ศ. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com
เรียนรู้การแก้วิกฤติการศึกษาในอิสราเอล
ปัญหาการศึกษาในต่างประเทศ อิสราเอล เป็นประเทศที่มีปัญหาการศึกษาคล้ายคลึงกับไทยอย่างมาก ปัจจุบันความเชื่อมั่นของคนอิสราเอลต่อระบบการศึกษาลดต่ำลง ทั้งยังเกิดความวิตกกันว่าในอนาคต อิสราเอลจะไม่ได้เป็นประเทศที่โดดเด่นด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกต่อไป แม้ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของอิสราเอลมีมูลค่าอยู่ที่ร้อยละ 12 ของ GDP ซึ่งมากกว่า 1 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมด แต่เมื่อเทียบกับ 20 ปีที่แล้ว อุตสาหรรมสาขาดังกล่าวเคยเติบโตมากกว่านี้ 2 เท่า
สัญญาณที่บ่งบอกว่าการศึกษาในอิสราเอลมีปัญหา และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยพบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันในหลายประการ ดังนี้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ ในศตวรรษที่ 1960s นักเรียนอิสราเอลมีศักยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อันดับต้น ๆ ของโลก แต่ศักยภาพด้านนี้ได้ลดลงเรื่อย ๆ โดยในปี 2002 เลื่อนอันดับลงไปอยู่ที่ 33 จากทั้งหมด 41 ประเทศ ตามหลังประเทศไทยและโรมาเนีย และนักเรียนอายุ 18 ปี เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานการอ่านภาษาฮีบรู (standard Hebrew reading comprehension test) จากที่เคยผ่านถึงร้อยละ 60 เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เช่นเดียวกับประเทศไทย ผลการสำรวจในโครงการ PISA ปี 2549 เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ไทยควรปรับปรุงการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และยังมีผลการทดสอบระดับชาติ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2546-2547 และ 2549 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยวิชาหลักต่ำกว่าร้อยละ 50 ในวิชาสังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ยกเว้นวิชาภาษาไทย ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2548-2549 โดยสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยวิชาหลัก 5 วิชา คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่ำกว่าร้อยละ 50 ทั้ง 2 ปี ยกเว้นภาษาไทย
ครูมีภารกิจงานมากแต่ค่าจ้างต่ำ OECD กล่าวว่า ในบรรดาประเทศอุตสาหรรม เงินเดือนครูอิสราเอลนับว่าต่ำที่สุด โดยเงินเดือนเริ่มต้นของครูอิสราเอลได้เพียง 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งไม่พอสำหรับค่าเช่าอพาร์ตเม้นต์ในเมืองเทลอาวีฟ (Tel Aviv) ส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของครู ไม่เพียงเท่านั้นครูอิสราเอลยังมีภาระความรับผิดชอบมาก นาย Asaf Makover ครูโรงเรียนมัธยม Jerusalem’s Beit-Chinuch High School กล่าวว่า ปัจจุบันการเรียนการสอนของครูอิสราเอลอยู่ในระดับเลวร้าย ครู 1 คน ต้องรับผิดชอบนักเรียนถึง 40 คน และนอกจากงานสอน ครูยังต้องรับผิดชอบภาระอื่นในโรงเรียนอีก ซึ่งกระทบต่อเวลาสอน ปัญหาดังกล่าวได้สะสมมานาน จนกระทั่งเดือนตุลาคม 2550 ครูอิสราเอลได้รวมตัวกันประท้วง เพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้เพิ่มค่าจ้างและปรับปรุงสภาพการทำงานของครูให้ดีขึ้น จนเป็นเหตุให้หลายโรงเรียนต้องหยุดการเรียนการสอนชั่วคราว
ปัญหาครูอิสราเอลไม่ต่างจากครูไทย กล่าวคือ ครูไทยมีผลตอบแทนและสวัสดิการต่ำ แต่มีชั่วโมงการทำงานที่สูง ส่งผลต่อคุณภาพทางการศึกษาของผู้เรียน ข้อมูลจาก Education at a Glance 2005 ของ OECD พบว่า ครูไทยมีภาระงานหนักกว่าครูในประเทศกลุ่ม OECD รวมทั้งประเทศในแถบภูมิภาคเอกเชียอีกหลายประเทศ โดยครูไทยต้องรับผิดชอบนักเรียน 40 คน ต่อ 1 ห้องเรียน มีชั่วโมงการทำงานอยู่ระหว่าง 900-1,200 ชั่วโมงต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยชั่วโมงการทำงานของครูในประเทศกลุ่ม OECD ซึ่งอยู่ที่ 600-700 ชั่วโมงต่อปี
ในขณะที่ประเทศไทยก็ประสบปัญหาครูทำงานหนักแต่รายได้ค่อนข้างต่ำเช่นกัน จากรายงานการวิจัยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย (2547) โดย รศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง รศ.ดร.จรูญศรี มาดิลกโกวิท และคณะฯ พบว่า ค่าตอบแทนครูต่ำเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่น อีกทั้งระบบเงินเดือนเดียว กล่าวคือ อัตราเงินเดือนระหว่างครูเก่งครูดีกับครูคุณภาพต่ำไม่แตกต่างกัน ทำให้ครูเก่งครูดีขาดกำลังใจและมีแนวโน้มจะขอออกจากการประกอบวิชาชีพครูมากขึ้น
การขาดแคลนครูในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ปัจจุบันอิสราเอลขาดแคลนครูที่เชี่ยวชาญในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เนื่องจากที่ผ่านมาได้ลดมาตรฐานผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูในวิชาดังกล่าวลง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เคยกำหนดเงื่อนไขผู้ที่เข้ามาเป็นครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไว้ว่า อย่างน้อยต้องจบจากมหาวิทยาลัย แต่ในปัจจุบันได้ลดเงื่อนไขดังกล่าวลง ในประเทศไทยผลจากนโยบายจำกัดอัตรากำลังคนของภาครัฐ หรือการเออลี่รีไทร์ ทำให้ขาดแคลนครูอย่างรุนแรงตั้งแต่ปี 2543 โดยเฉพาะครูวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้ กระบวนการผลิตครูยังไม่สามารถคัดเลือกคนดีคนเก่งมาเป็นครู และแม้ครูจะรู้เนื้อหาสาระและวิธีสอน แต่ไม่สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น อิสราเอลยังเกิดสภาพการณ์ที่ผู้ปกครองความไม่มั่นใจในคุณภาพการศึกษา ผลจาก การตัดงบประมาณเพื่อการศึกษาของรัฐบาลอิสราเอล จากร้อยละ 9.3 ของ GDP ในปี 2002 เป็นร้อยละ 8.3 ของ GDP เมื่อปลายปี 2006 ทำให้โรงเรียนลดชั่วโมงการเรียนการสอนลงไป เมื่อปี 1997 นักเรียนใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนจำนวน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ในวันนี้ ผู้เรียนใช้เวลาเรียนเพียงแค่ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โรงเรียนส่วนใหญ่หยุดการสอนตั้งแต่เวลา 13.00 น. เพราะบางวิชาไม่มีการเรียนการสอน หรือบางวิชาไม่สามารถสอนได้ครบตามหลักสูตร โดยวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ถูกตัดทอนบทเรียนลงไป วิกฤติการณ์ดังกล่าว ทำให้พ่อแม่ปกครองไม่มั่นใจในคุณภาพการศึกษาหา จึงทางออกโดยจัดครูพิเศษมาสอนให้บุตรหลานตนหลังจากเลิกเรียน
การแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาของอิสราเอล อิสราเอลแก้ไขปัญหาการศึกษาด้วยการเพิ่มงบประมาณในปี 2008 โดยอิสราเอลจะเพิ่มงบประมาณอีก 400 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการศึกษา โดยงบฯ ที่เพิ่มเข้ามานี้นำมาใช้เป็นเงินเดือนครูและการปฏิรูปโรงเรียน โดยรัฐบาลมีงบผูกมัดว่าต้องเพิ่มงบฯ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 5 ปี นั่นหมายความว่า รัฐบาลอิสราเอลให้ความสำคัญกับการปฏิรูปที่ครูผู้สอน และสถานศึกษามากกว่าการพัฒนาหรือปฏิรูปในส่วนอื่น
หากมองย้อนกลับมายังประเทศไทยพบว่า ไทยเองก็ประสบปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาหลายประการที่คล้ายคลึงกับประเทศอิสราเอล แม้ว่าไทยจะมีความพยายามปฏิรูปการศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 โดยออก พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และจัดโครงการดำเนินการจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน แต่กลับพบว่า การศึกษาไทยยังประสบปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา ที่ยังไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร
ผลการประเมินขององค์กรระหว่างประเทศพบว่า การศึกษาไทยประสบปัญหาด้านคุณภาพ ตั้งแต่ปฐมวัยถึงระดับอุดมศึกษา อาทิ องค์การความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD จัดโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ปี 2549 โดยสำรวจความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่านของนักเรียนอายุ 15 ปี จำนวน 4 แสนคน ในประเทศสมาชิก OECD 57 ประเทศ ผลการสำรวจพบว่า มีนักเรียนไทยไม่กี่คนทำคะแนนอยู่ในกลุ่มความสามารถระดับสูง นักเรียนไทยประมาณร้อยละ 40 ทำคะแนนอยู่ในระดับ 1 หรือต่ำกว่า และร้อยละ 50 ทำคะแนนด้านคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ 1 หรือต่ำกว่า องค์การยูเนสโก ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แนะนำว่าไทยควรเพิ่มคุณภาพการศึกษา โดยระดับปฐมวัยควรปรับหลักสูตรการเรียนการสอน ระดับอุดมศึกษาควรปรับการวัดมาตรฐานการสอน ทำวิจัย และเพิ่มจำนวนหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น
ปรากฏการณ์วิกฤตคุณภาพการศึกษาไทยดังกล่าวนี้ แสดงนัยถึงไทยต้องกลับไปทบทวนแนวทางปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาว่า มีปัญหา อุปสรรคใด และมุ่งเน้นที่การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ที่มิได้มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมโครงการต่าง ๆ มากมาย โดยไม่ได้ยึดโยงสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประเด็นสำคัญอยู่ที่การหาจุดที่เป็นคานงัดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ถูกต้อง ดังตัวอย่างของอิสราเอลที่เห็นว่า จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ต้อง “พัฒนาที่ตัวครู” และ “ปฏิรูปที่สถานศึกษา” ซึ่งหากวิเคราะห์คานงัดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ผมเสนออย่างน้อย 3 จุด ได้แก่
1) นำธงชัด โดย รมต. ศธ. ต้องชัดเจนด้านการกำหนดนโยบายการศึกษา และมีกลไกให้เกิดดำเนินการต่อเนื่องแม้มีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล
2) จัดสรรทรัพยากรโดยจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวให้แก่ผู้เรียนตามคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3) พัฒนาคุณภาพครู โดยพัฒนาครูให้มีคุณภาพในการสอนและมีขวัญกำลังใจในการประกอบวิชาชีพ
การปฏิรูปการศึกษาไทยจะมุ่งสู่เป้าหมายการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้หรือไม่นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตั้งลำ และหาคานงัดสำคัญในการขับเคลื่อนไปอย่างถูกทิศ มิใช่การดันทุรังดำเนินการไปในกรอบเดิมที่แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่เกิดผลในเชิงประจักษ์
บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)
credit by www.kriengsak.com
Well notice work of Professor Kriengsak Chareonwongsak
President of the Institute of Future Studies for Development in Thailand and Chairman of Success Group of Companies in Thailand |and Hope that your like
Thursday, June 2, 2011
Wednesday, June 1, 2011
Professor Kriengsak chareonwongsak To be a gentleman
“ การจะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่านี่ต้องเกิดจากการทิ้งมรดกของการทำบางอย่างไว้ก่อนที่เราจะตายจากโลกนี้ไป แล้วก็อยากเป็นการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองในเชิงสร้างสรรค์ที่ทิ้งบ้านเมืองที่ดีในอนาคตเพื่อคนรุ่นต่อไปจะได้เป็นอยู่ ”
หากจะเปรียบเปรยคำพูดข้างต้นของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ชายผู้มากความสามารถ รวมถึงในฐานะนักคิด นักเขียน ผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 51 ปี ผู้นี้ คงเสมือนดั่งวรรคทองในกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระปรมานุชิตชิโณรส ที่ว่า
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
อาจเป็นเพราะชีวิตมีอะไรให้ค้นหาไม่รู้จบ หนอนหนังสือตัวน้อยจึงเติบโตเป็นผีเสื้อแสนสวยสร้างสรรค์ความงามแก่โลกในภาระหน้าที่ตามวิถีทางแห่งชีวิตของตน
“ ผมเป็นคนอ่านหนังสือวันละเล่มตั่งแต่สมัยเป็นนักเรียนนะครับ ก็อ่านหนังสือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ปรัชญา การบริการ ประวัติบุคคลสำคัญ อ่านมาตลอดชีวิต และเป็นนักกิจกรรม ผมเป็นประธานค่ายอาสาพัฒนาของโรงเรียนอัสสัมชัญที่บางรักครับ ได้ไปทำกิจกรรมสร้างโรงเรียนในอีสานระหว่างปิดเทอมฤดูร้อนของโรงเรียน
“ อุดมการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในใจ ที่ค่อนข้างชัดเจนมาตั้งแต่เด็กนะครับ ก็เลยทำให้การดำเนินชีวิตในวิถีต่อมาในทิศทางที่จนถึงในวันนี้ในหลายอย่างก็เพราะเห็นว่า เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เชื่อมโยงกันหมด และคนเรามีโอกาสได้เล่นบทบาทในชีวิตหนึ่งนี่ได้จำกัด เพราะเวลาชีวิตความเป็นผู้ใหญ่มีน้อย เราต้องวางการตัดสินใจให้น้ำหนักคุณค่าชีวิตอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องคิดเชิงปรัชญากับชีวิต ต้องคิดเชิงความสมจริงกับการที่จะมองไปข้างหน้าว่าเราอยากจะให้ชีวิตเราไปทำอะไรเพื่อทำให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในบ้านเมือง ความสนใจอันนี้จึงเกิดขึ้นมาตั่งแต่เด็กและไม่เคยจืดจางหายไปครับ ”
ในบทบาทนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ผู้มีผลงานอันมีคุณูปการต่อประเทศ ทั้งยังมีประสบการณ์ด้านการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ การต่างประเทศ สังคม และการศึกษา กับตำแหน่งในฐานะที่ปรึกษาของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารประเทศมาหลายยุคหลายสมัย ทั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และล่าสุดก่อนที่จะโดดเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวในสภาผู้แทนราษฎร คือ ผู้อำนายการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ( Institute of Future Studies for Development: ; IFD ) สะท้อนมุมมองพัฒนาการของเมืองไทยในสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้กระทำ และรับรู้
“ ที่เราถูกจัดอันดับให้อยู่ล่างๆ เป็นเพราะว่าเรานำเข้าเทคโนโลยีมากเกินไป และองค์ความรู้ที่มีอยู่ก็ถูกกำหนดโดยกลุ่มผู้ปกครองที่นำสิ่งเหล่านี้เข้ามา ดังที่สังคมไทยประสบเรื่องมาตั้งแต่อดีตหรือเปล่า
“ ผู้ทำงานวิจัยก็ไม่ได้รับเกียรติ ไม่ได้รับเงินทองตอบแทน ไม่ได้คุณค่าเชิงปัญญามากนัก ไม่มีใครเอาไปใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมก็ไม่มาเชื่อมโยงกับงานวิจัย การเอาไปใช้ประโยชน์เชิงสังคมก็ไม่เต็มที่ สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้งานวิจัยเราอ่อนแออยู่เหมือนกัน เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการลอกเลียนแบบ การขอซื้อเข้ามาของเทคโนโลยี การขอถ่ายโอนเทคโนโลยี การขโมยเทคโนโลยี
“ แต่การสร้างเทคโนโลยีด้วยภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของเรามีไม่มาก เมื่อมีไม่มากเราก็ไม่มีอะไรที่จะสามารถไปขายเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญารูปแบบนี้ได้เต็มที่นัก ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายอย่างที่ดีของเราก็ไม่ได้นำมาจัดระบบเป็นวิทยาศาสตร์
“ เช่น เรารู้ว่าสมุนไพรนี่ดีเราก็ไม่ได้ไปวิจัยกันจนถึงแก่สูตรเคมีว่ามันเป็นสูตรอะไรเพื่อจดทะเบียนได้ เรารู้เพียงแต่ว่าต้องเอาของอันนี้มา 3 กำผสมกับสมุนไพรอีกแบบหนึ่งแล้วนำไปต้มใสหม้อไว้แล้วก็กิน แต่เราไม่รู้ว่าเบื้องหลังสมุนไพรมันมีสาสารอะไรบ้างที่เราสกัดมาจากห้องแลบวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะเรียกชื่อเป็นสากลทางเคมี ทางรหัสวิทยาศาสตร์แล้วจะได้เอาไปจดทะเบียน แล้วเอาไปต่อยอดทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มูลค่าเพิ่ม ”
คนไทยใช่ว่าโง่ แต่คนไทยไม่ขวนขวาย และขาดการส่งเสริมในวิถีทางที่เหมาะที่ควร ถูกสร้างภาพมายาให้นับถือ ' วัตถุ ' มากกว่า ‘ ปัญญา ' สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในปัจจัยของการเดินตามมหาอำนาจไม่สิ้นสุด
“ ความไม่รู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ดี ความไม่สนใจเรียนที่วิชาการที่มันเพิ่มขึ้น คณิตศาสตร์เราก็แทบไม่เรียนอย่างจริงจัง ฟิสิกส์ก็ไม่เรียนวิชาอะไรที่เรียนยากๆ เราก็หนีหมด เราบูชา … ผมใช้คำๆ หนึ่งว่า เราเป็นปริญญาชนเราไม่ชอบเป็นปัญญาชน นี่เป็นคำพูดที่ผมสร้างขึ้นนานแล้ว แล้วเราบูชาวุฒิบัตรที่เอามาปะข้างฝาโชว์เพื่อนให้รู้สึกเราน่าภูมิใจ แต่ไม่ได้สนใจเนื้อหาที่เรียนจริง
“ ถ้าเผื่อว่าเรายังสนใจอย่างนี้แล้วทำมหาวิทยาลัยของเราให้เป็นโรงงานผลิตปริญญาต่อไปโดยไม่สนใจคุณภาพ วันหนึ่งเราก็จะเศร้าใจว่าคนที่เราผลิตออกมาไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นักอันนี้ก็ทำให้เราอ่อนด้อยบ้าง ”
เฉกเช่นแวดวง ‘ คนในเครื่องแบบ ' หรือ ' คนมีสี ' องค์กรทางสังคม ซึ่งขับเคลื่อนความเจริญของประเทศชาติอยู่เบื้องหลังเสมอมา หากแต่โลกเปลี่ยนบทบาทต้องเปลี่ยนตาม คนในระบบราชการจึงต้องผันแปรไปตามทิศทางลมโดยไม่ไหวเอนต่อความเปลี่ยนแปลงอันถาโถมอย่างรุนแรง แม้ภาระความรับผิดชอบ และระบบที่พันธนาการการเคลื่อนไหวไม่อิสระเท่าเอกชนก็ตาม
“ คำว่า คนมีสี อาจดูเป็นคำแง่ลบไป ขออนุญาตเรียกว่า คนในเครื่องแบบ จะเหมาะสมกว่า ในที่นี้ครอบคลุมกลุ่มทหาร ตำรวจ และรวมถึงกลุ่มข้าราชการด้วย สำหรับผมแล้วมองว่าสถาบันทั้งสามมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งต่อความสงบเรียบร้อย ความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคงของประเทศ
“ ทั้ง 3 สถาบันนี้เป็นสถาบันที่มีอำนาจ ซึ่งนำมาใช้อย่างเสียสละเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
สถาบันทหาร - ปกป้องประเทศจากการรุกราน รักษาความมั่นคงของประเทศ
สถาบันตำรวจ - เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
สถาบันข้าราชการ - ทำงานเพื่อประชาชน มีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศ
“ กลุ่มบุคคลเหล่านี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น ผู้เสียสละ เพราะนอกจากยินดีรับรายได้ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับภาคเอกชนแล้ว ยังยินดีเสียสละในการทำงานที่ยากลำบาก เสี่ยงอันตราย และทุ่มเท เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนในยามที่เกิดปัญหาและวิกฤตต่าง ๆ ในบ้านเมือง
“ นอกจากนี้ ยังเป็นกลุ่มคนที่เรียกว่ามีความเป็นเอกภาพ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา สามารถเรียกปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อมีภารกิจด่วน
“ ภาพที่น่าประทับใจในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ ตำรวจจำนวนหลายร้อยนายได้เสียสละมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลตรวจตราความเรียบร้อยและรักษาความสงบ ในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเป็นเวลาต่อเนื่องหลายวัน หรือเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทหารจำนวนมากได้ลงไปปฏิบัติภารกิจ โดยพยายามร่วมมือกับประชาชนและเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างของชุมชนมากขึ้น ”
เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกนัก หากจะเปรียบกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นเสมือนโล่คุ้มภัยปกป้องสังคมท่ามกลางปัญหารุมเร้านานัปการ
“ ผมมองว่า ความมั่นของชาติ เป็นเหมือน ความมั่นคงของชีวิต คนที่ต้องการให้ชีวิตตนเองและคนในครอบครัวมั่นคง มักจะซื้อประกันไว้ แม้จะยังไม่เกิดอุบัติเหตุใดๆ แต่การมีประกันย่อมทำให้อุ่นใจได้มากกว่า สำหรับบางคนหากไม่มีสถานการณ์วิกฤตเกิดขึ้นอาจรู้สึกไม่ค่อยเห็นคุณค่าการประกันมากนัก
“ เช่นเดียวกับ สถาบันทหารและตำรวจ ก็เหมือนกับระบบประกัน เหมือนประเทศของเราซื้อประกัน เราจะรู้สึกหรือตระหนักว่ามีประโยชน์ ก็ต่อเมื่อเกิดปัญหา เกิดวิกฤตขึ้นทำให้ต้องพึ่งพา เมื่อเราได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ช่วยเหลือจากบุคคลในสถาบันเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันที่ประกันความมั่นคงของชาติ กองทัพที่เข้มแข็ง มีความพร้อมด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ เรียกได้ว่าเป็นดัชนีชี้วัดความมั่นคงของชาติ ประเทศต่าง ๆ จึงต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้ไว้เสมอ กองกำลังตำรวจที่เข้มแข็ง ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้เช่นกัน
“ กลุ่มบุคคลในสถาบันเหล่านี้จึงเป็นบุคคลสำคัญยิ่ง จำเป็นต้องใช้อำนาจที่มีอยู่ภายในขอบเขต และใช้อำนาจด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้เพื่อปกป้องประเทศชาติและประโยชน์สุขของตน ไม่ควรมีใครสักคนใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมเพื่อแสวงหาประโยชน์ต่อตนเอง และเอารัดเอาเปรียบประชาชน ”
เมื่อย้อนถึงเส้นทางชีวิตของชายหนุ่มผู้แบกประสบการณ์ชีวิตไว้เต็มหลังผู้นี้ ครอบครัว คือผู้มอบตะกร้าใบใหญ่ให้เขาเดินออกไปจับจ่ายความรู้เอามาเป็นทุนชีวิต
“ ผมก็โชคดีที่โตมาในครอบครัวที่มีองค์ประกอบดีๆ หลายอย่าง อันแรกก็คือเป็นครอบครัวที่ให้เสรีภาพกับลูกในการจะคิด ไม่ได้สั่งการให้เราทำคือโดยที่ไม่ได้คิดเองเป็น เราต้องคิดเองเป็น แล้วก็ไม่ได้เป็นครอบครัวที่ไม่ได้ให้เราใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย แม้ผมเกิดในครอบครัวที่มีฐานะใช้ได้ ก็รู้สึกเหมือนว่าเราถูกสอนให้ประหยัด อดออม ให้รู้จักไม่มองวัตถุเป็นของสำคัญ ให้รู้จักคุณค่าของความเป็นคน ถูกสอนให้เห็นความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสิ่งสำคัญมาก ”
การหล่อหลอมจากครอบครัว และสังคมที่ดีทำให้การเกิดผ่องถ่ายสิ่งดีๆ เหล่านั้นกลับสู่สังคมเมื่อเวลาและโอกาสมาถึง
“ อุดมการณ์ของผมเกิดจากหลายสิ่ง ผสมกันทำให้เวลาไปเรียนต่างประเทศผมก็เลือกเรียนในสิ่งที่ผมชอบทำให้มีความสุขกับสิ่งที่เราทำไม่ได้จำใจว่าเราต้องทำเพราะถูกบังคับด้วยกระแสสังคม แรงกดดันของครอบครัว ความจำเป็นในการอยู่รอดอนาคตของอาชีพ แต่เราเลือกกับสิ่งที่ตรงกับความถนัด ความสนใจ อุดมการณ์ถ้าใช้คำนี้ก็น่าจะถูกทำให้เรามีอุดมการณ์ชีวิตทำให้เรามีคุณค่า ทำให้เราไม่รู้สึกว่าเราเป็นทาสของระบบสังคม
“ แต่เราเป็นนายเหนือตัวเองที่มีสิทธิ์จะเลือกได้ทำให้เราทำไปอย่างมีความเต็มใจ สิ่งนี้ก็ทำให้เราเป็นอย่างนั้นเชื่อมั่นว่าจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าเรามีความสุขในสิ่งที่เราทำแล้วผมก็มีความสุขทุกช่วงชีวิตตั่งแต่เกิดจนถึงวันนี้เลยครับ ”
ขณะที่หลายคนมีทิศทางการดำเนินชีวิตหลายรูปแบบ แต่เด็กชายเกรียงศักดิ์ กำหนดทิศชีวิต และทำตามวิถีทางที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์ในแบบฉบับของผู้ชายคนหนึ่ง(ที่ไม่ใช่ผู้วิเศษ)
“ ทิศทางผมง่ายมากเลยครับ เพราะผมสรุปมาแต่เด็กแล้วว่าผมอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทิ้งมรดกความประพฤติที่ทำให้ประเทศไทยดีขึ้นกว่าเดิม มีส่วนช่วยพัฒนาสร้างสรรค์ประเทศชาติให้น่าอยู่ แก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคมไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็คืออุดมการณ์
“ ใช้ชีวิตเพื่อสร้างสังคมประเทศชาติเมื่อเด็กคิดอย่างนั้น เพราะได้ทำกิจกรรม พอเรียนหนังสือก็เลยตัดสินใจตามกระบวนคิดของโลกทัศน์ที่มีอยู่ นั่นก็คือผมอยากจะเรียนสิ่งที่ตรงกับความถนัด นำเอามาใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาบ้านเมือง ผมก็เลยเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ ความจริงผมมีโอกาสได้เรียนแพทย์ มีโอกาสได้เรียนวิศวกรรมศาสตร์ ผมเป็นนักเรียนทุนที่มีโอกาสได้ทำ แต่ผมเองเลือกสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นภาพรวม มหภาคของสังคม ”
ซึ่งผลผลิตทางความคิดของเขาได้ถ่ายทอดออกเป็นบทบันทึกทางสังคมในรูปแบบหนังสือ ตามเจตนารมณ์อันแรงกล้า
“ ถ้าเราเขียนหนังสือวันนี้เราตายผุพังเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยไปแต่ความคิดเราอยู่ถ้าเขียนหนังสือ อุดมการณ์ก็ผลักดันผมให้เขียนหนังสือเพื่อทิ้งความคิดให้คนอื่นช่วยทำ ถ้าเราทำไม่เสร็จการเขียนหนังสือก็เป็นวิถีทางปัญญาในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ผมสรุปมาแล้วตั่งแต่ต้นว่าวิถีทางในการทางความคิดสำคัญที่สุด
“ เป็นปัญญาชนที่สำคัญคือ การค้นหาองค์ความรู้ กระจายองค์ความรู้ช่วยสังคมไปผมจึงเลือกวิถีการเป็นครูบาอาจารย์ด้วยอุดมการณ์อีกเหมือนกัน เขียนหนังสือก็ด้วยอุดมการณ์ ตั้งบริษัทพิมพ์หนังสือขึ้นมา ผมเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ซัคเซส และก็มีบริษัทหลายอย่าง คือถ้าไปดูมันจะตรงกับอุดมการณ์ เช่นมีสำนักพิมพ์ก็เพื่อจะเผยแพร่ความรู้ให้กว้างที่สุดที่ประเทศไทย ต่างประเทศก็เพื่ออุดมการณ์เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ก็เพื่อเผยแพร่ความคิดของอุดมการณ์ การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก็เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความคิด ให้คนไทยได้รับแง่คิดเพื่อจะช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศสังคม
“ ทุกอิริยาบถที่ผมทำมันถูกควบคุมด้วยโลกใบนี้คนที่ผมต้องการเห็นประเทศชาติเชิงบวกตั้งแต่เด็ก ”
จากนักคิด นักเขียน สู่การเป็นที่ปรึกษา หนึ่งในเซลล์สมองของการพัฒนาชาติ
“ การไปเป็นที่ปรึกษาในวุฒิสภาและที่ปรึกษาในสภาผู้แทนราษฎรในคณะต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมาก็ทำให้อุดมการณ์ของเราไปใส่ในมือของผู้ที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยเพื่อจะไปแก้กฎหมาย เพื่อจะไปทำหน้าที่ในบ้านเมืองให้เป็นไปตามที่เราคิดว่าดี ก็เพื่ออุดมการณ์ก็เต็มใจไปช่วยแม้ไม่ได้อะไรเลย
“ ไปเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีก็ดี เป็นที่ปรึกษามายกรัฐมนตรีก็ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็ดี ก็ด้วยอุดมการณ์ก็ถือว่าเค้าถืออำนาจรัฐเราสามารถ ถ้าจะมีคำแนะนำที่ดีมีส่วนช่วยโดยทำหน้าที่อยู่เบื้องหลังที่ดี ก็คือการช่วยชาติ ผมก็เลยไม่ได้แบ่งว่าเป็นพรรคใดไม่ได้ถือว่าทุกคนต้องดีบริสุทธิ์ เลิศล้ำ แต่ขอให้ทำหน้าที่จุดไหนดี ก็ช่วยส่งเสริมเขาไปเพื่อให้บ้านเมืองได้อานิสงส์ผมก็ยินดีเต็มใจกว้าง
“ จะเห็นว่าผมช่วยกว้างขวางหมดทุกพรรคแบบที่ไม่ได้ฝักใฝ่ แต่หวังว่าจะได้ให้ประโยชน์กับประเทศชาติเพื่ออุดมการณ์ถ้าเราพาตัวถอยห่างมาไกลแล้วไม่เข้าไปช่วย แล้วเราปล่อยเขาเขาก็ไม่ได้คำแนะนำที่เราคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ก็ทำเพื่ออุดมการณ์อีก
“ ไปทำที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ยังเป็นองค์กรในรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่โดยตรงมีกฎหมายรองรับทั้งรัฐธรรมนูญ ทั้งพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติที่มีหน้าที่เทียบรัฐมนตรี อันนี้ก็ตรงเลยหวังว่าจะไปทำให้รัฐมนตรีทำสิ่งที่ดีๆ ก็อุดมการณ์ ”
บางทีการเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอาจะไม่เป็นไปดั่งใจหมาย กลับกลายเป็นพลังให้นักวิชาการเปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมืองเต็มตัว
นอกเหนือจากการเป็นนักวิชาการ เขาคือนักเดินทาง กับประสบการณ์ชีวิตของนักเดินทางผู้มากมิตร ในความรู้สึกที่ว่า ถ้าหากวันหนึ่งไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เดินไปเคาะประตูบ้านเพื่อนๆ จะได้รับอะไรตอบกลับมา
“ ผมเป็นคนซึ่งถือว่ามิตรภาพไมตรีจิตเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง สะสม 3 อย่างเท่านั้นในชีวิต นอกนั้นไม่ได้สะสมมันมาเอง อาจจะมีบ้างบางอย่างโดยที่ไม่ได้สะสมแต่ตั้งใจสะสมมี 3 อย่าง 1.มิตรภาพ 2.หนังสือ 3.ความคิด ความคิดก็แปลมาเป็นข้อเขียน สัญลักษณ์ของความคิดคือปากกา หนังสือนี่สะสมเพราะเป็นภูมิปัญญาความรู้ โลกขับเคลื่อนด้วยความรู้ มิตรภาพนี่ทำให้ชีวิตมีความสุข ผมตั้งใจสะสมผมมีเพื่อนมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย ผมสามารถอาศัยนอนบ้านเพื่อนได้ทุกที่โดยไม่ต้องใช้โรงแรมถ้าไม่อยากใช้
“ ฉะนั้นทั่วโลกผมก็มีเพื่อนมากมายมหาศาล ผมคิดว่าผมเป็นคนโชคดีมีเพื่อนมาก มิตรภาพไมตรีจิตนั้นเป็นสิ่งที่ดีเลิศมีคุณค่า แต่จะมีได้โดยต้องไม่เอาเปรียบเพื่อน ต้องหวังดีกับเพื่อนต้องไม่คบกันด้วยผลประโยชน์ แต่เมื่อเรายิ่งคบกันแล้วไม่ได้คิดจะเอาประโยชน์ แต่เราหวังจะให้ประโยชน์ แน่นอนเราต้องพึ่งพากันเพราะถ้าเพื่อนมีน้ำใจต่อเราในยามจำเป็นมันก็ทำให้เกิดความรู้สึกขอบคุณที่เขานึกถึงเรา แต่การตั้งใจจะไปขออะไรใครผมไม่มี ยกเว้นแต่ไปขอเพื่อเพื่อนสนิทเป็นส่วนใหญ่ขอเพื่อตัวเองแทบไม่เคยทำ ส่วนใหญ่จะไปขอเพื่อนเพื่อช่วยกันทำต่อๆ
“ การพึ่งพากันก็เป็นเรื่องธรรมดา เราทุกคนโยงใยกันไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่พึ่งคนอื่น ผมก็คิดว่าวันไหนผมจะไปหาใคร ผมเชื่อมั่นว่าเพื่อนๆ ผมส่วนใหญ่จะตอบสนองนะครับ ”
ในภาวะที่ระบบอุปถัมภ์ถูกวิพากษ์หนาหูโดยเฉพาะในฟากการเมือง และธุรกิจ เมืองไทยในสายตาของผู้มากบทบาทชีวิต น่าคิดนัก...
“ ผมว่าระบบอุปถัมภ์เป็นระบบที่อยู่ในสังคมไทยแบบลึกซึ้งมาก ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันไม่ได้หายไปไหน เพียงเปลี่ยนหน้ากาก เปลี่ยนรูปแบบการแสดงออกเท่านั้นเอง ซึ่งก็หวังลึกมากในสังคมไทย เราก็รู้ว่าถ้าเราอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของใครก็มีประโยชน์เจือสมกันทั้ง 2 ฝ่าย" ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าว
“ ฉะนั้นระบบนี้ถ้าใช้ทางที่ถูกก็ดี แต่ถ้าใช้ทางที่ผิดก็เสียหายหนักมันทำให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก ทำให้ระบบคุณธรรมไม่เกิด แต่เครือญาติเพื่อนฝูงได้ประโยชน์ แต่คนอื่นไม่ได้ประโยชน์และกีดกันคนดีด้วย ฉะนั้นระบบอุปถัมภ์จึงควรใช้ในทางที่ถูก ก็คือมีน้ำใจกับคนอื่น ไม่ใช่อุปถัมภ์แต่ตัวเอง แต่อุปถัมภ์คนอื่นโดยใช้หลักเกณฑ์ที่มีความเป็นธรรม ”
เมื่อนักคิดที่ชื่อ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ลองทำนายอนาคต(โดยนำสถานการณ์ปัจจุบันมาประกอบ)
“ ทิศทางของประเทศไทยพุ่งไปทางทิศเดียวกันกับสังคมโลกที่กระแสพาไป แต่ตรงรอยต่อเป็นรอยต่อที่มีความขัดแย้งทำยังไงจะจัดการเพื่อให้คนบางกลุ่มไม่เสียผลประโยชน์ในเชิงเขาเดือดร้อนสาหัส ทำยังไงจะกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึง และตรงรอยต่อนั้นไม่ทำให้ผู้อ่อนด้อย เสียเปรียบถูกทอดทิ้งอย่างโหดร้ายเพราะสังคมที่ต่อสู้กันแบบมีผู้แพ้ผู้ชนะอย่างเดียวจะทำให้ผู้แพ้ที่แพ้ถาวรไม่มีปัญญาลุกขึ้นชนะ บางเรื่องจะเป็นผู้ที่ตกเวทีโลกสูญเสียโอกาสไปมาก ตกทุกข์ได้ยากมาก ต้องมีเมตตาธรรมต่อกันสังคมที่มีคุณธรรมจึงสำคัญในโลกที่ใช้ประสิทธิภาพวัดกันแข่งขันกันอย่างสุดๆ ”
“ ระบบการแข่งขันเป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้นเพื่อจะพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ กระแสโลกได้บีบเราแต่จำเป็นต้องมียีนส์สำหรับซึ่งคนอ่อนแอ ที่แข่งไม่ไหวเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีมีความสำคัญสำหรับโดยที่ยิ่งไม่ต้องการการแข่งขันจนเกินตัวไป ”
“ การมองทุกมิติวันนี้ตาผมสว่างขึ้นในการที่ตกผลึกในการที่อ่านมามากก็ดี วิจัยมามากก็ดี เล่นบทบาทมาหลายบทบาทในสังคมก็ดี บังเอิญเป็นคนโชคดีที่เป็นรอยต่อของหลายบทบาทมาก ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสเหมือนผม ผมมีบทบาททั้งทางวิชาการ บทบาททั้งทางธุรกิจบทบาทในการบริหาร บทบาทกับการทำงานกับมวลชน บทบาททั้งการเป็นสื่อมวลชนขยายต่อมาจากทางวิชาการ บทบาททางภาคราชการ บทบาททางภาคเอกชน บทบาททางการเมือง" ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ย้ำเพิ่ม
“ ถนนหลายสายชีวิตมันตัดกันจนทำให้เห็นบูรณาการตรงนี้ทำให้ผมรู้สึกเหมือนมันมีปิ๊งขึ้นอยู่กลางสมอง มีเส้นทางการใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ที่สุดนี่ ในสิ่งที่เป็นประสบการณ์ที่เราวิวัฒนาการมาต้องเป็นอย่างไร ก็เลยทำให้ผมเห็นภาพครบมิติมากขึ้นเพราะมันเมื่อเห็นภาพครบมิติก็ขับเคลื่อนพฤติกรรมให้ครบมิติมากขึ้นครับ ”
“ ฉะนั้นชีวิตคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องพัฒนาคน พัฒนานิสัยตลอดชีวิต ผมคิดว่านิสัยเป็นฐานสำคัญที่สุดกว่าความรู้ ทักษะ ผมก็ตั้งใจอยากที่จะทำอย่างนั้นก็มีอะไรดีๆบ้างที่มีอิทธิพลต่อลูกศิษย์ ผมก็ดีใจที่เค้าจะได้เลียนแบบเรา ” ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าว
ผลลัพธ์แห่งการกระทำและความภาคภูมิใจในชีวิตที่ผ่านมา 5 ทศวรรษ ไม่มีอะไรมากไปกว่าผลผลิตทางสังคมที่จะได้รับการเพาะพันธุ์อย่างเอาใจใส่และกำลังเติบโตมอบผลิตผลเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า “ ผมภาคภูมิใจมากที่สุดก็คือสิ่งที่ผมคิด สิ่งที่ผมมอง สิ่งที่ผมกระทำนั้นได้ปรากฏในบางด้านของลูกๆ ของผมนั่นเป็นการบอกถึงว่าคนที่ใกล้ตัวสุด ทำยากสุดลูกผมทั้ง 2 คนก็ได้ค่านิยมที่ดีผมไปบางอย่างผมไม่ได้ถือว่าเค้าดีเลิศสมบูรณ์แบบ แต่เค้าเป็นคนค่อนข้างดีในสายตาผม เช่นลูกชายคนโตผมก็ประสบความสำเร็จในการเรียน คนเล็กก็เช่นกัน ”
“ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เกิดได้ในชีวิตจริงของคนใกล้ตัวเรา เป็นความดีใจว่าเรานั้นไม่ได้พร่ำสอนคนอื่นให้การศึกษาไทยดีแต่แล้วลูกตัวเองล้มเหลวก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี ผมดีใจที่ลูกเราโตมาไม่ได้ทำร้ายใคร ไม่ได้คิดจะไปโกงไป มุ่งมั่นอยู่ในคุณหลักธรรมพอสมควรทีเดียว ผมคิดว่าอันนี้ทำให้ภูมิใจและดีใจว่าลูกเรานั้นเป็นคนดี ผมภูมิใจที่สุดยิ่งกว่าการเรียนอีกครับ ลูกผมเรียนอยู่ที่เมืองนอกครับเมื่อก่อนตอนเด็กๆ ก็เรียนอยู่ใกล้กันแต่ว่าตอนเขาโตขึ้นแล้วเขาก็อยู่ต่างประเทศเราก็ติดต่อกันครับ อีเมล์ติดต่อกัน คุยโทรศัพท์มาเยี่ยมทีไรก็ยังคุยอยู่เค้าก็โตแล้วก็ไม่ค่อยลำบากแล้ว ”
หากจะเปรียบเปรยคำพูดข้างต้นของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ชายผู้มากความสามารถ รวมถึงในฐานะนักคิด นักเขียน ผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 51 ปี ผู้นี้ คงเสมือนดั่งวรรคทองในกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระปรมานุชิตชิโณรส ที่ว่า
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา
อาจเป็นเพราะชีวิตมีอะไรให้ค้นหาไม่รู้จบ หนอนหนังสือตัวน้อยจึงเติบโตเป็นผีเสื้อแสนสวยสร้างสรรค์ความงามแก่โลกในภาระหน้าที่ตามวิถีทางแห่งชีวิตของตน
“ ผมเป็นคนอ่านหนังสือวันละเล่มตั่งแต่สมัยเป็นนักเรียนนะครับ ก็อ่านหนังสือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ปรัชญา การบริการ ประวัติบุคคลสำคัญ อ่านมาตลอดชีวิต และเป็นนักกิจกรรม ผมเป็นประธานค่ายอาสาพัฒนาของโรงเรียนอัสสัมชัญที่บางรักครับ ได้ไปทำกิจกรรมสร้างโรงเรียนในอีสานระหว่างปิดเทอมฤดูร้อนของโรงเรียน
“ อุดมการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในใจ ที่ค่อนข้างชัดเจนมาตั้งแต่เด็กนะครับ ก็เลยทำให้การดำเนินชีวิตในวิถีต่อมาในทิศทางที่จนถึงในวันนี้ในหลายอย่างก็เพราะเห็นว่า เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เชื่อมโยงกันหมด และคนเรามีโอกาสได้เล่นบทบาทในชีวิตหนึ่งนี่ได้จำกัด เพราะเวลาชีวิตความเป็นผู้ใหญ่มีน้อย เราต้องวางการตัดสินใจให้น้ำหนักคุณค่าชีวิตอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องคิดเชิงปรัชญากับชีวิต ต้องคิดเชิงความสมจริงกับการที่จะมองไปข้างหน้าว่าเราอยากจะให้ชีวิตเราไปทำอะไรเพื่อทำให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในบ้านเมือง ความสนใจอันนี้จึงเกิดขึ้นมาตั่งแต่เด็กและไม่เคยจืดจางหายไปครับ ”
ในบทบาทนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ผู้มีผลงานอันมีคุณูปการต่อประเทศ ทั้งยังมีประสบการณ์ด้านการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ การต่างประเทศ สังคม และการศึกษา กับตำแหน่งในฐานะที่ปรึกษาของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารประเทศมาหลายยุคหลายสมัย ทั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และล่าสุดก่อนที่จะโดดเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัวในสภาผู้แทนราษฎร คือ ผู้อำนายการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ( Institute of Future Studies for Development: ; IFD ) สะท้อนมุมมองพัฒนาการของเมืองไทยในสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้กระทำ และรับรู้
“ ที่เราถูกจัดอันดับให้อยู่ล่างๆ เป็นเพราะว่าเรานำเข้าเทคโนโลยีมากเกินไป และองค์ความรู้ที่มีอยู่ก็ถูกกำหนดโดยกลุ่มผู้ปกครองที่นำสิ่งเหล่านี้เข้ามา ดังที่สังคมไทยประสบเรื่องมาตั้งแต่อดีตหรือเปล่า
“ ผู้ทำงานวิจัยก็ไม่ได้รับเกียรติ ไม่ได้รับเงินทองตอบแทน ไม่ได้คุณค่าเชิงปัญญามากนัก ไม่มีใครเอาไปใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมก็ไม่มาเชื่อมโยงกับงานวิจัย การเอาไปใช้ประโยชน์เชิงสังคมก็ไม่เต็มที่ สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้งานวิจัยเราอ่อนแออยู่เหมือนกัน เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการลอกเลียนแบบ การขอซื้อเข้ามาของเทคโนโลยี การขอถ่ายโอนเทคโนโลยี การขโมยเทคโนโลยี
“ แต่การสร้างเทคโนโลยีด้วยภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของเรามีไม่มาก เมื่อมีไม่มากเราก็ไม่มีอะไรที่จะสามารถไปขายเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญารูปแบบนี้ได้เต็มที่นัก ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายอย่างที่ดีของเราก็ไม่ได้นำมาจัดระบบเป็นวิทยาศาสตร์
“ เช่น เรารู้ว่าสมุนไพรนี่ดีเราก็ไม่ได้ไปวิจัยกันจนถึงแก่สูตรเคมีว่ามันเป็นสูตรอะไรเพื่อจดทะเบียนได้ เรารู้เพียงแต่ว่าต้องเอาของอันนี้มา 3 กำผสมกับสมุนไพรอีกแบบหนึ่งแล้วนำไปต้มใสหม้อไว้แล้วก็กิน แต่เราไม่รู้ว่าเบื้องหลังสมุนไพรมันมีสาสารอะไรบ้างที่เราสกัดมาจากห้องแลบวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะเรียกชื่อเป็นสากลทางเคมี ทางรหัสวิทยาศาสตร์แล้วจะได้เอาไปจดทะเบียน แล้วเอาไปต่อยอดทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มูลค่าเพิ่ม ”
คนไทยใช่ว่าโง่ แต่คนไทยไม่ขวนขวาย และขาดการส่งเสริมในวิถีทางที่เหมาะที่ควร ถูกสร้างภาพมายาให้นับถือ ' วัตถุ ' มากกว่า ‘ ปัญญา ' สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในปัจจัยของการเดินตามมหาอำนาจไม่สิ้นสุด
“ ความไม่รู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ดี ความไม่สนใจเรียนที่วิชาการที่มันเพิ่มขึ้น คณิตศาสตร์เราก็แทบไม่เรียนอย่างจริงจัง ฟิสิกส์ก็ไม่เรียนวิชาอะไรที่เรียนยากๆ เราก็หนีหมด เราบูชา … ผมใช้คำๆ หนึ่งว่า เราเป็นปริญญาชนเราไม่ชอบเป็นปัญญาชน นี่เป็นคำพูดที่ผมสร้างขึ้นนานแล้ว แล้วเราบูชาวุฒิบัตรที่เอามาปะข้างฝาโชว์เพื่อนให้รู้สึกเราน่าภูมิใจ แต่ไม่ได้สนใจเนื้อหาที่เรียนจริง
“ ถ้าเผื่อว่าเรายังสนใจอย่างนี้แล้วทำมหาวิทยาลัยของเราให้เป็นโรงงานผลิตปริญญาต่อไปโดยไม่สนใจคุณภาพ วันหนึ่งเราก็จะเศร้าใจว่าคนที่เราผลิตออกมาไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นักอันนี้ก็ทำให้เราอ่อนด้อยบ้าง ”
เฉกเช่นแวดวง ‘ คนในเครื่องแบบ ' หรือ ' คนมีสี ' องค์กรทางสังคม ซึ่งขับเคลื่อนความเจริญของประเทศชาติอยู่เบื้องหลังเสมอมา หากแต่โลกเปลี่ยนบทบาทต้องเปลี่ยนตาม คนในระบบราชการจึงต้องผันแปรไปตามทิศทางลมโดยไม่ไหวเอนต่อความเปลี่ยนแปลงอันถาโถมอย่างรุนแรง แม้ภาระความรับผิดชอบ และระบบที่พันธนาการการเคลื่อนไหวไม่อิสระเท่าเอกชนก็ตาม
“ คำว่า คนมีสี อาจดูเป็นคำแง่ลบไป ขออนุญาตเรียกว่า คนในเครื่องแบบ จะเหมาะสมกว่า ในที่นี้ครอบคลุมกลุ่มทหาร ตำรวจ และรวมถึงกลุ่มข้าราชการด้วย สำหรับผมแล้วมองว่าสถาบันทั้งสามมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งต่อความสงบเรียบร้อย ความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคงของประเทศ
“ ทั้ง 3 สถาบันนี้เป็นสถาบันที่มีอำนาจ ซึ่งนำมาใช้อย่างเสียสละเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
สถาบันทหาร - ปกป้องประเทศจากการรุกราน รักษาความมั่นคงของประเทศ
สถาบันตำรวจ - เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
สถาบันข้าราชการ - ทำงานเพื่อประชาชน มีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศ
“ กลุ่มบุคคลเหล่านี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น ผู้เสียสละ เพราะนอกจากยินดีรับรายได้ที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับภาคเอกชนแล้ว ยังยินดีเสียสละในการทำงานที่ยากลำบาก เสี่ยงอันตราย และทุ่มเท เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนในยามที่เกิดปัญหาและวิกฤตต่าง ๆ ในบ้านเมือง
“ นอกจากนี้ ยังเป็นกลุ่มคนที่เรียกว่ามีความเป็นเอกภาพ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา สามารถเรียกปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อมีภารกิจด่วน
“ ภาพที่น่าประทับใจในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ ตำรวจจำนวนหลายร้อยนายได้เสียสละมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลตรวจตราความเรียบร้อยและรักษาความสงบ ในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรเป็นเวลาต่อเนื่องหลายวัน หรือเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทหารจำนวนมากได้ลงไปปฏิบัติภารกิจ โดยพยายามร่วมมือกับประชาชนและเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างของชุมชนมากขึ้น ”
เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกนัก หากจะเปรียบกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นเสมือนโล่คุ้มภัยปกป้องสังคมท่ามกลางปัญหารุมเร้านานัปการ
“ ผมมองว่า ความมั่นของชาติ เป็นเหมือน ความมั่นคงของชีวิต คนที่ต้องการให้ชีวิตตนเองและคนในครอบครัวมั่นคง มักจะซื้อประกันไว้ แม้จะยังไม่เกิดอุบัติเหตุใดๆ แต่การมีประกันย่อมทำให้อุ่นใจได้มากกว่า สำหรับบางคนหากไม่มีสถานการณ์วิกฤตเกิดขึ้นอาจรู้สึกไม่ค่อยเห็นคุณค่าการประกันมากนัก
“ เช่นเดียวกับ สถาบันทหารและตำรวจ ก็เหมือนกับระบบประกัน เหมือนประเทศของเราซื้อประกัน เราจะรู้สึกหรือตระหนักว่ามีประโยชน์ ก็ต่อเมื่อเกิดปัญหา เกิดวิกฤตขึ้นทำให้ต้องพึ่งพา เมื่อเราได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ช่วยเหลือจากบุคคลในสถาบันเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็นสถาบันที่ประกันความมั่นคงของชาติ กองทัพที่เข้มแข็ง มีความพร้อมด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ เรียกได้ว่าเป็นดัชนีชี้วัดความมั่นคงของชาติ ประเทศต่าง ๆ จึงต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้ไว้เสมอ กองกำลังตำรวจที่เข้มแข็ง ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้เช่นกัน
“ กลุ่มบุคคลในสถาบันเหล่านี้จึงเป็นบุคคลสำคัญยิ่ง จำเป็นต้องใช้อำนาจที่มีอยู่ภายในขอบเขต และใช้อำนาจด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้เพื่อปกป้องประเทศชาติและประโยชน์สุขของตน ไม่ควรมีใครสักคนใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมเพื่อแสวงหาประโยชน์ต่อตนเอง และเอารัดเอาเปรียบประชาชน ”
เมื่อย้อนถึงเส้นทางชีวิตของชายหนุ่มผู้แบกประสบการณ์ชีวิตไว้เต็มหลังผู้นี้ ครอบครัว คือผู้มอบตะกร้าใบใหญ่ให้เขาเดินออกไปจับจ่ายความรู้เอามาเป็นทุนชีวิต
“ ผมก็โชคดีที่โตมาในครอบครัวที่มีองค์ประกอบดีๆ หลายอย่าง อันแรกก็คือเป็นครอบครัวที่ให้เสรีภาพกับลูกในการจะคิด ไม่ได้สั่งการให้เราทำคือโดยที่ไม่ได้คิดเองเป็น เราต้องคิดเองเป็น แล้วก็ไม่ได้เป็นครอบครัวที่ไม่ได้ให้เราใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย แม้ผมเกิดในครอบครัวที่มีฐานะใช้ได้ ก็รู้สึกเหมือนว่าเราถูกสอนให้ประหยัด อดออม ให้รู้จักไม่มองวัตถุเป็นของสำคัญ ให้รู้จักคุณค่าของความเป็นคน ถูกสอนให้เห็นความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสิ่งสำคัญมาก ”
การหล่อหลอมจากครอบครัว และสังคมที่ดีทำให้การเกิดผ่องถ่ายสิ่งดีๆ เหล่านั้นกลับสู่สังคมเมื่อเวลาและโอกาสมาถึง
“ อุดมการณ์ของผมเกิดจากหลายสิ่ง ผสมกันทำให้เวลาไปเรียนต่างประเทศผมก็เลือกเรียนในสิ่งที่ผมชอบทำให้มีความสุขกับสิ่งที่เราทำไม่ได้จำใจว่าเราต้องทำเพราะถูกบังคับด้วยกระแสสังคม แรงกดดันของครอบครัว ความจำเป็นในการอยู่รอดอนาคตของอาชีพ แต่เราเลือกกับสิ่งที่ตรงกับความถนัด ความสนใจ อุดมการณ์ถ้าใช้คำนี้ก็น่าจะถูกทำให้เรามีอุดมการณ์ชีวิตทำให้เรามีคุณค่า ทำให้เราไม่รู้สึกว่าเราเป็นทาสของระบบสังคม
“ แต่เราเป็นนายเหนือตัวเองที่มีสิทธิ์จะเลือกได้ทำให้เราทำไปอย่างมีความเต็มใจ สิ่งนี้ก็ทำให้เราเป็นอย่างนั้นเชื่อมั่นว่าจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าเรามีความสุขในสิ่งที่เราทำแล้วผมก็มีความสุขทุกช่วงชีวิตตั่งแต่เกิดจนถึงวันนี้เลยครับ ”
ขณะที่หลายคนมีทิศทางการดำเนินชีวิตหลายรูปแบบ แต่เด็กชายเกรียงศักดิ์ กำหนดทิศชีวิต และทำตามวิถีทางที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์ในแบบฉบับของผู้ชายคนหนึ่ง(ที่ไม่ใช่ผู้วิเศษ)
“ ทิศทางผมง่ายมากเลยครับ เพราะผมสรุปมาแต่เด็กแล้วว่าผมอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทิ้งมรดกความประพฤติที่ทำให้ประเทศไทยดีขึ้นกว่าเดิม มีส่วนช่วยพัฒนาสร้างสรรค์ประเทศชาติให้น่าอยู่ แก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคมไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็คืออุดมการณ์
“ ใช้ชีวิตเพื่อสร้างสังคมประเทศชาติเมื่อเด็กคิดอย่างนั้น เพราะได้ทำกิจกรรม พอเรียนหนังสือก็เลยตัดสินใจตามกระบวนคิดของโลกทัศน์ที่มีอยู่ นั่นก็คือผมอยากจะเรียนสิ่งที่ตรงกับความถนัด นำเอามาใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาบ้านเมือง ผมก็เลยเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ ความจริงผมมีโอกาสได้เรียนแพทย์ มีโอกาสได้เรียนวิศวกรรมศาสตร์ ผมเป็นนักเรียนทุนที่มีโอกาสได้ทำ แต่ผมเองเลือกสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นภาพรวม มหภาคของสังคม ”
ซึ่งผลผลิตทางความคิดของเขาได้ถ่ายทอดออกเป็นบทบันทึกทางสังคมในรูปแบบหนังสือ ตามเจตนารมณ์อันแรงกล้า
“ ถ้าเราเขียนหนังสือวันนี้เราตายผุพังเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยไปแต่ความคิดเราอยู่ถ้าเขียนหนังสือ อุดมการณ์ก็ผลักดันผมให้เขียนหนังสือเพื่อทิ้งความคิดให้คนอื่นช่วยทำ ถ้าเราทำไม่เสร็จการเขียนหนังสือก็เป็นวิถีทางปัญญาในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ผมสรุปมาแล้วตั่งแต่ต้นว่าวิถีทางในการทางความคิดสำคัญที่สุด
“ เป็นปัญญาชนที่สำคัญคือ การค้นหาองค์ความรู้ กระจายองค์ความรู้ช่วยสังคมไปผมจึงเลือกวิถีการเป็นครูบาอาจารย์ด้วยอุดมการณ์อีกเหมือนกัน เขียนหนังสือก็ด้วยอุดมการณ์ ตั้งบริษัทพิมพ์หนังสือขึ้นมา ผมเป็นประธานกรรมการกลุ่มบริษัท ซัคเซส และก็มีบริษัทหลายอย่าง คือถ้าไปดูมันจะตรงกับอุดมการณ์ เช่นมีสำนักพิมพ์ก็เพื่อจะเผยแพร่ความรู้ให้กว้างที่สุดที่ประเทศไทย ต่างประเทศก็เพื่ออุดมการณ์เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ก็เพื่อเผยแพร่ความคิดของอุดมการณ์ การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก็เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความคิด ให้คนไทยได้รับแง่คิดเพื่อจะช่วยกันสร้างสรรค์ประเทศสังคม
“ ทุกอิริยาบถที่ผมทำมันถูกควบคุมด้วยโลกใบนี้คนที่ผมต้องการเห็นประเทศชาติเชิงบวกตั้งแต่เด็ก ”
จากนักคิด นักเขียน สู่การเป็นที่ปรึกษา หนึ่งในเซลล์สมองของการพัฒนาชาติ
“ การไปเป็นที่ปรึกษาในวุฒิสภาและที่ปรึกษาในสภาผู้แทนราษฎรในคณะต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมาก็ทำให้อุดมการณ์ของเราไปใส่ในมือของผู้ที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยเพื่อจะไปแก้กฎหมาย เพื่อจะไปทำหน้าที่ในบ้านเมืองให้เป็นไปตามที่เราคิดว่าดี ก็เพื่ออุดมการณ์ก็เต็มใจไปช่วยแม้ไม่ได้อะไรเลย
“ ไปเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีก็ดี เป็นที่ปรึกษามายกรัฐมนตรีก็ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็ดี ก็ด้วยอุดมการณ์ก็ถือว่าเค้าถืออำนาจรัฐเราสามารถ ถ้าจะมีคำแนะนำที่ดีมีส่วนช่วยโดยทำหน้าที่อยู่เบื้องหลังที่ดี ก็คือการช่วยชาติ ผมก็เลยไม่ได้แบ่งว่าเป็นพรรคใดไม่ได้ถือว่าทุกคนต้องดีบริสุทธิ์ เลิศล้ำ แต่ขอให้ทำหน้าที่จุดไหนดี ก็ช่วยส่งเสริมเขาไปเพื่อให้บ้านเมืองได้อานิสงส์ผมก็ยินดีเต็มใจกว้าง
“ จะเห็นว่าผมช่วยกว้างขวางหมดทุกพรรคแบบที่ไม่ได้ฝักใฝ่ แต่หวังว่าจะได้ให้ประโยชน์กับประเทศชาติเพื่ออุดมการณ์ถ้าเราพาตัวถอยห่างมาไกลแล้วไม่เข้าไปช่วย แล้วเราปล่อยเขาเขาก็ไม่ได้คำแนะนำที่เราคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ก็ทำเพื่ออุดมการณ์อีก
“ ไปทำที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ยังเป็นองค์กรในรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่โดยตรงมีกฎหมายรองรับทั้งรัฐธรรมนูญ ทั้งพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติที่มีหน้าที่เทียบรัฐมนตรี อันนี้ก็ตรงเลยหวังว่าจะไปทำให้รัฐมนตรีทำสิ่งที่ดีๆ ก็อุดมการณ์ ”
บางทีการเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอาจะไม่เป็นไปดั่งใจหมาย กลับกลายเป็นพลังให้นักวิชาการเปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมืองเต็มตัว
นอกเหนือจากการเป็นนักวิชาการ เขาคือนักเดินทาง กับประสบการณ์ชีวิตของนักเดินทางผู้มากมิตร ในความรู้สึกที่ว่า ถ้าหากวันหนึ่งไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เดินไปเคาะประตูบ้านเพื่อนๆ จะได้รับอะไรตอบกลับมา
“ ผมเป็นคนซึ่งถือว่ามิตรภาพไมตรีจิตเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง สะสม 3 อย่างเท่านั้นในชีวิต นอกนั้นไม่ได้สะสมมันมาเอง อาจจะมีบ้างบางอย่างโดยที่ไม่ได้สะสมแต่ตั้งใจสะสมมี 3 อย่าง 1.มิตรภาพ 2.หนังสือ 3.ความคิด ความคิดก็แปลมาเป็นข้อเขียน สัญลักษณ์ของความคิดคือปากกา หนังสือนี่สะสมเพราะเป็นภูมิปัญญาความรู้ โลกขับเคลื่อนด้วยความรู้ มิตรภาพนี่ทำให้ชีวิตมีความสุข ผมตั้งใจสะสมผมมีเพื่อนมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย ผมสามารถอาศัยนอนบ้านเพื่อนได้ทุกที่โดยไม่ต้องใช้โรงแรมถ้าไม่อยากใช้
“ ฉะนั้นทั่วโลกผมก็มีเพื่อนมากมายมหาศาล ผมคิดว่าผมเป็นคนโชคดีมีเพื่อนมาก มิตรภาพไมตรีจิตนั้นเป็นสิ่งที่ดีเลิศมีคุณค่า แต่จะมีได้โดยต้องไม่เอาเปรียบเพื่อน ต้องหวังดีกับเพื่อนต้องไม่คบกันด้วยผลประโยชน์ แต่เมื่อเรายิ่งคบกันแล้วไม่ได้คิดจะเอาประโยชน์ แต่เราหวังจะให้ประโยชน์ แน่นอนเราต้องพึ่งพากันเพราะถ้าเพื่อนมีน้ำใจต่อเราในยามจำเป็นมันก็ทำให้เกิดความรู้สึกขอบคุณที่เขานึกถึงเรา แต่การตั้งใจจะไปขออะไรใครผมไม่มี ยกเว้นแต่ไปขอเพื่อเพื่อนสนิทเป็นส่วนใหญ่ขอเพื่อตัวเองแทบไม่เคยทำ ส่วนใหญ่จะไปขอเพื่อนเพื่อช่วยกันทำต่อๆ
“ การพึ่งพากันก็เป็นเรื่องธรรมดา เราทุกคนโยงใยกันไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่พึ่งคนอื่น ผมก็คิดว่าวันไหนผมจะไปหาใคร ผมเชื่อมั่นว่าเพื่อนๆ ผมส่วนใหญ่จะตอบสนองนะครับ ”
ในภาวะที่ระบบอุปถัมภ์ถูกวิพากษ์หนาหูโดยเฉพาะในฟากการเมือง และธุรกิจ เมืองไทยในสายตาของผู้มากบทบาทชีวิต น่าคิดนัก...
“ ผมว่าระบบอุปถัมภ์เป็นระบบที่อยู่ในสังคมไทยแบบลึกซึ้งมาก ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันไม่ได้หายไปไหน เพียงเปลี่ยนหน้ากาก เปลี่ยนรูปแบบการแสดงออกเท่านั้นเอง ซึ่งก็หวังลึกมากในสังคมไทย เราก็รู้ว่าถ้าเราอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของใครก็มีประโยชน์เจือสมกันทั้ง 2 ฝ่าย" ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าว
“ ฉะนั้นระบบนี้ถ้าใช้ทางที่ถูกก็ดี แต่ถ้าใช้ทางที่ผิดก็เสียหายหนักมันทำให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก ทำให้ระบบคุณธรรมไม่เกิด แต่เครือญาติเพื่อนฝูงได้ประโยชน์ แต่คนอื่นไม่ได้ประโยชน์และกีดกันคนดีด้วย ฉะนั้นระบบอุปถัมภ์จึงควรใช้ในทางที่ถูก ก็คือมีน้ำใจกับคนอื่น ไม่ใช่อุปถัมภ์แต่ตัวเอง แต่อุปถัมภ์คนอื่นโดยใช้หลักเกณฑ์ที่มีความเป็นธรรม ”
เมื่อนักคิดที่ชื่อ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ลองทำนายอนาคต(โดยนำสถานการณ์ปัจจุบันมาประกอบ)
“ ทิศทางของประเทศไทยพุ่งไปทางทิศเดียวกันกับสังคมโลกที่กระแสพาไป แต่ตรงรอยต่อเป็นรอยต่อที่มีความขัดแย้งทำยังไงจะจัดการเพื่อให้คนบางกลุ่มไม่เสียผลประโยชน์ในเชิงเขาเดือดร้อนสาหัส ทำยังไงจะกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึง และตรงรอยต่อนั้นไม่ทำให้ผู้อ่อนด้อย เสียเปรียบถูกทอดทิ้งอย่างโหดร้ายเพราะสังคมที่ต่อสู้กันแบบมีผู้แพ้ผู้ชนะอย่างเดียวจะทำให้ผู้แพ้ที่แพ้ถาวรไม่มีปัญญาลุกขึ้นชนะ บางเรื่องจะเป็นผู้ที่ตกเวทีโลกสูญเสียโอกาสไปมาก ตกทุกข์ได้ยากมาก ต้องมีเมตตาธรรมต่อกันสังคมที่มีคุณธรรมจึงสำคัญในโลกที่ใช้ประสิทธิภาพวัดกันแข่งขันกันอย่างสุดๆ ”
“ ระบบการแข่งขันเป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้นเพื่อจะพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ กระแสโลกได้บีบเราแต่จำเป็นต้องมียีนส์สำหรับซึ่งคนอ่อนแอ ที่แข่งไม่ไหวเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีมีความสำคัญสำหรับโดยที่ยิ่งไม่ต้องการการแข่งขันจนเกินตัวไป ”
“ การมองทุกมิติวันนี้ตาผมสว่างขึ้นในการที่ตกผลึกในการที่อ่านมามากก็ดี วิจัยมามากก็ดี เล่นบทบาทมาหลายบทบาทในสังคมก็ดี บังเอิญเป็นคนโชคดีที่เป็นรอยต่อของหลายบทบาทมาก ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสเหมือนผม ผมมีบทบาททั้งทางวิชาการ บทบาททั้งทางธุรกิจบทบาทในการบริหาร บทบาทกับการทำงานกับมวลชน บทบาททั้งการเป็นสื่อมวลชนขยายต่อมาจากทางวิชาการ บทบาททางภาคราชการ บทบาททางภาคเอกชน บทบาททางการเมือง" ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ย้ำเพิ่ม
“ ถนนหลายสายชีวิตมันตัดกันจนทำให้เห็นบูรณาการตรงนี้ทำให้ผมรู้สึกเหมือนมันมีปิ๊งขึ้นอยู่กลางสมอง มีเส้นทางการใช้ชีวิตเป็นประโยชน์ที่สุดนี่ ในสิ่งที่เป็นประสบการณ์ที่เราวิวัฒนาการมาต้องเป็นอย่างไร ก็เลยทำให้ผมเห็นภาพครบมิติมากขึ้นเพราะมันเมื่อเห็นภาพครบมิติก็ขับเคลื่อนพฤติกรรมให้ครบมิติมากขึ้นครับ ”
“ ฉะนั้นชีวิตคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องพัฒนาคน พัฒนานิสัยตลอดชีวิต ผมคิดว่านิสัยเป็นฐานสำคัญที่สุดกว่าความรู้ ทักษะ ผมก็ตั้งใจอยากที่จะทำอย่างนั้นก็มีอะไรดีๆบ้างที่มีอิทธิพลต่อลูกศิษย์ ผมก็ดีใจที่เค้าจะได้เลียนแบบเรา ” ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าว
ผลลัพธ์แห่งการกระทำและความภาคภูมิใจในชีวิตที่ผ่านมา 5 ทศวรรษ ไม่มีอะไรมากไปกว่าผลผลิตทางสังคมที่จะได้รับการเพาะพันธุ์อย่างเอาใจใส่และกำลังเติบโตมอบผลิตผลเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า “ ผมภาคภูมิใจมากที่สุดก็คือสิ่งที่ผมคิด สิ่งที่ผมมอง สิ่งที่ผมกระทำนั้นได้ปรากฏในบางด้านของลูกๆ ของผมนั่นเป็นการบอกถึงว่าคนที่ใกล้ตัวสุด ทำยากสุดลูกผมทั้ง 2 คนก็ได้ค่านิยมที่ดีผมไปบางอย่างผมไม่ได้ถือว่าเค้าดีเลิศสมบูรณ์แบบ แต่เค้าเป็นคนค่อนข้างดีในสายตาผม เช่นลูกชายคนโตผมก็ประสบความสำเร็จในการเรียน คนเล็กก็เช่นกัน ”
“ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เกิดได้ในชีวิตจริงของคนใกล้ตัวเรา เป็นความดีใจว่าเรานั้นไม่ได้พร่ำสอนคนอื่นให้การศึกษาไทยดีแต่แล้วลูกตัวเองล้มเหลวก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี ผมดีใจที่ลูกเราโตมาไม่ได้ทำร้ายใคร ไม่ได้คิดจะไปโกงไป มุ่งมั่นอยู่ในคุณหลักธรรมพอสมควรทีเดียว ผมคิดว่าอันนี้ทำให้ภูมิใจและดีใจว่าลูกเรานั้นเป็นคนดี ผมภูมิใจที่สุดยิ่งกว่าการเรียนอีกครับ ลูกผมเรียนอยู่ที่เมืองนอกครับเมื่อก่อนตอนเด็กๆ ก็เรียนอยู่ใกล้กันแต่ว่าตอนเขาโตขึ้นแล้วเขาก็อยู่ต่างประเทศเราก็ติดต่อกันครับ อีเมล์ติดต่อกัน คุยโทรศัพท์มาเยี่ยมทีไรก็ยังคุยอยู่เค้าก็โตแล้วก็ไม่ค่อยลำบากแล้ว ”
Subscribe to:
Posts (Atom)