Well notice work of Professor Kriengsak Chareonwongsak
President of the Institute of Future Studies for Development in Thailand and Chairman of Success Group of Companies in Thailand |and Hope that your like
Monday, April 18, 2011
CSR สำคัญอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
* ที่มาของภาพ - http://www.regjeringen.no/upload/UD/Temabilder/CSR%20LightbulbMedium.jpg
ผู้บริหารธุรกิจจำนวนมากยังมองไม่เห็นประโยชน์ของ CSR โดยมองงาน CSR จากกรอบความคิดเรื่องต้นทุน-ผลประโยชน์ระยะสั้น นั่นคือ สนใจเพียงแค่ว่า CSR จะทำให้บริษัทได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างไรในแง่ของการเพิ่มผลกำไรหรือยอดขาย ผู้บริหารอีกจำนวนหนึ่งยังต่อต้านการงาน CSR เพราะเห็นว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นได้
แต่อันที่จริงแล้ว CSR สามารถสร้างคุณประโยชน์ในหลายด้านให้เกิดแก่ธุรกิจได้ โดยประโยชน์ประการแรกคือ การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการประกอบการของบริษัทมีความเชื่อมโยงกัน โดยพบว่าการที่บริษัทสามารถจัดการความสัมพันธ์ และความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นองค์รวมได้จะส่งผลต่อยอด ขายมากถึง 4 เท่าและมีการเจริญเติบโตของการจ้างงานถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่าง เดียว เนื่องจากการทำ CSR ช่วยสร้างภาพลักษณ์ในด้านที่ดีต่อสังคม จึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของบริษัทเมื่อถึงคราววิกฤติเกิดกับบริษัท บริษัทที่มีบทบาทแสดงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสจะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้ามากกว่าบริษัทที่ไม่ทำอะไรเพื่อสังคม เลย
นอกจากนี้แล้ว CSR ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุนและช่วยบริษัทในการเข้าถึงแหล่งทุน ยกตัวอย่างตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ที่ได้ผลักดันให้มีตลาดหุ้นที่ซื้อขายสำหรับบริษัทที่ดำเนินการด้าน CSR โดยเฉพาะ รวมถึงการสร้างมาตรฐานและนวัตกรรมในการลงทุนที่โยงกับแนวคิดความรับผิดชอบ ต่อสังคม (Socially Responsible Investment ndash; SRI) ทำให้นักลงทุนทั่วไปตื่นตัวและเห็นประโยชน์ของการลงทุนในบริษัทที่รับผิดชอบ ต่อสังคม ทั้งประโยชน์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นและประโยชน์ทางการเงิน เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ตัวอย่างกรณี Dow Jones Group Sustainability Index (DJGSI) ซึ่งเป็นการรวมดัชนีการลงทุนของบริษัทที่มีมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา พบว่ากลุ่มบริษัทใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่าบริษัทอื่น ๆ ถึง 36.1% ซึ่งหากมองแค่กลุ่มบริษัทด้านพลังงานที่อยู่ในกลุ่มดัชนี DJGSI เปรียบเทียบกับกลุ่มพลังงานที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ กลุ่มที่อยู่ใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่า 45.3% ดังนั้น SRI จึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นที่สนใจในหมู่นักลงทุน ปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนที่มีการลงทุนในธุรกิจที่มี CSR ที่เรียกว่า SRI มีมูลค่าเกินกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่มากขึ้นเรื่อย ๆ
ประการต่อมาCSR ช่วยสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตัวอย่าง บริษัทที่สามารถใช้ CSR ในการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ เช่น ฮิวเลตต์แพคการ์ด ที่เคยให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในชุมชนห่างไกลในอินเดียที่ไม่มีไฟฟ้า ใช้ ได้คิดค้นเครื่องพรินเตอร์ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องไฟฟ้า ในที่สุดนวัตกรรมนี้ถูกนำมาใช้เป็นสินค้าตัวหนึ่งของบริษัท หรืออีกตัวอย่างของ Toyota ที่เริ่มผลิตรถ Hybrid ที่ใช้ได้ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้า โดยที่การขับเคลื่อนรถ Hybrid นี้ ปล่อยมลพิษเพียง 10% เมื่อเทียบกับรถปกติ และใช้น้ำมันเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ทำให้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลายเป็นสินค้าตัวใหม่ของบริษัท
ประการสุดท้าย CSR ช่วยสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน กล่าว คือ ขณะที่คนมองว่า CSR เพิ่มภาระต้นทุนของธุรกิจแต่ในระยะยาว แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฎว่า การจัดกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับแนวคิด CSR จะส่งผลช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น มีโครงการลดการใช้ไฟฟ้าโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของบริษัทเมื่อปี 2547 ทำการเปลี่ยนหลอดไฟ 30 สาขาเป็นหลอดประหยัดพลังงานใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์ และบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เพียง 8 เดือน มีการเก็บตัวเลขพบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 90 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าการดำเนินงาน CSR ได้ช่วยให้บริษัทลดของเสียในการกระบวนการผลิตได้อย่างมาก
เราคงจะเห็นแล้วว่า CSR มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ถ้าหากธุรกิจที่ประกอบการอยู่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และให้ความสำคัญในการ ดำเนินนโยบายด้าน CSR สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น
อนุรักษ์ท้องทะเลไทยอย่างไร ให้ได้ผลอย่างยั่งยืน
วันทะเลโลกที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา ช่วยจุดประกายให้สังคมไทยได้หันกลับมาตระหนักถึงความสำคัญของทะเลไทยอีก ครั้ง หลังจากที่พบว่าท้องทะเลไทยต้องประสบกับวิกฤตขยะพลาสติกอย่างหนักในช่วงที่ ผ่านมา ซึ่งขยะดังกล่าวนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับแนวปะการังและสัตว์น้ำใต้ทะเล เป็นอย่างมาก สำหรับในเบื้องต้น ผมเห็นว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง เป็นระบบและครอบคลุมในทุกสาเหตุของปัญหา อันได้แก่
รณรงค์กระตุ้นจิตสำนึกรักษ์ทะเล ให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เช่น รณรงค์ให้มีการเก็บขยะไว้ในกระเป๋าก่อนนำไปทิ้งลงในถังขยะเพื่อจะได้นำไป ทำลายอย่างถูกวิธี หรือรณรงค์ให้มีการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ยาก อย่างเช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก ควบคู่ไปกับการจำกัดจำนวนการใช้และการรณรงค์ให้ใช้สิ่งอื่นทดแทน ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ง่าย และไม่เป็นพิษเป็นภัยกับธรรมชาติ ทั้งนี้ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องและประสานกับทุกหน่วยงานให้เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็น ส่วนราชการ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม บริษัทท่องเที่ยว ชาวบ้านในพื้นที่และชาวประมง
กำหนดพื้นที่เขตปลอดขยะ เพื่อใช้สำหรับเป็นมาตรการในการควบคุมและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยการเริ่มต้นสำรวจสภาพพื้นที่ท้องทะเลทั้งหมดอย่างละเอียดและกำหนดเป็นแถบ สีต่าง ๆ ไว้ในแผนที่ เช่น พื้นที่สีแดง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมาก ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน พื้นที่สีเหลือง หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายรองลงมา แต่ยังไม่รุนแรงมากนัก พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้อย ยังค่อนข้างมีความสมบูรณ์ หลังจากนั้น จึงกำหนดให้พื้นที่สีแดงเป็นพื้นที่เขตปลอดขยะที่ต้องได้รับการควบคุมดูแล เป็นพิเศษ เช่น จัดกำลังเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลอย่างเจาะจง จนกว่าพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการรื้อฟื้นให้กลับมาเป็นพื้นที่สีเหลืองหรือ สีเขียว ในขณะเดียวกันก็พัฒนาพื้นที่สีเหลืองที่มีอยู่ให้กลายมาเป็นพื้นที่สีเขียว และอนุรักษ์พื้นที่แถบสีเขียวให้ยังคงอยู่ในสภาพปกติต่อไป ซึ่งต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและมีการประเมินผลเป็นประจำทุกปี
จัดโซนนิ่งพื้นที่อุตสาหกรรม ในภูมิภาคต่าง ๆ ไม่เฉพาะเพียงแค่ในบริเวณภาคใต้ของประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงผลกระทบภาพรวมเป็นสำคัญ และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาถึงผล กระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนั้น ๆ ด้วย
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยการกำหนดตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลได้จริงเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างต่อเนื่องจริงจัง
ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยควรต้องเอาจริงเอาจังในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดัง กล่าวนี้ก่อนที่ปัญหาที่เกิดขึ้นจะลุกลามและรุนแรงจนยากแก่การแก้ไข หรือเกินกว่าที่จะสามารถรื้อฟื้นให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีได้ดังเดิม
Professor Kriengsak chareonwongsak siam araya starting in idea
เราทุกคนสามารถที่จะร่วมกันสร้าง สังคมที่ดี สร้างสยามอารยะ สร้างเมืองไทยให้เป็นอารยะประเทศ โดยเริ่มจากสิ่งที่เราสนใจ
ส่วนหนึ่งของ คำปราศัย ของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)
Sunday, April 17, 2011
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับ หนังสือเล่มโปรด
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา
ผู้สร้างสรรค์งานเขียนอาทิ ลายแทงความคิด และหนังสือเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์หลายเล่ม ดังนั้นหนังสือเล่มโปรดของคุณเกรียงศักดิ์จึงเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ
1. The Wealth of Nations by Adam Smith
เป็นหนังสือตำราทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ยุคแรก ซึ่งผู้ที่ต้องการเป็นนักเศรษฐศาสตร์ทุกคนต้องอ่านเพื่อวางรากฐานความรู้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดเสรีนิยมในทางเศรษฐกิจ โดยพยายามปล่อยให้กลไกตลาดเป็นตัวจัดแจงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ให้ผู้ใดมาแทรกแซง เพราะเชื่อว่ากลไกตลาดจะปรับสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งผลรวมสุดท้าย ทุกคนในสังคมจะได้ประโยชน์ และมีนัยสะท้อนถึงการจัดระเบียบสังคมผ่านการปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างเสรี เพราะเชื่อว่าจะมี "มือที่มองไม่เห็น" (invisible hands) มาคอยตบแต่งให้กิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมเข้าสู่ความสมดุล สังคมก็จะอยู่เย็นเป็นสุข
อดัม สมิธ เป็นนักทฤษฎีกลุ่มคลาสสิก (classical theorists) มีความเชื่อในกฎธรรมชาติและความมีเหตุมีผลของมนุษย์ โดยเชื่อว่ากลไกทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ แนวคิดนี้เป็นรากฐานเพื่อการพัฒนาต่อยอดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของนักทฤษฎีกลุ่มอื่น ๆ ในเวลาต่อมา
ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ ประการแรก หนังสือเล่มนี้ได้ช่วยวางรากฐานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ให้อย่างเป็นระบบ อดัม สมิธ ได้สรุปรวบยอดความรู้ในลักษณะของทฤษฎี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการนำไปใช้เป็นตำราและการศึกษาประวัติศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์ได้อย่างเป็นระบบ และช่วยให้เห็นความสำคัญของการเขียนตำรา หากผู้เขียนสามารถสรุปองค์ความรู้ได้ในลักษณะของทฤษฎี ย่อมเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย
นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกิดความตระหนักว่า เสรีภาพเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ การจำกัดเสรีภาพโดยระบบจะทำให้เกิดการต่อต้านและระบบนั้นจะอยู่ไม่ได้ในที่สุด เช่น ระบบคอมมิวนิสต์ เป็นต้น ดังนั้น แม้ว่าทฤษฎีนี้ยังไม่มีความสมบูรณ์และมีการพัฒนาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ ต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นจริงนั่นคือ ความเป็นเสรีนิยมมีความเหมาะสมในการจัดระเบียบทางสังคมมนุษย์
2. Utopia by Thomas More
หนังสือเล่มนี้จัดเป็นวรรณกรรมการเมืองอมตะเล่มหนึ่งที่มีความใหม่เสมอในทุกยุคทุกสมัย เนื้อหาภายในเล่ม มอร์ ได้นำเสนอสังคมอุดมคติที่ดีงามว่าควรมีสภาพเป็นอย่างไร โดยให้ความสำคัญกับมนุษย์ทุกคน มากกว่าระบบที่เป็นอยู่ เช่น มนุษย์เท่าเทียมกัน ทุกคนอยู่ดีมีสุข ไม่อดอยากยากจน ไม่มีอาชญากรรม ไม่เห็นแก่ตัว มีความรักซึ่งกันและกัน เป็นต้น และได้นำเสนอเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคม ให้ส่วนรวมของสังคมเป็นใหญ่กว่าปัจเจกชน ในลักษณะสังคมนิยม (แต่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ อยู่คนละยุคกับคาร์ล มาร์กซ์ หนังสือของโธมัส มอร์เขียนขึ้นประมาณศตวรรษที่13-14 ในขณะที่มาร์กซ์อยู่ในศตวรรษที่ 18-19)
หนังสือเล่มนี้ อ่านแล้วทำให้เกิดแรงบันดาลใจอยากเห็นสังคมที่ดีงามเกิดขึ้นในโลกนี้ ไม่ต้องการให้คนต้องทนทุกข์อยู่กับความยากลำบากอีกต่อไป เช่น ไม่ต้องทนทุกข์กับระบอบการปกครองอำนาจนิยม ความอดอยากยากจน การรบราฆ่าฟัน การกดขี่ข่มเหง ฯลฯ และประทับใจในตัวผู้เขียนที่มีความเป็นนักมนุษย์นิยม เพราะการที่คนเราจะคิดเรื่องนี้ได้ ต้องเป็นคนที่มีใจยุติธรรม ใจที่เห็นแก่มนุษยชาติ ใจที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม จึงสามารถคิดและเขียนเรื่องนี้ออกมาได้ ข้อเขียนจึงสะท้อนการให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ระบบการปกครองเป็นศูนย์กลางเช่นในสมัยนั้น
นอกจากนี้ ยังได้ข้อคิดที่สำคัญ 2 ประการจากหนังสือเล่มนี้ ได้แก่
1. สิ่งที่ได้จาก "โทมัส มอร์" ในฐานะผู้เขียนเรื่องนี้ คือข้อสรุปว่า "คนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมต้องมีทั้ง ความกล้าหาญ และความฉลาด"
มอร์อยู่ในยุคกลาง ที่ปกครองด้วยระบบศักดินา (Feudal System) มีเจ้าครองที่ดินปกครอง ประชาชนไม่มีสิทธิในที่ดินของตนเอง ต้องอยู่ในลักษณะของทาสติดที่ดิน ประชาชนจึงไร้ซึ่งเสรีภาพ ต้องทำงานเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินเป็นหลัก ประชาชนอยู่อย่างไม่มีความสุข ไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี เขาจึงต้องการเสนอความคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยมุ่งที่ความสิทธิเสรีภาพและความสุขของคนในสังคมเป็นหลัก แต่การเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างตรงไปตรงมา ย่อมไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอาจถูกต่อต้านจากผู้ปกครองในเวลานั้น
มอร์ มีความกล้าหาญในการนำเสนอความคิดที่แตกต่างจากกรอบความคิดทางการปกครองในยุคนั้น เขาตระหนักดีว่า ระบบดังกล่าวไม่ได้นำไปสู่การสร้างความยุติธรรมให้กับคนที่อยู่ภายใต้ระบบ และเป็นระบบที่ทำให้ผู้ปกครองใช้อำนาจในทางที่ผิด เป็นระบบที่สมควรได้รับการเปลี่ยนแปลง
ในขณะเดียวกัน มอร์ มีความฉลาด ที่ไม่ได้ต่อต้านการปกครองแบบตรง ๆ แต่นำเสนอในรูปแบบของเรื่องแต่ง มีการดำเนินเรื่องต่าง ๆ เหมือนกับนิยายเรื่องหนึ่ง ในเนื้อหาได้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า เขาให้ความสำคัญกับคนมากกว่าระบบ และสร้างระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ เพื่อเป็นเครื่องมือตอบสนองสันติสุขของคนในสังคม มีการนำเสนอในรายละเอียดรูปแบบการปกครอง โครงสร้างทางสังคมที่เน้นสิทธิ ความเท่าเทียม นำเสนอภาพของระบบการเมืองที่ดี ระบบเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการอยู่ดีมีสุขของประชาชน
ข้อเขียนลักษณะนี้จึงมีทั้งพลังในการเผยแพร่แนวคิดสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง และได้สร้างพลังแห่งความปรารถนาในหมู่ประชาชนที่จะสร้างสังคมอุดมคติในลักษณะเช่นนั้น
2. สิ่งที่ได้จากงานเขียนชิ้นนี้ คือข้อสรุปที่ว่า "สังคมที่ดีควรมีเป้าหมายเชิงอุดมคติ"
ยูโทเปียนำเสนอสังคมในอุดมคติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง "การตั้งเป้าเชิงอุดมคติ" หรือการกำหนดเป้าหมายของสังคมที่ควรจะทำให้เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง ในอนาคต และในหนังสือยังได้วาดทิศทางชัดเจนที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น อันเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีพลังผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ หากคนจำนวนมากยึดอุดมคตินั้นและช่วยกันผลักดัน
ในความคิดของคนจำนวนไม่น้อยอาจมองว่า "อุดมคติ" เป็นเรื่องเพ้อฝัน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเกิดได้ในโลกแห่งความจริง จึงมักขับเคลื่อนตนเองไปตามสถานการณ์ แท้จริงแล้ว อุดมคติไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน แต่เป็นเครื่องมือในการรวมพลังคนนำไปสู่การทำสิ่งที่ดี การมีเป้าหมายเชิงอุดมคติ ทำให้คนมีความผูกพันเพราะมีเป้าหมายร่วมกัน และมีพลังร่วมกันที่จะผลักดันทำให้เป้าหมายอุดมคตินั้นสำเร็จ สังคมที่ปราศจากอุดมคติหรือไร้ซึ่งอุดมการณ์เป็นเป้าหมาย จะไม่มีพลังขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้แรงพอ
3. How should we then live? By Francis Shaffer
หนังสือเล่มนี้อธิบายว่า สิ่งที่คนแสดงออก สะท้อนเบื้องลึกแห่งจิตใจและความคิดของเขา โลกในความคิดของคนเราจะไหลออกมาเป็นการกระทำภายนอก ซึ่งมีผลต่อระบบค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ และการกระทำในภาพรวม เช่น การตัดสินใจทางการเมือง เป็นต้น และมีผลต่อการดำเนินชีวิตส่วนตัวอีกด้วย
ผู้เขียนเน้นว่า คนเรามีสมมติฐานอันเกิดจากโลกทัศน์ (มุมมอง) เรื่องชีวิต และจะดำเนินชีวิตไปตามสิ่งที่ทำเป็นปกติมากกว่าที่จะตระหนักถึงสมมติฐานเหล่านั้นอันเป็นพื้นฐานความคิดของเขาและรวมถึงการกระทำของเขาด้วย ผู้เขียนย้ำประเด็นสำคัญว่า ปัจเจกบุคคลไม่ใช่เป็นเพียงสินค้าอันเกิดจากการลงแรงที่อยู่รอบตัวเขาเท่านั้น แต่เขาเหล่านั้นมีจิตใจ มีโลกทัศน์ และมีความคิดด้วย ซึ่งเขาสามารถทำให้การกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้นในโลกภายนอกและมีผลต่อโลกภายนอกนั้นได้
หนังสือเล่มนี้ ได้ให้ข้อคิดที่มีคุณค่าอย่างมากในการทำความเข้าใจคน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและในระดับสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจว่า แต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็มีความคล้ายคลึงกันในบางเรื่องกับคนในสังคมเดียวกัน ที่เรียกว่า ค่านิยม ซึ่งแตกต่างจากคนในสังคมอื่น อันเกิดจากกระบวนการหล่อหลอมทางความคิดที่แตกต่างกัน
4. The 7 Habits of Highly Effective People by Stephen R.Covey
หนังสือเล่มนี้รวบรวมหลักการพื้นฐานในการเป็นคนมีประสิทธิผล โดยใช้อุปนิสัย 7 ประการ อุปนิสัย 3 ข้อแรก เป็นอุปนิสัยที่ทำให้เราเอาชนะตนเอง จะทำให้เราเกิดความมั่นใจในตนเอง เราจะเรียนรู้จากตัวเองมากขึ้น อุปนิสัยอีก 3 ประการ เป็นอุปนิสัยที่จะทำให้เราเอาชนะใจคนทั่ว ๆ ไป มิตรภาพจะดีขึ้นและเป็นไปอย่างลึกซึ้ง มั่นคงและสร้างสรรค์มากกว่าเดิม ส่วนอุปนิสัยที่ 7 เป็นการกระตุ้นอุปนิสัยทั้งหกให้มีพลังอยู่เสมอ เป็นหนังสือที่ทำให้เห็นว่า ความสำเร็จเกิดจากความสามารถในการค้นพบตัวตนที่แท้จริง ค้นพบสิ่งที่เราต้องการมากกว่าการที่ต้องการให้สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้กลายเป็นคนที่มีประสิทธิผลได้
ข้อคิดที่ได้ หนังสือเล่มนี้ให้หลักการที่ดีในการดำเนินชีวิต โดยชี้ให้เห็นว่า แม้เราเป็นคนที่มีเสน่ห์ในสังคม แต่ขาดปัจจัยหลักคือการเป็นคนที่มีอุปนิสัยที่ดีแล้ว ไม่ช้าก็เร็วความสัมพันธ์ในระยะยาวไม่ว่าในทางธุรกิจหรือส่วนตัว ครอบครัว หรือเพื่อนฝูงจะนำไปสู่ภาวะวิกฤต อุปนิสัยที่ดีต่างหากที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของเรา
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา
ผู้สร้างสรรค์งานเขียนอาทิ ลายแทงความคิด และหนังสือเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์หลายเล่ม ดังนั้นหนังสือเล่มโปรดของคุณเกรียงศักดิ์จึงเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระ
1. The Wealth of Nations by Adam Smith
เป็นหนังสือตำราทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ยุคแรก ซึ่งผู้ที่ต้องการเป็นนักเศรษฐศาสตร์ทุกคนต้องอ่านเพื่อวางรากฐานความรู้ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดเสรีนิยมในทางเศรษฐกิจ โดยพยายามปล่อยให้กลไกตลาดเป็นตัวจัดแจงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ให้ผู้ใดมาแทรกแซง เพราะเชื่อว่ากลไกตลาดจะปรับสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งผลรวมสุดท้าย ทุกคนในสังคมจะได้ประโยชน์ และมีนัยสะท้อนถึงการจัดระเบียบสังคมผ่านการปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างเสรี เพราะเชื่อว่าจะมี "มือที่มองไม่เห็น" (invisible hands) มาคอยตบแต่งให้กิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมเข้าสู่ความสมดุล สังคมก็จะอยู่เย็นเป็นสุข
อดัม สมิธ เป็นนักทฤษฎีกลุ่มคลาสสิก (classical theorists) มีความเชื่อในกฎธรรมชาติและความมีเหตุมีผลของมนุษย์ โดยเชื่อว่ากลไกทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ แนวคิดนี้เป็นรากฐานเพื่อการพัฒนาต่อยอดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของนักทฤษฎีกลุ่มอื่น ๆ ในเวลาต่อมา
ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ ประการแรก หนังสือเล่มนี้ได้ช่วยวางรากฐานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ให้อย่างเป็นระบบ อดัม สมิธ ได้สรุปรวบยอดความรู้ในลักษณะของทฤษฎี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการนำไปใช้เป็นตำราและการศึกษาประวัติศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์ได้อย่างเป็นระบบ และช่วยให้เห็นความสำคัญของการเขียนตำรา หากผู้เขียนสามารถสรุปองค์ความรู้ได้ในลักษณะของทฤษฎี ย่อมเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย
นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกิดความตระหนักว่า เสรีภาพเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ การจำกัดเสรีภาพโดยระบบจะทำให้เกิดการต่อต้านและระบบนั้นจะอยู่ไม่ได้ในที่สุด เช่น ระบบคอมมิวนิสต์ เป็นต้น ดังนั้น แม้ว่าทฤษฎีนี้ยังไม่มีความสมบูรณ์และมีการพัฒนาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ ต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นจริงนั่นคือ ความเป็นเสรีนิยมมีความเหมาะสมในการจัดระเบียบทางสังคมมนุษย์
2. Utopia by Thomas More
หนังสือเล่มนี้จัดเป็นวรรณกรรมการเมืองอมตะเล่มหนึ่งที่มีความใหม่เสมอในทุกยุคทุกสมัย เนื้อหาภายในเล่ม มอร์ ได้นำเสนอสังคมอุดมคติที่ดีงามว่าควรมีสภาพเป็นอย่างไร โดยให้ความสำคัญกับมนุษย์ทุกคน มากกว่าระบบที่เป็นอยู่ เช่น มนุษย์เท่าเทียมกัน ทุกคนอยู่ดีมีสุข ไม่อดอยากยากจน ไม่มีอาชญากรรม ไม่เห็นแก่ตัว มีความรักซึ่งกันและกัน เป็นต้น และได้นำเสนอเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคม ให้ส่วนรวมของสังคมเป็นใหญ่กว่าปัจเจกชน ในลักษณะสังคมนิยม (แต่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ อยู่คนละยุคกับคาร์ล มาร์กซ์ หนังสือของโธมัส มอร์เขียนขึ้นประมาณศตวรรษที่13-14 ในขณะที่มาร์กซ์อยู่ในศตวรรษที่ 18-19)
หนังสือเล่มนี้ อ่านแล้วทำให้เกิดแรงบันดาลใจอยากเห็นสังคมที่ดีงามเกิดขึ้นในโลกนี้ ไม่ต้องการให้คนต้องทนทุกข์อยู่กับความยากลำบากอีกต่อไป เช่น ไม่ต้องทนทุกข์กับระบอบการปกครองอำนาจนิยม ความอดอยากยากจน การรบราฆ่าฟัน การกดขี่ข่มเหง ฯลฯ และประทับใจในตัวผู้เขียนที่มีความเป็นนักมนุษย์นิยม เพราะการที่คนเราจะคิดเรื่องนี้ได้ ต้องเป็นคนที่มีใจยุติธรรม ใจที่เห็นแก่มนุษยชาติ ใจที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม จึงสามารถคิดและเขียนเรื่องนี้ออกมาได้ ข้อเขียนจึงสะท้อนการให้ความสำคัญกับมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ระบบการปกครองเป็นศูนย์กลางเช่นในสมัยนั้น
นอกจากนี้ ยังได้ข้อคิดที่สำคัญ 2 ประการจากหนังสือเล่มนี้ ได้แก่
1. สิ่งที่ได้จาก "โทมัส มอร์" ในฐานะผู้เขียนเรื่องนี้ คือข้อสรุปว่า "คนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมต้องมีทั้ง ความกล้าหาญ และความฉลาด"
มอร์อยู่ในยุคกลาง ที่ปกครองด้วยระบบศักดินา (Feudal System) มีเจ้าครองที่ดินปกครอง ประชาชนไม่มีสิทธิในที่ดินของตนเอง ต้องอยู่ในลักษณะของทาสติดที่ดิน ประชาชนจึงไร้ซึ่งเสรีภาพ ต้องทำงานเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินเป็นหลัก ประชาชนอยู่อย่างไม่มีความสุข ไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี เขาจึงต้องการเสนอความคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยมุ่งที่ความสิทธิเสรีภาพและความสุขของคนในสังคมเป็นหลัก แต่การเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างตรงไปตรงมา ย่อมไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอาจถูกต่อต้านจากผู้ปกครองในเวลานั้น
มอร์ มีความกล้าหาญในการนำเสนอความคิดที่แตกต่างจากกรอบความคิดทางการปกครองในยุคนั้น เขาตระหนักดีว่า ระบบดังกล่าวไม่ได้นำไปสู่การสร้างความยุติธรรมให้กับคนที่อยู่ภายใต้ระบบ และเป็นระบบที่ทำให้ผู้ปกครองใช้อำนาจในทางที่ผิด เป็นระบบที่สมควรได้รับการเปลี่ยนแปลง
ในขณะเดียวกัน มอร์ มีความฉลาด ที่ไม่ได้ต่อต้านการปกครองแบบตรง ๆ แต่นำเสนอในรูปแบบของเรื่องแต่ง มีการดำเนินเรื่องต่าง ๆ เหมือนกับนิยายเรื่องหนึ่ง ในเนื้อหาได้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า เขาให้ความสำคัญกับคนมากกว่าระบบ และสร้างระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ เพื่อเป็นเครื่องมือตอบสนองสันติสุขของคนในสังคม มีการนำเสนอในรายละเอียดรูปแบบการปกครอง โครงสร้างทางสังคมที่เน้นสิทธิ ความเท่าเทียม นำเสนอภาพของระบบการเมืองที่ดี ระบบเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการอยู่ดีมีสุขของประชาชน
ข้อเขียนลักษณะนี้จึงมีทั้งพลังในการเผยแพร่แนวคิดสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง และได้สร้างพลังแห่งความปรารถนาในหมู่ประชาชนที่จะสร้างสังคมอุดมคติในลักษณะเช่นนั้น
2. สิ่งที่ได้จากงานเขียนชิ้นนี้ คือข้อสรุปที่ว่า "สังคมที่ดีควรมีเป้าหมายเชิงอุดมคติ"
ยูโทเปียนำเสนอสังคมในอุดมคติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง "การตั้งเป้าเชิงอุดมคติ" หรือการกำหนดเป้าหมายของสังคมที่ควรจะทำให้เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง ในอนาคต และในหนังสือยังได้วาดทิศทางชัดเจนที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น อันเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีพลังผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ หากคนจำนวนมากยึดอุดมคตินั้นและช่วยกันผลักดัน
ในความคิดของคนจำนวนไม่น้อยอาจมองว่า "อุดมคติ" เป็นเรื่องเพ้อฝัน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเกิดได้ในโลกแห่งความจริง จึงมักขับเคลื่อนตนเองไปตามสถานการณ์ แท้จริงแล้ว อุดมคติไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน แต่เป็นเครื่องมือในการรวมพลังคนนำไปสู่การทำสิ่งที่ดี การมีเป้าหมายเชิงอุดมคติ ทำให้คนมีความผูกพันเพราะมีเป้าหมายร่วมกัน และมีพลังร่วมกันที่จะผลักดันทำให้เป้าหมายอุดมคตินั้นสำเร็จ สังคมที่ปราศจากอุดมคติหรือไร้ซึ่งอุดมการณ์เป็นเป้าหมาย จะไม่มีพลังขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้แรงพอ
3. How should we then live? By Francis Shaffer
หนังสือเล่มนี้อธิบายว่า สิ่งที่คนแสดงออก สะท้อนเบื้องลึกแห่งจิตใจและความคิดของเขา โลกในความคิดของคนเราจะไหลออกมาเป็นการกระทำภายนอก ซึ่งมีผลต่อระบบค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ และการกระทำในภาพรวม เช่น การตัดสินใจทางการเมือง เป็นต้น และมีผลต่อการดำเนินชีวิตส่วนตัวอีกด้วย
ผู้เขียนเน้นว่า คนเรามีสมมติฐานอันเกิดจากโลกทัศน์ (มุมมอง) เรื่องชีวิต และจะดำเนินชีวิตไปตามสิ่งที่ทำเป็นปกติมากกว่าที่จะตระหนักถึงสมมติฐานเหล่านั้นอันเป็นพื้นฐานความคิดของเขาและรวมถึงการกระทำของเขาด้วย ผู้เขียนย้ำประเด็นสำคัญว่า ปัจเจกบุคคลไม่ใช่เป็นเพียงสินค้าอันเกิดจากการลงแรงที่อยู่รอบตัวเขาเท่านั้น แต่เขาเหล่านั้นมีจิตใจ มีโลกทัศน์ และมีความคิดด้วย ซึ่งเขาสามารถทำให้การกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้นในโลกภายนอกและมีผลต่อโลกภายนอกนั้นได้
หนังสือเล่มนี้ ได้ให้ข้อคิดที่มีคุณค่าอย่างมากในการทำความเข้าใจคน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและในระดับสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจว่า แต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็มีความคล้ายคลึงกันในบางเรื่องกับคนในสังคมเดียวกัน ที่เรียกว่า ค่านิยม ซึ่งแตกต่างจากคนในสังคมอื่น อันเกิดจากกระบวนการหล่อหลอมทางความคิดที่แตกต่างกัน
4. The 7 Habits of Highly Effective People by Stephen R.Covey
หนังสือเล่มนี้รวบรวมหลักการพื้นฐานในการเป็นคนมีประสิทธิผล โดยใช้อุปนิสัย 7 ประการ อุปนิสัย 3 ข้อแรก เป็นอุปนิสัยที่ทำให้เราเอาชนะตนเอง จะทำให้เราเกิดความมั่นใจในตนเอง เราจะเรียนรู้จากตัวเองมากขึ้น อุปนิสัยอีก 3 ประการ เป็นอุปนิสัยที่จะทำให้เราเอาชนะใจคนทั่ว ๆ ไป มิตรภาพจะดีขึ้นและเป็นไปอย่างลึกซึ้ง มั่นคงและสร้างสรรค์มากกว่าเดิม ส่วนอุปนิสัยที่ 7 เป็นการกระตุ้นอุปนิสัยทั้งหกให้มีพลังอยู่เสมอ เป็นหนังสือที่ทำให้เห็นว่า ความสำเร็จเกิดจากความสามารถในการค้นพบตัวตนที่แท้จริง ค้นพบสิ่งที่เราต้องการมากกว่าการที่ต้องการให้สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้กลายเป็นคนที่มีประสิทธิผลได้
ข้อคิดที่ได้ หนังสือเล่มนี้ให้หลักการที่ดีในการดำเนินชีวิต โดยชี้ให้เห็นว่า แม้เราเป็นคนที่มีเสน่ห์ในสังคม แต่ขาดปัจจัยหลักคือการเป็นคนที่มีอุปนิสัยที่ดีแล้ว ไม่ช้าก็เร็วความสัมพันธ์ในระยะยาวไม่ว่าในทางธุรกิจหรือส่วนตัว ครอบครัว หรือเพื่อนฝูงจะนำไปสู่ภาวะวิกฤต อุปนิสัยที่ดีต่างหากที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของเรา
Friday, April 15, 2011
คลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลก 5 ลูกคลื่น โดย ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
คลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลก 5 ลูกคลื่น
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการและนักคิดระดับชาติ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้กล่าวปาฐกในเรื่อง “คลื่นแห่งการเปลี่ยนของโลก” โดยต่อยอดแนวคิดของ Alvin Tofler (นักอนาคตวิทยาและผู้เขียนหนังสือ The Third Wave) กล่าวถึงคลื่นดังกล่าวไว้ว่า
คลื่นลูกที่ 1 “สังคมเกษตรกรรม”
ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือที่ดิน ผู้นำทางสังคมหรือผู้นำแห่งยุค คือ ขุนพล ผู้กุมอำนาจทางการทหาร
เพื่อปกป้องปัจจัย และหาปัจจัยใหม่ให้สังคมของตน ยุคนี้เป็นยุคที่พ่อค้า นักธุรกิจ จะอาศัยบารมีของผู้นำทัพ เพื่อให้ตนมีอำนาจทางธุรกิจ เหนือกว่าคนอื่น ขณะเดียวกัน ขุนพลก็ต้องการพ่อค้าที่เก่งๆ เพื่อเลี้ยงดู ตนและกองทัพ
คลื่นลูกที่ 2 “สังคมอุตสาหกรรม”
ปัจจัยของยุคนี้ คือ ทุน เครื่องมือแห่งยุคได้แก่เครื่องจักร เครื่องกลต่างๆ หลังจากที่มีการคิดค้นสร้างเครื่องจักรไอน้ำ โลกเราก็เข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม มีการสร้างถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ การเดินทางไปมาหาสู่กันของคนมีมากขึ้น เนื่องจากการคมนาคมสะดวกขี้น ภาษาท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทน้อยลง ในขณะที่ผู้คนหันมาเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาสากล เพื่อง่ายและมีประสิทธิผลในสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ทหารจะซ่อนอยู่เบื้องหลังนายทุน พ่อค้า นักธุรกิจ
คลื่นลูกที่ 3 “สังคมแห่งข้อมูล”
ปัจจัยแห่งยุคคือข้อมูล เครื่องมือแห่งยุค คือ IT (Information Technology)สิ่งต่างๆ ในยุคนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลก่อนจะได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ใครที่รู้ก่อนว่าถนนจะตัดไปทางไหน ก็จะไปกว้านซื้อที่ดินแถบนั้น
เพื่อเก็งกำไร ซึ่งผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนทำธุรกิจแบบดั้งเดิมหลายเท่าตัว หรือ การที่ Microsoft เติบโตแซงหน้า GE และ
บริษัทรถยนต์เครื่องจักรยักษ์ใหญ่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็น ความสำคัญ ของข้อมูล
คลื่นลูกที่ 4 “สังคมแห่งองค์ความรู้”
ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ ความรู้ (Knowledges) เครื่องมือแห่งยุคคือ ศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น nanotechnology, biotechnology, pharmaceutical เป็นต้น ยกตัวอย่าง ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 1% เท่านั้น ที่เป็นสังคมของคลื่นลูกที่ 1 ประชากรถึง 70% นั้นอยู่ในคลื่นลูกที่ 4 และประชากรส่วนที่เหลืออยู่ในสังคมคลื่นลูกที่ 2 และ 3
คลื่นลูกที่ 5 “สังคมแห่งปัญญา” หรือ “ปราชญสังคม”
ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ สติปัญญา เครื่องมือแห่งยุค คือ นักคิด นักบูรณาการ
เป็นยุคของการคิด การบูรณาการความรู้และใช้ปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สังคมใดสามารถพาตนสู่การเป็น
ปราชญสังคมได้สำเร็จสังคมนั้น จะเจริญล้ำหน้ากว่าใครในโลก
ศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อาจารย์ นักวิชาการ นักคิด นักเขียน นักอนาคตวิทยา นักการเมือง
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการและนักคิดระดับชาติ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้กล่าวปาฐกในเรื่อง “คลื่นแห่งการเปลี่ยนของโลก” โดยต่อยอดแนวคิดของ Alvin Tofler (นักอนาคตวิทยาและผู้เขียนหนังสือ The Third Wave) กล่าวถึงคลื่นดังกล่าวไว้ว่า
คลี่นแห่งการเปลี่ยนของโลก by Professor Kriengsak Chareonwongsak |
คลื่นลูกที่ 1 “สังคมเกษตรกรรม”
ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือที่ดิน ผู้นำทางสังคมหรือผู้นำแห่งยุค คือ ขุนพล ผู้กุมอำนาจทางการทหาร
เพื่อปกป้องปัจจัย และหาปัจจัยใหม่ให้สังคมของตน ยุคนี้เป็นยุคที่พ่อค้า นักธุรกิจ จะอาศัยบารมีของผู้นำทัพ เพื่อให้ตนมีอำนาจทางธุรกิจ เหนือกว่าคนอื่น ขณะเดียวกัน ขุนพลก็ต้องการพ่อค้าที่เก่งๆ เพื่อเลี้ยงดู ตนและกองทัพ
คลื่นลูกที่ 2 “สังคมอุตสาหกรรม”
ปัจจัยของยุคนี้ คือ ทุน เครื่องมือแห่งยุคได้แก่เครื่องจักร เครื่องกลต่างๆ หลังจากที่มีการคิดค้นสร้างเครื่องจักรไอน้ำ โลกเราก็เข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม มีการสร้างถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ การเดินทางไปมาหาสู่กันของคนมีมากขึ้น เนื่องจากการคมนาคมสะดวกขี้น ภาษาท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทน้อยลง ในขณะที่ผู้คนหันมาเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาสากล เพื่อง่ายและมีประสิทธิผลในสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ทหารจะซ่อนอยู่เบื้องหลังนายทุน พ่อค้า นักธุรกิจ
คลื่นลูกที่ 3 “สังคมแห่งข้อมูล”
ปัจจัยแห่งยุคคือข้อมูล เครื่องมือแห่งยุค คือ IT (Information Technology)สิ่งต่างๆ ในยุคนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลก่อนจะได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ใครที่รู้ก่อนว่าถนนจะตัดไปทางไหน ก็จะไปกว้านซื้อที่ดินแถบนั้น
เพื่อเก็งกำไร ซึ่งผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนทำธุรกิจแบบดั้งเดิมหลายเท่าตัว หรือ การที่ Microsoft เติบโตแซงหน้า GE และ
บริษัทรถยนต์เครื่องจักรยักษ์ใหญ่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็น ความสำคัญ ของข้อมูล
คลื่นลูกที่ 4 “สังคมแห่งองค์ความรู้”
ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ ความรู้ (Knowledges) เครื่องมือแห่งยุคคือ ศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น nanotechnology, biotechnology, pharmaceutical เป็นต้น ยกตัวอย่าง ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 1% เท่านั้น ที่เป็นสังคมของคลื่นลูกที่ 1 ประชากรถึง 70% นั้นอยู่ในคลื่นลูกที่ 4 และประชากรส่วนที่เหลืออยู่ในสังคมคลื่นลูกที่ 2 และ 3
คลื่นลูกที่ 5 “สังคมแห่งปัญญา” หรือ “ปราชญสังคม”
ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ สติปัญญา เครื่องมือแห่งยุค คือ นักคิด นักบูรณาการ
เป็นยุคของการคิด การบูรณาการความรู้และใช้ปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สังคมใดสามารถพาตนสู่การเป็น
ปราชญสังคมได้สำเร็จสังคมนั้น จะเจริญล้ำหน้ากว่าใครในโลก
ศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อาจารย์ นักวิชาการ นักคิด นักเขียน นักอนาคตวิทยา นักการเมือง
Wednesday, April 13, 2011
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับมุมมองการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา
บอกเล่าเก้าสิบ ...
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับมุมมองการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา ของหน่วยงานอื่น ๆ และความมีจิตอาสาที่น่ายกย่องของคุณสรยุทธิ์ สุทัศน์จินดา
Monday, April 11, 2011
หากทฤษฎีสองสูงกับเครื่องมือแทรกแซงกลไกตลาด
Professor Kriengsak Chareonwongsak |
แต่กระนั้นการทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นไม่ใช่วิธีการเดียวที่จะสามารถเพิ่มรายได้ของประชาชนได้
แต่ยังมีวิธีการอื่นๆ อีก เช่น การเพิ่มผลิตภาพหรือผลผลิตต่อไร่ของภาคเกษตร การเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน
การลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ผมจึงเห็นว่า การตีความทฤษฎีสองสูงที่เหมาะสมกับประเทศไทยควรเป็นดังนี้ สูงที่หนึ่ง คือ รายได้สูงขึ้นน่าจะมีนัยในเชิงเป้าหมายไม่ใช่เครื่องมือ ส่วนสูงที่สอง คือ ราคาสูงขึ้นน่าจะมีนัยในเชิงวิธีการที่ไม่แทรกแซงกลไกตลาดด้วยเหตุนี้ หากนโยบายเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมี ลักษณะที่เป็น
เครื่องมือที่กำหนดลงมาจากรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงความสอดคล้องกับกลไกตลาดแล้ว ผลของนโยบายนี้
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ |
บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
ดุลยภาพค่าจ้างแรงงานและราคาสินค้า
Professor Kriengsak Chareonwongsak |
ปัจจัยการผลิตหรือกลไกตลาดย่อมทำให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์สูงมาก และอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่าผลดี
ตัวอย่างเช่น การกำหนดค่าจ้างแรงงานในระดับสูงในขณะที่ประเทศมีแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก
จะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในระบบมีต้นทุนสูงขึ้นทันที ธุรกิจจำนวนหนึ่งอาจต้องลดขนาดกิจการหรือปิดกิจการลง
เพราะแข่งขันไม่ได้ ธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งต้องย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า ธุรกิจ
อีกส่วนหนึ่งต้องหันไปใช้แรงงานต่างด้าวหรือออกนอกระบบเพื่อจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่ทางการกำหนด ขณะที่
ธุรกิจบางส่วนเท่านั้นที่สามารถปรับโครงสร้างการผลิตไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงานเพราะแรงงานฝีมือใน
ประเทศยังมีจำนวนจำกัดผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาพรวม คือ ระบบเศรษฐกิจอาจมีขนาดเล็กลงเพราะกิจการ
จำนวนมากต้องปิดตัวลง หรือย้ายฐานการผลิตออกไป แรงงานจำนวนมากต้องตกงานหรือถูกปลดออกจาก
งาน ถึงแม้ว่าแรงงานในระบบจะมีค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น แต่ค่าจ้างเฉลี่ยทั้งประเทศอาจลดลง เพราะแรงงาน
นอกระบบจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและ ยังคงรับค่าจ้างแรงงานในระดับต่ำกว่าอัตราค่าจ้างที่ทางการกำหนด
หรืออาจได้รับค่าจ้างต่ำลงกว่าระดับค่าจ้างเดิมเพราะกิจการปิดตัวไปมากทำให้ความต้องการแรงงานลดลง
เช่นเดียวกับการเพิ่มราคาสินค้า ซึ่งรัฐบาลจะต้องแทรกแซงกลไกตลาด โดยการกำหนดเพดาน
ราคาซื้อขายสินค้า หรือจำกัดปริมาณการผลิตและปริมาณการนำเข้าสินค้า แต่การแทรกแซงตลาดดังกล่าว
จะทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด (excess supply) เพราะราคาที่สูงขึ้นจะทำให้ผู้ผลิตมีแรงจูงใจผลิต
สินค้าออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคต้องลดปริมาณการบริโภคลง (แม้ทฤษฎีสองสูงระบุว่า การเพิ่ม
ค่าจ้างแรงงานจะทำให้แรงงานมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมีแรงงานในระบบเท่านั้นที่มีค่าจ้าง
เพิ่มขึ้น แต่ค่าจ้างแรงงานโดยรวมอาจจะลดลงดังที่วิเคราะห์ในย่อหน้าที่แล้ว) ซึ่งกลไกตลาดจะปรับเข้าสู่
ดุลยภาพทำให้ราคาสินค้าต่ำลงในที่สุดเว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลต้องจ่ายต้นทุนในการอุดหนุนผู้บริโภคหรือต้นทุนการควบคุมและตรวจสอบการลักลอบผลิต การนำเข้าและการซื้อขายสินค้าในตลาดมืด
บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
นโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกับการตีความทฤษฎีสองสูง
Professor Kriengsak Chareonwongsak |
การเลือกตั้ง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยชูธงประกาศนโยบายแรกออกมาคือ
การขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี นโยบายนี้ทำให้ผมคิดถึง “ทฤษฎีสอง
สูง” ที่เจ้าสัวธนินท์แห่งซีพีได้เสนอไว้ ซึ่งมีแนวคิดในการเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานควบคู่ไปกับการ
เพิ่มราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร โดยเชื่อว่าจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น โดยที่ประชาชนทั่วไป
ไม่ได้รับผลกระทบจากข้าวของที่แพงขึ้น เนื่องจากมีรายได้สูงขึ้น
ทฤษฎีดังกล่าวมีแนวความคิดที่น่าสนใจ และทำให้ผมเกิดคำถามว่า การตีความทฤษฎีสองสูงควร
มีนัยในลักษณะที่เป็นเครื่องมือ (mean) หรือเป็นเป้าหมาย (end) ซึ่งผมเห็นว่า การเพิ่มเงินเดือนควรเป็น
เป้าหมายไม่ใช่เครื่องมือและการเพิ่มราคาสินค้าควรเป็นเครื่องมือที่ไม่ขัดแย้งกับกลไกตลาด
หากพิจารณาด้วยแนวคิดเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนแรงงานและราคาสินค้ามีลักษณะเป็นผลหรือเป้าหมายมากกว่าเป็นเหตุหรือเครื่องมือ โดยปัจจัยที่กำหนดค่าจ้างแรงงานของประเทศหรือเศรษฐกิจใดๆ เป็นผลจากโครงสร้างของปัจจัยการผลิตในประเทศนั้นๆ โดยประเทศที่มีจำนวนแรงงานมากจะมีต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่ำ ซึ่งทำให้มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น แต่ประเทศที่มีทุนมากจะมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมที่ใช้ทุนเข้มข้น ในขณะที่ราคาสินค้าถูกกำหนดด้วยกลไกตลาด ซึ่งเป็นตามอุปสงค์และอุปทานของสินค้านั้นๆ
บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
Friday, April 8, 2011
ยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าออก 2 สาย
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ยกเลิกรถไฟฟ้าสองสี บทเรียนของความไม่รอบคอบ
Professor Dr.Kriengsak Chareonwongsak
การยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าออก 2 สาย คือ สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีส้ม บางกะปิ-บางบำหรุ โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุน และจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณ และรัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยการนำรถเมล์ด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที มาให้บริการแทน
เมื่อพิจารณาเหตุผลการยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าทั้งสองเส้นทาง ทำให้ผมเกิดคำถามว่า เหตุใดพฤติกรรมก่อนที่จะกำหนดนโยบายนี้ จึงสวนทางกับเหตุผลของการยกเลิกโครงการดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง?
ก่อนหน้านี้ พรรคไทยรักไทยสัญญาว่า จะก่อสร้างรถไฟฟ้า 7 สายภายใน 5-6 ปี ซึ่งทำให้พรรคได้รับชัยชนะถล่มทลายในพื้นที่กทม.และปริมณฑล
รัฐบาลยืนยันมาโดยตลอดว่า จะสามารถดำเนินการตามสัญญาที่ให้ไว้ได้ และตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้มีการโต้แย้งเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุนของโครงการ แต่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโครงการนี้ให้เหตุผลว่า โครงการมีความคุ้มค่า เพราะจะช่วยแก้ปัญหาจราจร ลดการนำเข้าน้ำมัน ตลอดจนต้องก่อสร้างพร้อมกัน เพื่อให้เกิดเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้า ซึ่งจะดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น และทำให้มีผลตอบแทนที่คุ้มทุน
ดังนั้น การออกมาอ้างเหตุผลว่า รถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางไม่คุ้มค่าในการลงทุน จึงเป็นการสะท้อนถึงความไม่รอบคอบในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล เพราะโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งควรมีผลตอบแทนการลงทุนหรือ IRR ต่ำสุดที่ยอมรับได้คือ ร้อยละ 12 ตามที่ธนาคารโลกระบุ แต่รัฐบาลยังพยายามผลักดันรถไฟสายสีส้มและสีม่วง ทั้ง ๆ ที่มีผลการศึกษามาก่อนแล้วว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุน เพราะมี IRR เพียงร้อยละ 9.3 และร้อยละ 11.19
โครงการรถไฟฟ้าเป็นหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจคต์ที่มีการศึกษาชัดเจนที่สุดแล้ว แต่ยังพบปัญหาในการลงทุน แล้วโครงการเมกะโปรเจคต์อื่น ๆ ที่เหลือ ซึ่งการศึกษาโครงการยังไม่ชัดเจน กล่าวคือ ยังไม่มีแม้แต่การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และความคุ้มค่าของการลงทุน อาจจะยิ่งมีปัญหามากกว่านี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ คำยืนยันต่าง ๆ ของรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการเมกะโปรเจคต์ เช่น จะหามาเงินลงทุนได้โดยไม่กระทบต่อฐานะการคลัง จะไม่สร้างปัญหาต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ จะมีผลตอบแทนที่คุ้มค่า เป็นต้น ล้วนเป็นคำยืนยันที่ยังไม่มีความแน่นอน และมีความเสี่ยงว่าจะไม่เป็นความจริง …จะให้เชื่อได้อย่างไร?
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ยกเลิกรถไฟฟ้าสองสี บทเรียนของความไม่รอบคอบ
Professor Dr.Kriengsak Chareonwongsak
การยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าออก 2 สาย คือ สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ และสายสีส้ม บางกะปิ-บางบำหรุ โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุน และจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณ และรัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยการนำรถเมล์ด่วนพิเศษ หรือ บีอาร์ที มาให้บริการแทน
เมื่อพิจารณาเหตุผลการยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าทั้งสองเส้นทาง ทำให้ผมเกิดคำถามว่า เหตุใดพฤติกรรมก่อนที่จะกำหนดนโยบายนี้ จึงสวนทางกับเหตุผลของการยกเลิกโครงการดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง?
ก่อนหน้านี้ พรรคไทยรักไทยสัญญาว่า จะก่อสร้างรถไฟฟ้า 7 สายภายใน 5-6 ปี ซึ่งทำให้พรรคได้รับชัยชนะถล่มทลายในพื้นที่กทม.และปริมณฑล
รัฐบาลยืนยันมาโดยตลอดว่า จะสามารถดำเนินการตามสัญญาที่ให้ไว้ได้ และตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้มีการโต้แย้งเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุนของโครงการ แต่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโครงการนี้ให้เหตุผลว่า โครงการมีความคุ้มค่า เพราะจะช่วยแก้ปัญหาจราจร ลดการนำเข้าน้ำมัน ตลอดจนต้องก่อสร้างพร้อมกัน เพื่อให้เกิดเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้า ซึ่งจะดึงดูดให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น และทำให้มีผลตอบแทนที่คุ้มทุน
ดังนั้น การออกมาอ้างเหตุผลว่า รถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางไม่คุ้มค่าในการลงทุน จึงเป็นการสะท้อนถึงความไม่รอบคอบในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล เพราะโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งควรมีผลตอบแทนการลงทุนหรือ IRR ต่ำสุดที่ยอมรับได้คือ ร้อยละ 12 ตามที่ธนาคารโลกระบุ แต่รัฐบาลยังพยายามผลักดันรถไฟสายสีส้มและสีม่วง ทั้ง ๆ ที่มีผลการศึกษามาก่อนแล้วว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุน เพราะมี IRR เพียงร้อยละ 9.3 และร้อยละ 11.19
โครงการรถไฟฟ้าเป็นหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจคต์ที่มีการศึกษาชัดเจนที่สุดแล้ว แต่ยังพบปัญหาในการลงทุน แล้วโครงการเมกะโปรเจคต์อื่น ๆ ที่เหลือ ซึ่งการศึกษาโครงการยังไม่ชัดเจน กล่าวคือ ยังไม่มีแม้แต่การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และความคุ้มค่าของการลงทุน อาจจะยิ่งมีปัญหามากกว่านี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ คำยืนยันต่าง ๆ ของรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการเมกะโปรเจคต์ เช่น จะหามาเงินลงทุนได้โดยไม่กระทบต่อฐานะการคลัง จะไม่สร้างปัญหาต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ จะมีผลตอบแทนที่คุ้มค่า เป็นต้น ล้วนเป็นคำยืนยันที่ยังไม่มีความแน่นอน และมีความเสี่ยงว่าจะไม่เป็นความจริง …จะให้เชื่อได้อย่างไร?
Thursday, April 7, 2011
มิติการคิด การคิดเชิงกลยุทธ์
การคิดเชิงกลยุทธ์
เป็นอีกหนึ่งมิติการคิดที่สำคัญอย่างยิ่ง
ที่เราทุกคนควรเรียนรู้
และนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
ทั้งในเรื่องของการแก้ปัญหา
การตัดสินใจ และการวางแผน
เพื่อบรรลุเป้าหมาย ความสำเร็จในอนาคต
ส่วนหนึ่งของบทความจากหนังสือ ความคิดเชิงกลยุทธิ์ ของ ศาสตราจารย์ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Kriengsak Chareonwongsak) หนังสือแนะนำที่คุณ ๆ ต้องอ่าน
เป็นอีกหนึ่งมิติการคิดที่สำคัญอย่างยิ่ง
ที่เราทุกคนควรเรียนรู้
และนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
ทั้งในเรื่องของการแก้ปัญหา
การตัดสินใจ และการวางแผน
เพื่อบรรลุเป้าหมาย ความสำเร็จในอนาคต
ส่วนหนึ่งของบทความจากหนังสือ ความคิดเชิงกลยุทธิ์ ของ ศาสตราจารย์ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Kriengsak Chareonwongsak) หนังสือแนะนำที่คุณ ๆ ต้องอ่าน
Wednesday, April 6, 2011
กระบวนทัศน์ในการคิดเชิงกลยุทธ์(Paradigm Shift)
1) Paradigm Shift
การเปลี่ยนแปลงเรื่องต่างๆ ในการทำงานหรือในเชิงธุรกิจย่อมมีอยู่เสมอทั้งที่เปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหา หรือเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาที่ดี หากแต่ส่วนใหญ่มิใช่การเปลี่ยนแปลงในเชิงกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนในเชิง กลยุทธ์ที่แท้จริงต้องเริ่มที่ เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการคิดเชิงกลยุทธ์(Paradigm Shift)มิใช่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเฉพาะวิธีการ เช่นการเปลี่ยนเทคนิคการตลาด แต่จะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีการตลาดของบริษัทเป็นต้น ซึ่งใน การเปลี่ยน Paradigm Shift นี้ เราจะต้องเรียนรู้ถึงการปรับดังนี้
- Vision Shift
- Direction Shift
- Management Shift
- Corporate Culture Shift
จาก หนังสือ สุดยอด แนะนำแห่งปี การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
การคิดเชิงกลยุทธ์
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์/ Professor Kriengsak Chareonwongsak
การเปลี่ยนแปลงเรื่องต่างๆ ในการทำงานหรือในเชิงธุรกิจย่อมมีอยู่เสมอทั้งที่เปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหา หรือเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาที่ดี หากแต่ส่วนใหญ่มิใช่การเปลี่ยนแปลงในเชิงกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนในเชิง กลยุทธ์ที่แท้จริงต้องเริ่มที่ เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการคิดเชิงกลยุทธ์(Paradigm Shift)มิใช่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเฉพาะวิธีการ เช่นการเปลี่ยนเทคนิคการตลาด แต่จะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีการตลาดของบริษัทเป็นต้น ซึ่งใน การเปลี่ยน Paradigm Shift นี้ เราจะต้องเรียนรู้ถึงการปรับดังนี้
- Vision Shift
- Direction Shift
- Management Shift
- Corporate Culture Shift
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) |
จาก หนังสือ สุดยอด แนะนำแห่งปี การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
การคิดเชิงกลยุทธ์
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์/ Professor Kriengsak Chareonwongsak
professor kriengsak charownowngsak 5 Strategic Thinking Enhancement
5 รูปแบบการคิดเชิงกลยุทธ์ 5 Strategic Thinking Enhancement | ||||||||||||||||||||||||||||||||
“เรียนรู้สุดยอดแนวคิดและวิธี คิดเชิงกลยุทธ์ที่น่าสนใจในแบบต่าง ๆ ถึง 5 แบบไม่ว่าจะเป็น Paradigm Shift, VISION,Scenario Planning,Game Theory, Innovation Thinking โดยนักคิดเชิงกลยุทธ์ระดับประเทศ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์” ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันคิดอย่างไร คำตอบคือ ผู้บริหารเหล่านั้น ล้วนเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) แนวคิดเชิงกลยุทธ์ได้ถูกพัฒนามาต่อเนื่องจากอดีตกาล และมีหลายแนวคิดที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงว่าเป็นสุดยอดแนวคิดที่เรา ควรเรียนรู้ และรู้จักใช้วิธีคิดเหล่านั้น ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันคิดอย่างไร คำตอบคือ ผู้บริหารเหล่านั้น ล้วนเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) แนวคิดเชิงกลยุทธ์ได้ถูกพัฒนามาต่อเนื่องจากอดีตกาล และมีหลายแนวคิดที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงว่าเป็นสุดยอดแนวคิดที่เรา ควรเรียนรู้ และรู้จักใช้วิธีคิดเหล่านั้นซึ่งในหลักสูตรนี้ได้คัดสรร รูปแบบวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวมาเสนอใน ห้าวิธีคิดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ 1) Paradigm Shift 2) VISION 3) Scenario Planning 4) Game Theory 5) Innovation Thinking |
หนังสือ สุดยอด แนะนำแห่งปี การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
หนังสือ สุดยอด แนะนำแห่งปี การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
การคิดเชิงกลยุทธ์
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์/ Professor Kriengsak Chareonwongsak
Barcode : 9786162050206
ISBN : 9786162050206
ปีพิมพ์ : 6 / 2553
ขนาด (w x h) : 145 x 210 mm.
ปก / จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 296 หน้า
การคิดเชิงกลยุทธ์ คือการคิดอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างดี หรือ มีประสิทธิภาพสูงสุดในความจำกัดที่มีอยู่
การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นการคิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญยิ่งต่อองค์กรและผู้บริหารองค์กร ในการวางแผน การกำหนดยุทธศาสตร์ การบริหารงาน เพื่อนำพาองค์กร หรือหน่วยงานภายใต้ ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
เนื้อหาหลักสูตร
1. ความหมายและความสำคัญของการคิดเชิงกลยุทธ์
2. หลักการในการคิดเชิงกลยุทธ์
3. การพัฒนาการคิดเชิงกลยุทธ์
4. วิธีการและเทคนิคการคิดเชิงกลยุทธ์
การคิดเชิงกลยุทธ์
ผู้แต่ง/ผู้แปล : เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์/ Professor Kriengsak Chareonwongsak
Barcode : 9786162050206
ISBN : 9786162050206
ปีพิมพ์ : 6 / 2553
ขนาด (w x h) : 145 x 210 mm.
ปก / จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 296 หน้า
การคิดเชิงกลยุทธ์ คือการคิดอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างดี หรือ มีประสิทธิภาพสูงสุดในความจำกัดที่มีอยู่
การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นการคิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญยิ่งต่อองค์กรและผู้บริหารองค์กร ในการวางแผน การกำหนดยุทธศาสตร์ การบริหารงาน เพื่อนำพาองค์กร หรือหน่วยงานภายใต้ ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
เนื้อหาหลักสูตร
1. ความหมายและความสำคัญของการคิดเชิงกลยุทธ์
2. หลักการในการคิดเชิงกลยุทธ์
3. การพัฒนาการคิดเชิงกลยุทธ์
4. วิธีการและเทคนิคการคิดเชิงกลยุทธ์
Subscribe to:
Posts (Atom)