Tuesday, April 17, 2012

สหกรณ์ไทยจะอยู่รอดได้ ต้องเปลี่ยนแนวคิด


ผมได้รับเชิญไปร่วมอภิปรายในงานเสวนา “100 ปี สหกรณ์ไทย ก้าวใหม่แห่งการพัฒนา”
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองอธิบดีกรม
ส่งเสริมสหกรณ์ และประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์ เป็นวิทยากรผู้ร่วมการอภิปราย
งานเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทบทวนบทเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ไทยในช่วง 100 ปี
ที่ผ่านมา และแสวงหาทิศทางการพัฒนาสหกรณ์ไทยในอนาคต
     สหกรณ์ในประเทศไทยเปรียบเหมือนนักมวยที่ได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ เหมือนไข่ในหิน สหกรณ์
จึงไม่ค่อยได้เผชิญกับการแข่งขันมากนัก แตกต่างจากธุรกิจภาคเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ซึ่งต่างต้องขึ้นสังเวียนต่อสู้ในโลกธุรกิจที่แท้จริง จนทำให้ธุรกิจต้องล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก
    ดังตัวอย่างของร้านโชว์ห่วยซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาพยายามผลักดันให้สู้กับธุรกิจโมเดิร์นเทรด อย่าง
เช่น เทสโก้โลตัส บิ๊กซี หรือคาร์ฟู แต่ด้วยธรรมชาติของร้านโชว์ห่วยที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเงินทุน ทำวิจัย
และ พัฒนาได้ยาก ทำการตลาดแข่งขันไม่ได้ และไม่มีความประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ทำให้แข่งขันไม่ได้ จนโชว์ห่วยมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ

    ขณะที่สหกรณ์ยังไม่ต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงดังกล่าว เพราะมีกฎหมายและกลไกของรัฐ
ปกป้องอยู่ แต่ในอนาคตหากสหกรณ์ถูกบังคับให้ต้องแข่งขัน สหกรณ์จำนวนมากอาจแข่งขันไม่ได้
หากการดูแลสหกรณ์ยังเป็นแบบเดิมๆ
 
ซึ่งไม่สมจริงและไม่ทำให้สหกรณ์แข่งขันได้จริง ถึงกระนั้นไม่ได้
หมายความว่าสหกรณ์ไม่ควรแข่งขัน แต่ระบบการดูแลสหกรณ์ต้องมีการยกเครื่องเพื่อให้สหกรณ์มีความ
พร้อมที่จะออกไปต่อสู้ในโลกธุรกิจที่แท้จริง
    ในฐานะที่ผมได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการสหกรณ์ และมีความห่วงใยความอยู่รอดของ
สหกรณ์ 
ผมยินดีที่เห็นความพยายามของผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะผลักดันให้สหกรณ์ลุกขึ้นสู้ แต่การทำให้สหกรณ์
แข่งขันได้ ภาครัฐในฐานะพี่เลี้ยงของสหกรณ์จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ซึ่งผมมีข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาสหกรณ์ดังนี้...
‘ฟันธง’ หากไม่เล็กก็ต้องใหญ่ไปเลย
     ผมเคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งคือ “SLE: ทิศทางธุรกิจไทยในอนาคต” หนังสือเล่มนี้อธิบายว่า
ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ในอนาคตจะต้องเป็น S คือธุรกิจขนาดเล็ก หรือไม่ก็ L คือธุรกิจขนาดใหญ่
ส่วน M หรือธุรกิจขนาดกลางๆ จะอยู่รอดได้ยาก
    ในทำนองเดียวกันสหกรณ์ที่จะอยู่รอดได้ในอนาคตต้องเป็นสหกรณ์ขนาดเล็กหรือใหญ่ไปเลย สนับสนุนสหกรณ์ให้ใหญ่คับโลก ผมเห็นว่าสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่แข่งขันได้ในอนาคตนั้นไม่ใช่ใหญ่
ระดับชาติแต่ต้องใหญ่ระดับโลก เพราะสหกรณ์ต้องแข่งขันในระดับโลก คู่แข่งของสหกรณ์เป็นธุรกิจ
ขนาดใหญ่ระดับโลก ดังจะเห็นได้จากกระแสการควบรวมของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สถาบัน
การเงิน บริษัทยา บริษัทน้ำมัน เป็นต้น เนื่องจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต้อง
แข่งกันด้วยประสิทธิภาพ ซึ่งการควบรวมกิจการทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบจากความประหยัดจาก
ขนาดมากขึ้น
     วิสัยทัศน์การพัฒนาสหกรณ์จึงควรเป็นพยายามทำให้สหกรณ์ที่มีศักยภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยอาจ
พิจารณาถึงแนวทางในการเปิดโอกาสให้สหกรณ์ในระดับชั้นคุณภาพดีมีข้อจำกัดในการดำเนินงานลดลง
มีโอกาสในการทำธุรกิจได้กว้างขวางขึ้น ระดมสมาชิกได้หลากหลายมากขึ้น และเข้าถึงทรัพยากรและ
เงินทุนได้มากขึ้น ตลอดจนการสนับสนุนการควบรวมกันของสหกรณ์ ทั้งการควบรวมกับสหกรณ์ประเภท
เดียวกันหรือต่างประเภทกัน หรือแม้กระทั่งการรวมตัวกับองค์กรธุรกิจรูปแบบอื่น
     ทำให้สหกรณ์เป็นสหกรณ์เฉพาะทาง (Specialized Co-op) โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้าง
ของสหกรณ์ให้มีความคล่องตัว กระฉับกระเฉงมากขึ้น โดยเน้นเฉพาะการทำธุรกิจที่เป็นจุดแข็งหรือ
ความเชี่ยวชาญหลัก (core competence) ของสหกรณ์ และเน้นการทำธุรกิจที่เป็นช่องว่างการตลาด (niche market) ซึ่งมีความแตกต่างจากสิ่งที่ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันโดยตรงกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความได้เปรียบมากกว่า ตัวอย่างเช่น หาก
สหกรณ์ต้องการจำหน่ายเสื้อผ้าอาจเน้นการจำหน่ายเสื้อผ้าสำหรับคนอ้วน หรือการจำหน่ายสินค้าสำหรับ
คนถนัดซ้าย เป็นต้น
‘ปลดแอก’ ให้ดำเนินงานได้ครบวงจร
    ในปัจจุบัน กฎระเบียบของรัฐได้กำหนดกรอบการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยจำแนกสหกรณ์เป็น 7
ประเภทที่มีขอบเขตการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี การจำกัดขอบเขตการดำเนินงานของ
สหกรณ์เช่นนี้ แม้ว่ามีเหมาะสมกับสถานการณ์ในอดีต แต่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนิน
ธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจมีความ
ผันผวนมากขึ้น โอกาสและเครื่องมือทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีมากขึ้น และขอบเขตของธุรกิจมีความชัดเจน
น้อยลง เนื่องจากการเชื่อมโยงและบูรณาการของกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ มีมากขึ้น 
การจำกัดขอบเขต
การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์จึงอาจทำให้สหกรณ์ขาดความยืดหยุ่น และไม่สามารถกระจายความเสี่ยง
ทางธุรกิจได้ รวมทั้งปิดโอกาสในการดำเนินธุรกิจอื่นที่อาจมีส่วนสนับสนุนหรือเพิ่มความเข้มแข็งให้กับ
ธุรกิจหลัก
      ผมได้เสนอให้ภาครัฐเปลี่ยนแนวคิดการกำกับดูแลและส่งเสริมสหกรณ์ จากการแบ่งประเภทสหกรณ์
เป็นแท่งๆ เป็นการเปิดโอกาสให้สหกรณ์ที่มีอยู่กลายเป็น “สหกรณ์สากล” (Universal
Cooperatives) หรือสหกรณ์ที่สามารถทำธุรกิจได้ครบวงจรในตัวเอง ซึ่งจะทำให้สหกรณ์สามารถ
กระจายความเสี่ยงได้ และมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ออมทรัพย์
ซึ่งหากแข่งขันกับธนาคารโดยตรงจะไปไม่รอด ภาครัฐจึงควรเปิดโอกาสให้สหกรณ์ออมทรัพย์ทำธุรกิจ
การเงินได้หลากหลายมากขึ้น เพราะแม้แต่ธนาคารพาณิชย์เองยังต้องปรับตัวให้เป็นธนาคารครบวงจร
(Universal Bank) เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการและกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ 
...

No comments:

Post a Comment