Monday, February 28, 2011

Professor Kriengsak chareonwongsak Home designs

Professor Kriengsak chareonwongsak
     หากมีคำโฆษณานี้ติดประกาศไว้จริงๆ หมู่บ้านนี้คงเป็นหมู่บ้านร้างที่ไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่ เพราะคงไม่มีใครอยากเผชิญกับสิ่งที่บรรยายไว้ ในทางตรงกันข้าม ทุกครอบครัวทั้งสามีและภรรยา ต่างก็ต้องการสร้างชีวิตครอบครัวที่มีความสุข มีความรัก ความอบอุ่น มีสัมพันธภาพที่ดี และสามารถครองรักครองเรือนได้ตลอดชีวิต

    ทว่าน่าเศร้ายิ่งนัก เมื่อสำรวจหมู่บ้านครอบครัวจากชีวิตจริงพบว่า บ้านจำนวนไม่น้อย ที่สามีภรรยาได้สร้างขึ้นกลับมีสภาพเหมือนกับที่บรรยายไว้ในคำโฆษณาของหมู่บ้านไร้สุข โดยมีแบบบ้านไร้สุขที่ทันสมัยให้เลือกหลากหลายรูปแบบ อาทิ

    แบบที่ 1 บ้านรังหนู

    หนูมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งก็คือมันชอบคาบอาหารกลับมาไว้ที่รัง เมื่อมันกินก็จะเหลือเศษเล็กๆ น้อยๆ เต็มรังที่แสนจะสกปรกอยู่แล้วก็ยิ่งแลดูสกปรกมากยิ่งขึ้นไปอีก คำเปรียบนี้จึงเหมือนกับบ้าน ที่มีแต่ความสับสน วุ่นวาย รกรุงรัง และยุ่งเหยิง อันเนื่องมาจากสามีและภรรยาเป็นคนขาดระเบียบวินัย ในการดำเนินชีวิตขาดการบริหารจัดการครอบครัวในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็ก

    เช่น ไม่มีการเก็บของให้เป็นระเบียบ… ใครอยากวางอะไรตรงไหนก็วาง เมื่อหาสิ่งที่ต้องการไม่พบ ก็โวยวาย ไม่มีการวางแผนเวลา…ใครอยากทำอะไรตอนไหนก็ทำ เมื่อพลาดโอกาสที่ดีๆ ไปก็ต่อว่า และโทษกันและกัน และไม่มีการวางแผนบริหารการเงิน…ใครอยากซื้ออะไรก็ซื้อ เมื่อชักหน้าไม่ถึงหลัง ก็เกิดความเครียด ต้องไปกู้หนี้ยืมสินผู้อื่น ในบ้านหลังนี้ทั้งสามีภรรยาจึงต้องเผชิญแต่ปัญหาเฉพาะหน้า จนทำให้ชีวิตสมรสปราศจากความสุข

    บ้านรังหนูเป็นบ้านที่สามีภรรยาไม่รู้จักวางแผน ไม่มีระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิต แต่มักจะชอบใช้ชีวิตตามสบายๆ อยู่ไปวันๆ ไม่ค่อยคิดและเตรียมการสำหรับอนาคต ดังนั้นจึงต้องเผชิญแต่ปัญหาที่ตนเองได้สร้างไว้ และต้องตามแก้ไขกันตลอดทั้งชีวิต มีปัญหาใหม่ๆ ทับโถมเข้ามาตลอดเวลา กลายเป็นบ้านที่มีแต่ความวุ่นวายไม่น่าอยู่อาศัย นำไปสู่ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างกันได้ตลอดเวลา

    แบบที่ 2 บ้านหน้าจอ

    บ้านหน้าจอ หมายถึง บ้านที่สมาชิกในครอบครัวขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน อันเนื่องจากต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของตน เช่น พ่อนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเตรียมส่งงานให้หัวหน้า แม่นั่งหน้าจอ โต้ตอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีทั่วโลก ลูกนั่งหน้าจอเล่มเกมคอมพิวเตอร์ รุ่นใหม่ล่าสุด ส่วนคุณยายนั่งหน้าจอโทรทัศน์ชมรายการละครชีวิตเรื่องที่คนทั้งประเทศติดกันงอมแงม เป็นต้น คนในครอบครัวใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับสิ่งที่ตนเองพอใจ

    เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันทำให้คนอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวของเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บ้านหน้าจอจึงมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นในประเทศไทย ทุกคนต่างไม่มีใครสนใจใคร เมื่อกลับถึงบ้านรับประทานอาหาร อาบน้ำเสร็จ ทุกคนก็จะเข้าสู่โลกส่วนตัวของตนเอง คนในครอบครัวก็จะห่างเหินกันเพราะต่างคนต่างก็มีกิจกรรมเป็นของตนเอง คนในครอบครัวจะรู้จักและให้ความสนใจกันและกันน้อยลง ความลับระหว่างกันจะมีมากขึ้น เนื่องจากไม่รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังทำอะไรอยู่ ต่างมีข้อมูลที่สมาชิกคนอื่นในครอบครัวไม่รู้ และไม่สามารถพูดคุยได้ เพราะต่างคนต่างสนใจกันคนละเรื่อง

    และในที่สุดก็จะพบว่าพวกเขาไม่มีความสุขที่แท้จริงในการดำเนินชีวิต ความรู้สึกเปลี่ยวเหงา และขาดความรักจากคนในครอบครัวจะเกิดขึ้นตามมา

    แบบที่ 3 บ้านสนามรบ

    บ้านหลังนี้จำลองมาจากสนามรบจริง เพียงแต่ย่อขนาดและจำนวนคู่ต่อสู้ให้เหลือเพียงบ้านหนึ่งหลัง กับคนสองคน คือสามีและภรรยา บ้านหลังนี้จะอบอวลไปด้วยเสียงทะเลาะวิวาท ด่าทอบ่อยครั้งที่คู่ต่อสู้ ใช้อาวุธทั้งหนักและเบาเข้าโจมตีปะทะกัน ข้าวของหลายอย่างที่ปกติไม่เคยบินได้ก็จะบินว่อนเต็มไปหมด อาทิ มีดบิน ตะหลิวบิน กะทะบิน จานบิน หรือแม้กระทั่งเก้าอี้บิน

    การรบจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งหรือไม่พอใจอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น ภรรยาไปทำธุระกลับบ้านดึก สามีรู้สึกหงุดหงิดเพราะไม่ไว้วางใจ เมื่อกลับมาแทนที่จะถามภรรยาดีๆ ว่า ไปไหนมา กลับต่อว่าหรือกล่าวหาอย่างเสียๆ หายๆ แทนที่จะใช้วิธีเจรจากันอย่างสันติ กลับไม่สามารถระงับอารมณ์ของตนเองได้ จึงเกรี้ยวกราดใส่อีกฝ่ายหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นการยั่วยุอีกฝ่าย ให้เกิดความโมโหเช่นกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างโมโหก็เหมือนเอาน้ำมันราดลงบนไฟเมื่อไฟลุกโชติช่วง แล้วก็ยากที่จะดับลงได้ สามีภรรยาหลายคู่จึงจำเป็นต้องขายบ้านทิ้ง เลิกรากันไปอย่างสะบักสะบอม ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

    แบบที่ 4 บ้านหอพัก

    หากใครเคยอยู่หอพักคงเข้าใจสภาพบ้านหลังนี้ดี สามีภรรยาอาศัยอยู่ในบ้าน เหมือนเป็นเพื่อนร่วมห้อง (room mate) เท่านั้น ไม่มีความรู้สึกผูกพันลึกซึ้งไม่มีความห่วงใยเอาใจใส่กัน ใครจะไปไหนจะกลับเมื่อไร กินอยู่อย่างไร ต่างคนก็ต่างรับผิดชอบดูแลตัวเอง รับประทานอาหารคนละเวลา กลับมาอาบน้ำดำเนินกิจวัตรส่วนตัวและต่างฝ่ายต่างก็นอนหลับไป โดยไม่มีความสนใจกัน บางคู่อาจถึงกับเช่าสองห้อง คือแยกห้องนอนกันอยู่

    บ้านหอพักนี้เกิดขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายเบื่อกันและกันจนถึงที่สุดหรือไม่มีความรักให้แก่กัน เพราะแต่งงานด้วยความจำเป็น หรือมีปัญหาระหว่างกันมากเสียจนไม่อาจเป็นสามีภรรยา ทางพฤติกรรมได้อีกต่อไป แต่ต้องทนอยู่ด้วยกันเพราะอับอายเกรงว่าสังคมจะล่วงรู้ว่า ชีวิตคู่ของคนนั้นล้มเหลว บ้านหลังนี้สภาพภายนอกจึงได้รับตกแต่งให้ดูดีอยู่เสมอ แต่ไร้แก่นสารของความเป็นครอบครัว

    แบบที่ 5 บ้านเรือนจำ

    เรือนจำกักขังเสรีภาพนักโทษอย่างไร บ้านหลังนี้ก็กักขังเสรีภาพของคู่สมรสฉันนั้น ภายในบ้านสามีหรือภรรยาจะปฏิบัติต่ออีกฝ่ายหนึ่งราวกับเป็นนักโทษ เต็มไปด้วยความรู้สึกหึงหวง ไม่ให้เกียรติ ไม่ไว้วางใจ สามีภรรยาบางคู่จะมีฝ่ายหนึ่งที่โทรศัพท์ไปหาอีกฝ่ายหนึ่งแทบทั้งวัน เพื่อเช็คว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร จนกระทั่งอีกฝ่ายหนึ่งแปรสภาพจากความรักเป็นความรำคาญและความรู้สึกอึดอัด อยากจะมีอิสรภาพออกจากคุกแห่งนี้ไป ในแต่ละวันที่ผ่านไปจึงเก็บกดความรู้สึกเลวร้ายทับถมไว้ เหมือนภูเขาไฟที่ภายในค่อยๆ ระอุและพร้อมจะปะทุได้ทุกเมื่อ

    ความรักของคู่สมรสที่ไม่ได้อยู่บนรากฐานของความไว้วางใจ ความเชื่อใจ และการให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมนำมาซึ่งการรุกเร้าเพื่อแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของ ดังนั้นแทนที่ทั้งสองฝ่ายจะเล่นบทบาทสามีภรรยา อย่างที่ควรจะเป็น คนหนึ่งกลับเล่นบทบาท "พัศดี" ผู้คุมนักโทษ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งจึงกลายเป็นนักโทษไปโดยปริยาย ในที่สุดเมื่อนักโทษทนไม่ได้ เขาก็จะดิ้นรนหาทางแหกคุกเพื่อสูดกลิ่นอายแห่งอิสรภาพที่เคยได้รับ เมื่อครั้งก่อนแต่งงาน

    แบบที่ 6 บ้านเดี่ยว

    บ้านเดี่ยวในที่นี้ไม่ได้หมายถึงบ้านที่มีบริเวณ แต่เป็นบ้านที่มีสามีหรือภรรยาอยู่เพียงฝ่ายเดียว เพราะเหตุแยกทางกันเดิน จึงส่งผลให้บ้านที่เคยอยู่กันอย่างพร้อมหน้าเหลือเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกับลูกๆ เท่านั้น สภาพบ้านเดี่ยวนี้กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ดูได้จากอัตราการหย่าร้างที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกาปัจจุบันอัตราการหย่าร้างที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอัตราการหย่าร้าง โดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 50 และในบางมลรัฐสูงถึงร้อยละ 60-70 ของจำนวนคู่แต่งงานทั้งหมด ส่วนในประเทศไทยอัตราการหย่าร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 15.72 ในปี 2540 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.8 ในปี 2541 จากจำนวนคู่แต่งงานในปีนั้น

    บ้านเดี่ยวนี้นับวันขายดีขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งจากลักษณะนิสัยที่เข้ากันไม่ได้ ความไม่ซื่อสัตย์ของคู่สมรสการที่ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาตนเองได้ และสามีสำคัญที่อาจจะเกิดมากขึ้นในอนาคตก็คือ ค่านิยมการดำเนินชีวิตคู่ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปความรู้สึกที่ว่าจะอยู่กันจนถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรเริ่มลดลง

    แนวคิดของชาวอเมริกันช่วงอายุ 40-50 ปี ซึ่งแต่งงานตั้งแต่อายุ 20-30 ปี เริ่มตระหนักว่า การมีคู่สมรสเพียงคนเดียวตลอดชีวิตอาจเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม พวกเขาเห็นว่าคู่สมรสอาจจะเหมาะ ที่จะอยู่ด้วยกันสัก 20 ปีพอได้ แต่หลังจากนั้นต่างคนก็ต่างเปลี่ยนแปลงไป ทั้งทิศทางการดำเนินชีวิต ค่านิยม ความคาดหวัง ความสนใจในเรื่องแตกต่างกัน ความแตกต่างกันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่เหมาะสม ที่จะอยู่ด้วยกันตลอดชีวิต ค่านิยมเช่นนี้อาจจะไหลบ่ามาถึงประเทศไทยในเร็ววันนี้

    ในปัจจุบันนี้ บ้านแบบต่างๆ ของหมู่บ้านไร้สุข ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าโดยไม่ต้องใช้การโฆษณาเลย แม้แต่น้อย และยิ่งบ้านเหล่านี้ขายดีมากเท่าใด ภาวะครอบครัวล่มสลายก็ยิ่งเกิดเร็วมากขึ้นเท่านั้น ทางที่ดีกว่านั้นก็คือ สามีภรรยาควรเริ่มต้นช่วยกันสร้าง "บ้านแห่งความสุข" โดยวางแบบแปลนของบ้าน ไว้อย่างดีล่วงหน้าว่าจะสร้างบ้านอย่างไรให้เป็นบ้านที่มีความสุข ความรัก มีความอบอุ่น มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในเส้นทางเดินของชีวิตร่วมกัน จากนั้นจึงช่วยกันลงหลักปักฐานสร้างให้เป็นบ้านที่แข็งแกร่งทนทานและอยู่ได้นานตลอดชีวิต

    ลักษณะบ้านที่มีความสุขนั้นจะวางรากฐานด้วยความรัก ลงเสาหลักด้วยความผูกพัน ก่ออิฐแห่งความไว้วางใจ ติดประตูและหน้าต่างด้วยการให้อภัย ทาสีแห่งความสุภาพอ่อนโยน มุงหลังคาด้วยความซื่อสัตย์และความอดทน ปูทางเท้าด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูล ใส่กลอนประตูแห่งความรับผิดชอบ ใช้เฟอร์นิเจอร์แห่งความสัมพันธ์กลมเกลียว และประดับประดาสิ่งต่างๆ ด้วยใจที่ปรารถนาให้ความรักนั้นยิ่งยืนนาน

    บ้านหลังนี้ที่สร้างขึ้นเป็น "บ้านต้นแบบ" ของ "หมู่บ้านแห่งความสุข" ที่แตกต่างจากหมู่บ้านไร้สุข ตรงที่บ้านหลังนี้สามีภรรยาต้องเป็นผู้ลงแรงปลูกสร้างและระวังรักษาเป็นอย่างดีด้วยตนเอง จะให้คนอื่นสร้างและดูแลรักษาให้ไม่ได้

    ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

Sunday, February 27, 2011

“ผู้นำ” ในวิถีประชาธิปไตย

“ผู้นำ” ในวิถีประชาธิปไตย


•    บุคคลที่ก้าวเข้ามา ในวิถีทางของการ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็น “ผู้นำ" เพื่อดูแลคนมากมาย

•    รัฐนาวาใด นำโดยผู้นำที่กอปรด้วยปัญญา และสามัญสำนึก  ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง รัฐนาวาใดนำโดยผู้นำไร้ปัญญาและขาดสติ โอกาสที่ความหายนะจะมาเยือน ก็มีมากกว่าครึ่ง
•    อุดมการณ์ผู้นำประเทศไม่ชัดเจน สังคมก็ปั่นป่วน ประชาชนก็วุ่นวาย
•    ในระบอบประชาธิปไตย บุคคลที่ได้รับการเลือก ให้ดำรงบทบาทผู้ปกครองประเทศ ไม่ควรสำคัญผิดคิดว่าตนเป็นใหญ่ อยู่สูงกว่าใคร ๆ แต่ควรสำคัญให้ถูกว่าตนเป็น “ผู้รับใช้ประชาชน”
•    ผู้นำประเทศ หากลืมไปว่า  เขาคือผู้รับใช้ของประชาชน เขาย่อมประพฤติตนเยี่ยงผู้กดขี่ และแสวงหาประโยชน์
•    จากประชาชนเสียเอง
•    ผู้นำที่มุ่งเพียงแค่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เขาจะทำให้ประชาชนมีปัญหา  ผู้นำที่ดีต้องเป็น  “ผู้บรรเลงเสียงสวรรค์” ให้ประชาชนฟังด้วย

•    โลกนี้ต้องการผู้นำที่ “นำ” ทิศทาง มากกว่าผู้นำที่กระทำ “ตาม” ความปรารถนาของคนภายใต้เท่านั้น

•    ผู้นำควรถ่อมใจรับฟังเหตุผล แต่ขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่ “ชี้นำ” และ “นำทาง” มิใช่เชื่อตามแรงกดดัน

•    จากประชามติตลอดเวลา

•    หากผู้นำประเทศยึดวาทะของอดีตประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ที่กล่าวว่า “อย่าถามว่าประเทศชาติ

•    จะให้อะไรแก่ท่านบ้าง แต่ควรถามว่าท่านจะให้อะไร แก่ประเทศชาติได้บ้าง” เป็นอุดมคติในการบริหารประเทศ ผู้นำนั้นคงสามารถสร้างวีรบุรุษแห่งความเสียสละเกิดขึ้นมากมาย ลดระดับความเห็นแก่ตัวลงได้มาก

คัดจากบทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ ข้อคิดเพือผู้นำ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Thursday, February 24, 2011

Kriengsak Chareonwongsak : พระดีที่น่านับถือ

ผมมีความรู้สึกประทับใจหลวงตามหาบัวอย่างมาก ที่เป็นพ่อที่เป็นพระ ห่วงใยประเทศชาติเอาใจใส่บ้านเมือง แม้ขนาดละสังขารแล้ว ยังอุตส่าห์ใช้ สิ่งที่สั่งสมได้มามากมายเช่น ทองแท่ง 12 ตัน เงินทองจำนวน 151 ล้านบาท มอบให้แก่ประเทศชาติ นี่คือตัวอย่างของผู้ที่ใช้บุญ บารมี ที่เป็นที่เคารพนับถือเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีคนกราบไหว้บูชามากมาย เอาสิ่งดีเหล่านี้ มาช่วยชาติบ้านเมืองส่วนรวมโดยที่ไม่ได้หวังผลประโยชน์ส่วนตัว อุทิศตัวใช้ทั้งชีวิตจนถึงละสังขารแล้วยังนึกถึงส่วนรวมประเทศชาติบ้านเมืองอยู่ ตรงนี้คือตัวอย่างพระผู้มีคุณูปราการ หลักคิดทางธรรมของหลวงตามหาบัวเป็นที่ปลาบปลื้มใจ เมื่อไม่นานนี้ท่านได้พูดถึงว่าพระอาจารย์และลูกศิษย์เป็นเหมือนสิ่งที่ทดแทนกันได้ เป็นเหมือนกับบุคคลเดียวกันนั่นหมายความว่าอาจารย์ยินดีเมื่อลูกศิษย์ทำอะไรเหมือนอาจารย์ทำ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทิศทางเดียวกัน ฉะนั้นตัวอย่างที่ดี คือมีการสร้างลูกศิษย์ที่มีความคิดไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อจะได้สืบต่อสืบทอด สิ่งที่ดีงาม ที่ได้ทำไว้ ให้ไม่หยุดยั้ง ฉะนั้นหลักคิดที่เราได้ประโยชน์อย่างยิ่งที่เราควรสังวรจากหลวงตามหาบัว คือ มีการสร้างลูกศิษย์ในยุคต่อไป เพื่อจะสืบทอดเจตนารมณ์ไม่เช่นนั้นแล้ว จะไม่มีสิ่งไหนที่สืบทอดต่อเนื่อง ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีและน่าชื่นชม

ยังมีพระอีกหลายรูปที่ผมให้ความเคารพนับถือและก็รู้สึกว่าเป็นคุณูปราการต่อแผ่นดิน คือ พระพยอมกัลยาโณ ซึ่งเป็นหลวงพ่อที่ผมเคยไปกราบท่านและรู้สึกชื่นชมเพราะท่านทำจริงจัง อุทิศตัวเพื่อคน เป็นพระนักพัฒนา จำได้ว่าที่วัดของท่าน ท่านอุตส่าห์ไประดมนำสิ่งที่คนไม่ใช้แล้ว คือที่เป็นขยะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างประโยชน์ด้านอาชีพกับคนยากจน พระท่านนี้น่านับถือมาก ผมมีความเคารพนับถือท่านมาก และยังมีพระอีกหลายท่านทีเดียว พระธรรมโกศาจารย์ ซึ่งท่านเป็นอธิการบดีมหาจุฬาราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ท่านเป็นพระที่น่าเลื่อมใส เป็นพระนักวิชาการ อุทิศตัวในการเขียนงานวิชาการจำนวนมากเป็นประโยชน์ และผมรู้สึกว่าท่านมีคุณูปราการต่อหลักการคิดของคนในสังคม ถ่ายทอดมาเป็นเอกสารวิชาการจำนวนมาก และยังมีคุณูปราการในการเห็นแก่แผ่นดิน ผมเองมีความรักเคารพ และนับถือท่านมาก พระประยุทธ ปยุตโต ท่านเป็นพระอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นพระนักปราชญ์ที่เอาหลักพระพุทธศาสนามาใช้ได้อย่างดีในสังคม ผมเคยมีโอกาสได้รับทราบข่าวว่าในยุคหนึ่งท่านไปอยู่ในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา หลายครั้งมหาวิทยาลัยที่ผมอยู่คือที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งในตอนนั้นมีศูนย์ศึกษาศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธมีการศึกษาศาสนาศาสตร์ด้วย พระประยุทธท่านก็มีโอกาสได้ไปอยู่ที่นั่นด้วย รวมทั้งที่อื่นเรามีเพื่อนอาจารย์หลายคนที่มีศูนย์ศึกษาศาสนได้กล่าวถึงพระประยุทธได้ผมฟัง และผมมีความรู้สึกว่าเราได้พระที่เอาใจใส่วิชาการนำหลักคิดและช่วยทำให้สังคมไทยเอาหลักพุทธศาสนาไปใช้ประโยชน์ได้มากเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้ดีงามขึ้น ผมคิดว่าท่านเป็นพระที่ผมนับถือและงานเขียนของท่านยังถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างมากมาย เช่นเดียวกัน

มีพระอีกท่านหนึ่งซึ่งผมรู้สึกใกล้ชิดมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เพราะรู้จักตั้งแต่สมัยที่ผมเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ตอนนั้นท่านยังเป็นนักเรียน ท่านยังเป็นรุ่นน้องผมอยู่ประมาณสาม สี่รุ่น พระไพศาล วิสาโล ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ จ.ชัยภูมิ จำได้ว่าเมื่อตอนเป็นเด็กเคยไปร่วมงานกันช่วยเหลือสังคม ท่านสนใจเรื่องส่วนรวมมานาน เมื่อผมไปเรียนหนังสือต่างประเทศท่านเองได้มีโอกาสเข้ามาบวชเป็นพระ ท่านได้ทำประโยชน์ต่อ เป็นพระนักคิด พระที่เอาใจใส่บ้านเมืองสนใจส่วนรวมและนำเรื่องของพระพุทธศาสนามาใกล้สังคม ผมเองคิดว่าท่านมีคุณูปราการต่อบ้านเมือง ผมดูว่ามีความใกล้ชิดต่อบ้านเมืองความจริงนานๆพบท่าน หลายปีผ่านไป อายุมากกันขึ้น เมื่อก่อนใกล้ชิด มีครั้งหนึ่งที่จากกันนานพอมาพบกัน พระไพศาลท่านก็กรุณา ท่านคิดว่าผมจะลืมท่าน เพราะชื่อเล่น ท่านชื่อเตี้ย ท่านแนะนำตัวว่าท่านคือพระเตี้ยเพราะนึกว่าผมจะลืมท่าน แต่ความจริงผมยังจำได้เสมอไม่เคยลืม เพราะเรามีความใกล้ชิดกัน ในจิตใจจริงๆและยินดีร่วมมือกับท่านในทุกสิ่งที่ท่านอยากจะทำถ้ามีอะไร ความจริงยังไม่เคยบอก จึงถือโอกาสบอกว่าถ้าท่านมีอะไรให้ช่วยบอกได้เลย เพราะว่าท่านมีคุณูปราการต่อบ้านเมือง

ผมขอพูดถึงแม่ชี ท่านหนึ่งเคยไปเยี่ยมพวกเราถึงมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ท่านไปเยี่ยมเราถึงฮาร์วาร์ด มีโอกาสพบกับแม่ชีศันสนีย์ ท่านนำแนวคิดต่างๆมาทำประโยชน์ต่อส่วนรวมและมีวิสัยทัศน์ มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถเชิงประยุกต์สิ่งดีต่างๆมาใช้ประโยชน์ในสังคมได้ เพราะเป็นแม่ชีที่ผมก็ให้ความเคารพนับถือ เคยได้มีโอกาสนิมนต์แม่ชีมาเทศนาพิเศษในงานศพคุณพ่อผมที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ในช่วงที่คุณพ่อเสียชีวิตในงานสวดอภิธรรมรู้สึกว่าแม่ชีเป็นผู้ที่ช่วยสร้างสรรค์สังคมต่อเนื่องยาวนาน อุตส่าห์ไปสร้างหลักสูตรฝึกคนที่เป็นนักเรียนปริญญาโท ในการให้คำปรึกษาในทางที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย ผมคิดว่ามีบุคคลที่มีคุณูปราการในเชิงเอาหลักธรรมมาใช้ประโยชน์ในสังคม

มีพระพรหมวชิรญาณ ที่วัดยานนาวา ที่ผมเป็นลูกศิษย์ท่านได้ไปเยี่ยมท่าน เป็นระยะๆ แม้บางช่วงท่านป่วยยังมีโอกาสได้เยี่ยมและมีโอกาสได้สนทนาธรรมธรรมกับท่าน ได้เห็นถึงความมีวิสัยทัศน์ ความอุตสาหะ ความทุ่มเท ความขยัน ความพากเพียร การทำงานหนักของท่าน ท่านมีโครงการมากมายเป็นประโยชน์ซึ่งคนธรรมดาทำไม่ได้ ท่านมีความจริงจังในการทำงานอย่างมาก เป็นพระนักบริหาร ที่น่าเลื่อมใส ผมยินดีทำอะไรที่สนับสนุนท่านได้ผมยินดีเสมอ ท่านฝากไว้หลายอย่างท่านและชักชวนไปช่วยงานท่าน

ผมคิดว่าจำเป็นที่เราจะต้องได้พระดีๆที่มีส่วนช่วยสังคมอย่างนี้ และมีโอกาสเป็นตัวอย่างเพื่อให้คนอื่นได้มีโอกาส มีกำลังใจที่จะเลียนแบบ ในมิติอื่นๆที่อาจจะทำไม่ได้เหมือนท่านช่วยกันเป็นต้นแบบที่ดีในสังคมไทยในการสนับสนุนบ้านเมืองของเราในยามที่บ้านเมืองของเราจำเป็นต้องการต้นแบบที่ดี ผมก็อยากจะยกตัวอย่างเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนฝูง ที่จะดูตัวอย่างพระที่ดีหลากหลาย หลายวิธี มีทั้งพระนักวิชาการ พระนักพัฒนา พระนักบริหาร มีหลายแบบที่ดูว่า น่าจะนำมาเป็นต้นแบบที่น่าชื่นชมต่อประเทศชาติบ้านเมือง

Friday, February 18, 2011

professor kriengsak chareonwongsak

นักกฎหมาย คือผู้นำที่จะเข้าไปต่อต้านอำนาจ และความอยุติธรรมเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นผู้เดียวที่จะเข้าไปอยู่ระหว่าง ความชอบธรรมกับความอธรรม เป็นผู้ที่สามารถเข้าแทรกแซงอิทธิพล ของผู้ที่พยายามอยู่เหนือกฎหมาย และเป็นที่พึ่งพิงของผู้ถูกเอาเปรียบ เพราะขาดความรู้เรื่องกฎหมาย

นักเขียน นักประพันธ์ จำเป็นต้องก้าวขึ้นมาสู่ความเป็น “ผู้นำทางความคิดเชิงสร้างสรรค์” แก่คนในสังคม ต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นความคิดในเชิงบวก ต้องเป็นผู้วางรากฐานคุณธรรมจริยธรรม สร้างสติปัญญา และนำทิศทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง แก่คนในสังคม

นักร้อง นักแสดง และศิลปิน มีอิทธิพลมากในหมู่เยาวชนไทย  เพราะเป็นผู้นำความคิด พฤติกรรม บุคลิกลักษณะ การแต่งกาย หรือแม้กระทั่งวิถีการดำเนินชีวิต ของเยาวชนไทย เขาสมควรเป็นต้นแบบ แห่งความประพฤติที่ดีงามด้วย เพื่อเยาวชนจะได้ซึมซับค่านิยมที่ดี เป็นฐานนำเขาให้เติบโต เป็นอนาคตที่ช่วยพัฒนาชาติได้

ผู้นำทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลสูง ต่อการเคลื่อนไหวผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้น หรือเลวร้ายลงในสังคมไทย เป็นกลุ่มผู้นำทางความคิด และการกระทำแก่คนในสังคม สังคมไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปคนกลุ่มนี้ ให้กลายมาเป็นพลังเกื้อกูลสังคม เชิงสร้างสรรค์โดยเร็ว

โลกเปลี่ยนด้วยผู้นำทางความคิด มิใช่เปลี่ยนด้วยผู้มีสิทธิอำนาจ

จากหนังสือ

ข้อคิดเพื่อผู้นำ

ของ ศาสตราจารย์ ดร.อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

เด็ก กทม. เรียนทั่วถึง ฟรี มีคุณภาพ

Professor Kriengsak Chareonwongsak


ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีเด็กที่อยู่ในฐานะครอบครัวยากจนหรือมีรายได้ต่ำ 359,324 คน (การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ.2545 สำนักงานสถิติแห่งชาติ) ประกอบกับมีเด็กไร้สัญชาติ เด็กไม่มีใบเกิด เด็กเร่ร่อน เด็กที่อพยพย้ายตามพ่อแม่ที่เป็นแรงงานก่อสร้าง เด็กกลุ่มนี้มีจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือต้องออกกลางคัน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงก่อปัญหาสังคม

ดังนั้น กรุงเทพฯ ควรให้เด็กและเยาวชนกลุ่มดังกล่าวเข้ามาอยู่ในระบบการศึกษา เพื่อได้รับโอกาสในการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

โจทย์อยู่ที่ว่า จะทำอย่างไรให้โรงเรียนสังกัด กทม. ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 433 โรง มีครูประมาณ 15,000 คน สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอและทั่วถึง เพื่อรองรับเด็กกลุ่มนี้ โดยขอบเขตของการจัดการศึกษาของ กทม. คือ จัดการศึกษาฟรี มีงบประมาณเพียงพอ และมีคุณภาพ ผมเสนอแนวทาง ดังนี้

คำนวณต้นทุนที่แท้จริงในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

แม้ว่าช่วงมีนาคม พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวแก่นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนทุกประเภทและทุกสังกัด ดังนี้ ระดับก่อนประถมศึกษา 1,700 บาท ประถมศึกษา 1,900 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 3,500 บาท และ มัธยมศึกษาตอนปลาย 3,800 บาท โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2551แต่หากพิจารณาต้นทุนจัดการศึกษาที่มีคุณภาพของโรงเรียนสังกัด กทม. พบว่าไม่เพียงพอ เนื่องจากเด็กยากจน เด็กไร้สัญชาติ เด็กไม่มีใบเกิด เด็กเร่ร่อน และเด็กที่อพยพย้ายตามพ่อแม่ จำเป็นต้องอุดหนุนในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น เสื้อผ้า อาหารกลางวัน นมโรงเรียน หนังสือและอุปกรณ์การเรียนและอื่น ๆ นั่นหมายถึง การต้องคำนวณค่าใช้จ่ายที่แท้จริงในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยทำวิจัยและศึกษาอย่างเป็นระบบ

สนับสนุนภาคส่วนอื่นเข้าร่วมจัดการศึกษา

เมื่อได้ค่าใช้จ่ายรายหัวผู้เรียนในจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ แต่ความเป็นจริง กทม. มีงบฯ จำกัด จำเป็นต้องระดมทรัพยากรจากภาคส่วนอื่นเพิ่มเติมเพื่ออุดช่องว่างที่เกิดขึ้น อาทิ

การให้บริษัทเอกชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษา ให้เป็นแหล่งฝึกงาน ช่วยกันเกื้อหนุน ช่วยการสอน โดยมามีส่วนร่วมกับโรงเรียนคือ ให้ 433 บริษัทเข้าช่วยดูแล 433 โรงเรียน ตัวอย่างในกัมพูชา มีบริษัทการโรงแรมขนาดใหญ่ เจ้าของต้องการทำโรงแรมที่มีส่วนเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนเขมรที่ขัดสน โดยนำเอาโปรแกรมต่าง ไปช่วยเด็กในโรงเรียน ให้เด็กนั้นมาฝึกงานที่โรงแรมทุกวันเสาร์เรื่องจัดการโรงแรม ทำอาหาร การให้บริการ ฯลฯ หากจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานเป็นพนักงานได้ เป็นต้น

การใช้อาสาสมัครจากองทุนเวลาเป็นครู ผมได้จัดตั้งกองทุนเวลาเพื่อสังคม (Time Bank Society) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมอาสาสมัครที่ต้องการทำงานสาธารณะ อาจนำอาสาสมัครกลุ่มนี้ไปเป็นครูช่วยสอนในโรงเรียนสังกัด กทม. โดยจัดสรรเวลาสอนกันคนละ 3 ชั่วโมงต่อเดือน เป็นการสอนที่ให้ความรู้ พัฒนาทักษะ หรือสร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ แบ่งปันประสบการณ์ชีวิต หรืออาจชวนอาสาสมัครนานาชาติจากทั่วโลกมาร่วมสอน เช่น สอนภาษาอังกฤษ โดยให้ผู้อาสาตัวมาอยู่ 1 ปี ส่งไปตามช่วยสอนภาษาตามโรงเรียน โดยอาจจะต้องดูแลค่าที่พัก ค่าอาหาร และอำนวยความสะดวกต่าง ๆ วิธีการนี้จึงจะไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากเช่น ผมได้ชวนเพื่อนที่จบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำงานมีรายได้ 10 กว่าล้านดอลลาร์ต่อปีชวนมาอยู่เมืองไทย มาช่วยคนไทย มาเป็นครูช่วยสอนและพัฒนาเด็กไทย ซึ่งเขาสนใจและกำลังดำเนินการเรื่องนี้อยู่

มหาวิทยาลัยพี่ช่วยโรงเรียนน้อง เป็นการสนับสนุนมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ นำนักศึกษา และคณาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาโรงเรียน กทม. โดยอาจทำกรณีศึกษา การสนับสนุนทุนวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ในเรื่องการพัฒนาโรงเรียนสังกัด กทม.

สร้างเครือข่ายการเรียนรู้นอกสถานศึกษา

การเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัด กทม. นั้นไม่เพียงพอ เพราะมีความจำกัดด้านพื้นที่และทรัพยากร ทางออกหนึ่งคือ การสร้างเป็นเครือข่ายการเรียนรู้กับแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา โดยอาจให้เด็กไปเรียนรู้จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิชาการ การเข้าร่วมกิจกรรมที่ กทม.หรือหน่วยงานอื่นในสังคมจัดขึ้นอย่างเป็นระบบ มีการเดินทัศนศึกษาตามเส้นทางวัฒนธรรมคนเมืองกรุงฯ ฯลฯ โดยจัดระบบและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีปฏิทินกิจกรรมของ กทม. ตลอดปี นั่นหมายความว่า กทม. ต้องจัดสรรงบเฉพาะในการนำผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ของเมืองด้วย

สร้างความร่วมมือประสานเด็กในชุมชนสู่โรงเรียน

ปัจจุบันมีเด็กในชุมชน กทม. จำนวนมาก ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน เนื่องจากผู้ปกครองไม่มีความรู้เข้าใจในการนำเด็กเข้าสู่สถานศึกษา หรือผู้ปกครองต้องอพยพไปเรื่อย ๆ ดังนั้น กทม. ควรมีระบบเชื่อมต่อให้ผู้ปกครองนำเด็กกลุ่มนี้เข้าสู่สถานศึกษา ให้ผู้ปกครองรับรู้สิทธิตามกฎหมายและช่องทางว่า เด็กไม่มีใบเกิด ไม่มีสัญชาติสามารถเข้าเรียนได้ รวมถึงมีเส้นทางนำเด็กที่ออกกลางคันกลับสู่ระบบศึกษา โดยมีนักจิตวิทยาหรือผู้ประสานงานลงพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองให้นำบุตรหลานกลับสู่ระบบการศึกษา

การให้ผู้เรียนทุกคนได้เข้าเรียน เรียนฟรี และได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากโรงเรียน กทม.เป็นสิ่งจำเป็น โดยต้องวางแผน จัดการเป็นระบบ และหากลยุทธ์ระดมทรัพยากรจากภาคส่วนอื่น ย่อมทำให้การพัฒนาโรงเรียน กทม. มีคุณภาพ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสามารถดำเนินการให้เกิดขึ้นได้

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

credit by www.kriengsak.com

Thursday, February 17, 2011

ปรัชญาผู้นำองค์กร โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

•    ปรัชญาผู้นำองค์กร เป็นตัวสะท้อนปรัชญา และความสำเร็จขององค์กร

•    หากหน่วยงานใดเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จอย่างสูง เราสามารถสันนิษฐานได้เลยว่า หน่วยงานนั้นมีผู้นำที่ดีอยู่ที่นั่น

•    ภาวะขาดแคลนผู้นำเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทุกยุคทุกสมัยกว่าจะหาผู้นำได้สักคนนั้น ยากดุจงมเข็มในมหาสมุทร  

•    แต่ปัญหาที่เลวร้ายและรุนแรงเสียยิ่งกว่าภาวะขาดแคลนผู้นำ

•    นั่นคือ ปัญหาการขาดผู้นำที่มีคุณลักษณะ  “คุณภาพ” สูง “ศักยภาพ” สูง และ “คุณธรรม” สูง

•    การไร้ผู้นำนั้น เปรียบประดุจเรือเดินทะเลขาดกัปตัน เมื่อเจอพายุโหมกระหน่ำ  ลูกเรือก็เคว้งคว้าง สับสน หวาดหวั่น เพราะควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวยังไม่รุนแรง เท่ากับการมีผู้นำที่เลวร้าย เพราะแม้คลื่นลมสงบก็ทำให้เรืออับปาง และลูกเรือทั้งหมดเสียชีวิตได้

•    ผู้นำ เป็นผู้ที่กำหนดผลปลายทางของคนอื่น ยากนักที่คนจะไปไกลกว่าผู้นำของเขา เพราะผู้นำเป็นเสมือนสมองคอยสั่งให้เท้าเดินไปตามทางที่ต้องการ เป็นไปไม่ได้ที่เท้าจะเดินไปถูกทิศทาง ก่อนสมองสั่งการ

คัดจากบทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ ข้อคิดเพือผู้นำ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Friday, February 11, 2011

CSR กับการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ


* ที่มาของภาพ - http://www.regjeringen.no/upload/UD/Temabilder/CSR%20LightbulbMedium.jpg
แนวคิดการสร้าง ldquo;ความยั่งยืนขององค์กร (corporate sustainability)rdquo; เป็นกระบวนทัศน์ที่สำคัญยิ่งในการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจสมัยใหม่ แนวคิดนี้เสนอว่าการเติบโตและผลกำไร (corporate growth and profitability) ขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดอย่างยั่งยืนได้หากจะให้ธุรกิจดำเนิน ไปอย่างยั่งยืน ธุรกิจจำเป็นต้องมีเป้าหมายเชิงสังคมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วย (sustainable development) เป้าหมายดังกล่าว เช่น การปกป้องสิ่งแวดล้อม การสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการกระจายรายได้ เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมของธุรกิจนั้น ไม่เพียงจะต้องตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ต้องไม่ส่งผลร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่นต่อไป กิจกรรมของธุรกิจนั้นคำนึงถึงการกระจายผลประโยชน์แก่คนในสังคมอย่างเสมอภาค กัน (fairness) กิจกรรมของธุรกิจนั้นต้องมีส่วนส่งเสริมสภาวะความเป็นอยู่ที่ดี (wellbeing) ของคนในสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
กล่าวอีกนัยหนึ่งแนวคิดนี้ก็คือการที่ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม นั่นเอง สิ่งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาบริษัทที่มีอายุเกิน 100 ปี ในประเทศอเมริกา พบว่า บริษัทเหล่านี้ มีเป้าหมาย และค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมทั้งสิ้น แนวคิด ldquo;ความยั่งยืนขององค์กรrdquo; นี้สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm) ของจุดหมายของธุรกิจ จากกระบวนทัศน์เดิมที่เน้นเรื่องการสร้างผลกำไรสูงสุด (profit maximization) การสร้างผลตอบแทนสูงสุด (return maximization) และการสร้างความมั่งคั่งสูงสุด (wealth maximization) ทั้งหมดนี้เพื่อประโยชน์กับเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้น (stockholders)
แต่สำหรับกระบวนทัศนใหม่ จุดเน้นจะอยู่ที่เรื่องการสร้างคุณค่าสูงสุด (value creation maximization) ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับกิจการของเรา (stakeholders) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการย้ายจุดเน้นจาก single bottom line ที่เน้นเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน ไปเป็น triple bottom line ที่เน้นเรื่องของการสร้างผลตอบแทนทางสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับเป้าหมายเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
คำว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความสำคัญมากสำหรับแนวคิดนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหมายถึง ผู้ที่สามารถสร้างผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ หรือผู้ที่รับผลกระทบโดยตรงจากธุรกิจนั้น ซึ่งครอบคลุมไม่เพียงแต่ผู้ถือหุ้น แต่รวมถึงพนักงาน ลูกค้า คู่ค้าต่าง ๆ หุ้นส่วนธุรกิจ รัฐบาล รวมตลอดจนถึง ชุมชนที่อยู่แวดล้อมที่ตั้งของธุรกิจนั้น ยิ่งธุรกิจสามารถสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มากเท่าใด ธุรกิจนั้นก็จะยิ่งได้รับการยอมรับจากสังคม และจะสามารถดำเนินกิจการไปได้อย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มอาจจะมีเป้าหมาย ความต้องการ ที่แตกต่างกัน ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนจะสนใจที่ผลตอบแทนจากสิ่งที่ลงทุนไปกับธุรกิจ พนักงานย่อมต้องการการทำงานที่ให้โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน ผลตอบแทนที่เป็นธรรม และความมั่นคงในงาน ส่วนลูกค้าหรือผู้บริโภคก็ต้องการได้สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพในราคาที่ เป็นธรรมและเหมาะสม ขณะที่ชุมชนไม่เพียงต้องการธุรกิจที่สร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชน แต่ยังต้องการธุรกิจที่รับผิดชอบต่อชุมชน ไม่สร้างมลภาวะหรือก่อผลกระทบเชิงลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ธุรกิจใดที่ละเมิดเป้าหมายเหล่านี้มักจะประสบปัญหาถูกต่อต้านจากผู้มีส่วน ได้ส่วนเสีย เป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่กล่าว ไปข้างต้น และสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายกลุ่มอย่าง เจาะจงได้ จะช่วยรักษาและเพิ่มพูนสัมพันธภาพอันดีระหว่างธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วน เสียกลุ่มต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจนั้นไม่เพียงแต่บรรลุเป้าหมายของธุรกิจ แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้
บริษัท Merck amp; Company เป็นบริษัทผลิตยาชั้นนำของโลก ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1891 ในปี 1991 P Roy Vagelos ผู้เป็น CEO ของ Merck ในขณะนั้นเล่าว่า นักธุรกิจญี่ปุ่นคนหนึ่งเคยบอกเขาว่า Merck เป็นผู้นำยา ldquo;สเตปโตมัยซินrdquo; เข้าไปรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่กำลังแพร่ระบาดทั่วประเทศญี่ปุ่นช่วงหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 การช่วยเหลือของ Merck ยึดถือค่านิยมหลักประการหนึ่งขององค์กรที่ว่า ldquo;เราอยู่ในธุรกิจแห่งการธำรงรักษาและพัฒนาชีวิตของมนุษย์rdquo; ทำให้ตัดสินใจช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นโดยไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนเชิงธุรกิจ และในวันนี้มันคงไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ Merck เป็นบริษัทยาของสหรัฐรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
การดำเนินตามแนวคิดที่กล่าวข้างต้นนั้นไม่ใช่เรื่องระยะสั้นที่จะเห็นผลใน ชั่วข้ามคืน ไม่ใช่เรื่องที่จะให้ยอดขายหรือกำไรเพิ่มขึ้นในชั่วข้ามวัน แต่มันจะเป็นเหมือนรากฐานที่สร้างความน่าเชื่อถือของประชาชนที่มีให้กับ ธุรกิจของเรา และเป็นบันไดไปสู่โอกาสต่าง ๆ ในอนาคตที่เราอาจคาดไม่ถึง องค์กรสามารถสร้างคุณค่า (value) ให้กับ stakeholders ได้หลายทาง ผ่านการดำเนินการด้าน CSR ซึ่งต้องเป็นการดำเนินการตามความหมายที่แท้จริงอยู่ที่การสร้างคุณค่าให้กับ สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ในลักษณะที่ทำอย่างจริงจัง มิใช่กิจกรรมสร้างภาพอย่างฉาบฉวยในลักษณะของการประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพ ลักษณ์

Wednesday, February 9, 2011

professor kriengsak and leader meaning 4

ความเป็นผู้นำมิใช่เรื่องที่ไกลตัว เพราะช่วงหนึ่งของชีวิตเรา ต้องมีโอกาสดำรงสถานภาพ “ผู้นำ”

พ่อแม่ คือต้นกำเนิดของแบบอย่างการเป็น “ผู้นำทางความคิด หมายเลข 1” ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอนาคตของชาติ ว่าจะเป็นเช่นไร เป็นบุคคลสำคัญในการปั้นคนให้เป็นคน เริ่มตั้งแต่การบ่มเพาะลักษณะนิสัย ทักษะ ความรู้ ความคิด และสภาวะจิตใจ

เราอาจจะพูดได้ว่า ครูนับเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ เป็นอันดับสองรองจากพ่อแม่ เนื่องเพราะทั้งผู้ปกครอง และครูเป็นผู้ใส่ความคิด เป็นผู้สอนให้เกิดปัญญา เป็นผู้ก่อร่างสร้างอนาคตของชาติ และกำหนดทิศทาง
แก่ชนชั้นปัญญาชนของสังคม

Tuesday, February 8, 2011

“ผู้นำความคิด” คนสำคัญของสังคม



การพัฒนาโดยมุ่งเน้นที่ “คน” เป็นศูนย์กลาง นับเป็นการกล่าวอย่างเลื่อนลอยที่สุด หากมิได้มุ่งที่การปฏิรูปคนในกลุ่ม “ผู้นำทางความคิด” ให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งเสถียรภาพของการพัฒนาอย่างแท้จริง

“ผู้นำทางความคิด” ของคนในสังคม คือ บุคคลที่มีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความคิด ค่านิยม ความเชื่อ ตลอดจนการตัดสินใจ การกระทำและวิถีการดำเนินชีวิตในอนาคต แก่บุคคลอื่น เป็นบุคคลที่สามารถโน้มน้าวผู้อื่นได้ ทั้งคำพูดและแบบอย่างการกระทำ

สังคมจะดีหรือเสื่อมทรามขึ้นอยู่กับผู้นำทางความคิด ทำหน้าที่เป็นครูนอกระบบที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการปฏิรูปคนสู่การพัฒนา จึงต้องย้อนกลับมาให้ความสำคัญ กับการปฏิวัตินักสร้างคนในสังคมด้วย โดยที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเรียกได้ว่าเป็น “ผู้พัฒนาแล้ว” เป็นผู้ที่เป็นแบบอย่างด้านการปฏิบัติในเชิงสร้างสรรค์ด้วย

คัดข้อความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ

ข้อคิดเพื่อผู้นำ

ของ ศาสตราจารย์ ดร.อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)