Tuesday, December 27, 2011

ตลาดสินค้าเกษตร 4 ชนิดของไทยภาย ใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม กับ ทฤษฎีคางคก
 
จากการเปิดเผยผลการประเมินตำแหน่งตลาดสินค้าเกษตร 4 ชนิดของไทยภาย
ใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหา
วิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งพบว่าภายใน 5 ปีนับจากปี 2553 จนถึงปี 2558 สินค้า
เกษตรของไทยที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนประกอบด้วยข้าว กาแฟ
และน้ำมันปาล์ม ส่วนมันสำปะหลังไทยจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้น 

      สินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ น้ำมันปาล์ม เนื่องจากต้นทุนการ
ผลิตต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียถึง 4 เท่า ราคาจำหน่ายผลปาล์มและน้ำมันปาล์ม
ดิบของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซียมาก แต่ผลผลิตปาล์มของไทยกลับมีคุณ
ภาพต่ำกว่าเพราะสามารถสกัดเป็นน้ำมันได้น้อยกว่า 

     ในความเป็นจริง การขาดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำมัน
ปาล์มของไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่นักวิชาการได้สะท้อนปัญหานี้มาเป็นเวลานานแล้ว งานวิจัยของมหาวิทยาลัย หอการค้าไทยจึงเป็นการย้ำเตือนถึงปัญหานี้และนำเสนอ
หลักฐานในเชิงประจักษ์ที่สะท้อนความรุนแรงของปัญหานี้

      ผมเองได้เขียนหนังสือ เศรษฐกิจกระแสกลาง: ทิศทางเศรษฐกิจไทยใน
อนาคต
 เมื่อปี 2543 หรือกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ระบุว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเป็นตัว
อย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน  แต่
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยต้องเปิดเสรีมากขึ้นและเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ผมจึงได้ให้ข้อเสนอแนะในภาพรวมว่าสินค้าที่แข่งขันไม่ได้ควรเลิกผลิตไปเลย แต่
หากเห็นว่าเป็นสินค้าที่เป็น ปัจจัยอยู่รอด มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร 
หรือพลังงานของประเทศและไม่มีสินค้าอื่นที่ทดแทนได้ดีกว่า ก็ควรเร่งพัฒนาในมี
ความสามารถในการแข่งขัน 

      แต่ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข รัฐบาลไม่มีทิศทาง
การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจนในระยะยาวไม่มีแผนการเตรียมความพร้อมสำหรับ
การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ในอนาคตอุตสาหกรรมนี้ได้รับการปกป้องจากรัฐจนขาด
การพัฒนาที่รวดเร็วเพียงพอ แตกต่างจากประเทศมาเลเซียที่มีทิศทางการพัฒนาที่
ชัดเจน มีแผนการดำเนินงาน และความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการพัฒนาอุตสาห-
กรรมน้ำมันปาล์มอย่างเป็นระบบ 

     น้ำมันปาล์มกลายเป็นสินค้าการเมือง การส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มใน
ประเทศไทยจึงเป็นไปเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมือง โดยเน้นไปในทิศทางการ
เพิ่มปริมาณการผลิตตามแรงผลักของสถานการณ์ แต่ไม่ใคร่ให้ความสนใจด้าน
คุณภาพ สังเกตได้จากการส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งโดยตรง และ
โดยอ้อม เช่น การส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงาน การจำกัดการนำเข้า
การกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มขั้นต่ำ (floor price) การชดเชยให้ผู้ผลิตจำหน่าย
น้ำมันปาล์มในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น 

     ปัจจุบันอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย โดยพื้น
ที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจา

No comments:

Post a Comment