Tuesday, December 27, 2011

ตลาดสินค้าเกษตร 4 ชนิดของไทยภาย ใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม กับ ทฤษฎีคางคก
 
จากการเปิดเผยผลการประเมินตำแหน่งตลาดสินค้าเกษตร 4 ชนิดของไทยภาย
ใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหา
วิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งพบว่าภายใน 5 ปีนับจากปี 2553 จนถึงปี 2558 สินค้า
เกษตรของไทยที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนประกอบด้วยข้าว กาแฟ
และน้ำมันปาล์ม ส่วนมันสำปะหลังไทยจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น 

      สินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากต้นทุนการ
ผลิตต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่า ราคาจำหน่ายผลปาล์มและน้ำมันปาล์ม
ดิบของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียมาก แต่ผลผลิตปาล์มของไทยกลับมีคุณ
ภาพต่ำกว่าเพราะสามารถสกัดเป็นน้ำมันได้น้อยกว่า 

     ในความเป็นจริง การขาดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำมัน
ปาล์มของไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่นักวิชาการได้สะท้อนปัญหานี้มาเป็นเวลานานแล้ว งานวิจัยของมหาวิทยาลัย หอการค้าไทยจึงเป็นการย้ำเตือนถึงปัญหานี้และนำเสนอ
หลักฐานในเชิงประจักษ์ที่สะท้อนความรุนแรงของปัญหานี้

      ผมเองได้เขียนหนังสือ เศรษฐกิจกระแสกลาง: ทิศทางเศรษฐกิจไทยใน
อนาคต
 เมื่อปี 2543 หรือกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ระบุว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเป็นตัว
อย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน  แต่
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยต้องเปิดเสรีมากขึ้นและเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ผมจึงได้ให้ข้อเสนอแนะในภาพรวมว่าสินค้าที่แข่งขันไม่ได้ควรเลิกผลิตไปเลย แต่
หากเห็นว่าเป็นสินค้าที่เป็น ปัจจัยอยู่รอด มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร 
หรือพลังงานของประเทศและไม่มีสินค้าอื่นที่ทดแทนได้ดีกว่า ก็ควรเร่งพัฒนาในมี
ความสามารถในการแข่งขัน 

      แต่ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข รัฐบาลไม่มีทิศทาง
การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจนในระยะยาวไม่มีแผนการเตรียมความพร้อมสำหรับ
การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ในอนาคตอุตสาหกรรมนี้ได้รับการปกป้องจากรัฐจนขาด
การพัฒนาที่รวดเร็วเพียงพอ แตกต่างจากประเทศมาเลเซียที่มีทิศทางการพัฒนาที่
ชัดเจน มีแผนการดำเนินงาน และความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการพัฒนาอุตสาห-
กรรมน้ำมันปาล์มอย่างเป็นระบบ 

     น้ำมันปาล์มกลายเป็นสินค้าการเมือง การส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มใน
ประเทศไทยจึงเป็นไปเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง โดยเน้นไปในทิศทางการ
เพิ่มปริมาณการผลิตตามแรงผลักของสถานการณ์ แต่ไม่ใคร่ให้ความสนใจด้าน
คุณภาพ สังเกตได้จากการส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งโดยตรง และ
โดยอ้อม เช่น การส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงาน การจำกัดการนำเข้า
การกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มขั้นต่ำ (floor price) การชดเชยให้ผู้ผลิตจำหน่าย
น้ำมันปาล์มในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น 

     ปัจจุบันอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย โดยพื้น
ที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจา

Sunday, November 27, 2011

ความขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรได้รับการปกป้องจากอุทกภัย


กวิกฤตภัยครั้งนี้ และการพัฒนาระบบป้องกันและรับมือกับอุทกภัยในระยะยาว ซึ่งกำลังดำเนินการคู่ขนานกันไป

อุปสรรคสำคัญของการแก้ปัญหาครั้งนี้ คือ ความขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรได้รับการปกป้องจากอุทกภัย

ถึงกระนั้น การเตรียมการป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคตที่มีการพูดถึงโดยส่วนใหญ่ ให้ความสนใจไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการน้ำ และการปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ซึ่งล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น

แต่ถึงแม้ว่า มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยเพื่อทำให้ทุกพื้นที่ไม่มีน้ำท่วมและไม่มีผู้ได้รับผลกระทบเลย แต่การดำเนินการเช่นนั้นมีต้นทุนสูงมากและอาจไม่คุ้มค่าในการลงทุนเพื่อให้มีระดับความสามารถในการจัดการน้ำที่มีปริมาณมากกว่าปกติในบางปี ซึ่งนานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ระบบป้องกันอุทกภัยจึงมีความสามารถในการจัดการปริมาณน้ำในระดับหนึ่งเท่านั้น และระบบป้องกันน้ำท่วมรูปแบบหนึ่ง คือการปกป้องบางพื้นที่และผันน้ำไปลงในพื้นที่อื่น ซึ่งหมายความว่าจะมีคนบางกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ถูกน้ำท่วม

ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของการแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้ คือ ความขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรได้รับการปกป้องจากอุทกภัย จนทำให้บางพื้นที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม อันเนื่องจากความรู้สึกถึงไม่เท่าเทียมของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ได้รับการปกป้อง รวมทั้งความไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลพยายามปกป้องมิให้น้ำท่วมกรุงเทพชั้นในจนทำให้น้ำทะลักเข้านิคมอุตสาหกรรมจนได้รับความเสียหายมหาศาล การพัฒนาระบบจัดการน้ำในอนาคต จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการกับความเข้าใจและความรู้สึกของประชาชนด้วย

แนวทางหนึ่งที่อาจช่วยลดความขัดแย้งได้ คือ การกำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่จะได้รับการปกป้องและพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ เพื่อสร้างการรับรู้และการยอมรับของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยการกำหนดในผังเมืองอย่างชัดเจนว่าแต่ละพื้นที่มีลำดับความสำคัญระดับใด

ตัวอย่างเช่น รัฐบาลอาจกำหนดให้ระบุหมายเลข 1 ถึง 5 สำหรับในพื้นที่ต่างๆ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการป้องกันพื้นที่จากน้ำท่วม โดยกำหนดหมายเลข 1 สำหรับพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นแก้มลิง และหมายเลข 5 สำหรับพื้นที่เศรษฐกิจหรือนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

ทั้งนี้การกำหนดลำดับความสำคัญของแต่ละพื้นที่ต้องสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพและสภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่นั้นๆ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำที่สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของแต่ละพื้นที่ด้วย

นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐควรมีการประกาศอย่างชัดเจนว่าแต่ละพื้นที่มีหมายเลขอะไร (โดยอาจระบุลงในโฉนดที่ดินหรือบังคับให้นักพัฒนาที่ดินต้องประกาศให้ประชาชนทราบ) เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่นั้นเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และป้องกันการสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ 

อีกแนวทางหนึ่ง คือ การจัดระบบชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม แต่การชดเชยโดยพึ่งพางบประมาณแผ่นดินเพียงอย่างเดียวและกำหนดระดับการชดเชยหลังจากเกิดความเสียหายแล้ว อาจไม่เพียงพอสำหรับชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและไม่สามารถจัดการความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบได้ ในขณะที่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องจากน้ำท่วมก็ไม่ต้องแบกรับต้นทุนจากการคุ้มครองที่ได้รับจากรัฐบาลแต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้ ระบบประกันอุทกภัยน่าจะเป็นคำตอบสำหรับการแก้ปัญหาข้างต้น เพราะจะทำให้ประชาชนทราบระดับความเสี่ยงของการถูกน้ำท่วม และรับรู้ว่า หากเกิดความเสียหายขึ้น เขาจะได้รับการชดเชยอย่างแน่นอน และได้รับทราบล่วงหน้าถึงขนาดของการชดเชยที่จะได้รับ

ริคาร์โด เซมเลอร์

สัปดาห์ที่แล้วศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้เล่าให้ฟังว่าริคาร์โด เซมเลอร์ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริษัทเซมโก้อย่างไรบ้างในเรื่องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรและการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี สัปดาห์นี้ผมจะเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่นๆ ที่น่าสนใจครับ เลือกคนที่ต้องการทำงานจริง คนที่มีความสามารถและเป็นที่ต้องการของทีม พนักงานที่เซมโก้นั้นมีแรงจูงใจที่จะกระตือรือร้นในการทำงาน มีความตื่นตัว มีความปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อตำแหน่งที่สูงขึ้น ซึ่งบริษัทเซมโก้มีกลไกหลายอย่างที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศเช่นนั้น เช่น พนักงานประมูลเพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ตนเองต้องการ พนักงานแต่ละคนที่เข้ามาทำงานนั้นสามารถเลือกทำสิ่งที่ตนเองอยากทำและสนใจอย่างแท้จริงโดยการประมูลตำแหน่งในบริษัท โดยการประมูลนั้นจะถูกยอมรับหรือถูกปฏิเสธนั้นขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถของพนักงาน อัตราเงินเดือนที่ร้องขอ และความปรารถนาของเพื่อนร่วมงานที่จะจ้างคนเหล่านั้น การจ้างพนักงานใหม่หรือการไล่พนักงานออกของบริษัทเซมโก้นั้นอาศัยการโหวตตามหลักการประชาธิปไตย โดยพนักงานปัจจุบันเป็นผู้ลงคะแนนโหวตอย่างยุติธรรม นอกจากนี้ยังอาศัยการสัมภาษณ์โดยกลุ่ม ผู้ที่เข้ามาสมัครงานจะต้องถูกสัมภาษณ์โดยกลุ่มของพนักงานเซมโก้เพื่อทราบทัศนคติในการทำงาน มุมมองโลกทัศน์ หากผู้สมัครมีความสามารถ มีมุมมองโลกทัศน์ที่ดี น่าสนใจ พนักงานปัจจุบันประเมินแล้วว่าจะสามารถสนับสนุนการทำงานของทีมได้ ผู้สมัครคนนั้นจะได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเซมโก้ พัฒนาคนด้วยการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
ผู้จัดการในบริษัทเซมโก้มีบทบาทที่สำคัญคือเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงาน เป็นผู้สนับสนุนในการตัดสินใจและเป็นผู้ให้การฝึกอบรมแก่พนักงานเพื่อสนับสนุนพนักงานในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ที่บริษัทเซมโก้มีการอบรมพนักงานในการอ่านและตีความข้อมูลทางการเงิน เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุน เพื่อให้พนักงานสามารถวิเคราะห์และเข้าใจสถานการณ์การเงินขององค์กร ของทีม เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาการทำงานขององค์กรและทีมได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญพนักงานยังได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการฝึกอบรมในประเด็นหรือเรื่องที่พนักงานสนใจอีกด้วย ให้ผลตอบแทนที่จูงใจควบคู่กับการประเมินผลงานอย่างจริงจัง พนักงานของบริษัทเซมโก้เป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนของตนเอง ตามความสามารถและมูลค่าเพิ่มที่พวกเขาคิดว่าสามารถสร้างให้แก่องค์กร โดยพนักงานแต่ละคนต้องคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะเสนอเงินเดือนของตนเอง เนื่องจาก เงินเดือนของทุกคนนั้นจะถูกติดประกาศในที่สาธารณะให้ทั้งองค์กรทราบ ซึ่งจะมีแรงกดดันจากเพื่อนรอบข้างเป็นกลไกควบคุมไม่ให้พนักงานแต่ละคนกำหนดอัตราเงินเดือนที่สูงเกินไปสำหรับตนเอง พนักงานที่กำหนดเงินเดือนของตนเองสูงเกินไป เพื่อนร่วมงานอาจไม่พอใจและอาจมีผลทำให้เขาต้องตกงานในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้ เนื่องจากพนักงานไม่สามารถขอลดเงินเดือนของตัวเองในภายหลัง เพราะกฎหมายของบราซิลนั้นห้ามไม่ให้ทำเช่นนั้น ประกอบกับระบบการประเมินผลการทำงานที่จริงจัง พนักงานที่เซมโก้จะถูกประเมินผลการทำงานตามสิ่งที่พวกเขาได้มีส่วนต่อผลการดำเนินงานขององค์กร คนที่เสนอเงินเดือนสูง เกณฑ์การประเมินย่อมสูง หากเขาไม่สามารถไปถึงเกณฑ์ย่อมอาจถูกให้ออกจากงานได้ โดยผู้ที่ถูกประเมินมากเป็นพิเศษคือผู้บริหารระดับผู้จัดการขึ้นไป เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร พนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 3 ปีและ/หรือมีอายุมากกว่า 50 ปี เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ประเมิน โดยการให้คะแนน 1 – 100 ผลการประเมินจะติดประกาศไว้ให้เห็นชัดเจนในที่สาธารณะและผู้จัดการที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 75 จะต้องถูกให้ออกจากบริษัท ซึ่งกฎนี้บังคับใช้กับริคาร์โด เซมเลอร์ด้วยเช่นกัน นอกจากเงินเดือนแล้ว บริษัทเซมโก้ยังได้แบ่งปันกำไรให้แก่พนักงานอีกด้วย โดยบริษัทจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งมาจากการคัดเลือกลงคะแนนตามหลักประชาธิปไตย เพื่อให้ทำหน้าที่พัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรกำไรของบริษัท ซึ่งเป็นการช่วยลดคำบ่นร้องเรียนของพนักงานเกี่ยวกับการจัดสรรเงินกำไรนี้ โดยพนักงานเป็นผู้โหวตลงคะแนนว่าจะจัดสรรเงินกำไรที่ถูกแบ่งมาเพื่อจัดสรรให้พนักงานนี้อย่างไร ซึ่งไม่ใช่เพียงฝ่ายบริหารเท่านั้นที่ได้รับการแบ่งปันเงินกำไรของบริษัท แต่พนักงานทุกคนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จะได้รับการจัดสรรเงินกำไรและโบนัสก้อนนี้ เป็นต้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในบริษัทเซมโก้ ซึ่งเราจะเห็นว่าบริษัทเซมโก้นั้นมีนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการในองค์กรหลายอย่างที่น่าสนใจมาก อย่างไรก็ตามบริบท วัฒนธรรม วิธีคิดของคนบราซิลนั้นย่อมแตกต่างจากคนไทย การลอกเลียนแบบทุกประการมาใช้กับองค์กรในประเทศไทยอาจไม่สามารถทำได้ทั้งหมด แต่หากประยุกต์เอาหลักการที่อยู่เบื้องหลังมา น่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยต่อปรับปรุงและพัฒนาองค์กรโดยเฉพาะภาคธุรกิจ ซึ่งต้องการการฟื้นฟูตัวเองและปรับตัวอยู่เสมอในโลกที่มีพลวัตรและท่ามกลางปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

Monday, October 3, 2011

Professor Kriengsak Chareonwongsak and article

Comparative Advantage by Professor Kriengsak Chareonwongsak
ทฤษฎีลิงกระโดดต้นไม้... นัยต่อการกำหนดทิศทางประเทศ

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ  วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2550

ตามทฤษฎีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) เมื่อประเทศต่างๆ ทำการค้าระหว่างประเทศ จะทำให้ประเทศเหล่านั้นมั่งคั่งมากขึ้น แต่คำถามคือ เหตุใดหลายประเทศในโลก แม้ส่วนใหญ่ได้เปิดประเทศ เพื่อทำการค้าระหว่างประเทศแล้ว แต่ประชาชนยังคงยากจนอยู่ (ทั้งนี้ไม่รวมถึงผลกระทบของการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการผูกขาดภายในประเทศ) คำถามดังกล่าวมีความน่าสนใจอย่างยิ่งในเชิงการกำหนดนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาความสามารถในการแข่งขัน และความยากจน โดยเฉพาะในยุคที่โลก ถูกผลักไปในทิศทางของการเปิดเสรีทางการค้า และสังคมไทยกำลังถกเถียงกันว่า ทิศทางด้านเศรษฐกิจของประเทศควรเป็นอย่างไร

ผมได้มีโอกาสไปทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้รู้จักศาสตราจารย์ ริคาร์โด เฮาส์แมนน์ (Ricardo Hausmann) ซึ่งสอนวิชาที่ชื่อว่า "ทำไมหลายประเทศยังยากจน" ใน Kennedy School of Government ศาสตราจารย์ท่านนี้ เคยเป็นอดีตรัฐมนตรีการคลังของประเทศเวเนซุเอลา และได้คิดทฤษฎีที่มีชื่อว่า "ทฤษฎีลิงกระโดดต้นไม้"

ศาสตราจารย์เฮาส์แมนน์ เชื่อว่า การพัฒนาประเทศในระยะยาว เกิดจากการเปลี่ยนโครงสร้างของประเทศ (Structural Transformation) แต่คำถามอยู่ที่ว่า ทำไมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแต่ละประเทศจึงต่างกัน ซึ่งส่งผลทำให้บางประเทศร่ำรวย แต่อีกหลายประเทศยังยากจนอยู่

จากการศึกษาด้วยการสังเคราะห์ทฤษฎีต่างๆ และพยายามหาหลักฐานจากประเทศทั่วโลก ศาสตราจารย์เฮาส์แมนน์ ได้ข้อสรุปในเชิงทฤษฎีว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับ ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบแต่เดิมของประเทศนั้นว่าอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ชนิดใด และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงนั้น เป็นไปได้ยากหรือง่าย

หากเปรียบเทียบบริษัทต่างๆ เหมือนกับลิงที่กระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นไม้อีกต้นหนึ่ง ในขณะที่ป่า หมายถึงทางเลือกของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และต้นไม้แต่ละต้นคือ ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด โดยที่แต่ละต้น มีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน เปรียบได้กับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทที่มีผลิตภาพ (Productivity) แตกต่างกัน

ลิงแต่ละตัวต้องพยายามกระโดดไปยังต้นไม้ที่อุดมสมบูรณ์ แต่มีข้อจำกัดคือมันไม่สามารถกระโดดไปต้นที่อยู่ไกลเกินไปได้ เนื่องจากการผลิต ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดคือ ต้องการสินทรัพย์ (Assets) และความสามารถ (Capability) ในการผลิตที่ต่างกัน

ด้วยเหตุนี้ ประเทศที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้เร็ว เกิดจากการที่ประเทศนั้นเริ่มต้นพัฒนาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ในผลิตภัณฑ์ที่สามารถ "กระโดด" ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าสูงได้ง่าย เช่น อุตสาหกรรมเบา อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าทุน ขณะที่บางประเทศมีความสามารถในการแข่งขันในผลิตภัณฑ์ที่กระโดดไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าสูงได้ยาก เช่น น้ำมันดิบ สินค้าเขตร้อน และวัตถุดิบต่างๆ

จากทฤษฎีลิงกระโดดต้นไม้ทำให้เกิดคำถามต่อไปว่า แล้วประเทศไทยควรกำหนดทิศทางอย่างเจาะจงหรือไม่ว่า ควรปรับโครงสร้างไปสู่ผลิตภัณฑ์ประเภทใด

ทั้งนี้เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมทั่วโลกแบ่งได้เป็นสองแนวทาง คือ การปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ดังตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และฮ่องกง อีกแนวทางหนึ่งคือ การแทรกแซงโดยรัฐบาล เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ดังที่ปรากฏในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน

ทั้งสองแนวทางมีประเทศที่ประสบความสำเร็จ และมีทั้งข้อดี และข้อเสีย กล่าวคือ แนวทางที่ยึดกลไกตลาด อาจจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ แต่การปรับโครงสร้างจะล่าช้า และมีต้นทุนการปรับโครงสร้างสูงมาก

ขณะที่การแทรกแซงโดยรัฐบาลจะทำให้การปรับโครงสร้างรวดเร็ว แต่จะเป็นการบิดเบือนกลไกทางเศรษฐกิจ และมีความเสี่ยงว่ารัฐบาลอาจจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผิดประเภท ซึ่งไม่สามารถแข่งขันได้จริง

ศาสตราจารย์เฮาส์แมนน์ ได้ตอบคำถามนี้โดยอธิบายว่า การพัฒนาอุตสาหกรรม (Open Forest) เป็นการพัฒนาความสามารถที่เฉพาะเจาะจงขึ้นมาอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดการไหลล้น (Spill Over) ของความสามารถดังกล่าวไปสู่อุตสาหกรรมเดียวกันและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ความสามารถคล้าย ๆ กันด้วย และเมื่อมีการพัฒนาความสามารถแบบที่ต้องการได้แล้ว ประเทศจึงสามารถเปลี่ยนโครงสร้างไปสู่การผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเป้าหมายได้

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ประเทศต้องการ จะไม่เกิดขึ้นด้วยกลไกตลาด เพราะการไหลล้นของเทคโนโลยี หรือความสามารถใหม่ๆ นั้นเป็นผลประโยชน์ที่สังคมได้รับ แต่ผู้ที่พัฒนาเทคโนโลยีหรือความสามารถใหม่ๆ กลับต้องแบกรับต้นทุนไว้ทั้งหมด (Positive Externality) ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้กลไกตลาดล้มเหลว (Market Failure) ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเข้าไปมีบทบาท ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมบางชนิด เพื่อจะสามารถ "กระโดด" ไปสู่อุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้

ประการสำคัญ รัฐบาลต้องช่วยผลักลิงให้กระโดดไปยังต้นไม้ที่คนทั้งประเทศได้ประโยชน์ในระยะยาว ไม่ใช่เพียงทำให้คนในรัฐบาลได้ประโยชน์ เหมือนรัฐบาลที่ผ่านมา
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

Talk about Professor Kriengsak Chareonwongsak

บทสัมภาษณ์ เก่า ๆ นำมาฝากครับ



Wednesday, September 28, 2011

คนไทยมีความสุขน้อยลง


คนไทยมีความสุขน้อยลง

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

แนวคิดการพัฒนาประเทศของไทยในปัจจุบัน กำลังเกิดกระแสความไม่เห็นด้วย กับการเน้นเป้าหมาย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพียงเป้าหมายเดียว และมีความพยายามที่จะเสนอให้เปลี่ยนเป้าหมายการพัฒนา ไปสู่การเน้นความสุขของประชาชนในประเทศ หรือความสุขโดยรวมของประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH)

Professor Kriengsak Chareonwongsak
ในความเป็นจริง ผมมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขมาเป็นเวลานานแล้ว และที่ผ่านมา ผมได้ทำการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาชุดดัชนีชี้วัดความสุขของประเทศไทย” ซึ่งเป็นงานวิจัยตามหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชนรุ่นที่ 5 ของสถาบันพระปกเกล้า 

ผมได้ทำการพัฒนาดัชนีความสุข (Happiness Index) โดยหาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน เป็นต้น กับความสุขของประชากรไทย เพื่อจะนำไปสู่การบริหารประเทศ ที่มุ่งความสุขของประชากรโดยตรง

ดัชนีความสุขนี้พัฒนาขึ้นจากแบบจำลอง (Model) ทางเศรษฐศาสตร์ และใช้ฐานข้อมูลจากการสำรวจค่านิยมของคนในโลก (World Values Survey) มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ที่จัดทำโดย International Network of Social Scientists ซึ่งทำการสำรวจมาแล้วจำนวน 4 ครั้ง


ผลการศึกษาพบว่า ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน เป็นเหตุทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 คนไทยประมาณ 1.3 ล้านคน หรือ ร้อยละ 2.1 ที่เคยมีความสุขมาก กลับมีความสุขลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ขณะที่คนไทยที่ค่อนข้างมีความสุขมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนคนที่ไม่ค่อยมีความสุข และคนที่ไม่มีความสุขเลยมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 การกระจายประชากรไทยตามช่วงระดับความสุขต่างๆ (ร้อยละ)

ระดับความสุข

2548


2549
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
ไม่มีความสุขเลย 0.62 0.61 0.70 0.78 0.73
ไม่ค่อยมีความสุข 7.70 7.61 8.23 8.82 8.46
ค่อนข้างมีความสุข 53.17 53.03 54.02 54.88 54.37
มีความสุขมาก 38.51 38.75 37.06 35.52 36.44
รวม 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00



ผลการศึกษายังพบอีกว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของคนแบ่งออกเป็นตัวแปรด้านจุลภาคและมหภาค ในกลุ่มตัวแปรจุลภาคที่ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การมีงานทำและระดับรายได้ เพศหญิงมีความสุขมากกว่าชาย, คนที่มีความสุขน้อยที่สุดอยู่ที่อายุประมาณ 52 ปี, คนที่อยู่ด้วยกัน หรือคู่แต่งงาน มีความสุขมากกว่าคนที่เป็นโสด และหย่าร้างตามลำดับ, และระดับการศึกษา และระดับรายได้ยิ่งสูง ยิ่งทำให้คนมีความสุขมากขึ้น

สำหรับตัวแปรมหภาคที่มีอิทธิพลต่อระดับความสุขของคน คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงาน  และอัตราเงินเฟ้อ โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสุข ในขณะที่อัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อสัมพันธ์ทางลบ กับระดับความสุข ยิ่งไปกว่านั้น ผมยังพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่อความสุขมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อัตราการว่างงานและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับ

ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้สนใจเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีเพียงเป้าหมายเดียวเท่านั้น แต่แนวทางการพัฒนาดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ประชาชนมีความสุขอย่างแท้จริง จากงานวิจัยชิ้นนี้ ผมคิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมือง และทบทวนเป้าหมายการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นเป้าหมายต่างๆ อย่างสมดุล โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คนไทยมีระดับความสุขมากขึ้น

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

ควรเลือกเป้าหมายใด : เงินเฟ้อ หรือจีดีพี?


ควรเลือกเป้าหมายใด : เงินเฟ้อ หรือจีดีพี?

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ   วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549

เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะที่เงินเฟ้อสูงขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การดำเนินนโยบายการเงินการคลังอยู่ในภาวะ "หนีเสือปะจระเข้" กล่าวคือ หากธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ จะทำให้เศรษฐกิจยิ่งชะลอตัวลง แต่หากกระทรวงการคลัง ใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะยิ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น

ปัญหาจึงเกิดขึ้นเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกมองว่าใช้นโยบายการเงินค่อนข้างเข้มงวด โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรงมากขึ้น ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เหตุผลว่า เป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อการจัดการมิให้เงินเฟ้อขยายตัวไปมากกว่านี้ ซึ่งจะทำให้แก้ไขได้ยาก

ประเด็นสำคัญของความขัดแย้งเชิงนโยบายนี้ จึงอยู่ที่ว่าผู้มีอำนาจในการบริหารเศรษฐกิจของชาติ ควรให้ความสำคัญกับเป้าหมายใด

การตอบคำถามดังกล่าว เราจำเป็นต้องพิจารณาบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ผมขอสรุปว่า การบริหารเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2549 ควรเน้นเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าการควบคุมเงินเฟ้อ

Professor Kriengsak Chareonwongsak
เหตุที่สรุปเช่นนี้เพราะในครึ่งปีหลัง ปัญหาเงินเฟ้อน่าจะรุนแรงน้อยกว่าปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2549 จะขยายตัวถึงร้อยละ 6 แต่หน่วยงานเศรษฐกิจของรัฐทุกแห่งกลับคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงกว่าครึ่งปีแรก ทำให้ทุกสำนักปรับลดเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2549 ลงจากเดิม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้รับการคาดการณ์ว่าจะลดลงในครึ่งปีหลัง ทำให้ค่าเฉลี่ยของเงินเฟ้อตลอดทั้งปีต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีแรก 

เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะได้รับผลกระทบจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2550 ที่ล่าช้า และราคาน้ำมันโลก ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลกระทบจากทั้งสองปัจจัยนี้โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium) ผมพบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะลดลงมากกว่า เพราะได้รับผลกระทบเชิงลบ จากทั้งสองปัจจัยดังกล่าว แต่ทั้งสองปัจจัยนี้จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในลักษณะที่หักล้างกัน ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้นมากนัก (ตารางที่ 1)

การเลือกตั้งที่ล่าช้าจะทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2550 ล่าช้าออกไปอย่างน้อย 3 เดือน หรือหมายความว่าจะไม่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (real GDP growth) ปี 2549 ลดลงร้อยละ 0.41 จากตัวเลขประมาณการเดิม ขณะที่ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 (เป็น 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) จะทำให้จีดีพีลดลงอีกร้อยละ 0.51 เมื่อรวมผลกระทบจากทั้งสองปัจจัยนี้ เศรษฐกิจปี 2549 จะลดลงถึงร้อยละ 0.92

แต่ในกรณีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ การไม่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 จะลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 0.41 จากตัวเลขประมาณการเดิม ขณะที่ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.58 ดังนั้น ผลกระทบของทั้งสองปัจจัยนี้ จะทำให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2549 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.17 จากตัวเลขประมาณการเดิม

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ผลกระทบของการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าและราคาน้ำมัน  ตัวแปร ผลกระทบจาก
การเบิกจ่ายงบล่าช้า
การเบิกจ่ายงบล่าช้า ผลกระทบจาก
ราคาน้ำมันเพิ่มร้อยละ 15
ราคาน้ำมันเพิ่มร้อยละ 15  รวมผลกระทบ
จากทั้งสองปัจจัย
จากทั้งสองปัจจัย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (%) -0.41 -0.51 -0.92 ดัชนีราคาผู้บริโภค (%) -0.41 0.58 0.17   ที่มา : เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549)
การใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเกินไป ยังอาจจะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อของไทยในปัจจุบัน เป็นเงินเฟ้อจากแรงผลักด้านต้นทุน (cost push inflation) ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันที่เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ช่วยให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อลดลง ขณะที่ประชาชนและผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในอนาคต เนื่องจากปัญหาทางการเมือง และผลกระทบจากราคาน้ำมัน ส่งผลทำให้ชะลอการบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลงอยู่แล้ว ทางการจึงไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัว เพื่อลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ สถานการณ์ปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะเงินลงทุนระยะสั้นไหลเข้ามาในประเทศไทย และทำให้มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นจำนวนมาก ประเทศไทยจึงไม่จำเป็นมากนักที่ต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อรักษาเงินลงทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ แต่น่าจะยอมให้เงินลงทุนระยะสั้นที่ไหลเข้ามาชะลอตัวลงบ้าง เพื่อไม่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไป และยังเป็นการกระตุ้นการส่งออกในครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ นโยบายการเงินที่เข้มงวดเกินไปจะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างรุนแรง เพราะนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ได้ทำให้หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง หากดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไป จะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน ลดลง จนอาจเกิดปัญหาหนี้เสียตามได้ ผมจึงเห็นด้วยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า จะขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

รัฐบาลใช้หลักการใดจัดลำดับความสำคัญ


รัฐบาลใช้หลักการใดจัดลำดับความสำคัญ

ทัศนะวิจารณ์ : ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

มติของคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 ที่จะดึงโครงการเมกะโปรเจค ได้แก่ รถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีม่วง สีน้ำเงิน และสีแดง ออกจากโครงการโมเดิร์นไนเซชั่น เพื่อมาดำเนินการก่อน โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปตามลำดับความสำคัญ แต่คำถามคือ “โครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายมีลำดับความสำคัญสูงสุดจริงหรือไม่”

ในช่วงรัฐบาลทักษิณ 1 คณะทำงานนโยบายเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง ที่มีนายโอฬาร ไชยประวัติ เป็นประธาน ได้เห็นชอบหลักการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเมกะโปรเจค โดยมีหลักการ 4 ประการคือ โครงการที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยดูจาก Internal Rate of Return (IRR) โครงการที่ให้ผลตอบแทนเร็ว โครงการที่มีการนำเข้าปัจจัยการผลิตต่ำ และโครงการที่มีการสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ

ต่อมาสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ทำการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการเมกะโปรเจค ตามหลักการ 4 ประการข้างต้น ผลการศึกษาพบว่า โครงการโทรคมนาคมมีลำดับความสำคัญสูงสุด โครงการด้านการศึกษาและสาธารณสุข โครงการที่อยู่อาศัย โครงการคมนาคมทางอากาศ โครงการเกษตรกรรมและชลประทาน โครงการพลังงาน มีความสำคัญรองลงมาตามลำดับ และโครงการคมนาคมทางบก (รวมทั้งรถไฟฟ้า) มีลำดับความสำคัญต่ำ

แต่รัฐบาลไม่ได้จัดลำดับความสำคัญตามที่ได้ศึกษาไว้ โดยให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟฟ้ามากกว่าโครงการด้านน้ำ ทั้งที่โครงการด้านน้ำมีลำดับความสำคัญสูงกว่า สังเกตได้จากโครงการด้านน้ำถูกลดเป้าหมายลงเรื่อย ๆ เพราะจากการศึกษาของหน่วยราชการพบว่า หากดำเนินโครงการน้ำทั้งระบบต้องใช้งบ 1 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลเปิดตัวโครงการเมื่อ 23 กรกฎาคม 2546 ประกาศจะใช้เงินลงทุน 4 แสนล้านบาท แต่ต่อมาลดลงเหลือเพียง 2 แสนล้านบาท ขณะที่โครงการรถไฟฟ้ากลับได้รับความสำคัญมากขึ้น จากเดิมที่รัฐบาลประกาศสร้างรถไฟฟ้า 7 สาย แต่ต่อมากลับเพิ่มขึ้นอีก 3 สาย เป็น 10 สาย ทั้ง ๆ ที่อีก 3 สายที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีผลการศึกษา

Professor Kriengsak Chareonwongsak
คำถามคือ “รัฐบาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการจัดลำดับความสำคัญ” ในเมื่อไม่ใช่หลักการในเชิงวิชาการที่ได้มีการศึกษาไว้แล้ว คำถามต่อมา คือ “เหตุใดรัฐบาลจึงเลือกทำรถไฟฟ้า 3 สายดังกล่าวก่อน” แต่ไม่เลือกอีก 7 สายที่เหลือ

คำตอบหนึ่งของคำถามนี้ น่าจะเป็นประเด็นความพร้อมในการลงทุน เพราะรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ได้มีการศึกษาและออกแบบไปมากกว่าหลาย ๆ สาย แต่มีข้อที่น่าสังเกตว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เลือก ทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน และเขียวเข้มก่อน ทั้ง ๆ ที่มีความพร้อมและมีความสำคัญสูง

หากเปรียบเทียบลำดับความสำคัญของโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ โดยใช้หลักการ 4 ประการข้างต้น เราจะพบว่า หลักการด้านระยะเวลาให้ผลตอบแทน การนำเข้าปัจจัยการผลิต และการสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ไม่น่าจะแตกต่างกัน ดังนั้นลำดับความสำคัญของโครงการรถไฟฟ้าจึงสามารถพิจารณาได้จากหลักการเดียวเท่านั้น คือ อัตราผลตอบแทนของการลงทุน โดยดูจากดัชนี IRR

ผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรพบว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนและเขียวเข้ม (ส่วนต่อขยาย BTS) เป็นโครงการที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าสายอื่น (ตารางที่ 2) แต่รัฐบาลกลับไม่สนับสนุนการลงทุนในรถไฟฟ้า 2 สายนี้ก่อน และดูเหมือนมีทีท่าพยายามกีดกันไม่ให้ กทม.ทำส่วนต่อขยาย BTS ด้วย

ข้อสรุปของพฤติกรรมดังกล่าวของรัฐบาลที่น่าจะเป็น คือ เป็นเหตุผลทางการเมือง เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ หลักการในการจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาลนี้ จึงเป็นไปเพื่อคะแนนนิยมทางการเมืองเป็นสำคัญ มิใช่เพื่อผลประโยชน์โดยส่วนรวมของประเทศชาติ

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

Tuesday, September 27, 2011

Professor Kriengsak chareonwongsak CSR

CSR สำคัญอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน


* ที่มาของภาพ - http://www.regjeringen.no/upload/UD/Temabilder/CSR%20LightbulbMedium.jpg
ผู้บริหารธุรกิจจำนวนมากยังมองไม่เห็นประโยชน์ของ CSR โดยมองงาน CSR จากกรอบความคิดเรื่องต้นทุน-ผลประโยชน์ระยะสั้น นั่นคือ สนใจเพียงแค่ว่า CSR จะทำให้บริษัทได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างไรในแง่ของการเพิ่มผลกำไรหรือยอดขาย ผู้บริหารอีกจำนวนหนึ่งยังต่อต้านการงาน CSR เพราะเห็นว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นได้
แต่อันที่จริงแล้ว CSR สามารถสร้างคุณประโยชน์ในหลายด้านให้เกิดแก่ธุรกิจได้ โดยประโยชน์ประการแรกคือ การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการประกอบการของบริษัทมีความเชื่อมโยงกัน โดยพบว่าการที่บริษัทสามารถจัดการความสัมพันธ์ และความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นองค์รวมได้จะส่งผลต่อยอด ขายมากถึง 4 เท่าและมีการเจริญเติบโตของการจ้างงานถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่าง เดียว เนื่องจากการทำ CSR ช่วยสร้างภาพลักษณ์ในด้านที่ดีต่อสังคม จึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของบริษัทเมื่อถึงคราววิกฤติเกิดกับบริษัท บริษัทที่มีบทบาทแสดงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสจะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้ามากกว่าบริษัทที่ไม่ทำอะไรเพื่อสังคม เลย
นอกจากนี้แล้ว CSR ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุนและช่วยบริษัทในการเข้าถึงแหล่งทุน ยกตัวอย่างตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ที่ได้ผลักดันให้มีตลาดหุ้นที่ซื้อขายสำหรับบริษัทที่ดำเนินการด้าน CSR โดยเฉพาะ รวมถึงการสร้างมาตรฐานและนวัตกรรมในการลงทุนที่โยงกับแนวคิดความรับผิดชอบ ต่อสังคม (Socially Responsible Investment ndash; SRI) ทำให้นักลงทุนทั่วไปตื่นตัวและเห็นประโยชน์ของการลงทุนในบริษัทที่รับผิดชอบ ต่อสังคม ทั้งประโยชน์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นและประโยชน์ทางการเงิน เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ตัวอย่างกรณี Dow Jones Group Sustainability Index (DJGSI) ซึ่งเป็นการรวมดัชนีการลงทุนของบริษัทที่มีมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา พบว่ากลุ่มบริษัทใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่าบริษัทอื่น ๆ ถึง 36.1% ซึ่งหากมองแค่กลุ่มบริษัทด้านพลังงานที่อยู่ในกลุ่มดัชนี DJGSI เปรียบเทียบกับกลุ่มพลังงานที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ กลุ่มที่อยู่ใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่า 45.3% ดังนั้น SRI จึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นที่สนใจในหมู่นักลงทุน ปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนที่มีการลงทุนในธุรกิจที่มี CSR ที่เรียกว่า SRI มีมูลค่าเกินกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

ประการต่อมาCSR ช่วยสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตัวอย่าง บริษัทที่สามารถใช้ CSR ในการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ เช่น ฮิวเลตต์แพคการ์ด ที่เคยให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในชุมชนห่างไกลในอินเดียที่ไม่มีไฟฟ้า ใช้ ได้คิดค้นเครื่องพรินเตอร์ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องไฟฟ้า ในที่สุดนวัตกรรมนี้ถูกนำมาใช้เป็นสินค้าตัวหนึ่งของบริษัท หรืออีกตัวอย่างของ Toyota ที่เริ่มผลิตรถ Hybrid ที่ใช้ได้ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้า โดยที่การขับเคลื่อนรถ Hybrid นี้ ปล่อยมลพิษเพียง 10% เมื่อเทียบกับรถปกติ และใช้น้ำมันเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ทำให้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลายเป็นสินค้าตัวใหม่ของบริษัท

ประการสุดท้าย CSR ช่วยสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน กล่าว คือ ขณะที่คนมองว่า CSR เพิ่มภาระต้นทุนของธุรกิจแต่ในระยะยาว แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฎว่า การจัดกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับแนวคิด CSR จะส่งผลช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น มีโครงการลดการใช้ไฟฟ้าโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของบริษัทเมื่อปี 2547 ทำการเปลี่ยนหลอดไฟ 30 สาขาเป็นหลอดประหยัดพลังงานใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์ และบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เพียง 8 เดือน มีการเก็บตัวเลขพบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 90 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าการดำเนินงาน CSR ได้ช่วยให้บริษัทลดของเสียในการกระบวนการผลิตได้อย่างมาก
เราคงจะเห็นแล้วว่า CSR มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ถ้าหากธุรกิจที่ประกอบการอยู่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และให้ความสำคัญในการ ดำเนินนโยบายด้าน CSR สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น

professor kriengsak chareonwongsak talk

Professor Dr Kriengsak Chareonwongsak

Social security for small businesses - losses and gains

Professor Dr Kriengsak Chareonwongsak
Executive Director, Institute of Future Studies for Development (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, http://www.ifd.or.th

This article analyzes the arguments for and against changes to the 2001 Social Security policy. Previously, Social Security applied only in work places with more than nine employees; however, it now applies wherever there is just one employee in the workplace.

Last many year (2001), the Thai cabinet agreed to expand the scope of social security to cover workplaces with one to nine employees; a decision promulgated on April 1, 2001. The legislation, however, does not cover employees of the Thai Red Cross Society, state enterprizes, the agriculture sector, and housewives.
This decision was more than likely propelled by two aims - to extend the social security net throughout the country according to the current constitution, and to earn increased income from the contributions of employers and employees.
Professor Kriengsak Chareonwongsak
Employers need to contribute to the scheme as they have a strong influence on the risks, both directly and indirectly, to which the employees are exposed. Direct risk, for instance, involves harm at the workplace itself. In such cases, only the employer pays a contribution to the social security fund once a year, on average, 0.2-1% of the employee’s wage.
Indirect risk is risk not related directly to the work place, and includes sickness, maternity leave, death, child allowances and aged pensions. In such cases, the employers are responsible for a proportion of the contributions to the social security fund to relieve the burden on employees - this is considered a form of welfare on the part of the employers. Employers and employees pay contributions at the rate of approximately 3% of wages. In addition, the government pays a part, normally an equal amount.
This fund covers workplaces, which have between one and nine employees, or 68.9% of the total number of workplaces in the country. The three biggest sectors are retailers and wholesalers, restaurants, and hotels, which account for 33.3% of the country’s total workplaces; followed by the manufacturing sector, at 17.0%, and finally public, social and individual services, with 11.1% of the country’s total workplaces.

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

สามลักษณะเด่น งบประมาณปี 2549

งบประมาณปี 2549 กับสามลักษณะเด่น

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  รองประธานกรรมาธิการ การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหาร และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์  กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 กำหนดวงเงิน 1.36 ล้านล้านบาท และเป็นนโยบายงบประมาณ แบบสมดุลต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2548

แต่กระนั้นการจัดสรรงบประมาณปี 49 เป็นงบเสี่ยง ซึ่งอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนี้

1.งบนักฝัน เนื่องจากการที่รัฐบาลมีความเสี่ยงจะจัดเก็บรายได้ไม่ถึงเป้าตามที่ฝัน ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2548 จะขยายตัวไม่ถึง 4.5-5.5% ตามในเอกสารงบประมาณโดยสังเขป แต่จากการวิเคราะห์พบว่า เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวเพียง 4% เนื่องจากสมมติฐานในการจัดทำงบประมาณปี 2549 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

Professor Kriengsak Chareonwongsak
สมมติฐานแรก ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยตลอดปี 2548 อยู่ที่ 44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งไม่ตรงกับความจริง เพราะราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ย 5 เดือนแรกอยู่ที่ 43.2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 50-55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว ในขณะที่ครึ่งปีหลังความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันในช่วงปลายปีจะสูงสุดในรอบปี ราคาน้ำมันดูไบเฉลี่ยทั้งปีจึงน่าจะสูงกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สมมติฐานที่สอง การส่งออกขยายตัว 18% เป็นไปได้ยาก เพราะ 4 เดือนแรกของปี 2548 มูลค่าการส่งออกเบื้องต้นขยายตัวเพียง 10.9% หากจะผลักดันการส่งออกตลอดปีนี้ให้ขยายตัว 18% การส่งออกในอีก 8 เดือนที่เหลือจะต้องเพิ่มขึ้นถึง 27.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สมมติฐานที่สาม นักท่องเที่ยวปี 2548 จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.57 ล้านคน นับว่าเป็นไปได้ยาก เพราะนักท่องเที่ยวเข้าไทยใน 2 ไตรมาสแรก คาดว่ามีเพียง 5.29 ล้านคน

สองไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 จะต้องมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นถึง 18.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวในครึ่งหลังของปี 2547 และ 2546 ที่ขยายตัวเพียง 7.5% และ 4.2% ตามลำดับ

สมมติฐานสุดท้าย การเร่งเบิกจ่ายงบเพิ่มเติมปี 2548 และงบปี 2546-2547 ที่ยังค้างอยู่ไม่น้อยกว่า 80% เป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะงบส่วนใหญ่เป็นงบลงทุน และการเบิกจ่ายงบลงทุนในปีงบประมาณ 2548 ณ ปัจจุบัน มีการเบิกจ่ายเพียง 48.9% เท่านั้น ทั้งๆ ที่ผ่านมาแล้วเก้าเดือน

ประการที่สอง สัดส่วนรายรับรัฐบาลต่อ GDP จะลดลงจาก 17.3% เหลือเพียง 17% เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของปี 2549 จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปี 2548 โดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บจากธุรกิจและประชาชนในปี 2549 จะคิดจากผลกำไรของธุรกิจและรายได้ของประชาชนในปี 2548

ดังนั้นหากเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 4% และปีหน้าขยายตัว 6% สัดส่วนการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 2549 อยู่ที่ 17% ต่อจีดีพี การจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าเป้าหมาย 1.36 ล้านล้านบาท ถึง 9.29 หมื่นล้านบาท ซึ่งหมายความว่าประชาชนจะต้องแบกรับภาระการเรียกเก็บภาษีมากขึ้น

2.งบนักซ่อน การจัดทำงบประมาณปี 2549 ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่รัฐบาลมีความต้องการใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และต้องการจัดงบประมาณแบบสมดุล นำพาความเสี่ยงในการก่อหนี้สาธารณะ และภาระผูกพันมากขึ้น เพราะรัฐบาลพัฒนาวิธีการซ่อนหนี้ และภาระผูกพันมากขึ้น

การให้ธนาคารรัฐปล่อยกู้ตามนโยบายรัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อโยกหนี้รัฐวิสาหกิจออกจากบัญชีหนี้สาธารณะ การจัดตั้ง SPV เพื่อกู้เงินจากเอกชน โดยไม่ปรากฏเป็นหนี้สาธารณะ รวมทั้งการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ไม่คุ้มค่า ทำให้รัฐต้องอุดหนุนในระยะยาว ซึ่งการระดมทุนด้วยวิธีการเหล่านี้จะเป็นภาระต่องบประมาณในอนาคตรวมกันอย่างน้อย 546,944 ล้านบาท และอาจกลายเป็นหนี้สาธารณะจำนวนมากในอนาคต หากเศรษฐกิจถดถอย

3.งบ Turn Key ในเอกสารงบประมาณระบุถึง งบประมาณของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ 9.46 หมื่นล้านบาท โดยหลายโครงการจะเริ่มต้นก่อสร้างในปีงบประมาณ 2549

การที่รัฐบาลต้องการเร่งผลักดังโครงการโดยที่ยังไม่มีแผนระดมทุนชัดเจน โดยที่ยังไม่มีการศึกษาและออกแบบโครงการ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะนำการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการเหมาแบบเบ็ดเสร็จ หรือ Turn Key มาใช้ เพราะวิธีนี้มีข้อดี คือ การก่อสร้างได้เร็ว เพราะใช้วิธีออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง และผู้รับเหมาจะเป็นผู้รับผิดชอบในการระดมทุนเอง

แต่ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ การออกแบบไปพร้อมๆ กับการก่อสร้าง จะทำให้การควบคุมและตรวจสอบงานทำได้ยาก และจะมีผู้รับเหมาน้อยรายที่จะมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดให้มีสิทธิเข้าแข่งขันในการประกวดราคา และอาจเกิดการรวบรัดขั้นตอนดำเนินงาน
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

การเปิด FTA กับนิวซีแลนด์ ไทยได้อะไร

ไทยได้อะไรจากการเปิด FTA กับนิวซีแลนด์


ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 09 มิถุนายน พ.ศ. 2548

นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศคู่เจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ของไทย ซึ่งเมื่อวันที่ 19 เม.ย.2548 นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนางเฮเลน คลาร์ก นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-นิวซีแลนด์ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ค.นี้

โดยข้อตกลงครอบคลุม 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.เปิดเสรีการค้าด้านสินค้า 2.เปิดเสรีการค้าบริการและลงทุน และ 3.ความร่วมมือด้านการค้า

การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ทำให้ได้รับประโยชน์ด้านการลดภาษีนำเข้า ยังช่วยให้เกิดแรงผลักดันในการยกมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสินค้าส่งออกของไทยไปสู่นิวซีแลนด์มากขึ้น และไทยยังอาจได้รับประโยชน์จากความร่วมมือพัฒนาด้านปศุสัตว์ ซึ่งเป็นสาขาที่นิวซีแลนด์มีศักยภาพทางการผลิต ทั้งยังเป็นโอกาสร่วมลงทุนเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่ 3

แต่ผลกระทบตรงข้าม ทำให้ไทยต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตรบางรายการ ซึ่งนิวซีแลนด์มีศักยภาพในการผลิตสูง และเป็นรายการที่อ่อนไหวของไทย โดยเฉพาะเนื้อวัว นม และผลิตภัณฑ์นม ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคและโคนมต้องเผชิญการแข่งขันกับคู่แข่งที่มีศักยภาพสูง ซึ่งในอนาคตไทยต้องแข่งขันกับออสเตรเลีย

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์โดยเปรียบเทียบ ไทยอาจจะได้รับไม่มากนัก และน้อยกว่าประโยชน์ที่นิวซีแลนด์จะได้รับจากไทย ดังนี้

ขนาดการค้าและลงทุนระหว่างไทยและนิวซีแลนด์มีมูลค่าไม่มาก ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ พบว่า มูลค่าการค้าไทยกับนิวซีแลนด์ในปี 2547 มีระดับต่ำมาก โดยส่งออกจากไทยไปนิวซีแลนด์มีมูลค่า 0.34% ของส่งออกรวมของไทย และนำเข้าจากนิวซีแลนด์มีมูลค่า 0.25% ของนำเข้ารวม ในขณะที่ส่งออกจากนิวซีแลนด์มายังไทยมีมูลค่า 1.26% ของส่งออกรวม และนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 1.59% ของนำเข้ารวม

ในการลงทุนระหว่างประเทศ ตามข้อมูลของบีโอไอ นิวซีแลนด์ลงทุนในไทยเป็นลำดับที่ 43 ตั้งแต่ 2538-2546 มีมูลค่า 25.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 0.03% ของมูลค่าลงทุนจากต่างประเทศในไทย โดยเป็นการลงทุนในไทยมากที่สุดปี 2542 มูลค่า 8.3 ล้านเหรียญ ซึ่งลงทุนในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และธุรกิจเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ

ไทยมีประชากร 65 ล้านคน มากกว่านิวซีแลนด์ที่มีประชากร 4 ล้านคน เมื่อพิจารณาในแง่ของประชากร การเปิดเสรีการค้ากับประเทศที่มีประชากรน้อยกว่า เช่น นิวซีแลนด์ จะทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดส่งออกน้อยกว่า ส่วนนิวซีแลนด์จะได้รับประโยชน์จากไทย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่กว่า

ไทยต้องลดอัตราภาษีโดยเฉลี่ยมากกว่าที่นิวซีแลนด์ลดภาษีให้ ข้อมูลในปี 2542 ก่อนเจรจาเขตการค้าเสรีไทยกับนิวซีแลนด์ ระบุว่า ไทยเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากนิวซีแลนด์เฉลี่ย 8.88% โดยสินค้าที่จัดเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง ได้แก่ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ พืชไร่ ผัก ผลไม้และเมล็ดถั่ว ผลิตภัณฑ์อาหาร และสิ่งทอ ขณะที่นิวซีแลนด์เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยเฉลี่ย 3.22% โดยภาคการผลิตที่จัดเก็บภาษีในอัตราสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากหนัง เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์โลหะ และผลิตภัณฑ์จากไม้

แม้ว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรีมีผลบังคับใช้แล้ว อัตราภาษีนำเข้าสินค้าจะเป็น 0% ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกไทยได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าบางรายการ เช่น ผลิตภัณฑ์จากหนัง เครื่องแต่งกาย แต่ผลประโยชน์ที่จะได้รับโดยรวมไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ส่งออกของนิวซีแลนด์จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากไทย เพราะนิวซีแลนด์เป็นตลาดขนาดเล็ก

ประเทศไทยต้องลดภาษีในสัดส่วนที่มากกว่านิวซีแลนด์ โดยเฉพาะในสินค้าธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม อาหาร และอุปกรณ์โทรคมนาคม

ไทยมีอัตรากีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเฉลี่ยมากกว่านิวซีแลนด์ ในปี 2537 เฉลี่ย 37.13% โดยภาคการผลิตที่มีอัตรากีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีในระดับสูง ได้แก่ ธัญพืช ผัก ผลไม้และเมล็ดถั่ว พืชไร่อื่น ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์จากไม้

ขณะที่นิวซีแลนด์มีอัตรากีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีกับสินค้านำเข้าจากไทยเฉลี่ย 1.72% โดยภาคการผลิตที่มีอัตรากีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีในระดับสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากหนัง ผลิตภัณฑ์จากแร่ธาตุ และเครื่องจักรอุปกรณ์

และทำให้เกิดการปรับลดอัตรากีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีระหว่างกันด้วย ส่งผลให้ภาคการผลิตของไทยที่ได้รับผลประโยชน์จากส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์จากหนัง ส่วนภาคการผลิตของไทยที่ได้รับผลกระทบด้านลบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ผักผลไม้และเมล็ดถั่ว ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ น้ำมันและไขมันจากพืช และผลิตภัณฑ์จากไม้

Professor Kriengsak Chareonwongsak
ข้อเสนอแนะ ไทยจึงไม่ควรเปิดเสรีอย่างสมบูรณ์ในสินค้าทุกชนิดทันที ควรเลือกเปิดเสรีในสินค้าบางชนิดก่อน และควรกำหนดเงื่อนไขการเปิดเสรี โดยเฉพาะเงื่อนไขระยะเวลาลดอัตราภาษี เพื่อการเตรียมพร้อมของผู้ผลิตในประเทศ และลดความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้ผลิตทั้งสองประเทศ

การจัดทำเขตการค้าเสรีที่มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องการค้าและลงทุน อาจทำให้ไทยไม่ได้ประโยชน์สูงสุด รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านอื่นด้วย ซึ่งประเด็นที่ไทยควรร่วมมือกับนิวซีแลนด์ และจะเป็นประโยชน์มาก คือ ความร่วมมือในด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้น โดยมีพระราชบัญญัติการจัดการทรัพยากร เริ่มบังคับใช้ในปี 2534 ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกที่จัดการปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การที่ไทยสร้างความร่วมมือกับนิวซีแลนด์ในธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม จะเป็นผลดีต่อไทยที่สามารถอาศัยความรู้ วิทยาการจัดการสิ่งแวดล้อมของนิวซีแลนด์ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทยได้มีประสิทธิภาพ
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

แบงก์ชาติ หรือ รัฐบาล? ใครควรกำกับสถาบันการเงิน

ใครควรกำกับสถาบันการเงิน แบงก์ชาติ หรือ รัฐบาล?

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 03 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

ประเด็นคำถามเรื่อง "อิสรภาพของแบงก์ชาติ" เป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจมาโดยตลอด และยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่า ธนาคารกลาง ควรมีอิสระในระดับใด เพราะแต่ละฝ่ายต่างมีจุดยืน และเหตุผลของตนเอง เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวดังออกมาอีกว่า รัฐบาลจะมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ว่าการแบงก์ชาติ คือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และเตรียมที่จะลดบทบาทของแบงก์ชาติลงด้วย

ที่ผ่านมา แบงก์ชาติทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงิน ดูแลนโยบายการเงิน และดูแลในเรื่องของหนี้เสียทั้งระบบ ในความเห็นของผมคิดว่า ควรให้แบงก์ชาติมีอิสระในการทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้ต่อไป เนื่องจากการปล่อยให้มีการแทรกแซงทางการเมือง จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เช่น

ผลเสียต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หากธนาคารกลางอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ทำให้จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงการคลัง

Professor Kriengsak Chareonwongsak
แต่การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลส่วนใหญ่ มักจะคิดถึงเพียงการทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในระยะสั้น เพื่อสร้างคะแนนนิยมแก่ตนเองให้ได้เป็นรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง 

ในขณะที่ธนาคารกลางที่เป็นอิสระ จะมุ่งรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ เช่น ที่ผ่านมา รัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาศัยภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวนำ มาตรการที่รัฐนำมาใช้ คือ การลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้ผลอย่างมาก เพราะทำให้การซื้อขายที่ดินทั่วประเทศสูงขึ้น แต่รัฐบาลจำเป็นต้องเลิกมาตรการดังกล่าวไป เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาเตือนในเรื่องภาวะฟองสบู่ ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว และหากการดำเนินนโยบายการเงินการคลังขาดความโปร่งใส ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย

ยกตัวอย่าง การดำเนินการที่มีอิสระของธนาคารกลางของสหรัฐหรือเฟด ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐ นักลงทุนต่างชาติล้วนเชื่อมั่นในการทำงานของเฟด ขณะที่นโยบายการเงินของประเทศในแถบละตินอเมริกา ปราศจากความน่าเชื่อถือ เพราะธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้ขาดความเป็นอิสระจากรัฐอย่างแท้จริง

ด้วยเหตุนี้ หากการทำหน้าที่ของแบงก์ชาติถูกแทรกแซงจากรัฐบาล ย่อมอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปล่อยกู้ ตามนโยบายของรัฐบาล หรือปล่อยให้เกิดการแทรกแซงของนักการเมืองในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง

ความเป็นอิสระเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง การให้อิสระแก่แบงก์ชาติ จึงน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการแทรกแซงได้โดยรัฐ

ดังนั้น ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจควรพิจารณาให้รอบคอบ ก่อนที่จะลดอำนาจแบงก์ชาติ และเพิ่มอำนาจแก่รัฐ
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

จริงหรือ? เศรษฐกิจพิเศษ ดี?

เขตเศรษฐกิจพิเศษดีจริงหรือ?

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ   วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548

คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา และคาดว่าจะนำมาใช้ได้ในรัฐบาลสมัยหน้า มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้มีการจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น ซึ่งจะต้องยกเลิก พ.ร.บ.การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทั้งฉบับ นิคมต่างๆ ในปัจจุบันจะเปลี่ยนสถานะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

โดยคาดว่า จะดำเนินการในบริเวณเกาะช้าง เกาะพีพี ภูเก็ต พังงา เมืองใหม่นครนายก เชียงราย แม่สอด ตาก โดยแต่ละพื้นที่จะมีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเฉพาะในพื้นที่ เพราะมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ต่างกัน เช่น ด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การบริการ และการท่องเที่ยว แต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษจะมีผู้ว่าการมืออาชีพที่เข้ามาทำงานโดยสัญญาจ้างที่มีวาระ 4 ปี และมีสำนักงานกลางบริหารพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นองค์กรมหาชนเป็นผู้ดูแล ซึ่งจะให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร หรือ one stop service

Professor Kriengsak Chareonwongsak
เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เฉพาะสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และความต้องการของประชาชน และเพื่อให้การพัฒนาระบบบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น ซึ่งโดยหลักการอาจจะดี แต่โดยวิธีการแล้วไม่อาจทำให้การบริหารบ้านเมืองมีประสิทธิภาพดีขึ้น

เนื่องจาก การผ่อนผันกฎหมายบางอย่างอาจสร้างปัญหาต่อบ้านเมืองส่วนรวม

พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะออกมานี้ อาจจะสร้างปัญหาต่อบ้านเมืองได้ เพราะมีการผ่อนผันยกเว้นการใช้กฎหมายหลายประการ เช่น การจ้างแรงงานต่างด้าวเกินกำหนดได้ ซึ่งทำให้ท้องถิ่นต้องรับภาระเพิ่มขึ้นในการจัดการแรงงานต่างด้าวที่อาจจะสร้างปัญหา

นอกจากนี้ ใน พ.ร.บ.ยังอนุญาตให้ต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ และสามารถเช่าที่ดินยาวนานถึง 99 ปี ทั้งๆ ที่ยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ไม่มีที่ดินทำกินแต่รัฐกลับอนุญาตให้ต่างชาติที่ครอบครองและมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ก่อน รวมถึงเรื่องการส่งเงินออกนอกประเทศของบริษัทข้ามชาติที่ยังไม่ข้อกำหนดหรือการควบคุมแต่อย่างใด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท และเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้ หากบริษัทเหล่านี้นำเงินออกนอกประเทศจำนวนมากในเวลาอันสั้น เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540

การบริหารงานรวมศูนย์อำนาจ ท้องถิ่นขาดการมีส่วนร่วมตัดสินใจ ตาม พ.ร.บ.จะกำหนดให้เขตเศรษฐกิจพิเศษมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งบริหารโดยผู้ว่าการมืออาชีพที่เข้ามาทำงานโดยสัญญาจ้างที่มีวาระ 4 ปี โดยอำนาจการตัดสินใจจะเป็นของผู้บริหารคนนี้ ซึ่งประชาชนไม่มีโอกาสได้มีส่วนในการตัดสินใจ ทั้งๆ ที่เป็นสิทธิของประชาชน เนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้

การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นสิ่งที่กระตุ้นการค้าและการลงทุน ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ถ้าจะทำต้องทำด้วยความรอบคอบ การเร่งรีบเกินไปอาจเป็นการสร้างปัญหามากกว่า และทำให้ประชาชนเดือดร้อนโดยไม่จำเป็น
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

ภาคธุรกิจของไทยในปี 2548

ความท้าทายทางธุรกิจในปี 2548

ศจ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์   กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2547

ตั้งแต่ปลายปี 2546 เศรษฐกิจโดยรวมของไทยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GPD) ที่สูงถึงร้อยละ 7.8 อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทย การขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการขยายตัวกว้างขวาง

ถึงกระนั้นผลพวงจากการเติบโต ทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายประการ ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2547 จนถึงปี 2548 ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 82,485 บาท/ครัวเรือน ในปี 2545 เป็น 110,133 บาท/ครัวเรือน ในไตรมาสแรกของปี 2547 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อของประชาชนที่จะลดลงในอนาคต

ความเสี่ยงในการเกิดภาวะอุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการเติบโตอย่างร้อนแรงของการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2546 จนถึงต้นปี 2547 จะทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างปริมาณอสังหาริมทรัพย์ที่เสนอขายในตลาด กับการขยายตัวของกำลังซื้อภาคประชาชนในขณะนี้ ส่งผลให้เกิดอุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำลง

ความวิตกเกี่ยวกับปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ Non-Performing Loans (NPLs) ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกรุงไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 7.78 ในไตรมาสแรกของปี 2547 มาเป็นร้อยละ 12.29 ในไตรมาส 2

ปรากฏการณ์ทั้ง 3 ประการ เมื่อประกอบกับปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในปี 2548 สะท้อนให้เห็นว่าปี 2548 จะเป็นปีที่เต็มด้วยความท้าทายต่อภาคธุรกิจไทยอย่างมาก โดยปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีดังต่อไปนี้

สถานการณ์ด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอาจลดกำลังการผลิตลงในปี 2548

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลจากระดับราคาน้ำมันที่กดดันให้สินค้าภายในประเทศมีราคาสูงขึ้น และทิศทางอัตราเงินเฟ้อโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลทำให้ประชาชนอาจต้องแบกรับภาระด้านค่าใช้จ่ายในปี 2548 มากขึ้น
Professor Kriengsak Chareonwongsak

อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง เป็นผลจากการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ และภาวะการซบเซาลงของตลาดทุนในประเทศไทย ส่งผลทำให้สินค้าทุนที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น

อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากแรงกดดันของอัตราแลกเปลี่ยนที่เริ่มอ่อนค่าลง รวมทั้งระดับเงินเฟ้อและหนี้สินภาคครัวเรือนที่กำลังสูงขึ้น ส่งผลให้ในปี 2548 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

จากปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยอาจไม่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 8 ดังที่ตั้งเป้าไว้ในช่วงต้นปี และมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปลายปีนี้ อาจเติบโตได้ร้อยละ 6.8-7.8 เท่านั้น ส่วนปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 6-7.5 ซึ่งลดลงจากปี 2547 นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น

ภาคธุรกิจของไทยในปี 2548 อาจต้องประสบกับความท้าทายอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่

การแข่งขันของอุตสาหกรรมต่างๆ จะรุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีการผลิตสินค้าออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่อำนาจซื้อลดลงและภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น อีกทั้งการที่ประเทศไทยเปิดเสรีการค้ามากขึ้น ทำให้ในปี 2548 ผู้ผลิตอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นได้

ต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำมัน การขนส่งและวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศจะได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป จากทั้งปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจและความท้าทายที่มีต่อภาคธุรกิจในปี 2548 ทำให้ปีที่จะมาถึงนี้ อาจไม่ใช่ปีที่สดใสมากนัก แต่ถึงกระนั้นเศรษฐกิจไทยโดยรวมอาจจะไม่ซบเซาจนเกินไป เพราะพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ปี 2548 จึงอาจเป็นปีที่เต็มด้วยการแข่งขันและความท้าทายต่อนักธุรกิจและผู้กำหนดนโยบาย ที่จะต้องนำพาองค์กรและประเทศให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้

++++++++

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะทำงานการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ kriengsak@kriengsak.com

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

ปรับ "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ต้องคิดให้ลึกรอบด้าน

ปรับ "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ต้องคิดให้ลึกรอบด้าน

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 1 พฤษภาคม 2547

ค่าจ้างขั้นต่ำถือว่าเป็นรายได้ในระดับมาตรฐานของการดำรงชีพขั้นต่ำที่สุด (minimum standard of living) ที่มนุษย์คนหนึ่งพึงได้รับ หากได้รับค่าจ้างในระดับที่ต่ำไปกว่านี้ แรงงานผู้นั้นจะไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้

การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำแท้ที่จริงจึงมีวัตถุประสงค์ด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ แรงงานถือเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้มีอัตราเพิ่มขึ้นโดยอีกนัยหนึ่งจึงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อของประชาชน และยังเป็นวิธีการในการกระจายรายได้ให้กับคนยากจน รวมทั้งอาจทำให้ความเหลื่อมล้ำของรายได้ลดลง

หากพิจารณาด้วยแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรทำความเข้าใจ ดังนี้

ข้อดีของการมีค่าจ้างขั้นต่ำ ในกรณีที่การบังคับใช้ค่าจ้างขั้นต่ำมีประสิทธิภาพ จะทำให้แรงงานในระบบได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น เนื่องจากค่าจ้างไม่ขึ้นลงตามกลไกตลาด นอกจากนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำยังอาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างค่าจ้างระหว่างแรงงานหญิงและชาย และทำให้ครัวเรือนของแรงงานไร้ฝีมือมีรายได้เพียงพอ ส่งผลทำให้ความยากจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ในทางกลับกันข้อเสียของการมีค่าจ้างขั้นต่ำ อาจทำให้นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างตามความจำเป็นของลูกจ้างหรือตามผลิตภาพ(ฝีมือ)ของลูกจ้างแต่ละคน แต่ให้ค่าจ้างเป็นอัตราเดียวกันทั้งหมด คือตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ลูกจ้างที่มีฝีมือดีกับลูกจ้างที่มีฝีมือต่ำกว่าได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน ส่งผลทำให้ไม่เกิดการจูงใจให้แรงงานพัฒนาตนเอง

การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังทำให้แรงงานไร้ฝีมือถูกผลักออกจากการจ้างงานในระบบจำนวนมากขึ้น และกลายเป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งยังทำให้ค่าจ้างนอกระบบต่ำลงด้วย เพราะแรงงานกลุ่มดังกล่าวที่ย้ายออกไปทำงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ จะทำให้อุปทานของแรงงานนอกระบบเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอาจจะทำให้นายจ้างรับภาระต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่ามูลค่าผลผลิตที่ได้จากแรงงาน ทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน นายจ้างจึงอาจเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงานหากคุ้มกว่าการจ่ายค่าจ้างแรงงาน ส่งผลให้ความต้องการจ้างแรงงานลดลง

ในกรณีที่มีการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำบ่อยครั้ง อาจจะทำให้ธุรกิจไม่สามารถวางแผนต้นทุนการผลิตล่วงหน้าได้ เพราะค่าจ้างอาจจะสูงขึ้นขณะที่ราคาสินค้าไม่สามารถขึ้นได้ทันที นอกจากนี้ยังมีผลทำให้สินค้าส่งออกมีราคาสูงขึ้น และไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำบ่อยๆ ยังอาจจะทำให้แรงงานที่เป็นคนชอบพักผ่อน (prefer to rest) ไม่มีแรงจูงใจจะพัฒนาตนเองเพื่อที่จะหารายได้มากขึ้น

สำหรับประเทศไทยนั้น เนื่องจากตลาดการจ้างงานมีแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก และในปัจจุบันตลาดแรงงานอยู่ในสภาพที่มีอุปทานแรงงานส่วนเกินอยู่แล้ว ดังนั้นหากมีการยกเลิกการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ น่าจะทำให้แรงงานไร้ฝีมือมีค่าจ้างลดต่ำลงทันที แต่แรงงานไร้ฝีมือจะมีงานทำมากขึ้น เนื่องจากค่าจ้างที่ลดต่ำลงจะจูงใจให้นายจ้างหันมาจ้างแรงงานไร้ฝีมือมากขึ้น

ทำให้เกิดการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ส่วนราคาสินค้าจะต่ำลงและส่งออกสินค้าราคาถูกได้มากขึ้น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือจะไม่ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เนื่องจากผู้ประกอบการไม่มีแรงจูงใจจะใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน ขณะที่ผู้ที่ทำอาชีพอิสระและแรงงานที่มีรายได้สูงจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

ประเด็นเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและส่งผลกระทบในหลายด้านดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ไม่สามารถพิจารณาแต่เพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งได้ การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำอาจหมายถึงความอยู่ดีกินดีของประชาชนบางส่วนและอาจหมายถึงการถูกปลดออกจากงานของประชาชนบางส่วนด้วยเหมือนกัน

การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในขณะที่ระดับฝีมือแรงงานไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น อาจกลายมาเป็นผลกระทบทางอ้อมต่อระดับราคาสินค้าที่อาจสูงขึ้นจากการมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น

ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นของจำนวนเงิน แต่กำลังซื้อมิได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังส่งผลกระทบทำให้กำลังซื้อของคนในประเทศลดลงด้วย ซึ่งทำให้สวัสดิการสังคมในภาพรวมอาจไม่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงและความสำคัญของค่าจ้างขั้นต่ำที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย การตัดสินใจเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำจึงต้องคิดให้ลึกและรอบด้านอย่างแท้จริง

  บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate) credit by www.kriengsak.com

Sunday, September 18, 2011

ประเทศ (GPD


ความท้าทายทางธุรกิจในปี 2548

ศจ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์   กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2547

ตั้งแต่ปลายปี 2546 เศรษฐกิจโดยรวมของไทยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GPD) ที่สูงถึงร้อยละ 7.8 อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทย การขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการขยายตัวกว้างขวาง

ถึงกระนั้นผลพวงจากการเติบโต ทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายประการ ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2547 จนถึงปี 2548 ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 82,485 บาท/ครัวเรือน ในปี 2545 เป็น 110,133 บาท/ครัวเรือน ในไตรมาสแรกของปี 2547 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อของประชาชนที่จะลดลงในอนาคต

ความเสี่ยงในการเกิดภาวะอุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการเติบโตอย่างร้อนแรงของการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2546 จนถึงต้นปี 2547 จะทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างปริมาณอสังหาริมทรัพย์ที่เสนอขายในตลาด กับการขยายตัวของกำลังซื้อภาคประชาชนในขณะนี้ ส่งผลให้เกิดอุปทานส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำลง

ความวิตกเกี่ยวกับปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ Non-Performing Loans (NPLs) ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกรุงไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 7.78 ในไตรมาสแรกของปี 2547 มาเป็นร้อยละ 12.29 ในไตรมาส 2
Professor Kriengsak Charoenwongsak

ปรากฏการณ์ทั้ง 3 ประการ เมื่อประกอบกับปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในปี 2548 สะท้อนให้เห็นว่าปี 2548 จะเป็นปีที่เต็มด้วยความท้าทายต่อภาคธุรกิจไทยอย่างมาก โดยปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีดังต่อไปนี้

สถานการณ์ด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอาจลดกำลังการผลิตลงในปี 2548

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลจากระดับราคาน้ำมันที่กดดันให้สินค้าภายในประเทศมีราคาสูงขึ้น และทิศทางอัตราเงินเฟ้อโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลทำให้ประชาชนอาจต้องแบกรับภาระด้านค่าใช้จ่ายในปี 2548 มากขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง เป็นผลจากการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ และภาวะการซบเซาลงของตลาดทุนในประเทศไทย ส่งผลทำให้สินค้าทุนที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น

อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากแรงกดดันของอัตราแลกเปลี่ยนที่เริ่มอ่อนค่าลง รวมทั้งระดับเงินเฟ้อและหนี้สินภาคครัวเรือนที่กำลังสูงขึ้น ส่งผลให้ในปี 2548 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

จากปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยอาจไม่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 8 ดังที่ตั้งเป้าไว้ในช่วงต้นปี และมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปลายปีนี้ อาจเติบโตได้ร้อยละ 6.8-7.8 เท่านั้น ส่วนปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 6-7.5 ซึ่งลดลงจากปี 2547 นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น

ภาคธุรกิจของไทยในปี 2548 อาจต้องประสบกับความท้าทายอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่

การแข่งขันของอุตสาหกรรมต่างๆ จะรุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีการผลิตสินค้าออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่อำนาจซื้อลดลงและภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น อีกทั้งการที่ประเทศไทยเปิดเสรีการค้ามากขึ้น ทำให้ในปี 2548 ผู้ผลิตอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นได้

ต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำมัน การขนส่งและวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศจะได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป จากทั้งปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจและความท้าทายที่มีต่อภาคธุรกิจในปี 2548 ทำให้ปีที่จะมาถึงนี้ อาจไม่ใช่ปีที่สดใสมากนัก แต่ถึงกระนั้นเศรษฐกิจไทยโดยรวมอาจจะไม่ซบเซาจนเกินไป เพราะพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ปี 2548 จึงอาจเป็นปีที่เต็มด้วยการแข่งขันและความท้าทายต่อนักธุรกิจและผู้กำหนดนโยบาย ที่จะต้องนำพาองค์กรและประเทศให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้

++++++++

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะทำงานการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ kriengsak@bangkokcity.com

บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

เรื่อง การปรับ "ค่าจ้างขั้นต่ำ"


ปรับ "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ต้องคิดให้ลึกรอบด้าน

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 1 พฤษภาคม 2547

ค่าจ้างขั้นต่ำถือว่าเป็นรายได้ในระดับมาตรฐานของการดำรงชีพขั้นต่ำที่สุด (minimum standard of living) ที่มนุษย์คนหนึ่งพึงได้รับ หากได้รับค่าจ้างในระดับที่ต่ำไปกว่านี้ แรงงานผู้นั้นจะไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้

การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำแท้ที่จริงจึงมีวัตถุประสงค์ด้านมนุษยธรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ แรงงานถือเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้มีอัตราเพิ่มขึ้นโดยอีกนัยหนึ่งจึงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อของประชาชน และยังเป็นวิธีการในการกระจายรายได้ให้กับคนยากจน รวมทั้งอาจทำให้ความเหลื่อมล้ำของรายได้ลดลง

หากพิจารณาด้วยแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรทำความเข้าใจ ดังนี้

ข้อดีของการมีค่าจ้างขั้นต่ำ ในกรณีที่การบังคับใช้ค่าจ้างขั้นต่ำมีประสิทธิภาพ จะทำให้แรงงานในระบบได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น เนื่องจากค่าจ้างไม่ขึ้นลงตามกลไกตลาด นอกจากนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำยังอาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างค่าจ้างระหว่างแรงงานหญิงและชาย และทำให้ครัวเรือนของแรงงานไร้ฝีมือมีรายได้เพียงพอ ส่งผลทำให้ความยากจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ในทางกลับกันข้อเสียของการมีค่าจ้างขั้นต่ำ อาจทำให้นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างตามความจำเป็นของลูกจ้างหรือตามผลิตภาพ(ฝีมือ)ของลูกจ้างแต่ละคน แต่ให้ค่าจ้างเป็นอัตราเดียวกันทั้งหมด คือตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ลูกจ้างที่มีฝีมือดีกับลูกจ้างที่มีฝีมือต่ำกว่าได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน ส่งผลทำให้ไม่เกิดการจูงใจให้แรงงานพัฒนาตนเอง

การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังทำให้แรงงานไร้ฝีมือถูกผลักออกจากการจ้างงานในระบบจำนวนมากขึ้น และกลายเป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งยังทำให้ค่าจ้างนอกระบบต่ำลงด้วย เพราะแรงงานกลุ่มดังกล่าวที่ย้ายออกไปทำงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ จะทำให้อุปทานของแรงงานนอกระบบเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอาจจะทำให้นายจ้างรับภาระต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่ามูลค่าผลผลิตที่ได้จากแรงงาน ทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน นายจ้างจึงอาจเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงานหากคุ้มกว่าการจ่ายค่าจ้างแรงงาน ส่งผลให้ความต้องการจ้างแรงงานลดลง

ในกรณีที่มีการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำบ่อยครั้ง อาจจะทำให้ธุรกิจไม่สามารถวางแผนต้นทุนการผลิตล่วงหน้าได้ เพราะค่าจ้างอาจจะสูงขึ้นขณะที่ราคาสินค้าไม่สามารถขึ้นได้ทันที นอกจากนี้ยังมีผลทำให้สินค้าส่งออกมีราคาสูงขึ้น และไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำบ่อยๆ ยังอาจจะทำให้แรงงานที่เป็นคนชอบพักผ่อน (prefer to rest) ไม่มีแรงจูงใจจะพัฒนาตนเองเพื่อที่จะหารายได้มากขึ้น

Professor Kriengsak Chareonwongsak ; Article
สำหรับประเทศไทยนั้น เนื่องจากตลาดการจ้างงานมีแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก และในปัจจุบันตลาดแรงงานอยู่ในสภาพที่มีอุปทานแรงงานส่วนเกินอยู่แล้ว ดังนั้นหากมีการยกเลิกการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ น่าจะทำให้แรงงานไร้ฝีมือมีค่าจ้างลดต่ำลงทันที แต่แรงงานไร้ฝีมือจะมีงานทำมากขึ้น เนื่องจากค่าจ้างที่ลดต่ำลงจะจูงใจให้นายจ้างหันมาจ้างแรงงานไร้ฝีมือมากขึ้น

ทำให้เกิดการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ส่วนราคาสินค้าจะต่ำลงและส่งออกสินค้าราคาถูกได้มากขึ้น แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือจะไม่ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เนื่องจากผู้ประกอบการไม่มีแรงจูงใจจะใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน ขณะที่ผู้ที่ทำอาชีพอิสระและแรงงานที่มีรายได้สูงจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

ประเด็นเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและส่งผลกระทบในหลายด้านดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ไม่สามารถพิจารณาแต่เพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งได้ การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำอาจหมายถึงความอยู่ดีกินดีของประชาชนบางส่วนและอาจหมายถึงการถูกปลดออกจากงานของประชาชนบางส่วนด้วยเหมือนกัน

การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในขณะที่ระดับฝีมือแรงงานไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น อาจกลายมาเป็นผลกระทบทางอ้อมต่อระดับราคาสินค้าที่อาจสูงขึ้นจากการมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น

ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นของจำนวนเงิน แต่กำลังซื้อมิได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังส่งผลกระทบทำให้กำลังซื้อของคนในประเทศลดลงด้วย ซึ่งทำให้สวัสดิการสังคมในภาพรวมอาจไม่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงและความสำคัญของค่าจ้างขั้นต่ำที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย การตัดสินใจเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำจึงต้องคิดให้ลึกและรอบด้านอย่างแท้จริง

บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)