Well notice work of Professor Kriengsak Chareonwongsak
President of the Institute of Future Studies for Development in Thailand and Chairman of Success Group of Companies in Thailand |and Hope that your like
Monday, April 18, 2011
อนุรักษ์ท้องทะเลไทยอย่างไร ให้ได้ผลอย่างยั่งยืน
วันทะเลโลกที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา ช่วยจุดประกายให้สังคมไทยได้หันกลับมาตระหนักถึงความสำคัญของทะเลไทยอีก ครั้ง หลังจากที่พบว่าท้องทะเลไทยต้องประสบกับวิกฤตขยะพลาสติกอย่างหนักในช่วงที่ ผ่านมา ซึ่งขยะดังกล่าวนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับแนวปะการังและสัตว์น้ำใต้ทะเล เป็นอย่างมาก สำหรับในเบื้องต้น ผมเห็นว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง เป็นระบบและครอบคลุมในทุกสาเหตุของปัญหา อันได้แก่
รณรงค์กระตุ้นจิตสำนึกรักษ์ทะเล ให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เช่น รณรงค์ให้มีการเก็บขยะไว้ในกระเป๋าก่อนนำไปทิ้งลงในถังขยะเพื่อจะได้นำไป ทำลายอย่างถูกวิธี หรือรณรงค์ให้มีการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ยาก อย่างเช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก ควบคู่ไปกับการจำกัดจำนวนการใช้และการรณรงค์ให้ใช้สิ่งอื่นทดแทน ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ง่าย และไม่เป็นพิษเป็นภัยกับธรรมชาติ ทั้งนี้ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องและประสานกับทุกหน่วยงานให้เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็น ส่วนราชการ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม บริษัทท่องเที่ยว ชาวบ้านในพื้นที่และชาวประมง
กำหนดพื้นที่เขตปลอดขยะ เพื่อใช้สำหรับเป็นมาตรการในการควบคุมและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยการเริ่มต้นสำรวจสภาพพื้นที่ท้องทะเลทั้งหมดอย่างละเอียดและกำหนดเป็นแถบ สีต่าง ๆ ไว้ในแผนที่ เช่น พื้นที่สีแดง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมาก ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน พื้นที่สีเหลือง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายรองลงมา แต่ยังไม่รุนแรงมากนัก พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อย ยังค่อนข้างมีความสมบูรณ์ หลังจากนั้น จึงกำหนดให้พื้นที่สีแดงเป็นพื้นที่เขตปลอดขยะที่ต้องได้รับการควบคุมดูแล เป็นพิเศษ เช่น จัดกำลังเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลอย่างเจาะจง จนกว่าพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการรื้อฟื้นให้กลับมาเป็นพื้นที่สีเหลืองหรือ สีเขียว ในขณะเดียวกันก็พัฒนาพื้นที่สีเหลืองที่มีอยู่ให้กลายมาเป็นพื้นที่สีเขียว และอนุรักษ์พื้นที่แถบสีเขียวให้ยังคงอยู่ในสภาพปกติต่อไป ซึ่งต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและมีการประเมินผลเป็นประจำทุกปี
จัดโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรม ในภูมิภาคต่าง ๆ ไม่เฉพาะเพียงแค่ในบริเวณภาคใต้ของประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงผลกระทบภาพรวมเป็นสำคัญ และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาถึงผล กระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนั้น ๆ ด้วย
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยการกำหนดตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลได้จริงเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างต่อเนื่องจริงจัง
ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยควรต้องเอาจริงเอาจังในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดัง กล่าวนี้ก่อนที่ปัญหาที่เกิดขึ้นจะลุกลามและรุนแรงจนยากแก่การแก้ไข หรือเกินกว่าที่จะสามารถรื้อฟื้นให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีได้ดังเดิม
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment