Thursday, July 15, 2010

Kriengsak Chareonwongsak thought of harvard foursquare

Hope you like this article from dr Kriengsak Chareonwongsak



ฮาร์วาร์ด: Foursquare กับบริการทางการศึกษา

ที่ผ่านมาฮาร์วาร์ดได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้นำด้านการเป็นมหาวิทยาลัยร่วมสมัยที่มีการประยุกต์ใช้และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการจัดการศึกษา ล่าสุดที่ผ่านมา ฮาร์วาร์ดได้นำ Foursquare หรือ บริการบนเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเกิดมาจากการผสมผสานกันระหว่างเครือข่ายทางสังคมและสถานที่ เพื่อใช้สำหรับบอกตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้บริการ โดยแจ้งผ่านทางโทรศัพท์มือถือเข้ามาใช้ภายในมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ได้เชื่อมโยงบริการ Foursquare เข้ากับการให้บริการทางการศึกษา นับตั้งแต่ที่มีการเปิดใช้บริการดังกล่าวครั้งแรกทั่วโลกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมา

เป้าหมายหลักของการประยุกต์ใช้ Foursquare ในการให้บริการการศึกษาของฮาร์วาร์ดมี 2 ประการ คือ
  1. อำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา คณาจารย์ พนักงาน และผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยในการสำรวจและค้นหาสถานที่สำคัญ ๆ ในบริเวณวิทยาเขตที่ตั้งมหาวิทยาลัยและบริเวณละแวกใกล้เคียง เนื่องจากฮาร์วาร์ด มีชั้นเรียนและอาคารอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งบริการ Foursquare นี้นอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา คณาจารย์ พนักงาน และผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยรู้ตำแหน่งของเพื่อนในเครือข่ายว่าอยู่ที่ใดแล้ว ยังสามารถดึงข้อมูลตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงมาแสดงได้อีกด้วย ในกรณีที่มีสถานที่นั้นในฐานข้อมูลของ Foursquare แต่หากไม่มีผู้ใช้บริการสามารถเพิ่มข้อมูลของสถานที่ใหม่เข้าไปได้เอง อันเป็นการช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผู้ใช้ได้รู้จักสถานที่ใหม่ ๆ มากขึ้น ซึ่งในที่นี้ครอบคลุมไปถึงร้านค้า ภัตตาคาร บริษัทธุรกิจ และสถานที่ที่ผู้คนมาพบปะหรือชุมนุมกันบริเวณฮาร์วาร์ดสแควร์ด้วย ซึ่งผู้บริหารทางด้านการสื่อสารของฮาร์วาร์ด คาดหวังว่า บริการดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนักศึกษา คณาจารย์ และพนักงานในมหาวิทยาลัย
  2. ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายทางสังคมภายในมหาวิทยาลัยและเชื่อมโยงสู่ภายนอก ด้วยการเปิดโอกาสและเพิ่มช่องทางที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด ประสบการณ์ระหว่างกัน รวมทั้ง ช่วยให้ผู้ใช้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา คณาจารย์ และพนักงานในมหาวิทยาลัยได้รู้จักกันและกันมากขึ้น อาทิ การรู้จักสถานที่โปรดที่เพื่อนในเครือข่ายชอบไปเป็นประจำ การได้รับคำแนะนำในเรื่องสถานที่ที่น่าสนใจ สิ่งที่ควรทำหรือรายการอาหารที่อยากแนะนำเมื่อไปยังสถานที่นั้น นอกจาก Foursquare จะช่วยส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายทางสังคมภายในมหาวิทยาลัยแล้ว บริการดังกล่าวยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายทางสังคมขนาดใหญ่อื่น ๆ ภายนอกมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย เช่น Face book และ Twitter เป็นต้น
ประยุกต์สู่ประเทศไทย โลกมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยทั่วโลกต่างพยายามพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้เข้ามารใช้ในระบบการศึกษา มหาวิทยาลัยไทยก็เช่นกัน ควรเปิดมุมมองในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาใช้ในการบริการทางการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ยิ่งกรณีที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ อาจเริ่มจากเปิดโอกาสให้บริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีนั้น เข้ามามีส่วนลองประยุกต์เทคโนโลยีนั้นกับบริการทางการศึกษาและนำเสนองานต่อ มหาวิทยาลัย การแข่งขันการเสนอการใช้เทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย มีการทดลองใช้ เป็นต้น อันจะทำให้เกิดความแตกต่างซึ่งอาจเป็นจุดในการแข่งขันการบริการอุดมศึกษา การเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการระดับอุดมศึกษาด้วย

วันที่ : 22 มกราคม 2553 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ : คอลัมน์สะท้อนคิดจากฮาร์วาร์ด

หลังกำแพงฮาร์วาร์ด


ประวัติโดยย่อ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาล สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยมอแนช ประเทศออสเตรเลีย ได้รับปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา


ท่านเคยเป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอแนช เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยทำงานวิจัยในศูนย์วิจัยทางเศรษฐศาสตร์ อิมแพคท์รีเสิร์ช ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เคยทำงานที่องค์การโทรคมนาคม ออสเตรเลีย เคยเป็นผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา เคยเป็นที่ปรึกษาประธานรัฐสภา เคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ หลายกระทรวง เคยเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการของวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร เคยเป็นประธานคณะทำงานการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและ รองประธานคณะทำงานการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยเป็นที่ปรึกษาและกรรมการในหน่วยงานต่างๆ กว่า 50 ตำแหน่ง ตามที่ท่านได้รับตำแหน่งอันสำคัญจำนวนมากในหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติ ทำให้ท่านได้นำความรู้ความสามารถมาช่วยเหลือประเทศชาติ

ปัจจุบันท่านเป็นนักวิชาการอาวุโส (Senior Fellow) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ( Harvard University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นนักวิชาการประจำวิทยาลัยธุรกิจ( Said Business School) มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด(Oxford University) ประเทศอังกฤษ เป็นประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา เป็นศาสตราจารย์วิจัย ประจำมหาวิทยาลัยรีเจนท์สหรัฐอเมริกา และยังเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนั้นท่านเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัทซัคเซส

ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร เป็นนักวิชาการ เป็นนักคิด ได้รับเชิญไปบรรยายทั้งในและต่างประเทศทั่วโลกกว่า 2,200 ครั้งใน 50 ประเทศ มีประสบการณ์ในฐานะผู้ผลิตและพิธีกรรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ให้สังคมไทย มีผลงานแสดงความคิดเห็นและเป็นคอลัมนิสต์ประจำสื่อต่างๆ มีงานเขียนให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย อาทิงานเขียนบทความทางวิชาการ บทความแสดงความคิดเห็นตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกว่า 3,000 เรื่อง รวมทั้งท่านได้เขียนหนังสือในหลากหลายสาขาทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร การศึกษา ซึ่งในจำนวนนั้นยังมีจำหน่ายในท้องตลาดราว 150 เล่ม หนังสือที่ท่านเขียนหลายเล่มเป็นหนังสือที่ติดอันดับหนังสือขายดี

นอกจากนี้ ท่านยังอุทิศตัวช่วยงานหน่วยงานต่างๆ อีกจำนวนมาก อาทิ เป็นนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมไทย-ออสเตรเลียน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เป็นนายกกิตติมศักดิ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

http://www.hks.harvard.edu/m-rcbg/fellows/formerfellows.htm
http://www.oii.ox.ac.uk/people/visitors.cfm?id=114
http://www.siamaraya.net/

ความหวังต่อประเทศไทย

mv ที่เกี่ยวข้อง








หนังสือที่เกี่ยวข้อง



http://www.kriengsak.com/

4 comments:

  1. ชอบอ่านหนังสือของท่าน

    ReplyDelete
  2. วิสัยทัศน์ และ กำลังใจ ไปคู่กัน

    ReplyDelete
  3. สนับสนุนอาจารย์ครับ

    ReplyDelete