Monday, April 11, 2011

หากทฤษฎีสองสูงกับเครื่องมือแทรกแซงกลไกตลาด

Professor Kriengsak Chareonwongsak
           หากทฤษฎีสองสูงถูกตีความในลักษณะที่เป็นเครื่องมือแทรกแซงกลไกตลาด น่าจะไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจไทย เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปิดเสรีทำการค้าการลงทุนกับประเทศต่างๆค่อนข้างมากแล้ว โดยมีสัดส่วนการส่งออกที่สูงมากกว่าร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประกอบกับสินค้าเกษตรของไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งมีทิศทางราคาเป็นไปตามราคาตลาดโลก การแทรกแซงกลไกตลาดจะสร้างต้นทุนมหาศาลทั้งต่อรัฐบาล ผู้ประกอบการและแรงงานดังที่ได้กล่าวแล้วแต่หากทฤษฎีสองสูงถูกตีความในลักษณะที่เป็นเป้าหมาย ผมเห็นด้วยว่า เราควรตั้งเป้าหมายให้ประชาชนไทยมีรายได้สูงขึ้นโดยวิธีการหนึ่งคือการทำให้สินค้าของไทยมีราคาสูงขึ้นด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มสร้างความแตกต่าง และนวัตกรรมให้กับสินค้าไทย (ไม่ใช่การแทรกแซงกลไกตลาด)
           แต่กระนั้นการทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นไม่ใช่วิธีการเดียวที่จะสามารถเพิ่มรายได้ของประชาชนได้
แต่ยังมีวิธีการอื่นๆ อีก เช่น การเพิ่มผลิตภาพหรือผลผลิตต่อไร่ของภาคเกษตร การเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน
การลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ผมจึงเห็นว่า การตีความทฤษฎีสองสูงที่เหมาะสมกับประเทศไทยควรเป็นดังนี้ สูงที่หนึ่ง คือ รายได้สูงขึ้นน่าจะมีนัยในเชิงเป้าหมายไม่ใช่เครื่องมือ ส่วนสูงที่สอง คือ ราคาสูงขึ้นน่าจะมีนัยในเชิงวิธีการที่ไม่แทรกแซงกลไกตลาดด้วยเหตุนี้ หากนโยบายเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมี ลักษณะที่เป็น
เครื่องมือที่กำหนดลงมาจากรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงความสอดคล้องกับกลไกตลาดแล้ว ผลของนโยบายนี้
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ก็น่าจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม..

บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

1 comment: