Monday, April 11, 2011

นโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกับการตีความทฤษฎีสองสูง

Professor Kriengsak Chareonwongsak
          ในช่วงเวลาที่กำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งในช่วงกลางปีนี้ พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มเข้าสู่โหมดของ
การเลือกตั้ง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยชูธงประกาศนโยบายแรกออกมาคือ
การขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี นโยบายนี้ทำให้ผมคิดถึง “ทฤษฎีสอง
สูง” ที่เจ้าสัวธนินท์แห่งซีพีได้เสนอไว้ ซึ่งมีแนวคิดในการเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานควบคู่ไปกับการ
เพิ่มราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร โดยเชื่อว่าจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น โดยที่ประชาชนทั่วไป
ไม่ได้รับผลกระทบจากข้าวของที่แพงขึ้น เนื่องจากมีรายได้สูงขึ้น

           ทฤษฎีดังกล่าวมีแนวความคิดที่น่าสนใจ และทำให้ผมเกิดคำถามว่า การตีความทฤษฎีสองสูงควร
มีนัยในลักษณะที่เป็นเครื่องมือ (mean) หรือเป็นเป้าหมาย (end) ซึ่งผมเห็นว่า การเพิ่มเงินเดือนควรเป็น
เป้าหมายไม่ใช่เครื่องมือและการเพิ่มราคาสินค้าควรเป็นเครื่องมือที่ไม่ขัดแย้งกับกลไกตลาด

           หากพิจารณาด้วยแนวคิดเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนแรงงานและราคาสินค้ามีลักษณะเป็นผลหรือเป้าหมายมากกว่าเป็นเหตุหรือเครื่องมือ โดยปัจจัยที่กำหนดค่าจ้างแรงงานของประเทศหรือเศรษฐกิจใดๆ เป็นผลจากโครงสร้างของปัจจัยการผลิตในประเทศนั้นๆ โดยประเทศที่มีจำนวนแรงงานมากจะมีต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่ำ ซึ่งทำให้มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น แต่ประเทศที่มีทุนมากจะมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมที่ใช้ทุนเข้มข้น ในขณะที่ราคาสินค้าถูกกำหนดด้วยกลไกตลาด ซึ่งเป็นตามอุปสงค์และอุปทานของสินค้านั้นๆ

บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

5 comments:

  1. เบื่อการเมืองเก่าMay 16, 2011 at 11:31 AM

    เพิ่มขั้นต่ำ ของแพงขึ้น เพิ่มขั้นต่ำอีก ของแพงขึ้นอีก ซ้ำไม่รู้จบ

    นโยบายที่ใช้สมองจริงๆ

    ReplyDelete
  2. ไม่เห็นด้วยMay 17, 2011 at 11:31 AM

    ขึ้นขั้นต่ำ กลไกตลาดก็แปรปรวนอยู่ดี
    แก้ให้คนมีศักยภาพ หรือให้เขาทำงานมากขึ้นดีกว่า

    ReplyDelete
  3. ยกตัวอย่างMay 17, 2011 at 11:46 AM

    จับปลาให้ กับสอนให้จับปลา

    ReplyDelete
  4. อย่าบอกว่าไม่จริงMay 17, 2011 at 12:09 PM

    ปรับกี่รอบแล้วครับ แรงงานก็จนลงเหมือนเดิม

    ReplyDelete
  5. ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง มาใช้หาเสียง

    ReplyDelete