Monday, November 23, 2009

Kriengsak Chareonwongsak Synthesistype Thinking

8.  การคิดเชิงสังเคราะห์

เป็นความสามารถขององค์ประกอบต่าง ๆแล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามความประสงค์ที่เราต้องการ  ในคำตอบจะตอบได้หลาย ๆอย่าง  นำข้อดีของแต่ละอันมาสังเคราะห์เพื่อเป็นวิธีใหม่ที่นำมาใช้ในหน่วยงานของเราได้เลย  เช่น  การสังเคราะห์ช่วยให้เราไม่ต้องคิดสิ่งต่าง ๆจากสูตร  หากเราไม่รู้ประโยชน์จากความคิดของคนรุ่นเก่าแทบจะไม่มีอะไรที่ยากที่ทำไม่ได้  ทุกอย่างมักจะมีแง่มุมที่ทำไว้แล้ว  แต่เราใช้แรงสักหน่อย  นำมาศึกษา  นำมาสังเคราะห์  ดูจากเรื่องเดียวกันว่ามีปัญหาเคยเกิดไหม

การคิดจากเชิงสังเคราะห์เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า  มีอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการสังเคราะห์นำเอาสิ่งนั้นมาแยกแยะออกจากกัน  ที่นำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน  การกำหนดลักษณะและขอบเขตข้อมูลที่จะนำมาสังเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ  เช่น  การเลือกเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้  โดยเลือกขอบเขตที่ชัดเจน



9.  การคิดเชิงมโนทัศน์

                    หมายถึง  การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง  การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมอบภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด  กระชับสามารถอธิบายได้  เป็นการคิดรวบยอด  สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน  สามารถถ่ายทอดออกไปได้  การที่เราต้องเรียนรู้เชิงมโนทัศน์นั้นเพราะว่า  กรอบความคิดเรื่องประสบการณ์และความรู้  ฉะนั้นการปรับมโนทัศน์ของเราและสร้างมโนทัศน์ใหม่จะเป็นเรื่องสำคัญ  ยกตัวอย่างเช่น  คำว่า  “นายอำเภอ”  นั้น  เบื้องหลังสะท้อนถึงโครงสร้างการบริหารงาน  สะท้อนถึงหน้าที่  บุคลิก  บทบาทของขอบข่ายงาน  เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกมาเรียงไว้  แล้วคิดออกมาเป็นมโนทัศน์  เช่น  มโนทัศน์เรื่องของยาเสพติด  เมื่อก่อนเรามีมโนทัศน์หมายถึง  เสพแล้วติดให้โทษ  แต่ปัจจุบัน  ยาเสพติดที่ขายตามท้องตลาดซื้อได้ตามร้านขายยาด้วย  ที่กินแล้วอาจไม่ได้ให้โทษมากมาย  วิธีการสร้างมโนทัศน์ประกอบด้วย

1.    การเป็นนักสังเกต

2.    การตีความ

3.    การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่ได้รับมากับกรอบความคิดเดิม

ก.      สามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง/เหมือนกันในรายละเอียด

ข.      สามารถแยกมโนทัศน์หลัก -  มโนทัศน์ย่อยได้

4.    การปรับกรอบมโนทัศน์ใหม่

ก.      การปรับกรอบเพิ่มในรายละเอียดมากขึ้น

ข.      การขยายกรอบความคิดออกไปแนวข้างมากขึ้น

5.    การรับกรอบความคิดใหม่เข้ามาทั้งหมด

6.    การสร้างมโนทัศน์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน


10.  การคิดเชิงประยุกต์

          หมายถึง  ความสามารถที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในบริบทใหม่  คล้าย ๆกับนำต้นไม้  เช่น  นำต้นยางจากภาคใต้ไปปลูกภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ต้นยางไม่เปลี่ยนแปลงแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนว่าเรานำกรอบ  วิธีการหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆที่มีอยู่นั้น  นำมาประยุกต์พวกนี้เกิดจากการคิดว่า  เหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ไหม  เกิดผลดีผลเสียอย่างไร  นำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่  หลักการคิดเชิงประยุกต์ประกอบด้วย

1.    ใช้หลักการทดแทนคุณสมบัติหลัก

2.    ใช้หลักปรับสิ่งเดิมให้เข้ากับสถานการณ์

3.    ใช้หลักการหาสิ่งทดแทน

การคิด  10   มิติ  นำมาจากหนังสือการคิดเชิงเปรียบเทียบ จำนวน  10   เล่ม  สามารถอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมได้  หากทุกคนรู้จักวิธีการคิดและรู้จักพัฒนาความคิดทั้ง  10   มิติ     ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานสำหรับนักบริหารให้รู้จักคิด  รู้จักไตร่ตรอง  หาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือรู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์  ทำให้ไม่เผชิญสถานการณ์แบบหนัก ๆ

จากบทความ

การคิดแบบนักบริหาร

บรรยายโดย :  ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

3 comments:

  1. การคิด 10 มิติ นำมาจากหนังสือการคิดเชิงเปรียบเทียบ จำนวน 10 เล่ม สามารถอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมได้ หากทุกคนรู้จักวิธีการคิดและรู้จักพัฒนาความคิดทั้ง 10 มิติ

    ReplyDelete
  2. การสร้างมโนทัศน์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

    ReplyDelete
  3. ดีมาก เลยค่ะ ได้คข้อคิด ชอบค่ะ ชอบ

    ReplyDelete