Wednesday, August 15, 2012

จากหนังสือ เรื่องเล่า เขย่าคิด


สิ่งที่ผมไม่สบายใจในการประชุม

  สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ค่อยสบายใจนัก นั่นคือ ในการประชุมหากผมเห็นทีมงานนั่งกอดอก หรือเท้าคาง ไม่จดในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง หรือบางคนไม่มีแม้กระทั่งกระดาษและปากกา ผมจะเกิดความกังวลใจทันที 
             เพราะกลัวว่าเขาจะหลงลืม หรือไม่สามารถสกัดประเด็นที่ได้จากการประชุมไปขยายผลพัฒนางานต่าง ๆ ต่อไปได้ ดังนั้น ผมจึงแนะนำให้ทีมงานเข้าประชุมทุกคนต้องมีปากกาและสมุดบันทึก ระหว่างการประชุม ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทุกคนควรใช้ความคิดอย่างเต็มที่ หากคิดข้อเสนอใหม่ ๆ ได้ในระหว่างที่คนอื่นเสนอความเห็น ให้จดข้อเสนอของตนไว้และเสนอต่อที่ประชุมในเวลาที่เหมาะสม การจดไม่เพียงช่วยเตือนความจำแต่เป็นกระบวนการที่ฝึกฝนการจับประเด็นและช่วยให้เราขบคิดในเรื่องที่สำคัญ ในกรณีที่การประชุมครั้งนั้น ๆ มีเวลาจำกัด ทีมงานสามารถนำประเด็นที่จดไว้กลับไปคิดต่อได้ เช่น ระหว่างเดินทาง และเขียนประเด็นที่คิดเพิ่มมาให้เลขาฯ ของที่ประชุมในวันอื่น ๆ เพื่อรวบรวมเสนอ ต่อที่ประชุมในวาระต่อไป

จากหนังสือ เรื่องเล่า เขย่าคิด








Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

Professor Kriengsak chareonwongsak CSR

CSR สำคัญอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน


* ที่มาของภาพ - http://www.regjeringen.no/upload/UD/Temabilder/CSR%20LightbulbMedium.jpg
ผู้บริหารธุรกิจจำนวนมากยังมองไม่เห็นประโยชน์ของ CSR โดยมองงาน CSR จากกรอบความคิดเรื่องต้นทุน-ผลประโยชน์ระยะสั้น นั่นคือ สนใจเพียงแค่ว่า CSR จะทำให้บริษัทได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างไรในแง่ของการเพิ่มผลกำไรหรือยอดขาย ผู้บริหารอีกจำนวนหนึ่งยังต่อต้านการงาน CSR เพราะเห็นว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นได้
แต่อันที่จริงแล้ว CSR สามารถสร้างคุณประโยชน์ในหลายด้านให้เกิดแก่ธุรกิจได้ โดยประโยชน์ประการแรกคือ การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการประกอบการของบริษัทมีความเชื่อมโยงกัน โดยพบว่าการที่บริษัทสามารถจัดการความสัมพันธ์ และความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นองค์รวมได้จะส่งผลต่อยอด ขายมากถึง 4 เท่าและมีการเจริญเติบโตของการจ้างงานถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้นแต่เพียงอย่าง เดียว เนื่องจากการทำ CSR ช่วยสร้างภาพลักษณ์ในด้านที่ดีต่อสังคม จึงเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของบริษัทเมื่อถึงคราววิกฤติเกิดกับบริษัท บริษัทที่มีบทบาทแสดงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสจะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้ามากกว่าบริษัทที่ไม่ทำอะไรเพื่อสังคม เลย
นอกจากนี้แล้ว CSR ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุนและช่วยบริษัทในการเข้าถึงแหล่งทุน ยกตัวอย่างตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ที่ได้ผลักดันให้มีตลาดหุ้นที่ซื้อขายสำหรับบริษัทที่ดำเนินการด้าน CSR โดยเฉพาะ รวมถึงการสร้างมาตรฐานและนวัตกรรมในการลงทุนที่โยงกับแนวคิดความรับผิดชอบ ต่อสังคม (Socially Responsible Investment ndash; SRI) ทำให้นักลงทุนทั่วไปตื่นตัวและเห็นประโยชน์ของการลงทุนในบริษัทที่รับผิดชอบ ต่อสังคม ทั้งประโยชน์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นและประโยชน์ทางการเงิน เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ตัวอย่างกรณี Dow Jones Group Sustainability Index (DJGSI) ซึ่งเป็นการรวมดัชนีการลงทุนของบริษัทที่มีมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา พบว่ากลุ่มบริษัทใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่าบริษัทอื่น ๆ ถึง 36.1% ซึ่งหากมองแค่กลุ่มบริษัทด้านพลังงานที่อยู่ในกลุ่มดัชนี DJGSI เปรียบเทียบกับกลุ่มพลังงานที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ กลุ่มที่อยู่ใน DJGSI มีผลประกอบการสูงกว่า 45.3% ดังนั้น SRI จึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นที่สนใจในหมู่นักลงทุน ปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนที่มีการลงทุนในธุรกิจที่มี CSR ที่เรียกว่า SRI มีมูลค่าเกินกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มที่มากขึ้นเรื่อย ๆ

ประการต่อมาCSR ช่วยสร้างการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ตัวอย่าง บริษัทที่สามารถใช้ CSR ในการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ เช่น ฮิวเลตต์แพคการ์ด ที่เคยให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในชุมชนห่างไกลในอินเดียที่ไม่มีไฟฟ้า ใช้ ได้คิดค้นเครื่องพรินเตอร์ที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องไฟฟ้า ในที่สุดนวัตกรรมนี้ถูกนำมาใช้เป็นสินค้าตัวหนึ่งของบริษัท หรืออีกตัวอย่างของ Toyota ที่เริ่มผลิตรถ Hybrid ที่ใช้ได้ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้า โดยที่การขับเคลื่อนรถ Hybrid นี้ ปล่อยมลพิษเพียง 10% เมื่อเทียบกับรถปกติ และใช้น้ำมันเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ทำให้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลายเป็นสินค้าตัวใหม่ของบริษัท

ประการสุดท้าย CSR ช่วยสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน กล่าว คือ ขณะที่คนมองว่า CSR เพิ่มภาระต้นทุนของธุรกิจแต่ในระยะยาว แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฎว่า การจัดกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับแนวคิด CSR จะส่งผลช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น มีโครงการลดการใช้ไฟฟ้าโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของบริษัทเมื่อปี 2547 ทำการเปลี่ยนหลอดไฟ 30 สาขาเป็นหลอดประหยัดพลังงานใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์ และบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เพียง 8 เดือน มีการเก็บตัวเลขพบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 90 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าการดำเนินงาน CSR ได้ช่วยให้บริษัทลดของเสียในการกระบวนการผลิตได้อย่างมาก
เราคงจะเห็นแล้วว่า CSR มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ถ้าหากธุรกิจที่ประกอบการอยู่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และให้ความสำคัญในการ ดำเนินนโยบายด้าน CSR สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น