Professor Kriengsak Chareonwongsak |
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา
"สะสมความคิด เป็นหนึ่งใน 3 สิ่งของสะสมของผมมาตั้งแต่วัยเด็ก"
อาจารย์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ถือเป็นนักเขียนบทความทางวิชาการที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในบ้านเราที่ วิเคราะห์ถึงสิ่งที่สังคมไทยขาดอย่างรุนแรงยิ่งคือ การที่สังคมไทยเป็นสังคมที่คนคิดไม่เป็น อาจารย์เกรียงศักดิ์จึงได้เขียนหนังสือเพื่อเสนอแนะ แนะนำให้คนในสังคมไทยพัฒนาคนให้คิดเป็น เช่น ลายแทงนักคิด และหนังสือชุดผู้ชนะ 10 คิด เป็นการนำเสนอเครื่องมือในการคิด 10 มิติผสมผสานกัน…
" สาเหตุที่การศึกษาไทยไม่ได้มีส่วนสอนให้เด็กคิดเป็น มีสาเหตุด้วยกันหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเลี้ยงดูและสร้างคนของสังคมไทย ได้แก่
เน้นการเชื่อฟัง อยู่ภายใต้ระบบการเชื่อฟังมาโดยตลอด ทั้งระบบครอบครัว การศึกษาและสังคม ส่งผลให้คนในสังคมไม่ได้รับการส่งเสริมให้คิดเอง หรือคิดแตกต่างมากเท่าที่ควร เช่น การที่ครูอาจารย์ที่ไม่ชอบให้นักเรียนโต้แย้ง เป็นต้น มุ่งเรียนท่องจำเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศของการเรียนแบบท่องจำ ทำให้ผู้เรียนขาดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล การเรียนการสอนที่ให้ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง และทำหน้าที่ให้ข้อมูลแต่ทางเดียว โดยไม่มีการอธิบายถึงเหตุผลเบื้องหลัง ทำให้ผู้รับไม่ถูกฝึกการคิดแบบวิพากษ์ ไม่พยายามหาข้อสรุปด้วยตนเอง อีกทั้งการสอบและประเมินผลเน้นการท่องจำสิ่งที่เรียนได้มากกว่าการสอบที่ มุ่งวัดความรู้ ความเข้าใจและความสามารถทางการคิดของผู้เรียน
ขาด การส่งเสริมการอ่านและแสวงหาความรู้มากเพียงพอ ในการปลูกจิตสำนึกให้รักและแสวงหาความรู้ โดยผู้เรียนมักจะให้ความสำคัญกับการอ่านเพื่อสอบเป็นหลัก โดยไม่ได้หาความรู้ที่นอกเหนือการนำไปสอบมากนัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ โดยพยายามดำเนินการแก้ไขและพัฒนามากขึ้น ในช่วงปฏิรูปการศึกษา ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาสักช่วงหนึ่งกว่าจะเห็นผลการสร้างเด็กให้คิดเป็น
วิธี การสร้างให้เด็กคิดเป็น มีหลายประการได้แก่ สร้างระบบการศึกษาที่ให้ทั้งความรู้และสร้างปัญญาเป็นแกนหลัก ดังที่ผมกล่าวไว้ว่า สถานศึกษาจะต้องเป็นเรือนเพาะชำทางปัญญา มิใช่คุกทางปัญญา ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือ "คลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม"
สร้างหลักสูตรการคิดในการศึกษา ตามอัธยาศัย เนื่องด้วยปัจจุบันมีคนในสังคมจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาด้านความ สามารถทางการคิดเท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานที่จบจากระบบการศึกษาไปแล้ว ดังนั้นสังคมจึงควรสร้างช่องทางพัฒนาความสามารถทางการคิดอย่างเป็นระบบให้ กลุ่มวัยแรงงานให้มากขึ้นด้วย โดยจัดหลักสูตรการคิดระยะสั้น ๆ เพื่อพัฒนาคนกลุ่มนี้ได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต ไม่ใช่มุ่งแต่พัฒนาผู้เรียนในระบบการศึกษาเท่านั้น สร้างให้พ่อแม่ให้มีส่วนพัฒนาการคิดให้กับลูกมากขึ้น โดยการจัดฝึกอบรมและให้ความรู้กับพ่อแม่ให้มีทักษะการสอนด้านการคิดให้กับ ลูกของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลือกสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีส่วนพัฒนาทักษะการคิดได้เหมาะสมตามช่วงวัย การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิคในการถามหรือตอบลูกที่มีส่วนในการ พัฒนาด้านการคิด วิธีการฝึกให้เด็กสนใจ ตั้งใจ จดจ่อกับการอ่าน การกระตุ้นและไม่ตีกรอบการคิด การสนใจกับสิ่งที่เด็กบอกกล่าว การกระตุ้นและไม่ตีกรอบการคิด การฝึกให้เด็กคิดและจินตนาการ
สร้าง สังคมให้เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญของการคิด โดยการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในทุกที่ มิใช่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น เพื่อเปิดทางและแนะแนวให้คนในสังคมมีความสามารถในการคิดเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การยกย่องคนเก่งมากขึ้น การให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มหรือทำกิจกรรมของวัยรุ่นหรือกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมเพื่อพัฒนาการคิด เช่น การจัดประกวดการออกแบบ การสร้างสิ่งประดิษฐ์ หรือการจัดเวทีสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอวิพากษ์และข้อคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น "
เหตุที่อาจารย์ เกรียงศักดิ์สนใจศึกษาเกี่ยวกับการคิด และเขียนหนังสือเผยแพร่ออกมาหลายเล่ม เป็นเพราะอาจารย์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิด
"ความ คิดเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง เพราะความคิดจะนำไปสู่การกำหนดค่านิยม ทัศนคติ การแสดงออกทางพฤติกรรม และความรู้สึกต่าง ๆ ทำให้ความคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวให้กับ คนหรือสังคมนั้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการคิดให้กับคนเป็นอันดับ สำคัญที่สุด
การเห็นผลกระทบจากการไม่คิดของคนในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่แสดงถึงความอ่อนแอทางความคิด ทำให้ทั้งสังคมได้รับผลกระทบจนมาถึงทุกวันนี้ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น การเชื่อข่าวลืออย่างง่าย ๆ ปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาการใช้ความรุนแรง หรือปัญหาการเลียนและรับค่านิยมจากต่างประเทศมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง เป็นต้น
การ ต้องการเห็นคนและประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ผมรู้ว่าการคิดเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ความคิดเป็นปัจจัยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้า โดยเฉพาะในยุคอนาคตที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมแห่งความรู้ สังคมแห่งเทคโนโลยี และสังคมที่มีการแข่งขันสูง ทำให้คนหรือประเทศจะเจริญก้าวหน้าได้ ต้องเริ่มจากการมีความสามารถทางการคิดที่เอื้อต่อความสำเร็จ ดังที่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาแล้วในโลกต่างเดินในเส้นทางนี้ อันจะทำให้คนไทยและประเทศไทยไม่ถูกเอาเปรียบจากต่างชาติอย่างไม่เป็นธรรม สามารถอยู่รอดและแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ "
ซึ่งการพัฒนาทักษะความคิดนั้นเป็นสิ่งที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติ
"การ สะสมความคิด เป็นหนึ่งใน 3 สิ่งของสะสมของผมมาตั้งแต่วัยเด็ก คือ การสะสมความคิด หนังสือและมิตรภาพ โดยผมให้คุณค่าการคิดเป็นอันดับแรกและให้น้ำหนักมากที่สุด เนื่องจากกเห็นคุณค่าของการพัฒนาความสามารถทางการคิด ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสู่การสร้างความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ให้กับทั้งตัวผมเองและผู้อื่นได้
สอนทีมงาน ผมเริ่มต้นการถ่ายทอดการคิด โดยการสอนทีมงานในสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ผมเป็นผู้อำนวยการอยู่ คนที่ทำงานกับผมเหมือนเข้ามาอยู่ในเรือนเพาะชำทางปัญญา ผมจะเปิดโอกาสให้ทีมงานได้คิด ค้นพบและนำศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุด ยอมให้เขาทำผิด-ทำถูก และเขาคิดเป็นแล้วผมก็ยกให้เขาทำงานชิ้นที่ยากขึ้นใหญ่ขึ้น เพื่อให้พัฒนาการคิดในลำดับที่ยากและซับซ้อนขึ้น
สร้างสังคม ให้คิดเป็น ผมเห็นว่าการสอนแต่ทีมงานนั้นไม่เพียงพอ เพราะจำกัดอยู่ในเพียงบางกลุ่มคน ผมจึงตั้งเป้าจะถ่ายทอดการสอนด้านการคิดสู่คนในสังคมร่วมด้วย ผมจึงให้ความสำคัญและทำงานหนักในการทำหนังสือการคิด โดยเขียนหนังสือเรื่องการคิดออกมาเป็นหนังสือชุด ชื่อ "ผู้ชนะ 10 คิด" โดยมีเล่มแรกคือลายแทงนักคิด เป็นการเขียนภาพรวมของการคิดทั้ง 10 แบบจากนั้นจึงเขียนหนังสือ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงมโนทัศน์ การคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงประยุกต์ การคิดเชิงอนาคต การคิดเชิงสร้างสรรค์ และการคิดเชิงบูรณาการ
สาเหตุที่ผม เขียนเป็นชุดหนังสือการคิดทั้ง 11 เล่มนี้ เนื่องด้วยการคิดมีหลายประเภท แต่ละแบบมีความหมาย เนื้อหา วิธีการและเทคนิคการคิดแตกต่างกัน อีกทั้งการจะสอนเรื่องการคิดให้คนในสังคมไทยนับเป็นเรื่องใหม่ที่คนจำนวนมาก ไม่ค่อยมีพื้นฐานเรื่องนี้มากนัก จึงทำให้ผมต้องแยกเขียนหนังสือการคิด 10 มิติออกจากกัน"
นอกจากนี้อาจารย์เกรียงศักดิ์ยังมองว่าสังคม ไทยยังขาดในด้านการเรียนรู้และจริยธรรมอีกด้วย ที่คนไทยต้องพัฒนาควบคู่กันไปกับการพัฒนาทักษะความคิด
"จาก ที่ผมทำวิจัยเรื่อง "คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์แบ่งตามช่วงวัย" พบว่า ลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ที่จะมีส่วนในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและ สอดคล้องกับโลกอนาคต มีด้วยกัน 10 ลักษณะหลัก ๆ ได้แก่ ขยัน อดทน และทุ่มเททำงานหนัก มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ มีวิสัยทัศน์ ทำสิ่งต่างๆ อย่างดีเลิศ รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีจิตสำนึกประชาธิปไตย เห็นคุณค่าเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีจิตสำนึกเพื่อผู้อื่นและส่วนรวม และประหยัด อดออม แต่ในที่นี้ผมให้น้ำหนักอย่างมากใน 2 คุณลักษณะที่จำเป็น คือ
รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในอนาคตโลกจะปรับตัวเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งความรู้ ซึ่งความรู้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบ ทำให้คนจำเป็นต้องเป็นคนที่สามารถแสวงหาความรู้ พัฒนาและสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นำพาตนเองสู่ความสำเร็จได้ และนำพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้าและสามารถแข่งขันได้
และมีคุณธรรมจริยธรรม สภาพสังคมปัจจุบันและอนาคตจะมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นในทุกด้าน ผู้คนต่างจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก เกิดการแย่งชิงทรัพยากรส่วนรวมมากขึ้น การเข้ามาของกระแสความคิดและวัฒนธรรมต่างประเทศบางประการที่ขัดกับหลัก จริยธรรม สภาพการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นที่การผลิตและสร้างกำลังคนจะต้องมุ่งปลูกฝัง คุณลักษณะคนไทยให้เป็นผู้มีทั้งความรู้คู่คุณธรรมมากขึ้น จึงจะสามารถค้ำจุนและจรรโลงให้สังคมยังคงอยู่รอด มีสันติสุข และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข"
สำหรับแนวโน้มในอนาคตที่คนไทย จะคิดเป็น และเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆในสังคมอย่างมีคุณธรรมนั้นอาจารย์เกรียงศักดิ์กล่าวว่า…
"ผม คิดเห็นว่ามีแนวโน้มเด็กไทยจะวิเคราะห์วิจารณ์เป็นมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 24 ระบุถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนคิดเป็น โดย ใน (2) ระบุว่า "ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถาณการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและก้ไขปัญหา" ใน (3) "จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง"
สภาพสังคมบีบให้ เด็กต้องคิด และมีการพัฒนาด้านการคิด เนื่องด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความรู้ที่ความรู้เป็น ปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและโอกาสทางสังคม ประกอบกับสภาพที่โลกเชื่อมต่อ ด้วยระบบข้อมูลข่าวสาร การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และการมีสภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นแรงบีบ ทำให้เด็กต้องคิดมากขึ้น เพื่อสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ รัฐธรรมนูญเปิดให้มีเสรีภาพในการคิดมากขึ้น รัฐธรรมนูญมาตรา 39 ระบุว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น" ซึ่ง เป็นการให้เสรีภาพ โดยโอกาสให้ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ และนำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายขึ้น อันก่อให้เกิดการผสมเกสรทางปัญญา หรือการพัฒนาด้านความคิดมากขึ้น
และ หากคนไทยเป็นคนที่คิดเป็น สังคมก็จะเป็นสังคมที่ใช้ปัญญา ไม่ไหลไปตามกระแส รู้จักคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ คนในสังคมมีค่านิยมรักการเรียนรู้ รักการค้นคว้า รักการคิด สามารถคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่เหมาะสมกับคนในยุคนี้และยุคอนาคตต่อไป ได้ สังคมที่มีประสิทธิภาพ เป็นสังคมที่สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดได้จากทรัพยากรที่มีจำกัด ทั้งจาก คน ระบบ และสภาพแวดล้อม ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็นที่เกิดจากการลองผิดลองถูก หรือกระทำไปโดยไม่รู้ สังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีสันติสุข ซึ่งเกิดจากการพัฒนารากฐานกระบวนการคิดและค่านิยมของคนให้รู้จักใช้เหตุผล และความคิดให้เป็นไปในทิศที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น "
ก็ได้ แต่คาดหวังว่าแนวคิดต่าง ๆ ที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ได้เขียนให้คนไทยได้อ่านจะสามารถนำไปพัฒนาความคิด ความอ่าน ให้เป็นคนที่คิดเป็นและที่สำคัญเหนืออื่นใด คงไม่ใช่เป็นคนที่คิดเป็นอย่างเดียว หากคิดเป็นแล้วก็ต้องลงมือปฏิบัติเป็นด้วย…
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา
"สะสมความคิด เป็นหนึ่งใน 3 สิ่งของสะสมของผมมาตั้งแต่วัยเด็ก"
อาจารย์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ถือเป็นนักเขียนบทความทางวิชาการที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในบ้านเราที่ วิเคราะห์ถึงสิ่งที่สังคมไทยขาดอย่างรุนแรงยิ่งคือ การที่สังคมไทยเป็นสังคมที่คนคิดไม่เป็น อาจารย์เกรียงศักดิ์จึงได้เขียนหนังสือเพื่อเสนอแนะ แนะนำให้คนในสังคมไทยพัฒนาคนให้คิดเป็น เช่น ลายแทงนักคิด และหนังสือชุดผู้ชนะ 10 คิด เป็นการนำเสนอเครื่องมือในการคิด 10 มิติผสมผสานกัน…
" สาเหตุที่การศึกษาไทยไม่ได้มีส่วนสอนให้เด็กคิดเป็น มีสาเหตุด้วยกันหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเลี้ยงดูและสร้างคนของสังคมไทย ได้แก่
เน้นการเชื่อฟัง อยู่ภายใต้ระบบการเชื่อฟังมาโดยตลอด ทั้งระบบครอบครัว การศึกษาและสังคม ส่งผลให้คนในสังคมไม่ได้รับการส่งเสริมให้คิดเอง หรือคิดแตกต่างมากเท่าที่ควร เช่น การที่ครูอาจารย์ที่ไม่ชอบให้นักเรียนโต้แย้ง เป็นต้น มุ่งเรียนท่องจำเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศของการเรียนแบบท่องจำ ทำให้ผู้เรียนขาดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล การเรียนการสอนที่ให้ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง และทำหน้าที่ให้ข้อมูลแต่ทางเดียว โดยไม่มีการอธิบายถึงเหตุผลเบื้องหลัง ทำให้ผู้รับไม่ถูกฝึกการคิดแบบวิพากษ์ ไม่พยายามหาข้อสรุปด้วยตนเอง อีกทั้งการสอบและประเมินผลเน้นการท่องจำสิ่งที่เรียนได้มากกว่าการสอบที่ มุ่งวัดความรู้ ความเข้าใจและความสามารถทางการคิดของผู้เรียน
ขาด การส่งเสริมการอ่านและแสวงหาความรู้มากเพียงพอ ในการปลูกจิตสำนึกให้รักและแสวงหาความรู้ โดยผู้เรียนมักจะให้ความสำคัญกับการอ่านเพื่อสอบเป็นหลัก โดยไม่ได้หาความรู้ที่นอกเหนือการนำไปสอบมากนัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ โดยพยายามดำเนินการแก้ไขและพัฒนามากขึ้น ในช่วงปฏิรูปการศึกษา ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาสักช่วงหนึ่งกว่าจะเห็นผลการสร้างเด็กให้คิดเป็น
วิธี การสร้างให้เด็กคิดเป็น มีหลายประการได้แก่ สร้างระบบการศึกษาที่ให้ทั้งความรู้และสร้างปัญญาเป็นแกนหลัก ดังที่ผมกล่าวไว้ว่า สถานศึกษาจะต้องเป็นเรือนเพาะชำทางปัญญา มิใช่คุกทางปัญญา ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือ "คลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม"
สร้างหลักสูตรการคิดในการศึกษา ตามอัธยาศัย เนื่องด้วยปัจจุบันมีคนในสังคมจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาด้านความ สามารถทางการคิดเท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานที่จบจากระบบการศึกษาไปแล้ว ดังนั้นสังคมจึงควรสร้างช่องทางพัฒนาความสามารถทางการคิดอย่างเป็นระบบให้ กลุ่มวัยแรงงานให้มากขึ้นด้วย โดยจัดหลักสูตรการคิดระยะสั้น ๆ เพื่อพัฒนาคนกลุ่มนี้ได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต ไม่ใช่มุ่งแต่พัฒนาผู้เรียนในระบบการศึกษาเท่านั้น สร้างให้พ่อแม่ให้มีส่วนพัฒนาการคิดให้กับลูกมากขึ้น โดยการจัดฝึกอบรมและให้ความรู้กับพ่อแม่ให้มีทักษะการสอนด้านการคิดให้กับ ลูกของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลือกสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีส่วนพัฒนาทักษะการคิดได้เหมาะสมตามช่วงวัย การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิคในการถามหรือตอบลูกที่มีส่วนในการ พัฒนาด้านการคิด วิธีการฝึกให้เด็กสนใจ ตั้งใจ จดจ่อกับการอ่าน การกระตุ้นและไม่ตีกรอบการคิด การสนใจกับสิ่งที่เด็กบอกกล่าว การกระตุ้นและไม่ตีกรอบการคิด การฝึกให้เด็กคิดและจินตนาการ
สร้าง สังคมให้เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญของการคิด โดยการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในทุกที่ มิใช่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น เพื่อเปิดทางและแนะแนวให้คนในสังคมมีความสามารถในการคิดเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การยกย่องคนเก่งมากขึ้น การให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มหรือทำกิจกรรมของวัยรุ่นหรือกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมเพื่อพัฒนาการคิด เช่น การจัดประกวดการออกแบบ การสร้างสิ่งประดิษฐ์ หรือการจัดเวทีสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอวิพากษ์และข้อคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น "
เหตุที่อาจารย์ เกรียงศักดิ์สนใจศึกษาเกี่ยวกับการคิด และเขียนหนังสือเผยแพร่ออกมาหลายเล่ม เป็นเพราะอาจารย์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิด
"ความ คิดเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง เพราะความคิดจะนำไปสู่การกำหนดค่านิยม ทัศนคติ การแสดงออกทางพฤติกรรม และความรู้สึกต่าง ๆ ทำให้ความคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวให้กับ คนหรือสังคมนั้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการคิดให้กับคนเป็นอันดับ สำคัญที่สุด
การเห็นผลกระทบจากการไม่คิดของคนในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่แสดงถึงความอ่อนแอทางความคิด ทำให้ทั้งสังคมได้รับผลกระทบจนมาถึงทุกวันนี้ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น การเชื่อข่าวลืออย่างง่าย ๆ ปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาการใช้ความรุนแรง หรือปัญหาการเลียนและรับค่านิยมจากต่างประเทศมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง เป็นต้น
การ ต้องการเห็นคนและประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ผมรู้ว่าการคิดเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ความคิดเป็นปัจจัยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้า โดยเฉพาะในยุคอนาคตที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมแห่งความรู้ สังคมแห่งเทคโนโลยี และสังคมที่มีการแข่งขันสูง ทำให้คนหรือประเทศจะเจริญก้าวหน้าได้ ต้องเริ่มจากการมีความสามารถทางการคิดที่เอื้อต่อความสำเร็จ ดังที่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาแล้วในโลกต่างเดินในเส้นทางนี้ อันจะทำให้คนไทยและประเทศไทยไม่ถูกเอาเปรียบจากต่างชาติอย่างไม่เป็นธรรม สามารถอยู่รอดและแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ "
ซึ่งการพัฒนาทักษะความคิดนั้นเป็นสิ่งที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติ
"การ สะสมความคิด เป็นหนึ่งใน 3 สิ่งของสะสมของผมมาตั้งแต่วัยเด็ก คือ การสะสมความคิด หนังสือและมิตรภาพ โดยผมให้คุณค่าการคิดเป็นอันดับแรกและให้น้ำหนักมากที่สุด เนื่องจากกเห็นคุณค่าของการพัฒนาความสามารถทางการคิด ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสู่การสร้างความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ให้กับทั้งตัวผมเองและผู้อื่นได้
สอนทีมงาน ผมเริ่มต้นการถ่ายทอดการคิด โดยการสอนทีมงานในสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ผมเป็นผู้อำนวยการอยู่ คนที่ทำงานกับผมเหมือนเข้ามาอยู่ในเรือนเพาะชำทางปัญญา ผมจะเปิดโอกาสให้ทีมงานได้คิด ค้นพบและนำศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุด ยอมให้เขาทำผิด-ทำถูก และเขาคิดเป็นแล้วผมก็ยกให้เขาทำงานชิ้นที่ยากขึ้นใหญ่ขึ้น เพื่อให้พัฒนาการคิดในลำดับที่ยากและซับซ้อนขึ้น
สร้างสังคม ให้คิดเป็น ผมเห็นว่าการสอนแต่ทีมงานนั้นไม่เพียงพอ เพราะจำกัดอยู่ในเพียงบางกลุ่มคน ผมจึงตั้งเป้าจะถ่ายทอดการสอนด้านการคิดสู่คนในสังคมร่วมด้วย ผมจึงให้ความสำคัญและทำงานหนักในการทำหนังสือการคิด โดยเขียนหนังสือเรื่องการคิดออกมาเป็นหนังสือชุด ชื่อ "ผู้ชนะ 10 คิด" โดยมีเล่มแรกคือลายแทงนักคิด เป็นการเขียนภาพรวมของการคิดทั้ง 10 แบบจากนั้นจึงเขียนหนังสือ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงมโนทัศน์ การคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงประยุกต์ การคิดเชิงอนาคต การคิดเชิงสร้างสรรค์ และการคิดเชิงบูรณาการ
สาเหตุที่ผม เขียนเป็นชุดหนังสือการคิดทั้ง 11 เล่มนี้ เนื่องด้วยการคิดมีหลายประเภท แต่ละแบบมีความหมาย เนื้อหา วิธีการและเทคนิคการคิดแตกต่างกัน อีกทั้งการจะสอนเรื่องการคิดให้คนในสังคมไทยนับเป็นเรื่องใหม่ที่คนจำนวนมาก ไม่ค่อยมีพื้นฐานเรื่องนี้มากนัก จึงทำให้ผมต้องแยกเขียนหนังสือการคิด 10 มิติออกจากกัน"
นอกจากนี้อาจารย์เกรียงศักดิ์ยังมองว่าสังคม ไทยยังขาดในด้านการเรียนรู้และจริยธรรมอีกด้วย ที่คนไทยต้องพัฒนาควบคู่กันไปกับการพัฒนาทักษะความคิด
"จาก ที่ผมทำวิจัยเรื่อง "คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์แบ่งตามช่วงวัย" พบว่า ลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ที่จะมีส่วนในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและ สอดคล้องกับโลกอนาคต มีด้วยกัน 10 ลักษณะหลัก ๆ ได้แก่ ขยัน อดทน และทุ่มเททำงานหนัก มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ มีวิสัยทัศน์ ทำสิ่งต่างๆ อย่างดีเลิศ รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีจิตสำนึกประชาธิปไตย เห็นคุณค่าเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีจิตสำนึกเพื่อผู้อื่นและส่วนรวม และประหยัด อดออม แต่ในที่นี้ผมให้น้ำหนักอย่างมากใน 2 คุณลักษณะที่จำเป็น คือ
รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในอนาคตโลกจะปรับตัวเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งความรู้ ซึ่งความรู้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบ ทำให้คนจำเป็นต้องเป็นคนที่สามารถแสวงหาความรู้ พัฒนาและสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นำพาตนเองสู่ความสำเร็จได้ และนำพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้าและสามารถแข่งขันได้
และมีคุณธรรมจริยธรรม สภาพสังคมปัจจุบันและอนาคตจะมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นในทุกด้าน ผู้คนต่างจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก เกิดการแย่งชิงทรัพยากรส่วนรวมมากขึ้น การเข้ามาของกระแสความคิดและวัฒนธรรมต่างประเทศบางประการที่ขัดกับหลัก จริยธรรม สภาพการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นที่การผลิตและสร้างกำลังคนจะต้องมุ่งปลูกฝัง คุณลักษณะคนไทยให้เป็นผู้มีทั้งความรู้คู่คุณธรรมมากขึ้น จึงจะสามารถค้ำจุนและจรรโลงให้สังคมยังคงอยู่รอด มีสันติสุข และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข"
สำหรับแนวโน้มในอนาคตที่คนไทย จะคิดเป็น และเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆในสังคมอย่างมีคุณธรรมนั้นอาจารย์เกรียงศักดิ์กล่าวว่า…
"ผม คิดเห็นว่ามีแนวโน้มเด็กไทยจะวิเคราะห์วิจารณ์เป็นมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 24 ระบุถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนคิดเป็น โดย ใน (2) ระบุว่า "ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถาณการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและก้ไขปัญหา" ใน (3) "จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง"
สภาพสังคมบีบให้ เด็กต้องคิด และมีการพัฒนาด้านการคิด เนื่องด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความรู้ที่ความรู้เป็น ปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและโอกาสทางสังคม ประกอบกับสภาพที่โลกเชื่อมต่อ ด้วยระบบข้อมูลข่าวสาร การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และการมีสภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นแรงบีบ ทำให้เด็กต้องคิดมากขึ้น เพื่อสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ รัฐธรรมนูญเปิดให้มีเสรีภาพในการคิดมากขึ้น รัฐธรรมนูญมาตรา 39 ระบุว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น" ซึ่ง เป็นการให้เสรีภาพ โดยโอกาสให้ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ และนำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายขึ้น อันก่อให้เกิดการผสมเกสรทางปัญญา หรือการพัฒนาด้านความคิดมากขึ้น
และ หากคนไทยเป็นคนที่คิดเป็น สังคมก็จะเป็นสังคมที่ใช้ปัญญา ไม่ไหลไปตามกระแส รู้จักคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ คนในสังคมมีค่านิยมรักการเรียนรู้ รักการค้นคว้า รักการคิด สามารถคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่เหมาะสมกับคนในยุคนี้และยุคอนาคตต่อไป ได้ สังคมที่มีประสิทธิภาพ เป็นสังคมที่สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดได้จากทรัพยากรที่มีจำกัด ทั้งจาก คน ระบบ และสภาพแวดล้อม ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็นที่เกิดจากการลองผิดลองถูก หรือกระทำไปโดยไม่รู้ สังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีสันติสุข ซึ่งเกิดจากการพัฒนารากฐานกระบวนการคิดและค่านิยมของคนให้รู้จักใช้เหตุผล และความคิดให้เป็นไปในทิศที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น "
ก็ได้ แต่คาดหวังว่าแนวคิดต่าง ๆ ที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ได้เขียนให้คนไทยได้อ่านจะสามารถนำไปพัฒนาความคิด ความอ่าน ให้เป็นคนที่คิดเป็นและที่สำคัญเหนืออื่นใด คงไม่ใช่เป็นคนที่คิดเป็นอย่างเดียว หากคิดเป็นแล้วก็ต้องลงมือปฏิบัติเป็นด้วย…
การ สะสมความคิด เป็นหนึ่งใน 3 สิ่งของสะสมของผมมาตั้งแต่วัยเด็ก คือ การสะสมความคิด หนังสือและมิตรภาพ
ReplyDeleteความ คิดเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง
ReplyDelete