Sunday, November 27, 2011

ความขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรได้รับการปกป้องจากอุทกภัย


กวิกฤตภัยครั้งนี้ และการพัฒนาระบบป้องกันและรับมือกับอุทกภัยในระยะยาว ซึ่งกำลังดำเนินการคู่ขนานกันไป

อุปสรรคสำคัญของการแก้ปัญหาครั้งนี้ คือ ความขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรได้รับการปกป้องจากอุทกภัย

ถึงกระนั้น การเตรียมการป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคตที่มีการพูดถึงโดยส่วนใหญ่ ให้ความสนใจไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการน้ำ และการปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ซึ่งล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น

แต่ถึงแม้ว่า มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยเพื่อทำให้ทุกพื้นที่ไม่มีน้ำท่วมและไม่มีผู้ได้รับผลกระทบเลย แต่การดำเนินการเช่นนั้นมีต้นทุนสูงมากและอาจไม่คุ้มค่าในการลงทุนเพื่อให้มีระดับความสามารถในการจัดการน้ำที่มีปริมาณมากกว่าปกติในบางปี ซึ่งนานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ระบบป้องกันอุทกภัยจึงมีความสามารถในการจัดการปริมาณน้ำในระดับหนึ่งเท่านั้น และระบบป้องกันน้ำท่วมรูปแบบหนึ่ง คือการปกป้องบางพื้นที่และผันน้ำไปลงในพื้นที่อื่น ซึ่งหมายความว่าจะมีคนบางกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ถูกน้ำท่วม

ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของการแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้ คือ ความขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรได้รับการปกป้องจากอุทกภัย จนทำให้บางพื้นที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม อันเนื่องจากความรู้สึกถึงไม่เท่าเทียมของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ได้รับการปกป้อง รวมทั้งความไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลพยายามปกป้องมิให้น้ำท่วมกรุงเทพชั้นในจนทำให้น้ำทะลักเข้านิคมอุตสาหกรรมจนได้รับความเสียหายมหาศาล การพัฒนาระบบจัดการน้ำในอนาคต จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการกับความเข้าใจและความรู้สึกของประชาชนด้วย

แนวทางหนึ่งที่อาจช่วยลดความขัดแย้งได้ คือ การกำหนดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่จะได้รับการปกป้องและพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ เพื่อสร้างการรับรู้และการยอมรับของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยการกำหนดในผังเมืองอย่างชัดเจนว่าแต่ละพื้นที่มีลำดับความสำคัญระดับใด

ตัวอย่างเช่น รัฐบาลอาจกำหนดให้ระบุหมายเลข 1 ถึง 5 สำหรับในพื้นที่ต่างๆ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการป้องกันพื้นที่จากน้ำท่วม โดยกำหนดหมายเลข 1 สำหรับพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นแก้มลิง และหมายเลข 5 สำหรับพื้นที่เศรษฐกิจหรือนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

ทั้งนี้การกำหนดลำดับความสำคัญของแต่ละพื้นที่ต้องสอดคล้องกับสภาพทางกายภาพและสภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่นั้นๆ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำที่สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของแต่ละพื้นที่ด้วย

นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐควรมีการประกาศอย่างชัดเจนว่าแต่ละพื้นที่มีหมายเลขอะไร (โดยอาจระบุลงในโฉนดที่ดินหรือบังคับให้นักพัฒนาที่ดินต้องประกาศให้ประชาชนทราบ) เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่นั้นเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และป้องกันการสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ 

อีกแนวทางหนึ่ง คือ การจัดระบบชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม แต่การชดเชยโดยพึ่งพางบประมาณแผ่นดินเพียงอย่างเดียวและกำหนดระดับการชดเชยหลังจากเกิดความเสียหายแล้ว อาจไม่เพียงพอสำหรับชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและไม่สามารถจัดการความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบได้ ในขณะที่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องจากน้ำท่วมก็ไม่ต้องแบกรับต้นทุนจากการคุ้มครองที่ได้รับจากรัฐบาลแต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้ ระบบประกันอุทกภัยน่าจะเป็นคำตอบสำหรับการแก้ปัญหาข้างต้น เพราะจะทำให้ประชาชนทราบระดับความเสี่ยงของการถูกน้ำท่วม และรับรู้ว่า หากเกิดความเสียหายขึ้น เขาจะได้รับการชดเชยอย่างแน่นอน และได้รับทราบล่วงหน้าถึงขนาดของการชดเชยที่จะได้รับ

1 comment:

  1. ความขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่ที่ควรได้รับการปกป้องจากอุทกภัย จนทำให้บางพื้นที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม อันเนื่องจากความรู้สึกถึงไม่เท่าเทียมของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ได้รับการปกป้อง รวมทั้งความไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลพยายามปกป้องมิให้น้ำท่วมกรุงเทพชั้นในจนทำให้น้ำทะลักเข้านิคมอุตสาหกรรมจนได้รับความเสียหายมหาศาล

    ReplyDelete