Wednesday, March 30, 2011

สยามอารยะ เพื่อเมืองไทยเป็นอารยะประเทศ

สยามอารยะ เพื่อเมืองไทยเป็นอารยะประเทศ
บทความโดน ๆๆๆ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Monday, March 28, 2011

สังคมที่ดี สร้างสยามอารยะ โดย ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์



เราทุกคนสามารถที่จะร่วมกันสร้าง สังคมที่ดี สร้างสยามอารยะ สร้างเมืองไทยให้เป็นอารยะประเทศ โดยเริ่มจากสิ่งที่เราสนใจ

ส่วนหนึ่งของ คำปราศัย ของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Sunday, March 27, 2011

วิสัยทัศน์ส่วนตัวของศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

วิสัยทัศน์ส่วนตัวของศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ คือ การทุ่มเท อุทิศตน ด้วยศักยภาพทุกหยาดหยด เวลาทุกวินาที และทรัพยากรทั้งหมด เพื่อทำคุณประโยชน์ให้มากที่สุดแก่ชีวิต ครอบครัว สังคมไทย และประชาคมโลกในที่สุด



บทความและคำพูด จากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Saturday, March 19, 2011

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับ แง่คิดวิสัยทัศน์ในชีวิตจริง (ต่อ2)

•    ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ เคยถูกจำคุกหลายครั้งหลายหนเนื่องจากหนี้ที่เขาก่อขึ้นในขณะคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่เขาได้ใช้ความพยายามอย่างมาก ตรากตรำทำงานหนักในการคิดค้นนี้ เขามีวิสัยทัศน์ มีความหวัง ที่จะหลุดพ้นจากหนี้สินและเป็นคนมั่งคั่ง
•    หลายคนนั่งจับเข่าหมดอาลัยตายอยากในคุก แต่ ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ ไม่เป็นเช่นนั้น ในที่สุดเขาได้ค้นพบวิธีผลิตยางรถยนต์ได้ในขณะที่เขาอยู่ในคุก หลังจากนั้นเขาพยายามโน้มน้าวหลายคนให้เห็นคุณค่าสิ่งที่เขาคิดค้น แต่ก็ไม่มีใครสนใจ เขาต้องใช้เวลา 2 ปี ในการเก็บเงินเพื่อทำให้สิ่งที่เขาคิดค้นเป็นจริงอย่างสมบูรณ์ และที่สุด บริษัท กู๊ดเยียร์ ได้กลายเป็นบริษัทผลิตยางรถยนต์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกบริษัทหนึ่งจนทุกวันนี้
•    ร็อคกี้ เฟลเลอร์ ในวัยเด็กเขายากจนมาก จนต้องเริ่มทำงานขุดมันฝรั่งตั้งแต่เด็ก เพื่อแลกกับเงิน 4 เซ็นต์ต่อชั่วโมง แต่ด้วยความปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น และมีปณิธานแน่วแน่ที่จะใช้เงินช่วยเหลือผู้อื่นไม่ให้ต้องเผชิญความยากลำบากอย่างเขา ประกอบกับความอุตสาหะ พยายาม เขาสร้างตัวเองขึ้นจนสามารถกลายเป็นมหาเศรษฐีของโลก ที่บริจาคเงินเพื่อมนุษยชาติถึง 750 ล้านดอลล่าร์ หรือ นาทีละ 75 เซ็นต์ตลอดอายุ 97 ปี ของเขา
•    กบ 2 ตัว ตกลงไปในถังนมถังใหญ่ ตัวถังก็ลื่นมาก ปีนขึ้นไม่ได้ กบตัวหนึ่งบอกว่า "เราต้องตายแน่" ว่าแล้วก็เริ่มร้องไห้ และจมลงตายไป แต่กบอีกตัวหนึ่งกลับคิดว่ายังไงก็ไม่ยอมตายที่นี่ มันก็เลยว่ายวนในถังนมไปเรื่อย ๆ ด้วยความหวังว่าจะออกไปได้ รอบแล้วรอบเล่า จนสุดท้าย มันก็กระโดดออกสู่โลกภายนอก จากถังนมที่กลายเป็นเนยเรียบร้อยแล้ว
•    วินสตัน เชอร์ชิล เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และสามารถนำประเทศผ่านสงครามโลกมาได้อย่างมีชัยชนะ เขามีวิสัยทัศน์ที่จะนำประเทศสู่ชัยชนะ ทำให้ทุกครั้งที่เขากล่าวสุนทรพจน์ เขาจะพูดอย่างหนักแน่นและมั่นใจ ส่งผลให้คนอังกฤษมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ จนเกิดไฟแห่งความเชื่อมั่นในชัยชนะนั้น ทำให้เกิดพลังขับเคลื่อน ร่วมแรงร่วมใจ จนสามารถชนะได้จริง ๆ
•    สิงคโปร์ ตระหนักว่าตนด้อยทรัพยากรธรรมชาติ จะมีก็เพียงทรัพยากรมนุษย์ แทนที่จะรอคอยอย่างหมดหวัง กลับมีวิสัยทัศน์ และสร้างวิสัยทัศน์จากจุดแข็งของตน คือ มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็น Intelligent Island ในโครงการ IT2000 โดยมีเป้าหมายให้ IT เข้าไปอยู่ในทุกส่วนของสังคมที่บ้าน ที่ทำงาน และที่พักผ่อนเพื่อให้ประเทศมีความสามารถสูงในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ
•    หากประเทศไทยมีวิสัยทัศน์ให้คนไทยได้รับรางวัลโนเบล เราก็จะได้ประชาชนที่มีความรู้ มีความคิดอ่าน เฉลียวฉลาดเพิ่มมากขึ้น
•    เมื่อนาซีพยายามกวาดล้างชาวยิว เขาจับพวกยิวจำนวนมากไปอยู่ค่ายกักกัน และมีชาวยิวตายในค่ายกักกันมากมาย หลังจากสงครามสงบลง มีการทำการศึกษาว่า นักโทษประเภทไหนที่สามารถรอดชีวิตได้แม้ถูกจับไปอยู่ในค่ายกักกัน เขาพบว่าคนที่รอดชีวิตมาคือคนที่ไม่หมดอาลัยตายอยาก แต่คนที่ตาย คือ คนที่ไม่สามารถหิ้วคอเสื้อตัวเองให้ข้ามฝั่งไปได้
-    ผู้ฟังคนหนึ่งถามชาวยิวที่รอดชีวิตคนนี้ว่า “อะไรเป็นเหตุให้คุณอดทน และมีกำลังใจต่อสู้กับความยากลำบากได้ถึงขนาดนั้น” ชาวยิวผู้รอดชีวิตจึงตอบว่า “เพราะผมเห็นภาพที่ตัวเองยืนพูดกับพวกท่านทุกคนในวันนี้ ผมเห็นภาพนี้เป็นพัน ๆ ครั้งตลอดมา”

•    อย่าทำเพียงเพื่อวันนี้ หรือ พรุ่งนี้ แต่จงทำเพื่อชีวิตนี้


บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ ข้อคิดเพื่อวิสัยทัศน์ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Friday, March 18, 2011

Professor Kriengsak Chareonwongsak Love story

12. เมื่อมีปัญหาในครอบครัว อย่าลืมใช้ความรักและหลักเหตุผลเป็นกรรมการตัดสิน ไม่ใช้ อารมณ์ หรืออาวุธ ..




Professor Kriengsak Chareonwongsak
13. งอนแต่พองาม ... ก็งามดี แต่งอนเกินพอดี ก็เกินงาม ...



14. ต่างคนต่างแข็ง ไม่มีใครยอมอ่อนข้อต่อกัน ... บ้าน ... ก็ คงไม่ต่างอะไรกับสนามรบ



15. เมื่อสามีอ่อนแอ ไม่รับบทบาทผู้นำ ความสับสนวุ่นวาย ก็ตามมา หรือเมื่อภรรยา พยายามแย่งบทบาทการนำจากสามี ชีวิตครอบครัวก็รอดยาก



16. ความไม่ซื่อสัตย์ ต่อกันเพียงครั้งเดียว ก็อาจสั่นคลอนความไว้วางใจที่มีให้กันได้ ท้ายที่สุด ชีวิตคู่ก็จบลงด้วยความแตกร้าวยากเยียวยา



17. ความเห็นแก่ตัว สนใจแต่ปัญหา อารมณ์ ความรู้สึก และความสนใจของตัวเองชีวิตคู่ ก็อยู่ด้วยกันยาก



18. ก่อหนี้สินจนล้นพ้นตัว ครอบครัวก็มีแต่ความตึงเครียดทุกเช้าเย็น



19. เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือทั้งสองฝ่ายเรียกร้องและคาดหวังจากกันและกันมากเกินพอดี ปัญหาก็จะมีเรื่อยไป … ไม่สิ้นสุด



20. ควรตระหนักว่า ... ภรรยา ไม่ใช่ผู้ปรนนิบัติรับใช้สามี แท้จริงแล้ว สามีภรรยา ควรเอาใจใส่ดูแลกันและกันอย่างดีที่สุด ... ย่อมดีกว่า



21. ไม่มีอะไร ทำให้ภรรยาปวดร้าวใจ มากเท่าการค้นพบว่า สามีมีหญิงอื่นในหัวใจ



22. รักเดียว ... ใจเดียว ไม่ใช่เรื่องเชย แต่เป็นเรื่องดีที่ สามีทุกคนในโลกควรกระทำ



23. การขอโทษภรรยาเมื่อทำผิด ไม่ใช่เรื่องเสียศักดิ์ศรี แต่เป็นศักดิ์ศรีของสามี ... ที่แท้จริง



24. ไม่ควรมองว่า งานดูแลบ้าน เป็นความรับผิดชอบของภรรยา สามีควรมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระอย่างสุดความสามารถเสมอ



25. สรีระรูปร่างหน้าตา ที่เปลี่ยนไปของภรรยา ไม่ควรเป็นเหตุให้ความรักในหัวใจของสามีจืดจางลงแม้แต่น้อย



26. ควรระลึกอยู่เสมอว่า ... การนำครอบครัวนั้น คือ การนำโดยเห็นผลประโยชน์ของครอบครัวเป็นหลักไม่ใช่ เพื่อความสุข ความพึงพอใจของตนเอง



27. ภรรยาที่ดี ควรสนับสนุนสามีให้ก้าวไกลในชีวิต ไม่ใช่ดึงรั้งให้หยุดอยู่กับที่ หรือถอยหลัง



28. ภรรยาที่ดี ไม่ควรใช้วิธีการบีบบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้สามีตัดสินใจตามความคิดของตน



29. ในสถานการณ์หน้าสิ่ว หน้าขวาน สามีต้องการภรรยาที่สงบนิ่ง ช่วยกันคิดหาทางออก ไม่ใช่ภรรยาที่เอาแต่โวยวาย ตีโพย ตีพายหรือร้องไห้ฟูมฟาย โดยปล่อยให้เขาต้องแบกภาระหนักอึ้งเพียงลำพัง



30. การไม่ตีลูก เพราะกลัวลูกเจ็บ เมื่อยังเป็นเด็ก กลับจะ ทำให้เขาเจ็บปวดยิ่งกว่า เมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างปัญหา และถูกลงโทษ . .. จากสังคม

Thursday, March 17, 2011

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับ แง่คิดวิสัยทัศน์ในชีวิตจริง (ต่อ)

•    เซลส์แมนขายรองเท้าชาวอเมริกันที่ถูกส่งไปอาฟริกาเพื่อดูลู่ทางการตลาด เมื่อไปถึง เขาโทรเลขกลับมายังสำนักงานว่า "ผมคงต้องรีบกลับ เพราะที่นี่ไม่มีใครใส่รองเท้าเลย" บริษัทจึงเรียกเขากลับมา และส่งนักขายอีกคนไป ปรากฏว่านักขายคนนี้ส่งโทรเลขมาครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยข้อความว่า "ต้องการสินค้าจำนวนมาก เพราะคนที่นี่ยังไม่มีรองเท้าใส่กันเลย"

•    เรย์ คร็อก ผู้ก่อตั้ง แมคโดนัลด์ มองเห็นว่าร้านกาแฟในสมัยนั้นจำหน่ายอาหารที่เตรียมง่าย ราคาถูก ซึ่งเป็นการตลาดที่กว้างมาก เขาจึงจู่โจมโดยการเอาอาหารที่นิยมที่สุดของร้านกาแฟ คือ แฮมเบอร์เกอร์มาเป็นอาหารหลักของร้าน ด้วยวิสัยทัศน์ที่เห็นว่าจะเป็นไปได้ จึงยอมลงทุนสูงถึงขนาดกู้เงินโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก จนร้านของเขาขยายไปทั่วโลก และมียอดขายมากกว่าร้านประเภทเดียวกันตราบจนปัจจุบัน

•    เฮนรี่ ฟอร์ด ยืนยันต่อกลุ่มวิศวกรในการสร้างเครื่องยนต์ให้ลูกสูบทั้ง 8 อยู่ในเสื้อสูบที่หล่ออยู่ในชิ้นเดียวกัน (V-8) แม้พวกเขาจะบอกว่า "เป็นไปไม่ได้" แต่เฮนรี่ ฟอร์ดเห็นชัดและมั่นใจว่าจะต้องทำได้แน่ และในที่สุดเครื่องยนต์ V-8 ก็สำเร็จ

•    ทอม วัตสัน จูเนียร์ เล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งพ่อของเขา ทอม วัตสัน ซีเนียร์ กลับมาถึงบ้าน พร้อมกับประกาศอย่างภาคภูมิใจว่า "ต่อไปนี้ บริษัท Computing Tabulating Recording จะเป็นที่รู้จักกันในนามใหม่ว่า International Business Machine (IBM) ซึ่งดูเพ้อฝันในการทำบริษัทข้ามชาติในขณะนั้น แต่ต่อมาในปี 1924 บริษัทใหม่นี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ระดับโลก และกลายเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ได้ในที่สุด

•    ยูจีน แลงก์ เคยมีความยากลำบาก มีปัญหามาก แต่เขาเป็นคนมีวิสัยทัศน์ และกลายเป็นเศรษฐีในที่สุด เขากล่าวว่า เด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสภาพที่ยากจนตลอดไป แต่ควรฝันว่าจะดีขึ้น และการศึกษาจะเป็นตัวทำให้ฝันเป็นจริงได้

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Sunday, March 13, 2011

การชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจาก ปัญหาต่างๆ ในอดีต

Professor Kriengsak Chareonwongsak
หากพิจารณาย้อนกลับไปเกี่ยวกับการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจาก ปัญหาต่างๆ ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นจากโครงการของรัฐ การเปิดเสรีทางการค้า หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เราจะเห็นปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นเสมอนั่นคือ การขาดความโปร่งใส เนื่องจาก ไม่มีการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคำนวณ ที่มาที่ไปของตัวเลขความเสียหายที่เกิดขึ้นและมาตรการชดเชย ทำให้ประชาชนไม่มีโอกาสได้ตรวจสอบ อีกปัญหาหนึ่ง คือ ความล่าช้าและไม่ทันต่อความต้องการ ซึ่งมาจากการเจรจาตกลงกันไม่ได้ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่ ได้รับความเสียหาย การรอการตรวจสอบจากคณะกรรมการแก้ไขปัญหา การอนุมัติงบประมาณล่าช้า การขาดข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบ หรือแม้แต่การขาดกระบวนการที่ชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือ ทำให้ต้องมีการพิจารณาทบทวนไปมา ซึ่งทำให้การช่วยเหลือไม่ทันการณ์

     ด้วยเหตุนี้เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบในกรณีต่างๆ ถูกดูแลอย่างดี ขณะเดียวกันเงินภาษีของคนทั้งประเทศถูกจัดสรรอย่างเหมาะสม ผมจึงอยากเสนอให้ภาครัฐจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบ โดยมีการจัดสรรงบประมาณให้ เพื่อจะสามารถอนุมัติเงินช่วยเหลือได้รวดเร็ว และหน่วยงานนี้จะทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ตรวจสอบข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อคำนวณและจ่ายเงินช่วยเหลือให้ถูกคน ในปริมาณที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน โปร่งใส รวดเร็ว มีการกำหนดวันเวลาที่ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับความช่วยเหลืออย่างชัดเจน เช่น ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ ครม. อนุมัติ เป็นต้น อีกทั้งต้องรายงานการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือแก่รัฐสภาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความโปร่งใส เป็นต้น

     วิธีนี้จะช่วยให้ภาคประชาสังคมสามารถช่วยตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ง่าย ขึ้น และผู้ที่ได้รับผลกระทบยังรู้ได้ชัดเจนว่าเมื่อได้รับผลกระทบจะไปเรียกร้อง ได้ที่หน่วยงานใด ซึ่งแม้ว่าวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับภาครัฐ คือการป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงอาจไม่สามารถป้องกันได้ทุกปัญหา ดังนั้นเองการมีระบบที่ดีในการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจึงเป็น เรื่องสำคัญ


บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Friday, March 11, 2011

ความเสียหายทางเศรษฐกิจ ในเหตุการณ์ยึดพื้นที่ในบริเวณย่านราชประสงค์

นับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2553 ที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เข้ายึดพื้นที่ในบริเวณย่านราชประสงค์ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1 เดือนเศษแล้ว การชุมนุมที่บริเวณแยกราชประสงค์นั้นได้ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อ ผู้ประกอบการและแรงงานบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก มีการประเมินว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีมูลค่า 5,244 ล้านบาท/เดือน หรือ 174 ล้านบาท/วัน ซึ่งรัฐบาลพยายามดูแลผู้รับผลกระทบโดยการให้เงินชดเชย 3,000 บาท แก่ลูกจ้างที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท 20,000 คน แต่ว่านายกรัฐมนตรีไม่เห็นชอบ เนื่องจากเห็นว่าไม่สามารถช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบได้จริง และขอให้กระทรวงแรงงานกลับไปกำหนดกรอบการช่วยเหลือมาพิจารณากันใหม่อีกครั้ง


ที่มาของภาพ http://www.edequality.org/page/-/Fast%20Facts/22%20-%20Lost%20wages.jpg



บทความจาก ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Tuesday, March 8, 2011

Professor Kriengsak Chareonwongsak Farm debt

Professor Kriengsak Chareonwongsak Farm debt moratorium more trouble than it’s worth

Farm debt moratorium more trouble than it’s worth

Executive Director, Institute of Future Studies for Development
However, jumping into just any debt moratorium plan could be a highly dangerous move, causing more harm than good. The consequences of choosing the wrong strategy could be severe, affecting not only Thailand’s farming community, but the entire economy as well. The following are some of the possible repercussions of using the wrong debt moratorium strategy:
   

Responsible attitudes towards debt repayment would be eroded
    Introducing debt moratorium for problem farm debts could destroy the good debt repayment habits of farmers, most of whom do make an honest effort to repay their debts. If debt moratoriums were introduced, farmers would no longer have to repay loan interest, at least for some time. This move would create animosity, as good debtors would hold such action as unfair. As well, some farmers may intentionally try to default on their payments to benefit from the debt reprieve – a response that has already occurred towards government non-performing loans (NPLs) amnesties offered in the banking system. People tend to become lax about their financial commitments under such conditions, which causes a rise in the number of strategic NPLs.
Disbursing government grants to indebted farmers would nurture the attitude that government loans are given without the need to repay. This ‘gold lining’ of debt moratorium promises, given by many political parties, is so alluring that some farmers have already stopped making debt payments; a condition that is a forewarning of the dangerous attitudes that could result if a debt moratorium is actually implemented. 

Monday, March 7, 2011

ผู้นำทางความคิด หมายเลข 1

พ่อแม่ คือต้นกำเนิดของแบบอย่างการเป็น “ผู้นำทางความคิด หมายเลข 1” ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอนาคตของชาติ ว่าจะเป็นเช่นไร เป็นบุคคลสำคัญในการปั้นคนให้เป็นคน เริ่มตั้งแต่การบ่มเพาะลักษณะนิสัย ทักษะ ความรู้ ความคิด และสภาวะจิตใจ

เราอาจจะพูดได้ว่า ครูนับเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ เป็นอันดับสองรองจากพ่อแม่ เนื่องเพราะทั้งผู้ปกครอง และครูเป็นผู้ใส่ความคิด เป็นผู้สอนให้เกิดปัญญา เป็นผู้ก่อร่างสร้างอนาคตของชาติ และกำหนดทิศทาง
แก่ชนชั้นปัญญาชนของสังคม

สื่อมวลชนในฐานะ “ฐานันดร 4” ของสังคม จัดเป็นกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิพิเศษ ทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหูเป็นตา เป็นกระบอกเสียง  เป็นครูผู้ให้ความรู้ เป็นผู้ชี้นำทางความคิดแก่คนในสังคม

นักการเมือง เป็นผู้มีส่วนชี้อนาคต ของคนทุกคนในสังคม เป็นผู้นำที่มีอิทธิพล และสามารถส่งผลกระทบ ทั้งทางด้านความคิด และการกระทำแก่สังคม  ไม่ควรที่ผู้นำกลุ่มนี้ จะทิ้งบทบาทผู้ชี้นำสังคม โดยมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตนเอง และพวกพ้อง จนกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว ที่ประชาชนต่างก็รับทราบ และเอือมระอา

ผู้นำองค์กร ผู้นำชุมชน  นับเป็นผู้นำทางความคิด อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นแกนนำสำคัญ ในการเคลื่อนไหวของพลังมวลชน ที่จะนำทั้งความคิดและการตัดสินใจ

นักกฎหมาย คือผู้นำที่จะเข้าไปต่อต้านอำนาจ และความอยุติธรรมเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นผู้เดียวที่จะเข้าไปอยู่ระหว่าง ความชอบธรรมกับความอธรรม เป็นผู้ที่สามารถเข้าแทรกแซงอิทธิพล ของผู้ที่พยายามอยู่เหนือกฎหมาย และเป็นที่พึ่งพิงของผู้ถูกเอาเปรียบ เพราะขาดความรู้เรื่องกฎหมาย

นักเขียน นักประพันธ์ จำเป็นต้องก้าวขึ้นมาสู่ความเป็น “ผู้นำทางความคิดเชิงสร้างสรรค์” แก่คนในสังคม ต้องเป็นผู้ที่กระตุ้นความคิดในเชิงบวก ต้องเป็นผู้วางรากฐานคุณธรรมจริยธรรม สร้างสติปัญญา และนำทิศทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง แก่คนในสังคม

Professor Kriengsak Chareonwongsak
นักร้อง นักแสดง และศิลปิน มีอิทธิพลมากในหมู่เยาวชนไทย  เพราะเป็นผู้นำความคิด พฤติกรรม บุคลิกลักษณะ การแต่งกาย หรือแม้กระทั่งวิถีการดำเนินชีวิต ของเยาวชนไทย เขาสมควรเป็นต้นแบบ แห่งความประพฤติที่ดีงามด้วย เพื่อเยาวชนจะได้ซึมซับค่านิยมที่ดี เป็นฐานนำเขาให้เติบโต เป็นอนาคตที่ช่วยพัฒนาชาติได้

ผู้นำทางเศรษฐกิจมีอิทธิพลสูง ต่อการเคลื่อนไหวผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้น หรือเลวร้ายลงในสังคมไทย เป็นกลุ่มผู้นำทางความคิด และการกระทำแก่คนในสังคม สังคมไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปคนกลุ่มนี้ ให้กลายมาเป็นพลังเกื้อกูลสังคม เชิงสร้างสรรค์โดยเร็ว

โลกเปลี่ยนด้วยผู้นำทางความคิด มิใช่เปลี่ยนด้วยผู้มีสิทธิอำนาจ

คัดจากบทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ ข้อคิดเพือผู้นำ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Tuesday, March 1, 2011

คนสำคัญของสังคม คือ ผู้นำความคิด

 “ผู้นำความคิด” คนสำคัญของสังคม

การพัฒนาโดยมุ่งเน้นที่ “คน” เป็นศูนย์กลาง นับเป็นการกล่าวอย่างเลื่อนลอยที่สุด หากมิได้มุ่งที่การปฏิรูปคนในกลุ่ม “ผู้นำทางความคิด”  ให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งเสถียรภาพของการพัฒนาอย่างแท้จริง

“ผู้นำทางความคิด” ของคนในสังคม คือ บุคคลที่มีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความคิด ค่านิยม ความเชื่อ ตลอดจนการตัดสินใจ การกระทำและวิถีการดำเนินชีวิตในอนาคต แก่บุคคลอื่น เป็นบุคคลที่สามารถโน้มน้าวผู้อื่นได้ ทั้งคำพูดและแบบอย่างการกระทำ

สังคมจะดีหรือเสื่อมทรามขึ้นอยู่กับผู้นำทางความคิด ทำหน้าที่เป็นครูนอกระบบที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการปฏิรูปคนสู่การพัฒนา จึงต้องย้อนกลับมาให้ความสำคัญ กับการปฏิวัตินักสร้างคนในสังคมด้วย โดยที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเรียกได้ว่าเป็น “ผู้พัฒนาแล้ว” เป็นผู้ที่เป็นแบบอย่างด้านการปฏิบัติในเชิงสร้างสรรค์ด้วย

ความเป็นผู้นำมิใช่เรื่องที่ไกลตัว เพราะช่วงหนึ่งของชีวิตเรา ต้องมีโอกาสดำรงสถานภาพ “ผู้นำ”

คัดจากบทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ ข้อคิดเพือผู้นำ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)