Professor Kriengsak Chareonwongsak |
การเลือกตั้ง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยชูธงประกาศนโยบายแรกออกมาคือ
การขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี นโยบายนี้ทำให้ผมคิดถึง “ทฤษฎีสอง
สูง” ที่เจ้าสัวธนินท์แห่งซีพีได้เสนอไว้ ซึ่งมีแนวคิดในการเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานควบคู่ไปกับการ
เพิ่มราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร โดยเชื่อว่าจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น โดยที่ประชาชนทั่วไป
ไม่ได้รับผลกระทบจากข้าวของที่แพงขึ้น เนื่องจากมีรายได้สูงขึ้น
ทฤษฎีดังกล่าวมีแนวความคิดที่น่าสนใจ และทำให้ผมเกิดคำถามว่า การตีความทฤษฎีสองสูงควร
มีนัยในลักษณะที่เป็นเครื่องมือ (mean) หรือเป็นเป้าหมาย (end) ซึ่งผมเห็นว่า การเพิ่มเงินเดือนควรเป็น
เป้าหมายไม่ใช่เครื่องมือและการเพิ่มราคาสินค้าควรเป็นเครื่องมือที่ไม่ขัดแย้งกับกลไกตลาด
หากพิจารณาด้วยแนวคิดเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนแรงงานและราคาสินค้ามีลักษณะเป็นผลหรือเป้าหมายมากกว่าเป็นเหตุหรือเครื่องมือ โดยปัจจัยที่กำหนดค่าจ้างแรงงานของประเทศหรือเศรษฐกิจใดๆ เป็นผลจากโครงสร้างของปัจจัยการผลิตในประเทศนั้นๆ โดยประเทศที่มีจำนวนแรงงานมากจะมีต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่ำ ซึ่งทำให้มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น แต่ประเทศที่มีทุนมากจะมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมที่ใช้ทุนเข้มข้น ในขณะที่ราคาสินค้าถูกกำหนดด้วยกลไกตลาด ซึ่งเป็นตามอุปสงค์และอุปทานของสินค้านั้นๆ
บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
เพิ่มขั้นต่ำ ของแพงขึ้น เพิ่มขั้นต่ำอีก ของแพงขึ้นอีก ซ้ำไม่รู้จบ
ReplyDeleteนโยบายที่ใช้สมองจริงๆ
ขึ้นขั้นต่ำ กลไกตลาดก็แปรปรวนอยู่ดี
ReplyDeleteแก้ให้คนมีศักยภาพ หรือให้เขาทำงานมากขึ้นดีกว่า
จับปลาให้ กับสอนให้จับปลา
ReplyDeleteปรับกี่รอบแล้วครับ แรงงานก็จนลงเหมือนเดิม
ReplyDeleteไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง มาใช้หาเสียง
ReplyDelete