำ เพราะการห้ามขึ้นมาลอย ๆ ไม่สามารถทำให้เขาเข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ นั้นไม่ได้ พ่อแม่จึงต้องคอยชี้แจงเหตุผลให้ลูกเข้าใจอย่างเหมาะสมตามแต่ละช่วงวัยของ เขา ไม่ใช่ใช้แต่การออกคำสั่งเท่านั้น โดยตระหนักว่าเด็กต้องการความเข้าใจและต้องการตอบตัวเองให้ได้ว่าเหตุใดเขา จึงทำสิ่งนี้ได้ เหตุใดจึงทำไม่ได้ เพื่อเป็นการฝึกฝนแยกแยะความถูกผิด ดีชั่ว ได้เองต่อไปเมื่อเขาเติบโตขึ้น แบบอย่างชีวิตที่หนักแน่น

มา ริโอ คูโอโม อดีตนักการเมืองพรรคดีโมแครตของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงพ่อของเขาอย่างน่าประทับใจ เมื่อปี ค.ศ. 1984 ว่า “ผมเฝ้าดูชายร่างเล็กผู้ที่มีมือทั้งสองหยาบกระด้างทำงาน 15 -16 ชั่วโมงต่อวัน ครั้งหนึ่งผมเห็นเลือดไหลออกมาจากส้นเท้าของเขา เขาคือชายผู้เดินทางมาที่นี่อย่างโดดเดี่ยว ไร้การศึกษา ไม่สามารถพูดภาษาของที่นี่ได้ แต่ชายคนนี้สอนผมทุกสิ่งที่ผมต้องการจะรู้เกี่ยวกับความศรัทธาและการทำงาน หนักด้วยคำพูดโน้มน้าวใจที่แสนจะธรรมดาจากตัวอย่างชีวิตของเขา”

จาก หนังสือข้อคิดเพื่อครอบครัวที่ผมเขียนนั้นได้กล่าวไว้ว่า

“ชีวิต ย่อมดังกว่าคำพูด ลูกจะเลียนแบบชีวิตของพ่อแม่มากกว่าทำตามสิ่งที่ได้รับการพร่ำสอน”

การ บอกกับลูกว่าจงเชื่อฟังทำตามในสิ่งที่พ่อแม่สอน แต่อย่าทำตามในสิ่งที่พ่อแม่ทำนั้นนับเป็นเรื่องที่ไร้สาระอย่างแท้จริง เพราะหากเราต้องการเป็นพ่อแม่ที่สามารถเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีได้ เราต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกด้วย เช่น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เป็นแบบอย่างเรื่องความประหยัดด้วยการจัดทำแผนการใช้เงินสำหรับครอบครัว ตนเอง และลูก ๆ เป็นแบบอย่างเรื่องความเสียสละด้วยการให้ได้แม้แต่ของรักของหวง เป็นแบบอย่างความยุติธรรมด้วยการรักลูก ๆ ทุกคนอย่างเท่าเทียม

เป็น แบบอย่างการเห็นคุณค่าความสำเร็จด้วยการพากเพียรเอาจริงเอาจังทำงานหนักไม่ ลดละหรือเลิกกลางคัน หรือเป็นแบบอย่างความมีวินัยในชีวิตด้วยการมีตารางเวลา การตรงต่อเวลา รักษาระเบียบของบ้าน เป็นต้น ทุกสิ่งที่พ่อแม่สอนลูกด้วยลักษณะชีวิตจะช่วยให้ลูก ๆ สามารถมีพฤติกรรมเลียนแบบได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการใช้อำนาจบีบบังคับ หรือการพูดมาเพียงลอย ๆ อันเป็นการยากที่ลูกจะเรียนรู้และประพฤติปฏิบัติตามได้

พ่อ แม่นับได้ว่ามีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยมในการอบรมดูแลเลี้ยงดูลูกของตนในฐานะ ผู้นำหรือผู้ปกครองของครอบครัว แต่การใช้อำนาจนั้นต้องกอปรไปด้วยความรัก ความเข้าใจ การมีเหตุมีผลและการเป็นแบบอย่างชีวิตควบคู่ไปด้วยเสมอ อำนาจการปกครองนั้นจึงสามารถสัมฤทธิ์ผลในการสร้างลูกให้เติบโตมาเป็นคนดีมี คุณภาพของสังคมได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

4 comments:

  1. realy great topic, two thumb up!!! ;P

    ReplyDelete
  2. สุดยอดเลยครับ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ท่านนี้

    ReplyDelete
  3. หนังสือข้อคิด very good

    ReplyDelete
  4. ชีวิต ย่อมดังกว่าคำพูด ลูกจะเลียนแบบชีวิตของพ่อแม่มากกว่าทำตามสิ่งที่ได้รับการพร่ำสอน

    ReplyDelete