Tuesday, April 17, 2012

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์: ข้อเสนอในการจัดทำดัชนีความก้าวหน้าของชาติ


เมื่อไม่นานมานี้ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงาน
สนับสนุน การขับเคลื่อนสังคมด้วยดัชนีความก้าวหน้าของชาติ ในฐานะกรรมการท่านหนึ่ง
ที่ได้รับเชิญจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งทำหน้าที่เป็น
เจ้าภาพในการขับเคลื่อนงานนี้

          สสส.ได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้พัฒนาตัวชี้วัด ซึ่งสามารถวัดความก้าวหน้าของ
ประเทศได้อย่างแท้จริง ซึ่งมากไปกว่าการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยจีดีพีที่
อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงมิติการกระจายรายได้ ไม่ได้สะท้อนถึงสวัสดิการสังคมที่มีให้แก่
ประชาชน ไม่ได้สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และไม่ได้บอก
ว่าสังคมมีความเป็นธรรมหรือเอื้ออาทรต่อกันหรือไม่

  ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นด้วยกับแนวคิดนี้เป็นอย่างยิ่ง เป็นเวลานานหลายปีมาแล้วที่ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้เสนอแนะให้
มีการจัดทำดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุข (National well being index) เพื่อกำกับการทำงานของประเทศ
ในทุกเรื่องและทุกหน่วยงาน เพื่อจะเห็นประเทศถูกขับเคลื่อนไปในทุกมิติอย่างแท้จริง ส่วนดัชนี
ความก้าวหน้าของชาตินั้น ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้เคยเสนอความเห็นในเรื่องนี้ไปแล้วครั้งหนึ่งในช่วงแรกที่สสส.
มีแนวคิดเรื่องนี้ออกมาผ่านทางบทความเรื่อง “การจัดทำดัชนีความก้าวหน้าของประเทศ”
ในหนังสือพิมพ์โกลบอลบิซิเนส ฉบับวันที่ 24-30 เมษายน 2552

           ในการประชุมครั้งล่าสุดนั้น มีหลายประเด็นที่คณะกรรมการได้ร่วมอภิปรายกัน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิด
ว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านหากศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องนี้ โดยมีหลายสิ่งที่ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็น
ว่าคณะกรรมการชุดนี้ควรดำเนินการหากต้องการพัฒนาดัชนีความก้าวหน้าของชาติที่ใช้
งานได้อย่างแท้จริง อาทิ

          การจัดทำเมทริกซ์เพื่อแสดงผู้มีส่วนได้เสียในมิติต่างๆ ให้ครบถ้วน

          การพัฒนาดัชนีความก้าวหน้าของชาติเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย โดย สสส.ได้พยายาม
นำหน่วยงานที่สนใจและมีความห่วงใยในเรื่องนี้ หรือรับผิดชอบงานด้านที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ
ข้อมูลสถิติ ข้อมูลการพัฒนา รวมทั้งนักวิชาการ เครือข่ายสื่อ และเครือข่ายภาคประชาสังคม
เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งพยายามให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการ
สร้างดัชนีนี้ด้วย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีและศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นด้วยกับแนวคิดนี้

           อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่าการเลือกผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะนี้อาจทำให้ได้กลุ่มผู้มีส่วน
ได้เสียไม่ครบถ้วน อาจมีกลุ่มที่ไม่สนใจในประเด็นนี้มากนัก แต่มีความเกี่ยวข้อง และไม่ได้เข้า
มาร่วม ดังนั้น  ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่าควรมีการจัดระบบผู้มีส่วนร่วมให้เป็นระบบ โดยการจัดทำ “เมทริกซ์
ผู้มีส่วนได้เสีย” หรือตารางไขว้สำหรับบรรจุรายชื่อผู้มีส่วนได้เสียที่มีลักษณะตรงกับประเด็น
ในมิติต่างๆ เช่น ภาคส่วนต่างๆ ประเด็นที่สนใจ (เช่น ความยากจนหรือสิ่งแวดล้อม
สิทธิมนุษยชน ฯลฯ) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ เป็นต้น (ดูตัวอย่างในตารางที่ 1) วิธีนี้จะทำ
ให้เห็นภาพรวมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดและเห็นช่องโหว่ที่ยังขาด เพื่อจะสามารถนำ
กลุ่มคนต่างๆ เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนงานนี้ได้อย่างเหมาะสม


การนำฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมกับคณะทำงานตั้งแต่เริ่มต้น

            ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นว่าการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้พยายามใช้ “ยุทธการป่าล้อมเมือง” คือ
พยายามที่จะหว่านล้อมให้กลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด แต่ดูเหมือนจะละเลยกลุ่มที่สำคัญ
ไปนั่นคือ ฝ่ายการเมือง ซึ่งดูเหมือนจะถูกนำไปไว้ที่ชายขอบ ไม่ได้เกี่ยวข้องจนกว่างานจะสำเร็จ
แล้วนำไปเสนอให้ฝ่ายการเมืองพิจารณา ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นว่าวิธีการที่ดีกว่าคือ คณะทำงานนี้ควรนำฝ่าย
การเมืองเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรฝ่ายการเมือง เมื่อดัชนี
ความก้าวหน้าได้รับการพัฒนาแล้วเสร็จและนำไปใช้ในภาคปฏิบัติ ฝ่ายการเมืองจะได้มีความ
เข้าใจและขับเคลื่อนไปได้เต็มที่มากกว่า

การเชื่อมโยงกัน (Synchronization) ต้องมาจากทั้งบนลงล่างและล่างขึ้นบน

            คณะกรรมการให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเปิดโอกาส
ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบแนวคิดและตัวชี้วัดที่แสดงถึงความก้าวหน้า
ของประเทศและเหมาะสมกับบริบทของไทย ไม่เพียงเท่านั้นศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เสนอว่าควรมีการจัดกระบวนการ
เชื่อมโยงจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่างให้มีความสมดุล โดยคณะทำงานควรเชื่อมโยงข้อมูล
จากคณะกรรมการและภาคีอื่นไปยังประชาชนมากขึ้น ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสาร-
สนเทศที่มีอยู่เป็นสื่อกลาง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าถึงข้อมูลได้ระหว่างทางตลอดเวลา ทุกภาคี
สามารถเข้าถึง วิพากษ์วิจารณ์ได้ เสนอแนะได้ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานได้ผลมากขึ้นและเร็ว
ขึ้น เป็นต้น

            นอกจากนี้ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่า การสร้างวาทกรรมบางประการให้เกิดความสนใจในสังคมนั้นเป็น
สิ่งที่จำเป็นเช่นกัน เนื่องจากหากคนไม่เข้าใจสิ่งดีที่คณะทำงานพยายามทำนั้น เขาอาจไม่ได้ให้
ความร่วมมืออย่างเต็มที่ การกระตุ้นความสนใจของสังคมสามารถทำได้ทันทีควบคู่ไปกับการ
วางกรอบและจัดทำดัชนี โดยไม่จำเป็นต้องรอจนดัชนีแล้วเสร็จ

            ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การผลักดันวาระการจัดทำดัชนีฯ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
กรอบเวลาในการขับเคลื่อนเป็นสิ่งสำคัญ ขณะนี้การเมืองอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อคณะกรรมการ
ต้องติดตามสถานการณ์ว่าช่วงเวลาใดที่เสนอดัชนีแล้วแผนงานจะถูกขับเคลื่อนมากสุด ซึ่งศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เชื่อ
ว่าเวลาจะมาถึงในอีกไม่ช้า

            การประชุมที่ผ่านมาเป็นเพียงครั้งแรกเท่านั้น ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าดัชนีนี้จะออกมา
เป็นรูปเป็นร่างได้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์หวังว่าสังคมไทยจะถูกขับเคลื่อนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่านภาคส่วน
ต่างๆ ที่เข้ามาร่วมในการกระบวนการจัดทำดัชนีวัดความก้าวหน้าแห่งชาติในครั้งนี้

ได้รับการตีพิมพ์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์การเมือง : ทัศนะวิจารณ์วันอังคารที่ : 15 กุมภาพันธ์ 2554

1 comment:

  1. Harrah's Resort Southern California Casino & Resort
    Harrah's Resort 광주광역 출장안마 Southern California Casino & Resort. 777 포천 출장안마 Harrahs 안양 출장안마 Rincon Way, Rincon Band 광명 출장샵 of 세종특별자치 출장샵 Luiseno. View Details. Hours, Accepts Credit Cards, Poker,

    ReplyDelete