Tuesday, April 17, 2012

ทิศทางการพัฒนาการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม

ประเด็นร้อนที่สุดสำหรับรัฐบาลในเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนข้อสงสัยของสังคม
เกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลได้มุ่งไปที่ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง
นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายใช้อำนาจในการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตนเองและพวกพ้อง อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการบริหารจัดการที่ผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือ
ไม่ก็ตาม

     ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่เด่นชัดของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหาร
ประเทศมีหลายนโยบายและโครงการที่มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ จนทำให้การดำเนิน
งาน ขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ อาทิ 
 


ELETTER                                                                                           มีนาคม 2554
 

                    ทิศทางการพัฒนาการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม
                               
     ประเด็นร้อนที่สุดสำหรับรัฐบาลในเวลานี้หนีไม่พ้นเรื่องน้ำมันปาล์มขาดแคลนข้อสงสัยของสังคม
เกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการของรัฐบาลได้มุ่งไปที่ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง
นักการเมืองผู้กำหนดนโยบายใช้อำนาจในการบริหารนโยบายน้ำมันปาล์ม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตนเองและพวกพ้อง อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการบริหารจัดการที่ผิดพลาดจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือ
ไม่ก็ตาม

     ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่เด่นชัดของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนับตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหาร
ประเทศมีหลายนโยบายและโครงการที่มีความบกพร่องในการบริหารจัดการ จนทำให้การดำเนิน
งาน ขาดประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ อาทิ 
    

- การจัดงานแสดงสินค้า “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่และรูปแบบ
การจัดงาน จนได้รับการต่อว่าอย่างรุนแรงจากผู้ประกอบการที่มาออกร้านแสดงสินค้า ทำให้ต้อง
กลับไปจัดในรูปแบบเดิมในปีต่อมา - โครงการต้นกล้าอาชีพที่มีการประเมินผิดพลาดทำให้มีผู้เข้
มาฝึกอาชีพน้อยกว่าเป้าหมายมากจนต้องยกเลิกโครงการบางส่วนที่ดำเนินการไม่ได้ไปในที่สุด

- การเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างล่าช้า ทำให้ภาคเอกชนกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน
การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

- โครงการขายไข่ตามน้ำหนักที่ขาดการศึกษาอย่างรอบคอบ ทำให้โครงการนี้ไม่ได้รับความ
สนใจจากผู้บริโภค และถึงแม้เป็นเพียงโครงการเล็กๆ แต่กลับใช้งบประมาณจำนวนมากในการ
ดำเนินโครงการ    การบริหารนโยบายน้ำมันปาล์มเป็นอีกคำรบหนึ่งที่สะท้อนถึงความผิดพลาด
ในการบริการจัดการของรัฐบาล เพราะการบริหารนโยบายไม่สอดคล้องกับสภาพของตลาด
น้ำมันปาล์มในประเทศ

      สภาพตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศไทยในปัจจุบันมีลักษณะของการแทรกแซงกลไกตลาด
 โดย ด้านอุปทานมีการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยห้ามนำเข้าหรือจำกัดโควตาการนำเข้า
และรัฐบาลพยายามกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกร ส่วนด้านอุปสงค์ ความต้องการน้ำมัน
ปาล์มมาจาก 3 ส่วน ส่วนแรก คือน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภค (น้ำมันปาล์มบรรจุขวด) ซึ่ง
ควบคุมเพดานราคา เพื่อดูแลด้านค่าครองชีพของประชาชน ส่วนที่สอง คือน้ำมันปาล์ม ที่ใช้เป็น
วัตถุ ดิบของอุตสาหกรรม (น้ำมันปาล์มบรรจุถัง) ซึ่งราคาเป็นไปตามกลไกตลาด และส่วนที่สาม คือน้ำมันปาล์ม สำหรับผลิตไบโอดีเซล ซึ่งรัฐบาลให้การอุดหนุนผู้ผลิตไบโอดีเซล เพื่อสนับสนุน
การใช้พลังงานทางเลือก

     ในภาวะปกติที่น้ำมันปาล์มมีปริมาณที่เหมาะสม  กลไกการแทรกแซงตลาดดังกล่าวยังสามารถ
ดำเนินการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มใดอย่างเด่นชัด เพราะไม่ฝืนกลไกตลาดมาก
นัก แต่ในภาวะที่ปริมาณน้ำมันปาล์มในประเทศขาดแคลนจนทำให้ราคาสูงขึ้นมากดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะขาดแคลน น้ำมันปาล์มบรรจุขวดย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม
ที่มีพฤติกรรมแสวงหากำไรสูงสุด ย่อมไม่ต้องการผลิตน้ำมันปาล์มบรรจุขวดที่มีการกำหนดเพดาน
ราคาที่ไม่สะท้อนกลไกตลาด (แม้รัฐบาลจะขยับเพดานราคาขึ้น 9 บาทแล้วก็ตาม) แต่จะหันไป
ผลิตน้ำมันปาล์มสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ไม่มีการแทรกแซงกลไกราคา และน้ำมันปาล์มสำหรับ
ผลิตไบโอดีเซลซึ่งบริษัทน้ำมันยินดีรับซื้อในราคาตลาดเพราะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล

      ในระยะยาว การปล่อยให้กลไกตลาดทำงานน่าจะเป็นหนทางที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ใน การจัดสรรน้ำมันปาล์มแก่ผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ และไม่ทำให้เกิดการขาดแคลนดังที่ปรากฏใน
ปัจจุบัน แต่เนื่องด้วยเหตุผลของความไม่พร้อมของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศ โครงสร้าง
พื้นฐาน และกลไกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้รัฐบาลยังจำเป็นต้องแทรกแซงตลาด แต่ด้วยวิธีการบริหาร
จัดการตลาดน้ำมันปาล์มในปัจจุบันที่ใช้ดุลพินิจของผู้กำหนดนโยบายเป็นหลัก การจัดสรรน้ำมัน
ปาล์มอย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น จึงต้องการรัฐบาลที่สุจริตและมีความสามารถสูงในการ
บริหารจัดการ (ดูภาพที่ 1)

      อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การบริหารจัดการของ
รัฐบาล มีความผิดพลาด ทั้งความผิดพลาดในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลผลิตน้ำมันปาล์ม ความผิดพลาด ในการบริหารปริมาณน้ำมันปาล์มสำรองจนทำให้ปริมาณเหลือน้อย ความล่าช้า
ในการนำเข้าน้ำมันปาล์มเพื่อลดการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในประเทศ การนำเข้าน้ำมันปาล์ม
ผิดประเภท โดยนำเข้าเป็นน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ทำให้ต้องเสียเวลาในการกลั่นเป็นน้ำมันปาล์ม
บริสุทธิ์ การแบ่งโควตาผลิตน้ำมันปาล์มไม่สอดคล้องกับกำลังการผลิตของแต่ละโรงงาน การไม่
ควบคุมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มให้ผลิตน้ำมันบรรจุขวดในปริมาณที่ได้รับโควต้า และการกระจาย
สินค้าไม่ทั่วถึง 
อ่านบทความเรื่องอื่นๆ ได้ที่     www.kriengsak.com

No comments:

Post a Comment