Saturday, May 28, 2011

หลักการคิด

Thinking
การคิดแบบ 4 ยอ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการคิดในหลายๆ แบบ เรื่องราวของการคิดแบบ 4 ยอ เป็นสิ่งที่ ผู้เขียน สร้างขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสในการอ่านงานเขียนทางด้านความคิดจากนักคิดหลายๆ ท่าน แล้วก็สรุปได้ว่า ไม่ว่าเราจะ พูด หรือ นำเสนอเรื่องอะไร ก็มักจะไม่เกินกรอบของการคิด ในแบบ 4 ยอ เสมอ แล้วผู้เขียนเองก็ได้นำเรื่องหลักการ 4 ยอไปใช้ในงานประจำและชีวิต ประจำวันเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอกรอบแนวคิดในที่ประชุม หรือการเดินทางไปบรรยาย ให้กับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน 4 ยอ จึงเป็นคำตอบพื้นๆ สำหรับการคิดเป็น เรามาดูกันว่า หลักการคิดแบบ 4 ยอ คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง (Mind Map® การคิดแบบ 4 ยอ | | click)
       หลักการคิดแบบ 4 ยอ เป็นการคิด รอบด้าน ทั้งภาพรวม และภาพย่อย ที่เป็นองค์ประกอบแต่ละส่วน 4 ยอ ประกอบด้วย ใหญ่ - แยก - ย่อย - โยง แล้วทำไมต้อง คิดในแบบนี้ เหตุก็เนื่องจาก ไม่ว่าเราจะคิดเรื่องอะไรก็ต้องเข้าใจภาพใหญ่ (The Whole) ก่อนเสมอ เรียกว่า มองภาพรวมๆ คร่าวๆ ใก้ได้ชัดเจนก่อน การลงไปในรายละเอียดปลีกย่อย นั้นเอง ซึ่งหากการคิดเป็นไปในแนวทางนี้ ก็เรียกว่า เริ่มจะมีความ คิดหรือหลักการในการคิดเชิงระบบ (system thinking) เบื้องต้นแล้ว
       ใหญ่ (Whole) : หมายถึงการเข้าใจภาพใหญ่ หรือภาพรวม หากเทียบกับการคิดแบบหมวก 6 ใบ ของ Bono ก็คือ การสวมหมวกสีฟ้า เพื่อมองภาพรวมก่อนนั่นเอง การจะเป็นคนมองภาพรวมได้ก็จะต้องเป็นผู้ที่รอบด้าน รอบรู้ ในเรื่องราวต่างๆ อาจจะไม่ ต้องลงลึกในรายละเอียด แต่ก็จะต้องรู้บ้าง "รู้บางอย่างในทุกๆ เรื่อง และรู้ทุกเรื่องในบางอย่าง" ที่ผู้เขียนเคยได้รับฟังมาจาก นพ.กระแส ชนะวงศ์ ที่บรรยาย ในห้องเรียน ปริญญาเอก สาขา พัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การฝึกการคิดแบบภาพใหญ่ง่ายๆ ก็ลองดูคำว่า ป่า (Forest) กับคำว่าต้นไม้ (Tree) หรือสมุนไพร (Herb) หรืออาจจะมองชีวิตของคนเรา ทั้งตัวคือ ชีวิต (Life) แต่เราก็มีอวัยวะ ต่างๆ ประกอบเข้าเป็นตัวเรา (part) แยกออกเป้นส่วนๆ นั่นเอง หากเราเข้าใจ ชีวิตก็เท่ากับเราเข้าใจภาพรวมองค์รวม แต่เพื่อให้เข้าใจลึกลงไปอีกเราก็ต้องเรียนรู้แต่ละส่วนของเรื่องใหญ่ๆ เรื่องนั้นๆ นั่นเอง
ภาพการคิดแบบ 4 ยอ        แยก (Part) : ส่วนประกอบต่างๆ ของเรื่องราวใหญ่ๆ คือ อะไร ประกอบไปด้วยกี่องค์ประกอบ ประกอบไปด้วยกี่ด้าน กี่เรื่องราว การจะคิดแบบแยกได้อย่างเข้าใจ เราก็จะต้อง มีมุมมองที่หลากหลาย (view point) ไม่ใช่มองแต่มุมเดียว เพราะการมองแบบรอบด้านจะเห็นหลายมุม หลายองค์ประกอบ หรือหากจะเข้าใจกรณีของเรื่องชีวิต ก็ลองมองส่วนประกอบเล็กๆ ดูว่า อะไรบ้างมาประกอบกันเป็นชีวิต เช่น มีร่างกาย จิตใจ ความรู้สึก จิตวิญญาณ และอื่นๆ ประกอบกันเข้าเป็นชีวิต หนึ่งชีวิต การแยกส่วนออกมามันจะนำพาเราให้เข้าไปในรายละเอียด ย่อย ในขั้นต่อไปได้อีก เช่น เราสนใจ เฉพาะเรื่องของร่างกาย เราก็มาดูต่อว่า ร่างกาย ต้องเป็นอย่างไร มีระบบย่อย อะไรอีก เสริมเติมเข้ามา ร่างกายจึงจะคงสภาพ มีคุณภาพ มีสุขภาพดี
       ย่อย (Sub-part) : ย่อยเป็นการลงไปในรายละเอียดของแต่ละส่วน (แยก) การคิดในแบบย่อยนี้ จะต้องอาศัย ความมุ่งมั่น ความเข้าใจ บางคนไม่ยอมเสียเวลาในการคิด ย่อย ทำให้ลงไปไม่ถึงแก่นแท้ของเรื่อง (core) มองเห้นแค่เปลือก หรือหากเป็นเวทีของการแก้ไขปัญหา หรือวิเคราะห์ปัญหาก็ไปไม่ถึงแก่นของปัญหา การคิอแบบย่อย นี้ จะไปสัมพันธ์กับหลักการวิเคราะห์แบบ Why-Why analysis ของทางญี่ปุ่น ก็คือหากเราต้องการเข้าใจภาพย่อยที่สุดก็ต้องถาม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ถึง 5 ครั้งเพื่อให้ได้คำตอบลึกที่สุด หรือเรื่องที่ต้องการหรือเรื่องที่สนใจจริงๆ ไม่อย่างนั้นเราจะได้เฉพาะเปลือกเท่านั้น ไม่ได้แก่นสาร แก่นแท้ของเรื่อง
       โยง (Connect) : การเชื่อมโยงหรือการคิดแบบเชื่อมโยง เป็นสุดยอดของทั้ง 4 ยอ เพราะเมื่อเราแยก ย่อย เนื้อหา สาระต่างๆ แล้ว สุดท้ายหากเราต้องการสรุปความ หรือสรุปเรื่องราวต่างๆ มันจะต้องเชื่อมโยงกลับมาสู่ภาพใหญ่ อาจจะเรียกว่าเป็นการบูรณการ (Integration) นั่นเอง คนที่จะสามารถคิดในแบบ เชื่อมโยงได้จะต้องเป็นคนที่ ฝึกการนำสิ่งที่ไม่เหมือน หรือสิ่งที่ไม่สัมพันธ์มาฝึกการโยง หรือการเชื่อมให้ได้ การจะทำได้ส่วนหนึ่งก็ต้องอ่านหนังสือมาก ๆ เพื่อจะได้มีคลังของข้อมูลเพื่อนำมาเชื่อมโยงให้ได้ เรียกว่าจะต้องมีการจัดการความรู้ (Personal Knowledge Management - PKM) เพื่อให้พร้อมจะโยงทุกเรื่องราวเข้าหากัน อาจจะเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นการ สังเคราะห์ ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับหลักการคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthetic Thinking)
การประยุกต์ใช้การคิด 4 ยอ
       สามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อสอบของนักศึกษาที่เป็นแบบวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ (Systhesis) หรือหากเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล หรือทำวิจัย ก็สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี ในส่วนของการทำงานกับภาคประชาชน ก็ยิ่งจะช่วยให้มองเห็นปัญหาที่แท้จริง ด้วยการทำประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาหลัก จากนั้น นำที่ประชุมแยกประเด็น แล้วลงย่อยในรายละเอียด สุดท้ายเราก็โยงกลับมาเป็นความสัมพันธ์ต่างๆ ได้

หนังสืออ่านประกอบ : หนังสือชุดผู้ชนะ 10 คิด ของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

Professor Kriengsak Chareonwongsak สะสมความคิด

Professor Kriengsak Chareonwongsak
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา


"สะสมความคิด เป็นหนึ่งใน 3 สิ่งของสะสมของผมมาตั้งแต่วัยเด็ก"

อาจารย์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ถือเป็นนักเขียนบทความทางวิชาการที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในบ้านเราที่ วิเคราะห์ถึงสิ่งที่สังคมไทยขาดอย่างรุนแรงยิ่งคือ การที่สังคมไทยเป็นสังคมที่คนคิดไม่เป็น อาจารย์เกรียงศักดิ์จึงได้เขียนหนังสือเพื่อเสนอแนะ แนะนำให้คนในสังคมไทยพัฒนาคนให้คิดเป็น เช่น ลายแทงนักคิด และหนังสือชุดผู้ชนะ 10 คิด เป็นการนำเสนอเครื่องมือในการคิด 10 มิติผสมผสานกัน…

      " สาเหตุที่การศึกษาไทยไม่ได้มีส่วนสอนให้เด็กคิดเป็น มีสาเหตุด้วยกันหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเลี้ยงดูและสร้างคนของสังคมไทย ได้แก่

      เน้นการเชื่อฟัง อยู่ภายใต้ระบบการเชื่อฟังมาโดยตลอด ทั้งระบบครอบครัว การศึกษาและสังคม ส่งผลให้คนในสังคมไม่ได้รับการส่งเสริมให้คิดเอง หรือคิดแตกต่างมากเท่าที่ควร เช่น การที่ครูอาจารย์ที่ไม่ชอบให้นักเรียนโต้แย้ง เป็นต้น มุ่งเรียนท่องจำเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศของการเรียนแบบท่องจำ ทำให้ผู้เรียนขาดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล การเรียนการสอนที่ให้ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง และทำหน้าที่ให้ข้อมูลแต่ทางเดียว โดยไม่มีการอธิบายถึงเหตุผลเบื้องหลัง ทำให้ผู้รับไม่ถูกฝึกการคิดแบบวิพากษ์ ไม่พยายามหาข้อสรุปด้วยตนเอง อีกทั้งการสอบและประเมินผลเน้นการท่องจำสิ่งที่เรียนได้มากกว่าการสอบที่ มุ่งวัดความรู้ ความเข้าใจและความสามารถทางการคิดของผู้เรียน

      ขาด การส่งเสริมการอ่านและแสวงหาความรู้มากเพียงพอ ในการปลูกจิตสำนึกให้รักและแสวงหาความรู้ โดยผู้เรียนมักจะให้ความสำคัญกับการอ่านเพื่อสอบเป็นหลัก โดยไม่ได้หาความรู้ที่นอกเหนือการนำไปสอบมากนัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ โดยพยายามดำเนินการแก้ไขและพัฒนามากขึ้น ในช่วงปฏิรูปการศึกษา ซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาสักช่วงหนึ่งกว่าจะเห็นผลการสร้างเด็กให้คิดเป็น

      วิธี การสร้างให้เด็กคิดเป็น มีหลายประการได้แก่ สร้างระบบการศึกษาที่ให้ทั้งความรู้และสร้างปัญญาเป็นแกนหลัก ดังที่ผมกล่าวไว้ว่า สถานศึกษาจะต้องเป็นเรือนเพาะชำทางปัญญา มิใช่คุกทางปัญญา ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือ "คลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม"

      สร้างหลักสูตรการคิดในการศึกษา ตามอัธยาศัย เนื่องด้วยปัจจุบันมีคนในสังคมจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาด้านความ สามารถทางการคิดเท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานที่จบจากระบบการศึกษาไปแล้ว ดังนั้นสังคมจึงควรสร้างช่องทางพัฒนาความสามารถทางการคิดอย่างเป็นระบบให้ กลุ่มวัยแรงงานให้มากขึ้นด้วย โดยจัดหลักสูตรการคิดระยะสั้น ๆ เพื่อพัฒนาคนกลุ่มนี้ได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต ไม่ใช่มุ่งแต่พัฒนาผู้เรียนในระบบการศึกษาเท่านั้น สร้างให้พ่อแม่ให้มีส่วนพัฒนาการคิดให้กับลูกมากขึ้น โดยการจัดฝึกอบรมและให้ความรู้กับพ่อแม่ให้มีทักษะการสอนด้านการคิดให้กับ ลูกของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลือกสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีส่วนพัฒนาทักษะการคิดได้เหมาะสมตามช่วงวัย การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิคในการถามหรือตอบลูกที่มีส่วนในการ พัฒนาด้านการคิด วิธีการฝึกให้เด็กสนใจ ตั้งใจ จดจ่อกับการอ่าน การกระตุ้นและไม่ตีกรอบการคิด การสนใจกับสิ่งที่เด็กบอกกล่าว การกระตุ้นและไม่ตีกรอบการคิด การฝึกให้เด็กคิดและจินตนาการ

      สร้าง สังคมให้เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญของการคิด โดยการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในทุกที่ มิใช่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น เพื่อเปิดทางและแนะแนวให้คนในสังคมมีความสามารถในการคิดเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การยกย่องคนเก่งมากขึ้น การให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มหรือทำกิจกรรมของวัยรุ่นหรือกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมเพื่อพัฒนาการคิด เช่น การจัดประกวดการออกแบบ การสร้างสิ่งประดิษฐ์ หรือการจัดเวทีสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอวิพากษ์และข้อคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น "

      เหตุที่อาจารย์ เกรียงศักดิ์สนใจศึกษาเกี่ยวกับการคิด และเขียนหนังสือเผยแพร่ออกมาหลายเล่ม เป็นเพราะอาจารย์เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิด

      "ความ คิดเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง เพราะความคิดจะนำไปสู่การกำหนดค่านิยม ทัศนคติ การแสดงออกทางพฤติกรรม และความรู้สึกต่าง ๆ ทำให้ความคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวให้กับ คนหรือสังคมนั้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการคิดให้กับคนเป็นอันดับ สำคัญที่สุด

      การเห็นผลกระทบจากการไม่คิดของคนในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่แสดงถึงความอ่อนแอทางความคิด ทำให้ทั้งสังคมได้รับผลกระทบจนมาถึงทุกวันนี้ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น การเชื่อข่าวลืออย่างง่าย ๆ ปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาการใช้ความรุนแรง หรือปัญหาการเลียนและรับค่านิยมจากต่างประเทศมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง เป็นต้น

      การ ต้องการเห็นคนและประเทศไทยเจริญก้าวหน้า ผมรู้ว่าการคิดเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ความคิดเป็นปัจจัยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้า โดยเฉพาะในยุคอนาคตที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมแห่งความรู้ สังคมแห่งเทคโนโลยี และสังคมที่มีการแข่งขันสูง ทำให้คนหรือประเทศจะเจริญก้าวหน้าได้ ต้องเริ่มจากการมีความสามารถทางการคิดที่เอื้อต่อความสำเร็จ ดังที่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาแล้วในโลกต่างเดินในเส้นทางนี้ อันจะทำให้คนไทยและประเทศไทยไม่ถูกเอาเปรียบจากต่างชาติอย่างไม่เป็นธรรม สามารถอยู่รอดและแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ "

      ซึ่งการพัฒนาทักษะความคิดนั้นเป็นสิ่งที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติ

      "การ สะสมความคิด เป็นหนึ่งใน 3 สิ่งของสะสมของผมมาตั้งแต่วัยเด็ก คือ การสะสมความคิด หนังสือและมิตรภาพ โดยผมให้คุณค่าการคิดเป็นอันดับแรกและให้น้ำหนักมากที่สุด เนื่องจากกเห็นคุณค่าของการพัฒนาความสามารถทางการคิด ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสู่การสร้างความเจริญก้าวหน้า และประโยชน์ให้กับทั้งตัวผมเองและผู้อื่นได้

      สอนทีมงาน ผมเริ่มต้นการถ่ายทอดการคิด โดยการสอนทีมงานในสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ผมเป็นผู้อำนวยการอยู่ คนที่ทำงานกับผมเหมือนเข้ามาอยู่ในเรือนเพาะชำทางปัญญา ผมจะเปิดโอกาสให้ทีมงานได้คิด ค้นพบและนำศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้มากที่สุด ยอมให้เขาทำผิด-ทำถูก และเขาคิดเป็นแล้วผมก็ยกให้เขาทำงานชิ้นที่ยากขึ้นใหญ่ขึ้น เพื่อให้พัฒนาการคิดในลำดับที่ยากและซับซ้อนขึ้น

      สร้างสังคม ให้คิดเป็น ผมเห็นว่าการสอนแต่ทีมงานนั้นไม่เพียงพอ เพราะจำกัดอยู่ในเพียงบางกลุ่มคน ผมจึงตั้งเป้าจะถ่ายทอดการสอนด้านการคิดสู่คนในสังคมร่วมด้วย ผมจึงให้ความสำคัญและทำงานหนักในการทำหนังสือการคิด โดยเขียนหนังสือเรื่องการคิดออกมาเป็นหนังสือชุด ชื่อ "ผู้ชนะ 10 คิด" โดยมีเล่มแรกคือลายแทงนักคิด เป็นการเขียนภาพรวมของการคิดทั้ง 10 แบบจากนั้นจึงเขียนหนังสือ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงมโนทัศน์ การคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงประยุกต์ การคิดเชิงอนาคต การคิดเชิงสร้างสรรค์ และการคิดเชิงบูรณาการ

      สาเหตุที่ผม เขียนเป็นชุดหนังสือการคิดทั้ง 11 เล่มนี้ เนื่องด้วยการคิดมีหลายประเภท แต่ละแบบมีความหมาย เนื้อหา วิธีการและเทคนิคการคิดแตกต่างกัน อีกทั้งการจะสอนเรื่องการคิดให้คนในสังคมไทยนับเป็นเรื่องใหม่ที่คนจำนวนมาก ไม่ค่อยมีพื้นฐานเรื่องนี้มากนัก จึงทำให้ผมต้องแยกเขียนหนังสือการคิด 10 มิติออกจากกัน"

      นอกจากนี้อาจารย์เกรียงศักดิ์ยังมองว่าสังคม ไทยยังขาดในด้านการเรียนรู้และจริยธรรมอีกด้วย ที่คนไทยต้องพัฒนาควบคู่กันไปกับการพัฒนาทักษะความคิด

      "จาก ที่ผมทำวิจัยเรื่อง "คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์แบ่งตามช่วงวัย" พบว่า ลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์ที่จะมีส่วนในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและ สอดคล้องกับโลกอนาคต มีด้วยกัน 10 ลักษณะหลัก ๆ ได้แก่ ขยัน อดทน และทุ่มเททำงานหนัก มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ มีวิสัยทัศน์ ทำสิ่งต่างๆ อย่างดีเลิศ รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีจิตสำนึกประชาธิปไตย เห็นคุณค่าเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีจิตสำนึกเพื่อผู้อื่นและส่วนรวม และประหยัด อดออม แต่ในที่นี้ผมให้น้ำหนักอย่างมากใน 2 คุณลักษณะที่จำเป็น คือ

      รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในอนาคตโลกจะปรับตัวเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งความรู้ ซึ่งความรู้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบ ทำให้คนจำเป็นต้องเป็นคนที่สามารถแสวงหาความรู้ พัฒนาและสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นำพาตนเองสู่ความสำเร็จได้ และนำพาประเทศชาติไปสู่การพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้าและสามารถแข่งขันได้

      และมีคุณธรรมจริยธรรม สภาพสังคมปัจจุบันและอนาคตจะมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นในทุกด้าน ผู้คนต่างจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก เกิดการแย่งชิงทรัพยากรส่วนรวมมากขึ้น การเข้ามาของกระแสความคิดและวัฒนธรรมต่างประเทศบางประการที่ขัดกับหลัก จริยธรรม สภาพการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นที่การผลิตและสร้างกำลังคนจะต้องมุ่งปลูกฝัง คุณลักษณะคนไทยให้เป็นผู้มีทั้งความรู้คู่คุณธรรมมากขึ้น จึงจะสามารถค้ำจุนและจรรโลงให้สังคมยังคงอยู่รอด มีสันติสุข และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข"

      สำหรับแนวโน้มในอนาคตที่คนไทย จะคิดเป็น และเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆในสังคมอย่างมีคุณธรรมนั้นอาจารย์เกรียงศักดิ์กล่าวว่า…

      "ผม คิดเห็นว่ามีแนวโน้มเด็กไทยจะวิเคราะห์วิจารณ์เป็นมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 24 ระบุถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนคิดเป็น โดย ใน (2) ระบุว่า "ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถาณการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและก้ไขปัญหา" ใน (3) "จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง"

      สภาพสังคมบีบให้ เด็กต้องคิด และมีการพัฒนาด้านการคิด เนื่องด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความรู้ที่ความรู้เป็น ปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและโอกาสทางสังคม ประกอบกับสภาพที่โลกเชื่อมต่อ ด้วยระบบข้อมูลข่าวสาร การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และการมีสภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นแรงบีบ ทำให้เด็กต้องคิดมากขึ้น เพื่อสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ รัฐธรรมนูญเปิดให้มีเสรีภาพในการคิดมากขึ้น รัฐธรรมนูญมาตรา 39 ระบุว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น" ซึ่ง เป็นการให้เสรีภาพ โดยโอกาสให้ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ และนำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายขึ้น อันก่อให้เกิดการผสมเกสรทางปัญญา หรือการพัฒนาด้านความคิดมากขึ้น

      และ หากคนไทยเป็นคนที่คิดเป็น สังคมก็จะเป็นสังคมที่ใช้ปัญญา ไม่ไหลไปตามกระแส รู้จักคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ คนในสังคมมีค่านิยมรักการเรียนรู้ รักการค้นคว้า รักการคิด สามารถคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่เหมาะสมกับคนในยุคนี้และยุคอนาคตต่อไป ได้ สังคมที่มีประสิทธิภาพ เป็นสังคมที่สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดได้จากทรัพยากรที่มีจำกัด ทั้งจาก คน ระบบ และสภาพแวดล้อม ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็นที่เกิดจากการลองผิดลองถูก หรือกระทำไปโดยไม่รู้ สังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีสันติสุข ซึ่งเกิดจากการพัฒนารากฐานกระบวนการคิดและค่านิยมของคนให้รู้จักใช้เหตุผล และความคิดให้เป็นไปในทิศที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น "

      ก็ได้ แต่คาดหวังว่าแนวคิดต่าง ๆ ที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ได้เขียนให้คนไทยได้อ่านจะสามารถนำไปพัฒนาความคิด ความอ่าน ให้เป็นคนที่คิดเป็นและที่สำคัญเหนืออื่นใด คงไม่ใช่เป็นคนที่คิดเป็นอย่างเดียว หากคิดเป็นแล้วก็ต้องลงมือปฏิบัติเป็นด้วย…

Professor Kriengsak Chareonwongsak หนังสือ หาเงินใช้เงิน

Professor Kriengsak Chareonwongsak Book
หาเงินใช้เงิน/ศ.ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์


สู่ความสำเร็จในการหาเงินและใช้เงิน

การจัดสรรเงินให้มีพอเพียงในทุกช่วงวัย

แนะวิถีสู่การเป็นเจ้านายของเงินอย่างแท้จริง

มิใช่เป็นทาสที่ถูกเงินพันธนาการชีวิต

โดยเสนอแนวทางการปรับความคิดและทัศนคติต่อเงินอย่างเหมาะสม

การวางแผนการใช้เงินอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ

รวมทั้งเสนอเทคนิคการหาเงินในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกต้อง
บางส่วนของเคล็ดลับการใช้เงิน

 - วางแผนการใช้เงินอย่างนักเศรษฐศาสตร์
 - ใช้เงินที่จำกัด ขยายผลได้อย่างไม่จำกัด
 - วางแผนการเงินก่อนเลือกคู่เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน
 - วางแผนการเงินเพื่อลูกรัก.. สอนลูกให้รู้จักใช้เงินเป็น


ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์  (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Thursday, May 12, 2011

Professor Kriengsak Chareonwongsak


Professor Kriengsak Chareonwongsak is President of the Institute of Future Studies for Development in Thailand (IFD) and Chairman of Success Group of Companies in Thailand. He is a Visiting Fellow of the Oxford Internet Institute conducting research on Internet Filtering in Thailand. Professor Kriengsak Chareonwongsak is also a Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate, Weatherhead Center for International Affairs, Harvard University. Professor Kriengsak has taught at universities overseas and in Thailand on economics, public policy and development issues. Professor Kriengsak Chareonwongsak academic analyses and proposals are popularly read, having been published in 150 books for public readership and in over 3000 articles on a variety of topics, with his perspectives often highlighted in interviews carried by a wide variety of media sources in Thailand and overseas. Professor Kriengsak Chareonwongsak has presented over 200 academic papers at international conferences, and has given over 2200 lectures in fifty countries.


  
Professor Kriengsak Chareonwongsak

Professor Kriengsak obtained first class honors and a PhD in Economics from Monash University, Australia, 1981 and a Masters of Public Administration from Harvard University. He is a Research Professor at Regent University, USA and an Adjunct Professor at many universities both in Thailand and overseas. Prior to Thailand's recent parliamentary dissolution, Professor Kriengsak was an elected Member of Parliament. Currently he is on the Executive Board of the Democrat Party, Thailand, having also held fifty positions as an active participant in various organizations and committees at national level. He was a member of Thailand's National Committee for International Economic Policy. He was also Chairman of the Education, Religion, Arts and Culture Commission, Vice Chairman of the Economic, Commerce and Industry Commission of the National Economic and Social Advisory Council, and Advisor to the Senate Foreign Affairs Commission and Privatization Commission.

Wednesday, May 11, 2011

Profressor Kriengsak Chareonwongsak : Vision Harvard University



ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak) นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด (Harvard University)

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

เกิดในครอบครัวของนักธุรกิจ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เป็นบุตรชายคนโตของนายเอี่ยม เจริญวงศ์ศักดิ์ เป็นบุคคลที่มีใจใฝ่หา ปรารถนาอยากจะเห็น

ประเทศไทย

อยากเห็นคน

Professor Kriengsak Chareonwongsak


กรุงเทพฯ

ได้รับสิ่งดีและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย
จากอิทธิพลชีวิตของคุณพ่อ เอี่ยม เจริญวงศ์ศักดิ์ ในเรื่อง ความซื่อสัตย์ อันเด่นชัด
ได้ถ่ายทอดส่งผ่านมายังบรรดาบุตรธิดา ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ด้วยความเป็นบุตรคนโตของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ทำให้ท่านรับเอาลักษณะชีวิตแห่ง ความซื่อสัตย์ นี้มาไว้เป็นหลักหนึ่งในการดำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัด จนทำให้ยามเมื่อ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้นี้จะพิจารณาผู้ใดมาร่วมเป็นทีมงานกับ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ลักษณะชีวิตแห่ง ความซื่อสัตย์ นี้ ยังเป็นปัจจัยแรก ๆ ในการคัดเลือกก่อนความรู้ความสามารถด้วยซ้ำ
ความมีน้ำจิตน้ำใจของสำแดงออกเป็นชีวิตผ่านการร่วมออกค่ายอาสาพัฒนาในวัยเรียน ซึ่งสังเกตได้ว่า ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้นี้ มิได้ลงมือทำกิจกรรมนี้เพียงเพราะบรรยากาศ สภาพแวดล้อม หรือบริบทแห่งสังคมเพื่อนฝูงในวัยเรียนที่พาไป เพราะท่านได้ทุ่มเททำกิจกรรมนี้จนได้เป็นถึงประธานชมรมค่ายอาสาพัฒนาของโรง เรียนอัสสัมชัญฯ ในที่สุด อิทธิพลชีวิตเรื่อง ความมีน้ำใจ ที่ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นี้ ท่านยังได้รับจากอาจารย์ที่ปรึกษาของกลุ่มอัสสัมชัญอาสาพัฒนานามว่า บราเดอร์วิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัย ซึ่งท่านได้เล่าไว้ในหนังสือ “เรื่องสนุก กระตุกคิด” ความว่า
…เมื่อไปถึงโรงเรียน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ และบราเดอร์ต้องพากันปีนข้ามรั้วโรงเรียนเข้าไป เพราะไม่มีใครเปิดประตูรั้วให้ และเนื่องจากไม่ได้วางแผนว่าจะพักค้างคืนล่วงหน้า ผมจึงไม่มีที่นอนพัก บราเดอร์จึงอนุญาตให้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เข้าไปพักที่ห้องพักของท่าน โดยที่ท่านอุตส่าห์สละเตียงให้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นอน ส่วนตัวท่านขอนอนพื้น
ในความรู้สึกของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ คิดว่าไม่ถูกต้อง ผมต่างหากที่ควรจะเป็นฝ่ายนอนพื้น ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ จึงต่อรองกับท่านปรากฏว่าท่านก็ไม่ยอม โยกโย้กันอยู่ตั้งนาน ในที่สุดผมจึงจำใจต้องนอนเตียง แล้วปล่อยท่านนอนพื้นในคืนนั้น
คืนนั้นผมนอนไม่หลับเพราะไม่สบายใจ แต่ลึก ๆ แล้วผมประทับใจในน้ำใจของท่านมากจริง ๆ แม้ท่านเป็นถึงอาจารย์แต่ยังยินดีเสียสละ ยอมนอนกับพื้นเพื่อให้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้น้อยกว่า เป็นเพียงนักเรียนของท่าน ได้สิ่งที่ดีกว่า
นับจากวันนั้นผมได้แง่คิดว่า การเสียสละเพื่อคนอื่นเป็นสิ่งที่งดงาม ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เสียเกียรติแต่ประการใดเลย และได้แง่คิดที่สำคัญอีกประการหนึ่งว่า ถ้า อาจารย์ สอนเราตามแบบเรียน เราจะจำแบบเรียน จำวิชาที่เรียน มากกว่าจดจำว่าเรียนจากผู้ใด แต่ถ้าอาจารย์ สอนเราด้วยแบบอย่างชีวิต เราจะสำแดงสิ่งที่เรียนรู้ออกมาเป็นชีวิต เช่นเดียวกับชีวิต อาจารย์

….แบบอย่างที่แสดงออกมาจากชีวิตสอนเราได้ดีกว่าคำพูด
หลังจบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญฯ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ จึงไปศึกษาต่อในระดับมัธยมปลาย ณโรงเรียนนิวเบอร์ลิน รัฐวิสคอนสิน สหรัฐอเมริกา
ความหวัง : ที่จะศึกษาอย่างมีเป้าหมาย (ความหวังที่จะเห็นการศึกษาของตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ)
ด้วย ความหวัง และปรารถนาจะเห็นตนเองเป็นส่วนหนึ่งใน ความหวัง ของชาวไทย เหมือนเช่นที่คนไทยอีกหลายคนต้องการเห็นประเทศไทยได้มีสภาพเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น ทำให้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ที่ได้รับทุนจากรัฐบาลเพื่อศึกษาต่อทางปริญญาตรีนั้น ได้ตัดสินใจทำเรื่องขอปรับสาขาวิชาที่ได้รับทุนจากสาขาวิชา…..มาเป็นด้าน เศรษฐศาสตร์ เพราะมี ความหวัง ว่า เมื่อจบออกมาแล้ว สามารถนำความรู้ความสามารถด้านนี้มาทำ ความหวัง ให้แก่ชาติบ้านเมืองได้มากกว่าที่จะเรียนในสาขาที่เพียงแต่ทำให้ผู้เรียนจบมามี ความหวัง เพื่อทำงานหรือมี ความหวัง เงินเดือนมากเท่านั้น ซึ่งท่านก็สามารถชี้แจงให้เหตุผลจนได้ปรับสาขาวิชาจนสำเร็จ และได้รับทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาต่อ ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยมอแนช (Monash University) ประเทศออสเตรเลีย ที่นี่ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้รับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
ความหวัง ที่จุดประกายขึ้นในขณะศึกษาหาความรู้ของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นั้น เป็นเหตุให้ท่านพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงหนทางในการนำความรู้มาใช้พัฒนาประเทศชาติ ไม่เพียงแต่เฉพาะเพื่อ ความหวัง ของคน กรุงเทพ เท่านั้น แต่เพื่อ ความหวัง ของชาวไทยทั้งประเทศ ด้วยเหตุนี้เอง การศึกษา ของท่านต่อจากนั้น จึงเกี่ยวข้องและมีเป้าหมายเพื่อทำประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
ต่อมา ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ท่านศึกษาต่อปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) สหรัฐอเมริกา ตามด้วยการศึกษาต่อปริญญาเอก (1981) สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอแนช (Monash University) ประเทศออสเตรเลีย ( โดยทุนมหาวิทยาลัยมอแนช )

การเห็นความสำคัญด้านการศึกษานี้เอง ทำให้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แม้ได้รับปริญญาเอกและเป็นถึง ศาสตราจารย์ ดร. แล้วก็ตาม ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กลับยังคงศึกษาต่อทั้งหลักสูตรในประเทศและต่างประเทศ อาทิ
  • การศึกษาหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) ประเทศอังกฤษ
  • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชนและการเมือง รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา             2546-2547       วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (วปม. รุ่นที่ 1)
  • หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 ปีการศึกษา             2547-2548       วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
ชีวิตของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แสดงออกถึง ความหวัง ตั้งใจ และปรารถนาใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งจากในรั้วของ สถาบันการศึกษา และจากการดำเนินชีวิต เห็นได้จากที่ชีวิตของท่านเป็นแบบอย่างในการขวนขวายแสวงหาความรู้อย่างไม่ ยอมหยุดนิ่ง ทั้งยังมีความหวังที่จะนำความรู้ความสามารถที่ท่านได้ร่ำเรียนมาตลอดชีวิตให้เกิดเป็นรูปธรรมในการมีส่วนนำเสนอความคิด ความรู้ ความตั้งใจ และส่ง ความหวัง นั้นผ่านตัวอักษรเป็นหนังสือและบทความมากมายหลายเล่ม ยิ่งไปกว่านั้น การมี ความหวัง จะเห็นสิ่งดี ความปรารถนาต่อสังคม ต่อประเทศชาติของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ชีวิตของท่านเท่านั้น แต่ได้ถ่ายทอดไปยังบุคคลในครอบครัวใกล้ตัว จนสามารถเรียกได้ว่า นี่แหละ ครอบครัวแห่ง ความหวัง แห่งความตั้งใจ อย่างแท้จริง ซึ่งกำลังจะกล่าวต่อจากนี้ไป