“ผู้นำ” ในวิถีประชาธิปไตย
• บุคคลที่ก้าวเข้ามา ในวิถีทางของการ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็น “ผู้นำ" เพื่อดูแลคนมากมาย
• รัฐนาวาใด นำโดยผู้นำที่กอปรด้วยปัญญา และสามัญสำนึก ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง รัฐนาวาใดนำโดยผู้นำไร้ปัญญาและขาดสติ โอกาสที่ความหายนะจะมาเยือน ก็มีมากกว่าครึ่ง
• อุดมการณ์ผู้นำประเทศไม่ชัดเจน สังคมก็ปั่นป่วน ประชาชนก็วุ่นวาย
• ในระบอบประชาธิปไตย บุคคลที่ได้รับการเลือก ให้ดำรงบทบาทผู้ปกครองประเทศ ไม่ควรสำคัญผิดคิดว่าตนเป็นใหญ่ อยู่สูงกว่าใคร ๆ แต่ควรสำคัญให้ถูกว่าตนเป็น “ผู้รับใช้ประชาชน”
• ผู้นำประเทศ หากลืมไปว่า เขาคือผู้รับใช้ของประชาชน เขาย่อมประพฤติตนเยี่ยงผู้กดขี่ และแสวงหาประโยชน์
• จากประชาชนเสียเอง
• ผู้นำที่มุ่งเพียงแค่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เขาจะทำให้ประชาชนมีปัญหา ผู้นำที่ดีต้องเป็น “ผู้บรรเลงเสียงสวรรค์” ให้ประชาชนฟังด้วย
• โลกนี้ต้องการผู้นำที่ “นำ” ทิศทาง มากกว่าผู้นำที่กระทำ “ตาม” ความปรารถนาของคนภายใต้เท่านั้น
• ผู้นำควรถ่อมใจรับฟังเหตุผล แต่ขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่ “ชี้นำ” และ “นำทาง” มิใช่เชื่อตามแรงกดดัน
• จากประชามติตลอดเวลา
• หากผู้นำประเทศยึดวาทะของอดีตประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ที่กล่าวว่า “อย่าถามว่าประเทศชาติ
• จะให้อะไรแก่ท่านบ้าง แต่ควรถามว่าท่านจะให้อะไร แก่ประเทศชาติได้บ้าง” เป็นอุดมคติในการบริหารประเทศ ผู้นำนั้นคงสามารถสร้างวีรบุรุษแห่งความเสียสละเกิดขึ้นมากมาย ลดระดับความเห็นแก่ตัวลงได้มาก
คัดจากบทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ ข้อคิดเพือผู้นำ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
No comments:
Post a Comment