Saturday, September 29, 2012

ปาถกฐา ปิดสัมมนา ไทย-เปรู part 2

งานสัมมนา"ประ​เทศ​เปรูกับ​โอกาสทางธุรกิจของ​ผู้ประกอบ​การ​และนักลงทุน​ไทย ตามกรอบข้อตกลง​การค้า​เสรี ​ไทย-​เปรู"

ปาถกฐา ปิดสัมมนา ไทย-เปรู part 1

 
งานสัมมนา"ประ​เทศ​เปรูกับ​โอกาสทางธุรกิจของ​ผู้ประกอบ​การ​และนักลงทุน​ไทย ตามกรอบข้อตกลง​การค้า​เสรี ​ไทย-​เปรู"

Wednesday, August 15, 2012

จากหนังสือ เรื่องเล่า เขย่าคิด


สิ่งที่ผมไม่สบายใจในการประชุม

  สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ค่อยสบายใจนัก นั่นคือ ในการประชุมหากผมเห็นทีมงานนั่งกอดอก หรือเท้าคาง ไม่จดในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง หรือบางคนไม่มีแม้กระทั่งกระดาษและปากกา ผมจะเกิดความกังวลใจทันที 
             เพราะกลัวว่าเขาจะหลงลืม หรือไม่สามารถสกัดประเด็นที่ได้จากการประชุมไปขยายผลพัฒนางานต่าง ๆ ต่อไปได้ ดังนั้น ผมจึงแนะนำให้ทีมงานเข้าประชุมทุกคนต้องมีปากกาและสมุดบันทึก ระหว่างการประชุม ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทุกคนควรใช้ความคิดอย่างเต็มที่ หากคิดข้อเสนอใหม่ ๆ ได้ในระหว่างที่คนอื่นเสนอความเห็น ให้จดข้อเสนอของตนไว้และเสนอต่อที่ประชุมในเวลาที่เหมาะสม การจดไม่เพียงช่วยเตือนความจำแต่เป็นกระบวนการที่ฝึกฝนการจับประเด็นและช่วยให้เราขบคิดในเรื่องที่สำคัญ ในกรณีที่การประชุมครั้งนั้น ๆ มีเวลาจำกัด ทีมงานสามารถนำประเด็นที่จดไว้กลับไปคิดต่อได้ เช่น ระหว่างเดินทาง และเขียนประเด็นที่คิดเพิ่มมาให้เลขาฯ ของที่ประชุมในวันอื่น ๆ เพื่อรวบรวมเสนอ ต่อที่ประชุมในวาระต่อไป

จากหนังสือ เรื่องเล่า เขย่าคิด








Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

Professor Kriengsak chareonwongsak CSR

CSR สำคัญอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน


* ที่มาของภาพ - http://www.regjeringen.no/upload/UD/Temabilder/CSR%20LightbulbMedium.jpg
ผู้บริหารธุรกิจจำนวนมากยังมองไม่เห็นประโยชน์ของ CSR โดยมองงาน CSR จากกรอบความคิดเรื่องต้นทุน-ผลประโยชน์ระยะสั้น นั่นคือ สนใจเพียงแค่ว่า CSR จะทำให้บริษัทได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างไรในแง่ของการเพิ่มผลกำไรหรือยอดขาย ผู้บริหารอีกจำนวนหนึ่งยังต่อต้านการงาน CSR เพราะเห็นว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นได้
แต่อันที่จริงแล้ว CSR สามารถสร้างคุณประโยชน์ในหลายด้านให้เกิดแก่ธุรกิจได้ โดยประโยชน์ประการแรกคือ การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการประกอบการของบริษัทมีความเชื่อมโยงกัน โดยพบว่าการที่บริษัทสามารถจัดการความสัมพันธ์ และความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นองค์รวมได้จะส่งผลต่อยอด ขายมากถึง 4 เท่าและมีการเจริญเติบโตของการจ้างงานถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่าง เดียว เนื่องจากการทำ CSR ช่วยสร้างภาพลักษณ์ในด้านที่ดีต่อสังคม จึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของบริษัทเมื่อถึงคราววิกฤติเกิดกับบริษัท บริษัทที่มีบทบาทแสดงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสจะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้ามากกว่าบริษัทที่ไม่ทำอะไรเพื่อสังคม เลย
นอกจากนี้แล้ว CSR ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุนและช่วยบริษัทในการเข้าถึงแหล่งทุน ยกตัวอย่างตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ที่ได้ผลักดันให้มีตลาดหุ้นที่ซื้อขายสำหรับบริษัทที่ดำเนินการด้าน CSR โดยเฉพาะ รวมถึงการสร้างมาตรฐานและนวัตกรรมในการลงทุนที่โยงกับแนวคิดความรับผิดชอบ ต่อสังคม (Socially Responsible Investment ndash; SRI) ทำให้นักลงทุนทั่วไปตื่นตัวและเห็นประโยชน์ของการลงทุนในบริษัทที่รับผิดชอบ ต่อสังคม ทั้งประโยชน์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นและประโยชน์ทางการเงิน เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ตัวอย่างกรณี Dow Jones Group Sustainability Index (DJGSI) ซึ่งเป็นการรวมดัชนีการลงทุนของบริษัทที่มีมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา พบว่ากลุ่มบริษัทใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่าบริษัทอื่น ๆ ถึง 36.1% ซึ่งหากมองแค่กลุ่มบริษัทด้านพลังงานที่อยู่ในกลุ่มดัชนี DJGSI เปรียบเทียบกับกลุ่มพลังงานที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ กลุ่มที่อยู่ใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่า 45.3% ดังนั้น SRI จึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นที่สนใจในหมู่นักลงทุน ปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนที่มีการลงทุนในธุรกิจที่มี CSR ที่เรียกว่า SRI มีมูลค่าเกินกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

ประการต่อมาCSR ช่วยสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตัวอย่าง บริษัทที่สามารถใช้ CSR ในการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ เช่น ฮิวเลตต์แพคการ์ด ที่เคยให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในชุมชนห่างไกลในอินเดียที่ไม่มีไฟฟ้า ใช้ ได้คิดค้นเครื่องพรินเตอร์ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องไฟฟ้า ในที่สุดนวัตกรรมนี้ถูกนำมาใช้เป็นสินค้าตัวหนึ่งของบริษัท หรืออีกตัวอย่างของ Toyota ที่เริ่มผลิตรถ Hybrid ที่ใช้ได้ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้า โดยที่การขับเคลื่อนรถ Hybrid นี้ ปล่อยมลพิษเพียง 10% เมื่อเทียบกับรถปกติ และใช้น้ำมันเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ทำให้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลายเป็นสินค้าตัวใหม่ของบริษัท

ประการสุดท้าย CSR ช่วยสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน กล่าว คือ ขณะที่คนมองว่า CSR เพิ่มภาระต้นทุนของธุรกิจแต่ในระยะยาว แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฎว่า การจัดกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับแนวคิด CSR จะส่งผลช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น มีโครงการลดการใช้ไฟฟ้าโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของบริษัทเมื่อปี 2547 ทำการเปลี่ยนหลอดไฟ 30 สาขาเป็นหลอดประหยัดพลังงานใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์ และบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เพียง 8 เดือน มีการเก็บตัวเลขพบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 90 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าการดำเนินงาน CSR ได้ช่วยให้บริษัทลดของเสียในการกระบวนการผลิตได้อย่างมาก
เราคงจะเห็นแล้วว่า CSR มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ถ้าหากธุรกิจที่ประกอบการอยู่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และให้ความสำคัญในการ ดำเนินนโยบายด้าน CSR สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น

Thursday, July 19, 2012

ทิศทางการพัฒนาการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม

 ประเด็นร้อนที่สุดสำหรับรัฐบาลในเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนข้อสงสัยของสังคม
เกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลได้มุ่งไปที่ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง
นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายใช้อำนาจในการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตนเองและพวกพ้อง อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการบริหารจัดการที่ผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือ
ไม่ก็ตาม 

     ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่เด่นชัดของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหาร
ประเทศมีหลายนโยบายและโครงการที่มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ จนทำให้การดำเนิน
งาน ขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 


ในสมัยก่อนชื่อ เมืองพัทลุง ไม่ได้เขียนอย่างที่ปรากฏให้เห็น จากหลักฐานพบว่าบนเหรียญอีแปะพัทลุง พ.ศ. 2426 เขียนว่า พัททะลุง และพัตลุง ในเอกสารของไทย ใช้ต่างกันมากมายได้แก่ พัตะลุง พัดทลุง พัทธลุง พัตทลุง พัฒลุง พัทลุง 
ในเอกสารเบอร์นีของอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 3 เขียนว่า Bondelun และ Merdelong ของนายลามาร์ วิศวกรชาวฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เขียนว่า Bourdelun ความหมายของชื่อเมืองหมายถึงเมืองช้างหรือเมืองเกี่ยวเนื่องด้วยช้างซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงหลายประการ 

คำว่า "พัต-พัท-พัทธ" ยังไม่อาจทราบได้ว่าคำเดิมเขียนอย่างไร คำไหน ทราบเพียงว่าใช้เป็นคำขึ้นต้น ส่วนคำพื้นเมืองที่เรียกว่า"ตะลุง"แปลว่าเสาล่ามช้างหรือไม้หลักผูกช้างชื่อบ้านนามเมืองของพัทลุงที่เกี่ยวกับ ช้างมีมากหรือจะเรียกว่าเป็น"เมืองช้าง"ก็ได้โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลาในแถบชะรัดซึ่ง อยู่ติดกับเทือกเขาบรรทัด มีช้างป่าชุกชุม 

และในตำนานนางเลือดขาวตำนานเมืองพัทลุงกล่าวว่า ตาสามโมยายเพชรเป็นหมอสดำหมอเฒ่านายกองช้าง เลี้ยงช้างส่งเจ้าพระยากรุงทองทุกปี ต่อมาพระกุมารกับนางเลือดขาวก็ได้รับมรดกเป็นนายกองเลี้ยงช้าง ส่งส่วย 

จังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานจากการค้นพบขวานหินขัดในท้องที่ทั่วไปหลายอำเภอในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 –14 ) บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งชุมชนที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ในด้านพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีหลักฐานค้นพบ เช่น พระพิมพ์ดินดิบจำนวนมากเป็นรูปพระโพธิสัตว์ รูปเทวดาโดยค้นพบบริเวณถ้ำคูหาสวรรค์ และถ้ำเขาอกทะลุ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพัทลุงได้ตั้งขึ้นอย่างมั่นคงภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา มีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี ซึ่งนับได้ว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของพระราชอาณาจักรทางใต้ ในสมัยนั้นเมืองพัทลุงมักจะประสบปัญหา การโจมตีจากกลุ่มโจรสลัดมาเลย์อยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มโจรสลัดราแจะอารู และอุยงคตนะ ได้โจมตีเผาทำลายสร้างความเสียหายแก่เมืองพัทลุงถึงสองครั้ง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืออยู่เสมอ และก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวเมืองพัทลุงเป็นนักต่อสู้ที่เข้มแข็ง ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอีกหลายครั้งและได้ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นโทในรัชกาล พระบาทาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงนี้เมืองพัทลุงมีผู้นำที่มีความสำคัญในการสร้างความเจริญ และความมั่นคงให้กับบ้านเมืองหลายท่าน อาทิ พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) พระยาวิชิตเสนา (ทองขาว) พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทร์โรจน์วงศ์) (ขำ) ส่วนประชาชนชาวเมืองพัทลุงก็ได้มีบทบาทในการร่วมมือ กับผู้นำต่อสู้ป้องกันเอกราชของชาติมาหลายครั้ง เช่น เมื่อสงครามเก้าทัพ (พ.ศ.2328 – 2329) พระมหาช่วย วัดป่าลิไลยก์ได้นำชาวพัทลุงต่อสู้ป้องกันการรุกรานของพม่า จนได้รับความดีความชอบโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาทุกขราษฎร์ช่วยราชการเมืองพัทลุงนอกจากสงครามกับพม่าแล้ว ชาวพัทลุงยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศชาติในหัวเมืองภาคใต้ เพราะปรากฏอยู่เสมอว่าทางเมืองหลวงได้มีคำสั่งให้เกณฑ์ชาวพัทลุง พร้อมด้วยเสบียงอาหารไปทำสงครามปราบปรามกบฏในหัวเมืองมลายูเช่น กบฏไทรบุรี พ.ศ.2373 และ พ.ศ.2381 ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองลุง ทางด้านการเมือง การปกครองในอดีตเป็นอย่างดี 

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาลใน พ.ศ.2437 และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ.2439 ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง 7 ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม 

สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร อำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ จนกระทั่ง พ.ศ.2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่ตำบลคูหาสวรรค์ในปัจจุบัน เพื่อจะได้อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟ และสะดวกในด้านติดต่อกับเมืองต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบัน เมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้ง สถานที่เคยเป็นที่ตั้งเมืองพัทลุงมาแล้ว ได้แก่ โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง เขาชัยสน(เขาเมือง) ปัจจุบัน เขต 3 ตำบล คือตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง ตำบลพนมวังก์ และมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อ.เมืองพัทลุง บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อ.เมืองพัทลุง บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ 2 ตำบลพญาขัน อ.เมืองพัทลุง บ้านโคกสูง ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลลำปำ อ.เมืองพัทลุง ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้เมืองพัทลุงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง ในปัจจุบันจังหวัดพัทลุง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน อำเภอศรีบรรพต อำเภอป่าพะยอม อำเภอบางแก้ว และกิ่งอำเภอศรีนครินทร์ นอกจากด้านการเมืองการปกครองแล้ว 

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เมืองพัทลุงเคยมีชื่อเสียงในการละเล่นพื้นเมือง คือหนังตะลุง มโนราห์ ลิเกป่า ส่วนด้านศาสนา ได้มีการทะนุบำรุงพุทธศาสนาตั้งแต่อดีต มีการพระราชทานพื้นที่พระกัลปานา วัดเขียนบางแก้ว วัดสทัง วัดพะโค๊ะ เพื่อบำรุงรักษาวัดให้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา

วิสัยทัศน์กล่าวได้เป็น 2 คำ


·        วิสัยทัศน์กล่าวได้เป็น 2 คำที่เกี่ยวเนื่องกันคือ 'การเห็น' และ 'ภาพ' คนที่มีวิสัยทัศน์จึงเริ่มจากการเห็น "ภาพ" ไม่ใช่มองเห็นด้วยตา แต่ปรากฏในมโนคติทางความคิด
-          ภาพใดที่มองเห็นไม่ชัดเจนในมโนคติ แม้อยากให้เกิดขึ้นก็ทำไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดเป็นภาพอะไร
·        วิสัยทัศน์ต้องให้ภาพอย่างชัดเจนที่ตอบคำถามได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร
·        วิสัยทัศน์ เป็นภาพที่สะท้อนความฝันซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาในวันนี้ แต่ในมโนทัศน์นั้นชัดเจนเหมือนเป็นจริงแล้ว
-          วิสัยทัศน์เป็นศิลป์ของการเห็นประจักษ์ในสิ่งที่ยังไม่ปรากฏ


Sunday, June 10, 2012

A big gamble for Thailand


Professor  Dr Kriengsak Chareonwongsak 
Executive Director, Institute of Future Studies for Development (IFD)
 kriengsak@kriengsak.com, http://www.ifd.or.th

This article was first published in the Bangkok Post on August 3, 2003 after the government raised the idea that legal casinos could be established in Thailand. The government expected that legalization of casinos would reduce the problem of crimes, Mafia activity, and money smuggling for gambling in foreign countries.  Further more it will open an additional venue for income for the government. This article cautioned the government to be more careful in implementing such a policy.


In an attempt to address the problems caused by illegal gambling, the government has mooted the idea of introducing legal casinos, which would have the spin-off effect of generating extra tax revenue.

There are, though, other ways of tackling problems associated with illegal gambling.  For example, implementing a tough crackdown and proper law enforcement. The private sector and the mass media can cooperate in disseminating information on the problems associated with gambling, while other substitutable legal pursuits, such as sports, health centers and community activities can be promoted.

 Before any decision is make on legal casinos, both the positive and the negative impacts should be considered.

On the plus side, legal gambling will involve initial investment, and related service industries will flourish.  The government will be able to tax the casinos, and some gamblers who previously would have traveled abroad to spend their money would now spend it in the country.  The government will also be able to regulate and supervise gambling and related activities, although this will involve some administrative costs.


On the negative side, since the costs of accessing gambling will be decreased, and without the risk of arrest or ill repute, more people will gamble. And, with more people involved, casinos may trigger higher rates of crime, compelling the government to spend more on arrests, legal cases and imprisonment. There could be other costs, too, such as assisting people who lose their jobs through excessive gambling.

Legal casinos could also involve social costs, such as family problems caused by excessive gambling – from divorce to abandoned children.

Thus, before legal casinos are established, the government should research all the social costs involved since the tax income from casinos and related businesses may not be sufficient to offset the burden of higher social costs.

Thursday, May 24, 2012

ทฤษฏีการเกิดขึ้นของผู้นำ’

‘ทฤษฏีการเกิดขึ้นของผู้นำ’: บทวิเคราะห์การขึ้นเงินเดือน ส.ส. และ ส.ว.
    การยืนยันจะขึ้นเงินเดือนให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ของนายกรัฐมนตรี โดยจะนำเข้าสู่วาระการประชุม
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ ได้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในสังคม นายกรัฐมนตรีได้ให้เหตุผลว่าเป็น
การขึ้นเงินเดือนให้สอดคล้องกันทั้งระบบ ทั้งแรงงาน ข้าราชการ และองค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้เงินเดือนนักการเมืองยังต่ำกว่า เงิน
เดือนผู้บริหารระดับสูงที่นักการเมืองกำกับด้วย แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นเงินเดือนให้นักการเมือง ให้เหตุผลว่า เงินเดือนของนักการเมืองใน
ขณะนี้สูงกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว และที่ผ่านมา ส.ส.และ ส.ว.ยังทำงานไม่คุ้มค่ากับเงินเดือนที่ได้รับ เห็นได้จากการประชุมสภาฯ ที่ล่มบ่อยครั้ง และ
ที่สำคัญ การขึ้นเงินเดือนครั้งนี้อาจเป็นความพยายามซื้อเสียงจาก ส.ส.ในการสนับสนุนให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ

       ในความเห็นของผม การจะวิเคราะห์ว่าเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.ในปัจจุบันเหมาะสมหรือไม่? และควรขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส.และ ส.ว.หรือไม่? เราควรทำความเข้าใจบริบทและที่มาของ ส.ส.และ ส.ว.เสียก่อน ผมจะขออธิบายประเด็นข้างต้นด้วยทฤษฎีที่ผมคิดขึ้นมา คือ “ทฤษฏีการเกิดขึ้น
ของผู้นำ (Model of Leadership Emergence)” ทั้งนี้หากเราพิจารณา ส.ส.และ ส.ว.ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของผู้นำทางสังคม เราจะพบว่า
การเกิดขึ้นของผู้นำนั้นมีหลายลักษณะ

        ในกรณีของประเทศจีน ผู้นำทางการเมืองมาจากล่างขึ้นบน โดยเริ่มต้นจากการเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ถ้าไม่ใช่สมาชิกพรรค
คอมมิวนิสต์จะขึ้นมาเป็นผู้นำไม่ได้ ระบบการคัดสรรผู้นำของจีนเน้นระบบอาวุโส ใช้เวลากลั่นกรองนาน ผู้นำจีนส่วนใหญ่จึงมีอายุมาก มีความ
สุกงอมทางความคิด มีเสถียรภาพ หนักแน่น และถูกเพาะบ่มมาเป็นเวลานาน ผู้นำแต่ละคนกว่าจะขึ้นมาได้ต้องผ่านประสบการณ์โชกโชน และ
หลากหลาย เพราะต้องผ่านการทดลองงานมาหลายด้าน จากงานเล็กไปงานใหญ่ ต้องพิสูจน์ตัว มีผลงาน คนที่ผลงานไม่เข้าตา จะไม่ได้รับ
โอกาสให้ขึ้นมาเป็นผู้นำ ผู้นำจึงไม่ได้มาเพื่อทดลองงาน ทำให้ประเทศมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายน้อย ส่วนกรณีประเทศสิงคโปร์ ผู้นำ
ทางการเมืองมาตามความสามารถ ไม่สนใจระบบอาวุโส แต่สนับสนุนคนเก่ง คนมีความสามารถ (Merit System) หากเป็นคนเก่งจะสามารถไป
ได้เร็ว เพราะมีกลไกลู่วิ่งเร็ว (Fast Track) และมีกลไกให้เกิดการแข่งขันรุนแรง โดยเฉพาะกลไกราคา ข้าราชการที่เก่งจะได้รับเงินเดือนสูงจนอยู่
ในระดับที่ใกล้เคียงกับเงินเดือนเอกชนและนักการเมือง ด้วยระบบเช่นนี้คนเก่งจะปรากฏออกมาให้เห็น นอกจากนี้ผู้ที่จะขึ้นเป็นผู้นำยังมีโอกาส
ได้ทำงานหมุนเวียนไปในหลายหน่วยงาน ทำให้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย

        หากเราหันกลับมาพิจารณากรณีของประเทศไทย เราจะพบว่าผู้นำทางการเมืองของไทยส่วนใหญ่นั้นมาจากคนที่มีทุน หรือเป็นผู้ที่มีนายทุน
ให้การสนับสนุน โดยนายทุนจะเลือกสนับสนุนคนที่ตนเองสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ซึ่งแน่นอนว่า นายทุนส่วนใหญ่จะให้การสนับสนุนคนที่มี
แนวโน้มได้รับชัยชนะมากกว่า ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงไม่มีผู้นำทางการเมืองหน้าใหม่หรือจากพรรคใหม่ แม้อาจมีผู้ที่มีความสามารถและมี
อุดมการณ์สูง แต่จะไม่สามารถแข่งขันได้ หากไม่ได้การสนับสนุนจากนายทุนหรือไม่มีทุนมากพอ

        ระบบการเกิดขึ้นของผู้นำของไทยนั้น ไม่มีการแข่งขัน ค่าจ้างของคนเหล่านี้ไม่เป็นไปตามกลไกราคา ทำให้ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ตัวและไม่
จำเป็นต้องเป็นผู้มีความสามารถ เราจะเห็นได้ว่า นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงที่ทำหน้าที่ควบคุมรัฐวิสาหกิจกลับได้รับ เงินเดือนน้อยกว่า
ผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจเสียอีก ซึ่งเป็นระบบที่ผิดปรกติ ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงมักจะไม่ค่อยได้คนเก่งมาทำงานราชการ และเข้ามาเป็นนักการเมือง ขณะที่องค์กรที่จะได้คนเก่งและมีความสามารถ คือ องค์กรธุรกิจ เพราะมีกลไกที่สามารถกลั่นกรองผู้นำ ตามระบบผลประโยชน์ของบริษัทได้

         หากวิเคราะห์ประเด็นการขึ้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.ตามทฤษฏีการเกิดขึ้นของผู้นำ ผมคิดว่าเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.ของไทยในปัจจุบัน
ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ ผมคิดว่าควรมีการขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส.และ ส.ว. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องสร้างกลไกให้มีการปรับปรุงในสองเรื่องหลักๆ คือ
ต้องให้มี “การแข่งขันมากขึ้น” โดยเป็นการแข่งขันที่ความรู้ความสามารถ ไม่ใช่แข่งในการหาเสียงเท่านั้น เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความสามารถเข้า
สู่ตำแหน่งได้มากขึ้น และอีกกลไกที่สำคัญด้วยคือ การทำให้การแข่งขันทำได้อย่างเสมอภาคไม่ว่ามีเงินหรือไม่มี เพื่อให้คนดีคนเก่งสามารถ
เข้าสู่การแข่งขันทางการเมืองอย่างเสมอภาค นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับ “การเพิ่มโทษของการคอร์รัปชันและการปราบทุจริตให้
รุนแรงขึ้น” ดังนั้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ หากมีการลงโทษนักการเมืองอย่างหนัก หากจับได้หรือมีแนวโน้มว่าจะมีการ
ทุจริต นอกจากนี้คดีทุจริตของนักการเมืองนั้นจะต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่มีอายุความด้วย

          การขึ้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในตัวระบบอื่นๆ เพื่อรองรับนั้น อาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นหรือ
เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากนัก หากแต่จะยิ่งเพิ่มข้อครหาให้แก่ผู้ที่ได้ชื่อว่า “นักการเมือง” มากขึ้น



ได้รับการตีพิมพ์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์การเมือง : ทัศนะวิจารณ์วันอังคารที่ : 21 ธันวาคม 2553

Tuesday, April 17, 2012

สหกรณ์ไทยจะอยู่รอดได้ ต้องเปลี่ยนแนวคิด


ผมได้รับเชิญไปร่วมอภิปรายในงานเสวนา “100 ปี สหกรณ์ไทย ก้าวใหม่แห่งการพัฒนา”
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองอธิบดีกรม
ส่งเสริมสหกรณ์ และประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์ เป็นวิทยากรผู้ร่วมการอภิปราย
งานเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทบทวนบทเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ไทยในช่วง 100 ปี
ที่ผ่านมา และแสวงหาทิศทางการพัฒนาสหกรณ์ไทยในอนาคต
     สหกรณ์ในประเทศไทยเปรียบเหมือนนักมวยที่ได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ เหมือนไข่ในหิน สหกรณ์
จึงไม่ค่อยได้เผชิญกับการแข่งขันมากนัก แตกต่างจากธุรกิจภาคเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ซึ่งต่างต้องขึ้นสังเวียนต่อสู้ในโลกธุรกิจที่แท้จริง จนทำให้ธุรกิจต้องล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก
    ดังตัวอย่างของร้านโชว์ห่วยซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาพยายามผลักดันให้สู้กับธุรกิจโมเดิร์นเทรด อย่าง
เช่น เทสโก้โลตัส บิ๊กซี หรือคาร์ฟู แต่ด้วยธรรมชาติของร้านโชว์ห่วยที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเงินทุน ทำวิจัย
และ พัฒนาได้ยาก ทำการตลาดแข่งขันไม่ได้ และไม่มีความประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ทำให้แข่งขันไม่ได้ จนโชว์ห่วยมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ

    ขณะที่สหกรณ์ยังไม่ต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงดังกล่าว เพราะมีกฎหมายและกลไกของรัฐ
ปกป้องอยู่ แต่ในอนาคตหากสหกรณ์ถูกบังคับให้ต้องแข่งขัน สหกรณ์จำนวนมากอาจแข่งขันไม่ได้
หากการดูแลสหกรณ์ยังเป็นแบบเดิมๆ
 
ซึ่งไม่สมจริงและไม่ทำให้สหกรณ์แข่งขันได้จริง ถึงกระนั้นไม่ได้
หมายความว่าสหกรณ์ไม่ควรแข่งขัน แต่ระบบการดูแลสหกรณ์ต้องมีการยกเครื่องเพื่อให้สหกรณ์มีความ
พร้อมที่จะออกไปต่อสู้ในโลกธุรกิจที่แท้จริง
    ในฐานะที่ผมได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการสหกรณ์ และมีความห่วงใยความอยู่รอดของ
สหกรณ์ 
ผมยินดีที่เห็นความพยายามของผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะผลักดันให้สหกรณ์ลุกขึ้นสู้ แต่การทำให้สหกรณ์
แข่งขันได้ ภาครัฐในฐานะพี่เลี้ยงของสหกรณ์จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ซึ่งผมมีข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาสหกรณ์ดังนี้...
‘ฟันธง’ หากไม่เล็กก็ต้องใหญ่ไปเลย
     ผมเคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งคือ “SLE: ทิศทางธุรกิจไทยในอนาคต” หนังสือเล่มนี้อธิบายว่า
ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ในอนาคตจะต้องเป็น S คือธุรกิจขนาดเล็ก หรือไม่ก็ L คือธุรกิจขนาดใหญ่
ส่วน M หรือธุรกิจขนาดกลางๆ จะอยู่รอดได้ยาก
    ในทำนองเดียวกันสหกรณ์ที่จะอยู่รอดได้ในอนาคตต้องเป็นสหกรณ์ขนาดเล็กหรือใหญ่ไปเลย สนับสนุนสหกรณ์ให้ใหญ่คับโลก ผมเห็นว่าสหกรณ์ขนาดใหญ่ที่แข่งขันได้ในอนาคตนั้นไม่ใช่ใหญ่
ระดับชาติแต่ต้องใหญ่ระดับโลก เพราะสหกรณ์ต้องแข่งขันในระดับโลก คู่แข่งของสหกรณ์เป็นธุรกิจ
ขนาดใหญ่ระดับโลก ดังจะเห็นได้จากกระแสการควบรวมของธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สถาบัน
การเงิน บริษัทยา บริษัทน้ำมัน เป็นต้น เนื่องจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต้อง
แข่งกันด้วยประสิทธิภาพ ซึ่งการควบรวมกิจการทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบจากความประหยัดจาก
ขนาดมากขึ้น
     วิสัยทัศน์การพัฒนาสหกรณ์จึงควรเป็นพยายามทำให้สหกรณ์ที่มีศักยภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยอาจ
พิจารณาถึงแนวทางในการเปิดโอกาสให้สหกรณ์ในระดับชั้นคุณภาพดีมีข้อจำกัดในการดำเนินงานลดลง
มีโอกาสในการทำธุรกิจได้กว้างขวางขึ้น ระดมสมาชิกได้หลากหลายมากขึ้น และเข้าถึงทรัพยากรและ
เงินทุนได้มากขึ้น ตลอดจนการสนับสนุนการควบรวมกันของสหกรณ์ ทั้งการควบรวมกับสหกรณ์ประเภท
เดียวกันหรือต่างประเภทกัน หรือแม้กระทั่งการรวมตัวกับองค์กรธุรกิจรูปแบบอื่น
     ทำให้สหกรณ์เป็นสหกรณ์เฉพาะทาง (Specialized Co-op) โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้าง
ของสหกรณ์ให้มีความคล่องตัว กระฉับกระเฉงมากขึ้น โดยเน้นเฉพาะการทำธุรกิจที่เป็นจุดแข็งหรือ
ความเชี่ยวชาญหลัก (core competence) ของสหกรณ์ และเน้นการทำธุรกิจที่เป็นช่องว่างการตลาด (niche market) ซึ่งมีความแตกต่างจากสิ่งที่ธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันโดยตรงกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความได้เปรียบมากกว่า ตัวอย่างเช่น หาก
สหกรณ์ต้องการจำหน่ายเสื้อผ้าอาจเน้นการจำหน่ายเสื้อผ้าสำหรับคนอ้วน หรือการจำหน่ายสินค้าสำหรับ
คนถนัดซ้าย เป็นต้น
‘ปลดแอก’ ให้ดำเนินงานได้ครบวงจร
    ในปัจจุบัน กฎระเบียบของรัฐได้กำหนดกรอบการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยจำแนกสหกรณ์เป็น 7
ประเภทที่มีขอบเขตการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี การจำกัดขอบเขตการดำเนินงานของ
สหกรณ์เช่นนี้ แม้ว่ามีเหมาะสมกับสถานการณ์ในอดีต แต่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนิน
ธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจมีความ
ผันผวนมากขึ้น โอกาสและเครื่องมือทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีมากขึ้น และขอบเขตของธุรกิจมีความชัดเจน
น้อยลง เนื่องจากการเชื่อมโยงและบูรณาการของกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ มีมากขึ้น 
การจำกัดขอบเขต
การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์จึงอาจทำให้สหกรณ์ขาดความยืดหยุ่น และไม่สามารถกระจายความเสี่ยง
ทางธุรกิจได้ รวมทั้งปิดโอกาสในการดำเนินธุรกิจอื่นที่อาจมีส่วนสนับสนุนหรือเพิ่มความเข้มแข็งให้กับ
ธุรกิจหลัก
      ผมได้เสนอให้ภาครัฐเปลี่ยนแนวคิดการกำกับดูแลและส่งเสริมสหกรณ์ จากการแบ่งประเภทสหกรณ์
เป็นแท่งๆ เป็นการเปิดโอกาสให้สหกรณ์ที่มีอยู่กลายเป็น “สหกรณ์สากล” (Universal
Cooperatives) หรือสหกรณ์ที่สามารถทำธุรกิจได้ครบวงจรในตัวเอง ซึ่งจะทำให้สหกรณ์สามารถ
กระจายความเสี่ยงได้ และมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ออมทรัพย์
ซึ่งหากแข่งขันกับธนาคารโดยตรงจะไปไม่รอด ภาครัฐจึงควรเปิดโอกาสให้สหกรณ์ออมทรัพย์ทำธุรกิจ
การเงินได้หลากหลายมากขึ้น เพราะแม้แต่ธนาคารพาณิชย์เองยังต้องปรับตัวให้เป็นธนาคารครบวงจร
(Universal Bank) เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการและกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ 
...

ทิศทางการพัฒนาการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม

ประเด็นร้อนที่สุดสำหรับรัฐบาลในเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนข้อสงสัยของสังคม
เกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลได้มุ่งไปที่ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง
นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายใช้อำนาจในการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตนเองและพวกพ้อง อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการบริหารจัดการที่ผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือ
ไม่ก็ตาม

     ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่เด่นชัดของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหาร
ประเทศมีหลายนโยบายและโครงการที่มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ จนทำให้การดำเนิน
งาน ขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ อาทิ 
 


ELETTER                                                                                           มีนาคม 2554
 

                    ทิศทางการพัฒนาการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม
                               
     ประเด็นร้อนที่สุดสำหรับรัฐบาลในเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนข้อสงสัยของสังคม
เกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลได้มุ่งไปที่ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง
นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายใช้อำนาจในการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตนเองและพวกพ้อง อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการบริหารจัดการที่ผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือ
ไม่ก็ตาม

     ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่เด่นชัดของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหาร
ประเทศมีหลายนโยบายและโครงการที่มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ จนทำให้การดำเนิน
งาน ขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ อาทิ 
    

- การจัดงานแสดงสินค้า “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่และรูปแบบ
การจัดงาน จนได้รับการต่อว่าอย่างรุนแรงจากผู้ประกอบการที่มาออกร้านแสดงสินค้า ทำให้ต้อง
กลับไปจัดในรูปแบบเดิมในปีต่อมา - โครงการต้นกล้าอาชีพที่มีการประเมินผิดพลาดทำให้มีผู้เข้
มาฝึกอาชีพน้อยกว่าเป้าหมายมากจนต้องยกเลิกโครงการบางส่วนที่ดำเนินการไม่ได้ไปในที่สุด

- การเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างล่าช้า ทำให้ภาคเอกชนกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน
การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

- โครงการขายไข่ตามน้ำหนักที่ขาดการศึกษาอย่างรอบคอบ ทำให้โครงการนี้ไม่ได้รับความ
สนใจจากผู้บริโภค และถึงแม้เป็นเพียงโครงการเล็กๆ แต่กลับใช้งบประมาณจำนวนมากในการ
ดำเนินโครงการ    การบริหารนโยบายน้ำมันปาล์มเป็นอีกคำรบหนึ่งที่สะท้อนถึงความผิดพลาด
ในการบริการจัดการของรัฐบาล เพราะการบริหารนโยบายไม่สอดคล้องกับสภาพของตลาด
น้ำมันปาล์มในประเทศ

      สภาพตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศไทยในปัจจุบันมีลักษณะของการแทรกแซงกลไกตลาด
 โดย ด้านอุปทานมีการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยห้ามนำเข้าหรือจำกัดโควตาการนำเข้า
และรัฐบาลพยายามกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกร ส่วนด้านอุปสงค์ ความต้องการน้ำมัน
ปาล์มมาจาก 3 ส่วน ส่วนแรก คือน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภค (น้ำมันปาล์มบรรจุขวด) ซึ่ง
ควบคุมเพดานราคา เพื่อดูแลด้านค่าครองชีพของประชาชน ส่วนที่สอง คือน้ำมันปาล์ม ที่ใช้เป็น
วัตถุ ดิบของอุตสาหกรรม (น้ำมันปาล์มบรรจุถัง) ซึ่งราคาเป็นไปตามกลไกตลาด และส่วนที่สาม คือน้ำมันปาล์ม สำหรับผลิตไบโอดีเซล ซึ่งรัฐบาลให้การอุดหนุนผู้ผลิตไบโอดีเซล เพื่อสนับสนุน
การใช้พลังงานทางเลือก

     ในภาวะปกติที่น้ำมันปาล์มมีปริมาณที่เหมาะสม  กลไกการแทรกแซงตลาดดังกล่าวยังสามารถ
ดำเนินการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มใดอย่างเด่นชัด เพราะไม่ฝืนกลไกตลาดมาก
นัก แต่ในภาวะที่ปริมาณน้ำมันปาล์มในประเทศขาดแคลนจนทำให้ราคาสูงขึ้นมากดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะขาดแคลน น้ำมันปาล์มบรรจุขวดย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม
ที่มีพฤติกรรมแสวงหากำไรสูงสุด ย่อมไม่ต้องการผลิตน้ำมันปาล์มบรรจุขวดที่มีการกำหนดเพดาน
ราคาที่ไม่สะท้อนกลไกตลาด (แม้รัฐบาลจะขยับเพดานราคาขึ้น 9 บาทแล้วก็ตาม) แต่จะหันไป
ผลิตน้ำมันปาล์มสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ไม่มีการแทรกแซงกลไกราคา และน้ำมันปาล์มสำหรับ
ผลิตไบโอดีเซลซึ่งบริษัทน้ำมันยินดีรับซื้อในราคาตลาดเพราะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

      ในระยะยาว การปล่อยให้กลไกตลาดทำงานน่าจะเป็นหนทางที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ใน การจัดสรรน้ำมันปาล์มแก่ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ และไม่ทำให้เกิดการขาดแคลนดังที่ปรากฏใน
ปัจจุบัน แต่เนื่องด้วยเหตุผลของความไม่พร้อมของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศ โครงสร้าง
พื้นฐาน และกลไกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้รัฐบาลยังจำเป็นต้องแทรกแซงตลาด แต่ด้วยวิธีการบริหาร
จัดการตลาดน้ำมันปาล์มในปัจจุบันที่ใช้ดุลพินิจของผู้กำหนดนโยบายเป็นหลัก การจัดสรรน้ำมัน
ปาล์มอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น จึงต้องการรัฐบาลที่สุจริตและมีความสามารถสูงในการ
บริหารจัดการ (ดูภาพที่ 1)

      อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การบริหารจัดการของ
รัฐบาล มีความผิดพลาด ทั้งความผิดพลาดในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลผลิตน้ำมันปาล์ม ความผิดพลาด ในการบริหารปริมาณน้ำมันปาล์มสำรองจนทำให้ปริมาณเหลือน้อย ความล่าช้า
ในการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อลดการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในประเทศ การนำเข้าน้ำมันปาล์ม
ผิดประเภท โดยนำเข้าเป็นน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ทำให้ต้องเสียเวลาในการกลั่นเป็นน้ำมันปาล์ม
บริสุทธิ์ การแบ่งโควตาผลิตน้ำมันปาล์มไม่สอดคล้องกับกำลังการผลิตของแต่ละโรงงาน การไม่
ควบคุมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มให้ผลิตน้ำมันบรรจุขวดในปริมาณที่ได้รับโควต้า และการกระจาย
สินค้าไม่ทั่วถึง 
อ่านบทความเรื่องอื่นๆ ได้ที่     www.kriengsak.com

น้ำมันปาล์มแสนตัน ทางแก้หรือยิ่งแย่


ราคาน้ำมันปาล์มมันแพงก็เพราะว่ามีเรื่องผิดปกติบาง
ส่วนเข้ามาผสมอยู่ด้วย ผมเข้าใจว่ามีผู้ได้ประโยชน์พอ
สมควร จากการที่ราคาน้ำมันปาล์มขึ้น สมมุติยกตัวอย่าง
ง่ายๆว่า เราเป็นเจ้าถิ่นผู้ยิ่งใหญ่ที่มีน้ำมันปาล์มอยู่แล้ว เรา
สามารถนำไปกักตุนไว้บ้าง บางระดับเพื่อทำให้มันขาด
ตลาดบ้างบางส่วน ผสมกับสภาพจริงด้วย หลายอย่างที่มี
แนวโน้มเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วที่จะไม่เพียงพอราคามันขึ้นอยู่
แล้วเรายังจะทำให้มันขึ้นไปอีก แล้วยังจะสามารถได้
ประโยชน์ส่วนต่างเยอะๆ คนนั้นก็จะรวยขึ้นมาได้จากการ
ที่เล่นกลจากสิ่งเหล่านี้

      ดังนั้น การจะพยายามให้ขาดแคลนเพื่อทำให้ราคาขึ้น
ชั่วคราวก็ตาม มันจะทำให้มีผู้ได้ประโยชน์อย่างมีนอกมีใน
อย่างไม่เหมาะสมก็เป็นได้ ผมก็คิดว่าเรื่องนี้แก้ไม่ยากก็
เสนอตั้งแต่วันแรกที่มีปัญหาที่เป็นข่าวขึ้นมา ผมก็ให้
สัมภาษณ์สดรายการวิทยุบอกว่าก็ปล่อยน้ำมันปาล์มใน
ที่อื่นไหลเข้ามาช่วงนี้ให้มากหน่อย ราคามันก็จะลงไปเอง
ก็พูดอย่างนี้แล้วตอนนี้ก็ปล่อยเข้ามาเล็กน้อย มันก็ไม่
เพียงพอ

      ฉะนั้นถ้าอยากกลับไปสู่ราคาปกติ ไม่ไปทำให้ชาวบ้าน
เดือดร้อนมากราคาน้ำมันที่ใส่ขวดไปขาย ในขวดไม่กี่บาท
มันก็เป็นต้นทุนแพงมากกับการทำข้าวแกง การผัดกับข้าว
ขายกับพ่อค้าแม่ค้าต่างๆ ประชาชนอยู่ก็ลำบากเพราะว่า
ราคาน้ำมันที่เอามาใช้ในครัวเรือนแพงมาก ฉะนั้นผมจึง
คิดว่าวิธีการง่ายสุดก็ต้องอย่าฝืน กลไกลตลาดก็ต้องปล่อย
น้ำมันที่มีล้นหลามในประเทศอื่น ในราคาที่ดีกว่าเรานี้ไหล
เข้ามา ราคามันก็จะลงไปเอง ก็ง่ายๆแต่ไม่ยอม มันก็แสดง
ถึงความแปลกประหลาดนิดหน่อยที่จะเกิดขึ้นถ้าเราจะกลัว
ว่าผลผลิตปาล์มของเราจะออกมาสักอีกหลายเดือนข้าง
หน้าแล้วจะทำให้ผลผลิตของผู้ผลิตซึ่งเขาเป็นผู้อุดหนุน
รายใหญ่ของพรรคการเมืองต่างๆอยู่ สมมุติว่าเรากลัวว่า
เขาจะเสียประโยชน์เลยเกรงใจ ก็เลยทำให้ประชาชน
เดือดร้อนเวลานี้มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องแต่แม้จะเอาใจ
ช่วยเขาและต้องการให้เขาไม่ลำบากและก็ได้ราคา เวลาที่
ผลผลิตออกมาเยอะๆ ก็ควรอย่างน้อยก็ทำเฉพาะหน้า
ให้พอสมควร

      ผมเข้าใจกลไกลการเมืองดีว่าต้องพึ่งพิงนายทุนที่มา
จากธุรกิจต่างๆรวมทั้งน้ำมันปาล์มบ้างบางส่วน แต่ผมก็
อยากจะฝากบอกว่าเราก็ต้องนึกถึงคนเดือดร้อนที่เป็นผู้
บริโภคด้วยไม่ใช่นึกแต่นายทุนเป็นหลักเท่านั้น และถ้า
เผื่อ เราปล่อยสภาพกลไกลตลาดให้ทำงานอยากปกติสุข
ก็ต้องแข่งขันกับเขาได้ราคาเราสู้ได้ ผลิตออกมาอย่าง
เหมาะสมยังไงมันก็ไม่ได้เสียหายต่อผู้อื่นที่เขาผลิตอยู่แล้ว
     ดังนั้น เราก็อย่าเพียงแต่เอาเปรียบประชาชนมากเกิน
ไปมีอะไรที่เป็นเรื่องความจำเป็นของประชาชนเช่นอาหาร
ต้องระวังครับอย่าทำให้ประชาชนเดือนร้อนครับ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์: ข้อเสนอในการจัดทำดัชนีความก้าวหน้าของชาติ


เมื่อไม่นานมานี้ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงาน
สนับสนุน การขับเคลื่อนสังคมด้วยดัชนีความก้าวหน้าของชาติ ในฐานะกรรมการท่านหนึ่ง
ที่ได้รับเชิญจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งทำหน้าที่เป็น
เจ้าภาพในการขับเคลื่อนงานนี้

          สสส.ได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้พัฒนาตัวชี้วัด ซึ่งสามารถวัดความก้าวหน้าของ
ประเทศได้อย่างแท้จริง ซึ่งมากไปกว่าการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยจีดีพีที่
อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงมิติการกระจายรายได้ ไม่ได้สะท้อนถึงสวัสดิการสังคมที่มีให้แก่
ประชาชน ไม่ได้สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และไม่ได้บอก
ว่าสังคมมีความเป็นธรรมหรือเอื้ออาทรต่อกันหรือไม่

  ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นด้วยกับแนวคิดนี้เป็นอย่างยิ่ง เป็นเวลานานหลายปีมาแล้วที่ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้เสนอแนะให้
มีการจัดทำดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุข (National well being index) เพื่อกำกับการทำงานของประเทศ
ในทุกเรื่องและทุกหน่วยงาน เพื่อจะเห็นประเทศถูกขับเคลื่อนไปในทุกมิติอย่างแท้จริง ส่วนดัชนี
ความก้าวหน้าของชาตินั้น ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้เคยเสนอความเห็นในเรื่องนี้ไปแล้วครั้งหนึ่งในช่วงแรกที่สสส.
มีแนวคิดเรื่องนี้ออกมาผ่านทางบทความเรื่อง “การจัดทำดัชนีความก้าวหน้าของประเทศ”
ในหนังสือพิมพ์โกลบอลบิซิเนส ฉบับวันที่ 24-30 เมษายน 2552

           ในการประชุมครั้งล่าสุดนั้น มีหลายประเด็นที่คณะกรรมการได้ร่วมอภิปรายกัน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิด
ว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านหากศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องนี้ โดยมีหลายสิ่งที่ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็น
ว่าคณะกรรมการชุดนี้ควรดำเนินการหากต้องการพัฒนาดัชนีความก้าวหน้าของชาติที่ใช้
งานได้อย่างแท้จริง อาทิ

          การจัดทำเมทริกซ์เพื่อแสดงผู้มีส่วนได้เสียในมิติต่างๆ ให้ครบถ้วน

          การพัฒนาดัชนีความก้าวหน้าของชาติเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย โดย สสส.ได้พยายาม
นำหน่วยงานที่สนใจและมีความห่วงใยในเรื่องนี้ หรือรับผิดชอบงานด้านที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ
ข้อมูลสถิติ ข้อมูลการพัฒนา รวมทั้งนักวิชาการ เครือข่ายสื่อ และเครือข่ายภาคประชาสังคม
เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งพยายามให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการ
สร้างดัชนีนี้ด้วย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีและศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นด้วยกับแนวคิดนี้

           อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่าการเลือกผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะนี้อาจทำให้ได้กลุ่มผู้มีส่วน
ได้เสียไม่ครบถ้วน อาจมีกลุ่มที่ไม่สนใจในประเด็นนี้มากนัก แต่มีความเกี่ยวข้อง และไม่ได้เข้า
มาร่วม ดังนั้น  ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่าควรมีการจัดระบบผู้มีส่วนร่วมให้เป็นระบบ โดยการจัดทำ “เมทริกซ์
ผู้มีส่วนได้เสีย” หรือตารางไขว้สำหรับบรรจุรายชื่อผู้มีส่วนได้เสียที่มีลักษณะตรงกับประเด็น
ในมิติต่างๆ เช่น ภาคส่วนต่างๆ ประเด็นที่สนใจ (เช่น ความยากจนหรือสิ่งแวดล้อม
สิทธิมนุษยชน ฯลฯ) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ เป็นต้น (ดูตัวอย่างในตารางที่ 1) วิธีนี้จะทำ
ให้เห็นภาพรวมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดและเห็นช่องโหว่ที่ยังขาด เพื่อจะสามารถนำ
กลุ่มคนต่างๆ เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนงานนี้ได้อย่างเหมาะสม


การนำฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมกับคณะทำงานตั้งแต่เริ่มต้น

            ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นว่าการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้พยายามใช้ “ยุทธการป่าล้อมเมือง” คือ
พยายามที่จะหว่านล้อมให้กลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด แต่ดูเหมือนจะละเลยกลุ่มที่สำคัญ
ไปนั่นคือ ฝ่ายการเมือง ซึ่งดูเหมือนจะถูกนำไปไว้ที่ชายขอบ ไม่ได้เกี่ยวข้องจนกว่างานจะสำเร็จ
แล้วนำไปเสนอให้ฝ่ายการเมืองพิจารณา ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เห็นว่าวิธีการที่ดีกว่าคือ คณะทำงานนี้ควรนำฝ่าย
การเมืองเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรฝ่ายการเมือง เมื่อดัชนี
ความก้าวหน้าได้รับการพัฒนาแล้วเสร็จและนำไปใช้ในภาคปฏิบัติ ฝ่ายการเมืองจะได้มีความ
เข้าใจและขับเคลื่อนไปได้เต็มที่มากกว่า

การเชื่อมโยงกัน (Synchronization) ต้องมาจากทั้งบนลงล่างและล่างขึ้นบน

            คณะกรรมการให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเปิดโอกาส
ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบแนวคิดและตัวชี้วัดที่แสดงถึงความก้าวหน้า
ของประเทศและเหมาะสมกับบริบทของไทย ไม่เพียงเท่านั้นศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เสนอว่าควรมีการจัดกระบวนการ
เชื่อมโยงจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่างให้มีความสมดุล โดยคณะทำงานควรเชื่อมโยงข้อมูล
จากคณะกรรมการและภาคีอื่นไปยังประชาชนมากขึ้น ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสาร-
สนเทศที่มีอยู่เป็นสื่อกลาง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าถึงข้อมูลได้ระหว่างทางตลอดเวลา ทุกภาคี
สามารถเข้าถึง วิพากษ์วิจารณ์ได้ เสนอแนะได้ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานได้ผลมากขึ้นและเร็ว
ขึ้น เป็นต้น

            นอกจากนี้ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์คิดว่า การสร้างวาทกรรมบางประการให้เกิดความสนใจในสังคมนั้นเป็น
สิ่งที่จำเป็นเช่นกัน เนื่องจากหากคนไม่เข้าใจสิ่งดีที่คณะทำงานพยายามทำนั้น เขาอาจไม่ได้ให้
ความร่วมมืออย่างเต็มที่ การกระตุ้นความสนใจของสังคมสามารถทำได้ทันทีควบคู่ไปกับการ
วางกรอบและจัดทำดัชนี โดยไม่จำเป็นต้องรอจนดัชนีแล้วเสร็จ

            ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การผลักดันวาระการจัดทำดัชนีฯ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
กรอบเวลาในการขับเคลื่อนเป็นสิ่งสำคัญ ขณะนี้การเมืองอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อคณะกรรมการ
ต้องติดตามสถานการณ์ว่าช่วงเวลาใดที่เสนอดัชนีแล้วแผนงานจะถูกขับเคลื่อนมากสุด ซึ่งศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์เชื่อ
ว่าเวลาจะมาถึงในอีกไม่ช้า

            การประชุมที่ผ่านมาเป็นเพียงครั้งแรกเท่านั้น ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าดัชนีนี้จะออกมา
เป็นรูปเป็นร่างได้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์หวังว่าสังคมไทยจะถูกขับเคลื่อนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่านภาคส่วน
ต่างๆ ที่เข้ามาร่วมในการกระบวนการจัดทำดัชนีวัดความก้าวหน้าแห่งชาติในครั้งนี้

ได้รับการตีพิมพ์จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์การเมือง : ทัศนะวิจารณ์วันอังคารที่ : 15 กุมภาพันธ์ 2554

Thursday, March 15, 2012

Entertainment Complex by professor kriengsak chareonwongsak

Entertainment Complex: คำถามที่รัฐบาลต้องตอบ
กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมอีกครั้ง หลังจากที่ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเสนอแนวคิดที่จะให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติสลากกินแบ่ง เพื่อให้สำนักงานสลากกินแบ่งฯสามารถดำเนินกิจการได้กว้างขึ้น รวมถึงการจัดตั้งและดำเนินกิจการแหล่งบันเทิงครบวงจร หรือ Entertainment Complex ด้วย

แนวคิดเบื้องต้นของการจัดตั้ง Entertainment Complex คือ สถานที่ที่รวบรวมบริการต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งคาสิโน ร้านค้า สนามกอล์ฟ ธุรกิจบันเทิงต่างๆ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนกวดวิชา เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวสามารถเข้าไปใช้บริการได้ โดยพื้นที่หนึ่งที่เป็นเป้าหมายของการจัดตั้งแหล่งบันเทิงครบวงจร คือ ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยเหตุที่ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม

แนวคิดการจัดตั้งคาสิโนหรือบ่อนการพนันถูกกฎหมาย ได้เคยถูกนำเสนอขึ้นมาในยุครัฐบาลทักษิณ1 โดยรัฐบาลได้ทำหนังสือไปยังสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อขอคำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการพนัน 3 ประเภทให้ถูกกฎหมาย คือ การจัดตั้งบ่อนการพนัน หวยใต้ดิน และการพนันฟุตบอล ซึ่งถือเป็นคำขอครั้งแรกและอาจเป็นครั้งเดียวที่รัฐบาลได้ยื่นให้สภาที่ปรึกษาฯ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ

อย่างไรก็ตาม คณะทำงานศึกษาแนวทางจัดการพนันในสังคมไทย สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งผมเป็นคณะทำงานอยู่ในเวลานั้น ได้ทำการศึกษาจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล โดยจุดยืนของสภาที่ปรึกษาฯ ในเวลานั้นไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งบ่อนการพนันถูกกฎหมาย

ในความเห็นของผม ไม่ได้ต่อต้านแนวคิดการจัดตั้งบ่อนพนันถูกกฎหมายแบบหัวชนฝา แต่การดำเนินนโยบายที่อ่อนไหวและเป็นข้อถกเถียงของสังคมเช่นนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องพิจารณาและดำเนินการอย่างรอบคอบ ซึ่งผมเห็นว่ามีคำถามสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้

ส่งผลกระทบทางสังคมอย่างไร?

ข้อเสนอของผอ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลระบุถึงประโยชน์ของการจัดตั้งแหล่งบันเทิงครบวงจรหลายประการ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ของรัฐบาล สร้างงาน พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ลดการไหลออกของเงินตรา และดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

แต่ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นเลย โดยเฉพาะผลกระทบทางสังคม อาทิ ปัญหาหนี้สิน ปัญหาครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม การป้องกันการใช้คาสิโนเป็นแหล่งฟอกเงิน บรรทัดฐานของสังคมที่เสื่อมถอยลง เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องทำการศึกษาผลดี-ผลเสียของการจัดตั้งบ่อนถูกกฎหมายอย่างรอบด้าน และศึกษาบทเรียนของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ได้เปิดบ่อนพนันถูกกฎหมายด้วย

นอกจากนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับผลดีบางประการของการมีบ่อนถูกกฎหมายนั้นจำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์เช่นกันว่าเป็นจริงตามที่เชื่อหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นการมีบ่อนการพนันถูกกฎหมายอาจไม่ทำให้บ่อนเถื่อนหมดไปก็เป็นได้ แต่อาจทำให้การแข่งขันในตลาดบ่อนพนันรุนแรงมากขึ้น ทำให้บ่อนพนันเถื่อนและบ่อนในประเทศเพื่อนบ้านต้องปรับกลยุทธ์เพื่อดึงดูดนักพนันเข้าบ่อนมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ตลาดการพนันในประเทศมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและมีจำนวนนักพนันมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมายคือใคร?

แนวคิดการจัดตั้งคาสิโนของ ผอ.สำนักงานสลากกินแบ่งฯ ดูเหมือนว่า มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสองกลุ่ม คือ นักท่องเที่ยวต่างประเทศและนักพนันชาวไทย (แต่การจัดตั้งคาสิโนในทุ่งกุลาร้องไห้อาจดึงดูดคนในประเทศมากกว่าจะเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ) ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศที่จัดตั้งบ่อนการพนันถูกกฎหมายโดยมุ่งเป้าในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นหลักมิใช่คนในประเทศ

ทั้งนี้ความพยายามดึงดูดกลุ่มเป้าหมายทั้งสองกลุ่มอาจทำให้เกิดปรากฎการณ์ได้อย่าง-เสียอย่างกล่าวคือ ทำให้นักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ก็ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าบ่อนเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งกลับทำให้นักพนันหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

อีกประเด็นที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ แนวคิดที่พยายามทำให้ entertainment complex เป็นสถานที่ที่ทุกคนในครอบครัวเข้าใช้บริการได้ โดยการรวบรวมแหล่งบันเทิงทุกรูปแบบ แม้กระทั่งโรงเรียนกวดวิชาเข้าไปอยู่ด้วย เพราะมีความเสี่ยงที่ทำให้เด็กและเยาวชนมีค่านิยมที่ผิดเกี่ยวกับการพนัน และดึงดูดให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่หนทางอบายมุข

มีกลไกการตรวจสอบ ควบคุมและป้องกันอย่างไร?


การจัดตั้งบ่อนการพนันถูกกฎหมายอยู่บนตรรกะที่ว่า ในเมื่อนักพนันชาวไทยจำนวนมากเดินทางไปเล่นการพนันในประเทศเพื่อนบ้าน หรือลักลอบเล่นการพนันในบ่อนเถื่อนอยู่แล้ว เหตุไฉนประเทศไทยจึงไม่จัดตั้งบ่อนถูกกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้สิ่งผิดกฎหมายที่อยู่ใต้ดินขึ้นมาอยู่บนดิน เพื่อทำให้สามารถตรวจสอบและควบคุมได้

ตรรกะดังกล่าวเป็นประเด็นที่น่าพิจารณา เพราะหลายประเทศในโลกได้ใช้แนวคิดนี้ในการจัดการกับกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยเปลี่ยนจากการกำหนดให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งทำให้เกิดการลักลอบทำกิจกรรมเหล่านี้ในแบบใต้ดิน ให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายแต่ต้องดำเนินการภายใต้ขอบเขตที่กำหนด มีกลไกการควบคุม รวมทั้งการบำบัดผู้เสพติดกิจกรรมเหล่านี้ และป้องกันผู้เสพรายใหม่

หากรัฐบาลจะดำเนินการจัดตั้งคาสิโนถูกกฎหมาย ประเด็นสำคัญที่สุดคือ รัฐบาลจะออกแบบสถาบันหรือกลไกการการตรวจสอบ ควบคุมและป้องกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและผลกระทบดังที่ได้กล่าวข้างต้น รวมทั้งมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดนักพนันรายใหม่ได้อย่างไร และมีกลไกการบำบัดผู้ที่ติดการพนันอย่างไร ซึ่งผมเห็นว่าการจัดตั้งคาสิโนในบริบทสังคมไทยมีความเสี่ยงมาก เพราะการบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการรายได้รัฐบาลที่ได้รับจากกิจการแหล่งบันเทิงครบวงจรเป็นอีกประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะดูเหมือนว่าสำนักงานสลากกินแบ่งพยายามเสนอให้ลดสัดส่วนการนำส่งรายได้เข้ารัฐ แต่ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือสังคม โดยมีคณะกรรมการควบคุมดูแลการบริหารจัดการกองทุน ซึ่งผมเกรงว่า จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้รัฐบาลในการใช้เงินนอกงบประมาณโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา

นอกเหนือจากการพิจารณาเพื่อตอบคำถามข้างต้นแล้ว อีกคำถามที่รัฐบาลควรพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ มีทางเลือกอื่นที่สามารถตอบโจทย์และวัตถุประสงค์ของรัฐบาลได้ดีกว่า มีความเสี่ยงน้อยกว่าและมีผลกระทบน้อยกว่าการจัดตั้ง entertainment complex หรือไม่



บทความจาก Professor Kriengsak Chareonwongsak