Saturday, January 8, 2011

Kriengsak Chareonwongsak:เศรษฐกิจไทยปี 54

drdan Kriengsak Chareonwongsak:เศรษฐกิจไทยปี 54

drdancando ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจปีนี้ดังนี้


ผมจึงเชื่อว่าเศรษฐกิจโตประมาณนี้คงโตได้อย่างที่บอกปีหน้า แต่มีสัญญาณการชะลอตัวในทุกตัวๆ โตแบบชะลอ ไม่ได้ชะลอแบบชะลอ โตแบบชะลอหมายความว่า เช่นการส่งออกเห็นชัดเลยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสท้ายๆ เริ่มช้าลงมาก เราเห็นตัวเลขการส่งออกไทยช่วงแรกๆ ครึ่งปีแรก ปี 53 ส่งออกประมาณ 45% ถ้าจำไม่ผิด ในเดือนท้ายๆ เหลือ 10 กว่า % นั่นแสดงว่าอาการการส่งออกจะช้าลงแล้ว ถ้าส่งออกช้า เศรษฐกิจไทยโตไม่ทันการส่งออกก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยโตช้าลง การลงทุนของภาคเอกชนก็ชัดว่านักลงทุนภาคเอกชนในเวลานี้แม้สถานการณ์เอื้อให้เขาควรจะลงทุนให้แล้ว เพราะว่ากำลังผลิตของเครื่องจักรทั้งหลายใช้ไปแล้ว 70-80% เป็นส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย นั่นหมายความว่าถึงเวลาจะขยายการลงทุน สร้างเครื่องจักร สร้างโรงงานใหม่ก็จริง แต่ปรากฏว่าสิ่งที่เกิดขึ้นน่าสนใจมาก นักลงทุนเหยียบเบรกช้าลง ทำไมเป็นเช่นนั้น อาจเป็นเพราะว่านักลงทุนยังมองว่าปีหน้ายังไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าการเมืองจะเป็นอย่างไร ความอึมครึมของสถานการณ์การเมือง จะยุบสภาเมื่อไหร่ เลือกตั้งมาแล้วใครจะเป็นรัฐบาล นโยบายจะเปลี่ยนหรือไม่ ก็ทำให้นักลงทุนโดยธรรมชาติเหยียบเบรก พอเหยียบเบรกก็จะไปมองประเทศอื่นที่เป็นคู่แข่ง ที่พอจะไปได้ ตรงนี้เป็นเหตุที่อยากบอกว่าถ้ารัฐบาลอยากจะยุบสภาก็ต้องให้ชัดไปเลยว่ายุบเมื่อไหร่ นักลงทุนจะได้วางแผนได้ จะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยไม่กระเทือนโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าเกิดว่าพูดคลุมเครืออย่างนี้เพื่อดูเกมการเมืองว่าจะยุบเมื่อไหร่เพื่อได้ประโยชน์ ผมกลับคิดว่าทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ
บทความวิเคราะห์ โดย Professor Kriengsak Chareonwongsak

ทางเศรษฐกิจ ผมอยากเห็นการประกาศชัดเจนว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ ตรงนี้จะช่วยให้นักลงทุนวางแผนได้ คำนวณเวลาได้ จัดการตัวเองได้ ดังนั้นเรื่องการลงทุนจะเป็นตัวสำคัญซึ่งจะเติบโตไม่แรงนักในบรรยากาศที่ผมเล่าเป็นตัวอย่าง การบริโภคภาคเอกชนเป็นการบริโภคที่จะต้องไปได้ไม่แรงนัก ชะลอตัวอยู่ สาเหตุมาจาก

ในส่วนแรก ปัญหาเงินเฟ้อเกิดขึ้น กำลังแรงขึ้น หักลบกลบกลับแม้ว่าได้รายได้เพิ่ม เช่น ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มประมาณ 8-10 บาท เฉลี่ยแล้วกว่า 11 บาท แต่หนุนให้เกิดการมีเงินในกระเป๋าไปใช้ของคนที่ได้เงินขั้นต่ำก็จริง หรือว่าค่าแรงของเงินเดือนข้าราชการก็ดีหรือนักการเมืองเพิ่มก็ดี คนเหล่านี้อาจจะใช้มากขึ้นก็จริง แต่ไปหักลบกลบกับเงินเฟ้อนั่นส่วนหนึ่ง

อีกส่วนที่สอง ผมมีความรู้สึกว่าประชาชนยังไม่ค่อยมั่นใจว่าสถานการณ์อนาคตจะเป็นอย่างไร ตัวเลขการใช้เงินจึงไม่ได้รุนแรงเหมือนอย่างที่อยากที่จะเห็น ฉะนั้นการบริโภคไม่ได้กระตุ้นอย่างรุนแรงนัก มันก็ไปตกอยู่ที่ตัวสำคัญตัวหนึ่งก็คือ การใช้จ่ายภาครัฐ เห็นชัดว่ารัฐบาลกระตุ้นอย่างแรง ตั้งงบประมาณขาดดุลค่อนข้างมาก จาก 2 ล้านล้าน งบประมาณแผ่นดินขาดดุลถึง 4 แสน 2 หมื่นล้าน นั่นหมายความว่าตั้งใจกระตุ้นเงินใช้จ่ายภาครัฐ และก็มีเงินไทยเข้มแข็งอีกประมาณ 2 แสนถึง 5 แสนล้าน ตรงนี้เองเป็นตัวที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามคงจะทำได้ถึงจุดหนึ่ง แบบที่เห็นเศรษฐกิจไทยปีหน้า คิดว่าโตประมาณ 3.5 – 4.7 % เป็นไปได้อยู่ที่สถานการณ์ นั่นคือสภาพที่เห็นอยู่

เราสมมติว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในสถานะที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนมาก เราสมมติว่าค่าเงินของเรานั้นจะอยู่ในสภาพที่ไม่สร้างปัญหาให้กับเรามากจนเกินไปซึ่งก็คงอยู่ในสภาพที่พอรับได้ วันนี้อย่าดูระบบเศรษฐกิจที่ตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีตัวเลขที่แสดงอาการพุ่งทะยานเป็นอันดับต้นๆ แต่มิได้หมายความว่านั่นคือสภาพจริงของเศรษฐกิจทั้งหมด เดี๋ยวจะต้องมีการปรับฐานในครึ่งปีแรก ตลาดหลักทรัพย์จะต้องปรับฐานพักหนึ่ง และก็ปรับกลับขึ้นไปใหม่ได้ แต่ต้องปรับลงอีกช่วงใดช่วงหนึ่ง ดังนั้นอย่าสนใจเรื่องตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก แม้ว่าตลาดหลักทรัพย์จะสะท้อนภาพจริงระยะยาว แต่ระยะสั้นไม่ใช่ ผมจึงอยากฝากว่าสิ่งที่เราต้องคำนึงมากๆ ไม่ใช่เรื่องอาการเศรษฐกิจว่าตัวเลขโตไม่โตเท่านั้น ต้องดูเรื่องอื่นอีกหลายเรื่อง ระยะยาวเศรษฐกิจไทยสามารถต่อสู้ได้หรือไม่ แข็งแกร่งหรือไม่ และตรงนี้คือหน้าที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องคำนึงมาก ผมกังวลมากเมื่อฝ่ายการเมืองทุกพรรคที่มาเป็นรัฐบาลมักจะสนใจเรื่องการเลือกตั้ง จึงปั๊มเศรษฐกิจแรงโดยใช้เงินอัดลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคนี้จะเห็นประชานิยมเต็มรูปแบบใส่ลงไปมากที่สุดกว่าครั้งใดๆ ผมกังวลว่าถ้าเราคิดในสไตล์นี้ ต่อไปเศรษฐกิจไทยจะไม่มีใครดูแลภาพระยะยาวอย่างแท้จริง ก็จะอ้างเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ ไปบ้าง แต่จริงๆ แล้วเงินเรามีไม่เยอะพอ เพราะว่าเงินของเราเหลือ 10 กว่า % เท่านั้น ที่เอาไว้ใช้ลงทุน ที่เหลืองบแผ่นดินใช้เป็นเงินเดือนประจำบ้าง และ 10 กว่า % นี้ มีเงินอยู่นิดเดียวเท่านั้นเองที่จะใช้ในการลงทุน และเราจะทำอย่างไร ถ้า 10 กว่า % นั้น รั่วไหลไปประมาณ 30 % ถ้าพูดตามประธานหอการค้าพูดว่ามีคอร์รัปชั่นไป 30 % หมายถึงเงินเหลืออยู่นิดเดียวในการจะไปลงทุนระยะยาว ผมกังวลว่าวิธีการจัดการบ้านเมืองโดยพรรคการเมืองปัจจุบัน ทุกพรรคที่ทำกันมา และถ้ายังปล่อยการเมืองเป็นน้ำเน่าอย่างนี้อยู่ บ้านเมืองจะถอยหลังเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ไม่ได้บินถอยหลังเหมือนเครื่องบินบินถอยหลัง บินไปข้างหน้าแต่บินไปข้างหน้าช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เห็นชัดๆ เราพ่ายแพ้ทุกประเทศรอบข้างหมดแล้ว ในอดีตไกลๆ พอใกล้จะสู้ญี่ปุ่นได้เมื่อยุคเก่าโบราณ เมื่อก่อนชนะเกาหลีจนแพ้เกาลี เมื่อก่อนชนะไต้หวันจนแพ้ไต้หวัน เมื่อก่อนเรารวยกว่าสิงคโปร์ตอนนี้สิงคโปร์รวยกว่าเรา 10 กว่าเท่า เมื่อก่อนเรากับมาเลเซียพอฟัดพอเหวี่ยง เดี๋ยวนี้มาเลเซียทิ้งเราขาด และทีนี้จะไปแข่งกับเวียดนามมันก็ถอยหลังตลอด เพราะการเมืองที่ไม่ดูแลเศรษฐกิจ

ผมอยากฝากว่าจำเป็นที่ต้องได้รัฐบาลที่ดี ที่สนใจภาพอนาคตของประเทศ ที่มีวิสัยทัศน์ ต้องระมัดระวังการทำการเมืองสไตล์น้ำเน่า เป็นการเมืองสไตล์ลดแลกแจกแถม ประชานิยม ทุ่มเทจ่ายเงินราคาถูก เพื่อหวังจะได้คะแนนเสียง เรื่องนี้เป็นเรื่องอันตรายและเรื่องคอร์รัปชั่นต้องเลิก ไม่เลิกประเทศไทยจะมีปัญหาร้ายแรง

drdancando vdo link

No comments:

Post a Comment