การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
เมื่อไม่นานมานี้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สป.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2554 ในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
ผมในฐานะอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ขอชื่นชมการทำงานของสภาที่ปรึกษาฯ
เป็นอย่างยิ่งที่แสดงออกถึงความกระตือรือร้นในเรื่องนี้
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาการริเริ่มในการสร้างความเข้าใจการเตรียมความพร้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนที่มาจากฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลยังมีค่อนข้างน้อย
สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากภาคเอกชน ภาควิชาการ สื่อ องค์กรอิสระต่างๆ
ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่ม
ที่สำคัญคนไทยจำนวนมากยังไม่ตื่นตัวในการเข้าเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนในปี
พ.ศ.2558 บางส่วนเข้าใจว่าประชาคมอาเซียนกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ซึ่งเป็นคำที่พบบ่อยกว่านั้นเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงแล้ว ประชาคมอาเซียนนั้นเป็นประกอบด้วย
3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งในปี พ.ศ.2558
อาเซียนจะเริ่มเป็นประชาคมเดียวกันครอบคลุมทั้ง 3 เสาหลักนี้ (ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น) และค่อยพัฒนามากขึ้นไปตามลำดับ
ในขณะนี้เหลือเวลาอีกประมาณ 3 ปีเศษก่อนที่ไทยจะเข้าสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน
ผมอยากเห็นรัฐบาลให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้าใจ
การเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยอย่างแท้จริง
เพื่อประเทศไทยจะไม่พลาดโอกาสจากการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนและเพื่อที่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นจะไม่รุนแรงจนเกินไป
ข้อเสนอในการเตรียมความพร้อมนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ในที่นี้ผมอยากขอเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องนี้บางประการ คือ
จัดทำงบประมาณในปี 2555-2558 แต่ละปีอย่างเจาะจงในยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของคนไทยเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนในเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า
คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ไว้ที่
2.33 ล้านล้านบาท ขาดดุล 3.5 แสนล้านบาท
เท่ากับปีงบประมาณปี 2554 แต่ยังไม่ทราบว่างบประมาณดังกล่าวถูกใช้จ่ายอย่างไรในรายละเอียด
แม้เรื่องการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558
เป็นเรื่องที่รัฐบาลประกาศว่าจะให้ความสนใจ
แต่หากไม่มีการจัดสรรงบประมาณในเรื่องนี้เจาะจง
รัฐบาลอาจมีแนวโน้มในการจัดสรรงบประมาณและกระจายทรัพยากรไปทำในเรื่องอื่นที่ไม่อาจเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ผมคิดว่ารัฐบาลต้องบูรณาการแผนงานและงบประมาณของกระทรวงและกรมต่างๆ
ไม่ใช่เฉพาะกระทรวงทางเศรษฐกิจที่รับผิดชอบในเรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่รวมทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคงด้วย โดยแต่ละด้าน
รัฐบาลต้องมีตัวชี้วัดอย่างชัดเจนว่าการดำเนินการในแต่ละปีงบประมาณต้องการขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายใดบ้าง
ตั้งศูนย์ศึกษาประเทศเพื่อนบ้านให้ครบทุกประเทศในอาเซียน และตั้ง “สำนักงานคลังสมองไทยเพื่อประชาคมอาเซียน” เพื่อเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายศูนย์ศึกษาฯ
ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อม การวางแผน
และการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนในอนาคต
ดังนั้นจึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นคลังสมอง หรือ Think
Tank ในการศึกษาวิจัย วางแผนดำเนินการ
และให้สนับสนุนองค์ความรู้แก่ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ประกอบการ นักวิชาการ
นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป
ปัจจุบันประเทศไทยมีศูนย์อาเซียนศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
Spirit of ASEAN ศูนย์ลาวศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศูนย์อินโดนีเซียศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
และศูนย์อินโดจีนศึกษา (ซึ่งมีศูนย์ย่อยประกอบด้วย ศูนย์กัมพูชา ศูนย์เวียดนาม
ศูนย์ลาว ศูนย์พม่า และศูนย์มาเลเซีย) ที่มหาวิทยาลัยบูรพา
ศูนย์ศึกษาเหล่านี้อาจมีมากกว่าที่ผมได้กล่าวถึง แต่อย่างไรก็ตามศูนย์บรูไนศึกษา
ศูนย์ฟิลิปปินส์ศึกษา ศูนย์สิงคโปร์ศึกษา นั้นดูเหมือนยังไม่เกิดขึ้น
ภาครัฐควรสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยไทยจัดตั้งศูนย์ศึกษาประเทศต่างๆ
ในอาเซียนให้ครบถ้วน
และให้ศูนย์เหล่านี้ศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมของไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองและความมั่นคง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตามแกนของเสาหลักของประชาคมอาเซียน
นอกจากนี้ประเทศไทยควรจะมีการจัดตั้ง“สำนักงานคลังสมองไทยเพื่อประชาคมอาเซียน” (Thai Think Tank for ASEAN Community) ภายใต้สำนักงานเลขานุการกรมอาเซียน เพื่อทำหน้าที่ในการประสานงาน
สนับสนุนเรื่องงบประมาณในการศึกษาวิจัยและประชาสัมพันธ์เครือข่ายศูนย์ศึกษาต่างๆ
เหล่านี้ให้เป็นที่รู้จัก
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลจากศูนย์เหล่านี้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากที่สุด
เ
รัฐบาลเข้ามาและทำงานอยู่เพียง 4 ปีก็ไป
แต่ประชาชนไทยภายหลังเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนแล้วยังคงต้องกลายเป็นพลเมืองของอาเซียนไปอีกนานเท่านาน
หากรัฐบาลประกาศว่าต้องการเข้ามาทำหน้าที่เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
ต้องพิสูจน์ตัวเองให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการวางนโยบายระยะยาวเพื่อวางรากฐานให้ประชาชนในวันนี้และอนาคตมากกว่าการดำเนินนโยบายประชานิยมระยะสั้นเพื่อคะแนนเสียงของตัวเองเท่านั้น
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ ที่ http://www.drdancando.com/
แม้เรื่องการนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 เป็นเรื่องที่รัฐบาลประกาศว่าจะให้ความสนใจ แต่หากไม่มีการจัดสรรงบประมาณในเรื่องนี้เจาะจง รัฐบาลอาจมีแนวโน้มในการจัดสรรงบประมาณและกระจายทรัพยากรไปทำในเรื่องอื่นที่ไม่อาจเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ReplyDeleteBest Baccarat In Australia - The Best Live Baccarat For the
ReplyDeleteThe best online baccarat 제왕카지노 is kadangpintar one that is popular in Australia, so it is the easiest way to 바카라 사이트 try the best live baccarat game online.