Friday, January 28, 2011

Kriengsak Chareonwongsak : ไม่ควรมองข้ามการชุมนุมพันธมิตร

CSR เชิงกลยุทธ์


* ภาพจาก http://compbio.uchsc.edu/Hunter_lab/Phang/ImageCreation/CSR_big.jpg
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทต่าง ๆ ที่ดำเนินการด้าน CSR อย่างจริงจัง (ไม่ใช่ลักษณะของการสร้างภาพครั้งคราวแล้วจบไป) จะพยายามทำตัวเป็นพลเมืองที่ดี (good corporate citizen) โดยการเข้าไปให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญ หรือสนใจ ซึ่งการเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นเพียงการจ่ายเงินหรือให้ เงินสนับสนุนเป็นครั้ง ๆ แล้วจบไป แต่มีการกำหนดเป้าหมายของปัญหาและการแก้ไขที่ชัดเจน มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และอาจเข้าไปร่วมดำเนินการด้วย ตัวอย่างเช่น General Eclectic ที่ผมเคยกล่าวไว้ในบทความก่อนนี้ เกี่ยวกับโครงการรับอุปการะโรงเรียนรัฐบาลที่อยู่ในพื้นที่ตั้งสำนักงาน ภูมิภาคในส่วนต่าง ๆ ของอเมริกา โดยเลือกโรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่ามาตรฐาน แล้วให้การสนับสนุนทั้งที่เป็นตัวเงินและรูปแบบอื่น ในขณะที่อีกส่วน จะเน้นไปที่การดำเนินการที่ลดทอนผลกระทบเชิงลบ หรือมลพิษอันเกิดจากการดำเนินกิจการของบริษัท สิ่งนี้รวมถึงผลกระทบเชิงลบที่แม้ยังไม่เกิดในปัจจุบัน แต่คาดว่าจะเกิดในอนาคตด้วย เช่น UPS ใช้พลังงานทางเลือกที่ไม่สร้างมลพิษ เพราะตนเองเป็นบริษัทขนส่งพัสดุ
แต่การดำเนินการด้าน CSR เชิงกลยุทธ์จะให้ความสนใจไปที่การริเริ่มบุกเบิกนวัตกรรมเชิงสังคมหรือสิ่ง ประดิษฐ์บางอย่างที่มีประโยชน์ทั้งต่อสังคม และช่วยสร้างความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรไปได้ในขณะเดียวกัน เป็นการริเริ่มใหม่ ๆ ที่ทำให้ธุรกิจนั้นมีความแตกต่างจากคู่แข่ง และให้ประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจนั้น ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
การริเริมใหม่ ๆ นี้อาจเป็นกิจการที่ธุรกิจนั้นทำอยู่แล้ว หรือเป็นสินค้าที่ธุรกิจนั้นผลิตอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่นToyota ได้ตอบสนองต่อปัญหาเรื่องไอเสียจากรถที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนโดยได้เริ่มผลิตรถ Hybrid ที่ใช้ได้ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้าในการขับเคลื่อน รถ Hybrid นี้ปล่อยมลพิษเพียง 10% เมื่อเทียบกับรถปกติ และใช้น้ำมันเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ทำให้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของ Toyota โดยที่ Toyota ได้จดสิทธิบัตรเครื่องยนต์นี้ และในอนาคตหากค่ายรถอื่นจะใช้เครื่องยนต์ก็อาจจะต้องซื้อลิขสิทธิ์ไป
ตัวอย่างของ Whole Food Market ที่ขายสินค้าอาหารที่ปลอดสารพิษ อาหารธรรมชาติ และอาหารเพื่อสุขภาพ กระแสตื่นตัวเรื่องสุขภาพในโลกตะวันตก ทำให้ Whole Food มี ldquo;ตำแหน่งกลยุทธ์rdquo; ที่แตกต่างในตลาดตลาดผู้ขายสินค้าอาหารรายย่อย และสามารถจะขายสินค้าในราคาที่สูงกว่าสินค้าอาหารปกติทั่วไปได้ โดย Whole Food Market กำหนดให้สินค้าทุกอย่างต้องมีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงเท่านั้น องค์ประกอบอื่น ๆ ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน เช่น ชั้นวางของก็ทำมาจากวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นวัสดุสามารถ recycled ได้ ยานหานะต่าง ๆ ก็ใช้เชื้อเพลิงพลังงานชีวภาพ Whole Food ยังได้ตั้ง Animal Compassion Foundation ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มต่าง ๆ ถูกต้อง และสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ จะเห็นว่าเกือบทุกมิติของห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของ Whole Food นั้นสอดคล้องกับตำแหน่งทางกลยุทธ์ของธุรกิจ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้าง ldquo;คุณค่าrdquo; ทางสังคมด้วย
หรือตัวอย่างการที่ Microsoft ลงทุนพัฒนาหลักสูตรการศึกษาร่วมกับวิทยาลัยชุมชน (community colleges) ในอเมริกา โดยเน้นการเรียนการสอนในหลักสูตรที่เป็นต้องการและขาดแคลน ในส่วนของสังคมนั้นก็เป็นการสร้างบุคลากรในสาขาที่ตลาดขาดแคลน ขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้าง poll ของบุคลากรสำหรับ Microsoft ในอนาคตด้วย
การดำเนินการด้าน CSR ที่จะมีประโยชน์มากที่สุดได้นั้น ธุรกิจควรได้ทำการวิเคราะห์และประเมินทิศทางการทำงานอย่างมีกลยุทธ์ โดยการทำกิจการหรือริเริ่มบุกเบิกนวัตกรรมเชิงสังคมหรือสิ่งประดิษฐ์ บางอย่างที่มีประโยชน์ทั้งต่อสังคม และช่วยสร้างความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร ได้ในขณะเดียวกัน แทนการทำ CSR ในรูปแบบเดิม ๆ ที่ไม่ได้เชื่อมโยงงาน CSR กับกลยุทธ์และทิศทางขององค์กรอย่างแท้จริง

Professor Kriengsak chareonwongsak CSR3

CSR เชิงกลยุทธ์


* ภาพจาก http://compbio.uchsc.edu/Hunter_lab/Phang/ImageCreation/CSR_big.jpg
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทต่าง ๆ ที่ดำเนินการด้าน CSR อย่างจริงจัง (ไม่ใช่ลักษณะของการสร้างภาพครั้งคราวแล้วจบไป) จะพยายามทำตัวเป็นพลเมืองที่ดี (good corporate citizen) โดยการเข้าไปให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญ หรือสนใจ ซึ่งการเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นเพียงการจ่ายเงินหรือให้ เงินสนับสนุนเป็นครั้ง ๆ แล้วจบไป แต่มีการกำหนดเป้าหมายของปัญหาและการแก้ไขที่ชัดเจน มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และอาจเข้าไปร่วมดำเนินการด้วย ตัวอย่างเช่น General Eclectic ที่ผมเคยกล่าวไว้ในบทความก่อนนี้ เกี่ยวกับโครงการรับอุปการะโรงเรียนรัฐบาลที่อยู่ในพื้นที่ตั้งสำนักงาน ภูมิภาคในส่วนต่าง ๆ ของอเมริกา โดยเลือกโรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่ามาตรฐาน แล้วให้การสนับสนุนทั้งที่เป็นตัวเงินและรูปแบบอื่น ในขณะที่อีกส่วน จะเน้นไปที่การดำเนินการที่ลดทอนผลกระทบเชิงลบ หรือมลพิษอันเกิดจากการดำเนินกิจการของบริษัท สิ่งนี้รวมถึงผลกระทบเชิงลบที่แม้ยังไม่เกิดในปัจจุบัน แต่คาดว่าจะเกิดในอนาคตด้วย เช่น UPS ใช้พลังงานทางเลือกที่ไม่สร้างมลพิษ เพราะตนเองเป็นบริษัทขนส่งพัสดุ
แต่การดำเนินการด้าน CSR เชิงกลยุทธ์จะให้ความสนใจไปที่การริเริ่มบุกเบิกนวัตกรรมเชิงสังคมหรือสิ่ง ประดิษฐ์บางอย่างที่มีประโยชน์ทั้งต่อสังคม และช่วยสร้างความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรไปได้ในขณะเดียวกัน เป็นการริเริ่มใหม่ ๆ ที่ทำให้ธุรกิจนั้นมีความแตกต่างจากคู่แข่ง และให้ประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจนั้น ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
การริเริมใหม่ ๆ นี้อาจเป็นกิจการที่ธุรกิจนั้นทำอยู่แล้ว หรือเป็นสินค้าที่ธุรกิจนั้นผลิตอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่นToyota ได้ตอบสนองต่อปัญหาเรื่องไอเสียจากรถที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนโดยได้เริ่มผลิตรถ Hybrid ที่ใช้ได้ทั้งเชื้อเพลิงและไฟฟ้าในการขับเคลื่อน รถ Hybrid นี้ปล่อยมลพิษเพียง 10% เมื่อเทียบกับรถปกติ และใช้น้ำมันเพียงครึ่งหนึ่งของปกติ สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ทำให้รถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของ Toyota โดยที่ Toyota ได้จดสิทธิบัตรเครื่องยนต์นี้ และในอนาคตหากค่ายรถอื่นจะใช้เครื่องยนต์ก็อาจจะต้องซื้อลิขสิทธิ์ไป
ตัวอย่างของ Whole Food Market ที่ขายสินค้าอาหารที่ปลอดสารพิษ อาหารธรรมชาติ และอาหารเพื่อสุขภาพ กระแสตื่นตัวเรื่องสุขภาพในโลกตะวันตก ทำให้ Whole Food มี ldquo;ตำแหน่งกลยุทธ์rdquo; ที่แตกต่างในตลาดตลาดผู้ขายสินค้าอาหารรายย่อย และสามารถจะขายสินค้าในราคาที่สูงกว่าสินค้าอาหารปกติทั่วไปได้ โดย Whole Food Market กำหนดให้สินค้าทุกอย่างต้องมีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงเท่านั้น องค์ประกอบอื่น ๆ ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน เช่น ชั้นวางของก็ทำมาจากวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นวัสดุสามารถ recycled ได้ ยานหานะต่าง ๆ ก็ใช้เชื้อเพลิงพลังงานชีวภาพ Whole Food ยังได้ตั้ง Animal Compassion Foundation ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มต่าง ๆ ถูกต้อง และสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ จะเห็นว่าเกือบทุกมิติของห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของ Whole Food นั้นสอดคล้องกับตำแหน่งทางกลยุทธ์ของธุรกิจ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้าง ldquo;คุณค่าrdquo; ทางสังคมด้วย
หรือตัวอย่างการที่ Microsoft ลงทุนพัฒนาหลักสูตรการศึกษาร่วมกับวิทยาลัยชุมชน (community colleges) ในอเมริกา โดยเน้นการเรียนการสอนในหลักสูตรที่เป็นต้องการและขาดแคลน ในส่วนของสังคมนั้นก็เป็นการสร้างบุคลากรในสาขาที่ตลาดขาดแคลน ขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้าง poll ของบุคลากรสำหรับ Microsoft ในอนาคตด้วย
การดำเนินการด้าน CSR ที่จะมีประโยชน์มากที่สุดได้นั้น ธุรกิจควรได้ทำการวิเคราะห์และประเมินทิศทางการทำงานอย่างมีกลยุทธ์ โดยการทำกิจการหรือริเริ่มบุกเบิกนวัตกรรมเชิงสังคมหรือสิ่งประดิษฐ์ บางอย่างที่มีประโยชน์ทั้งต่อสังคม และช่วยสร้างความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร ได้ในขณะเดียวกัน แทนการทำ CSR ในรูปแบบเดิม ๆ ที่ไม่ได้เชื่อมโยงงาน CSR กับกลยุทธ์และทิศทางขององค์กรอย่างแท้จริง

Thursday, January 27, 2011

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับ ผู้นำ แง่คิด และ อุดมการณ์

ผู้นำ   

•    ผู้นำ คือ บุคคลที่เปี่ยมล้นไปด้วยภาระใจ เป็นผู้ปรารถนา ที่จะเห็นเป้าหมายแห่งความฝันของส่วนรวมสัมฤทธิผล

•    ผู้นำ คือคนธรรมดาที่มี “ใจ” เกินธรรมดา

•    ทุกคนล้วนมีปรัชญาอยู่เบื้องหลังความคิดของตนเองเสมอ แต่ผู้นำคือคนที่สามารถนำปรัชญานั้นมาใช้เพื่อก่อประโยชน์หรือเกิดโทษต่อคนจำนวนมากได้

•    ผู้นำเปรียบเสมือนเด็กที่ดึงสายป่าน บังคับทิศทางของว่าวด้วยความเต็มใจ ปลื้มปิติที่เห็นว่าวมีอิสระในการล้อเล่นลม เขาจึงรับผิดชอบไม่ปล่อยให้สายป่านหลุดมือจนว่าวลอยเคว้งคว้างอย่างไร้ทิศทาง

•    ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ เริ่มต้นจากประชากรคุณภาพ ผู้ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากผู้นำที่สูงด้วยศักยภาพ ในการถ่ายทอดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางการดำเนินชีวิต และการเสียสละเพื่อส่วนรวม

•    ปัญหาของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ จะถูกแก้ไขอย่างถาวรก็ต่อเมื่อมีผู้นำที่กล้ายืนหยัดในหลักการที่ถูกต้อง

•    แม้แผนงานนั้นจะดีเลิศ และมีความเป็นไปได้มากเพียงใดก็ตาม แต่หากปราศจากผู้นำที่ดี แผนนั้นก็เป็นเพียงแค่เศษกระดาษที่หาคุณค่าอันใดมิได้

คัดจากบทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ ข้อคิดเพือผู้นำ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

ขอขอบคุณ เว็บไซต์ www.kriengsak.com

Saturday, January 22, 2011

Prof.Kriengsak Chareonwongsak : Populism

ประชาวิวัฒน์ เท่ากับ ประชานิยม

Dr.Kriengsak Chareonwongsakคิดว่าประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล เป็นแบบซุปเปอร์ประชานิยมที่น่าเป็นห่วง Dr.Kriengsak Chareonwongsakรู้ว่าในการเมืองทั่วโลก ก็มีการลด แลก แจก แถม หรือแจกเงินกันง่ายๆ เพื่อหวังผลคะแนนเป็นเรื่องปกติที่เกิดทั่วไป แต่อย่ามากเกินไป ปัญหาที่Dr.Kriengsak Chareonwongsakหนักใจคือตั้งแต่การเลือกตั้ง ครั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 วันนั้น ทุกพรรคได้ใช้ประชานิยมหมด นั่นหมายความว่าบัดนี้ประชาชนจะชินกับการถูกปรนเปรอด้วยการให้ของฟรีมากๆเพื่อแลกคะแนน และรัฐบาลชุดนี้ก็ทำเป็นพิเศษมากกว่าปกติ เรียกว่าประชาวิวัฒน์ Dr.Kriengsak Chareonwongsakหนักใจเพราะคิดว่าจะทำให้ประชาชนไม่เพียงเสพติด แต่จะทำให้ระยะยาว
บทความโดย ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ประชาวิวัฒน์ คือ สวัสดิการแบบผิดๆ

ภาระของรัฐมหาศาลในการที่จะจ่ายสิ่งเหล่านี้เพราะถอนออกยาก และสิ่งที่จะมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากจะตามมา จะเกทับกันมากขึ้นเรื่อยๆและเมื่อเป็นภาระกับรัฐฯนานๆเข้าและมีรัฐบาลไหนไม่มีสามัญสำนึกที่ดีในอนาคตในการจัดการ ระยะยาวอาจจะถึงขั้นประเทศเสียหาย เพราะว่าใช้จ่ายเกินตัวและเกิดปัญหาร้ายแรงคล้ายๆอาร์เจนตินาก็เป็นได้ ถ้าไม่ระวัง แม้เรารู้อยู่ว่าอันตรายแค่ไหนแต่ไม่แน่ใจครับว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลจะระวังพอ ผมหนักใจยิ่งภาระการใช้จ่ายภาครัฐมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต เพราะว่ามีคนที่ต้องพึ่งพิงเยอะเช่นคนชรา ในอนาคตคนชราจะมากจริงๆในประเทศไทย คนทำงานจะน้อย น้อยในสัดส่วนกว่าเยอะและต้องมาอุ้มคนที่ต้องเลี้ยงดูเช่นคนชราและเด็กๆสิ่งที่จะตามมาคือภาระทางภาษีจะหนักมากในการรีดไถภาษีคนทำงาน ฉะนั้นถ้าไม่ใช่ที่รัฐที่อยู่ในปัจจุบัน สนใจแค่การเลือกตั้ง 4 ปีข้างหน้า ว่าอยู่เทอมเดียว ระยะปล่อยไปอันตรายมากครับ ผมหนักใจมากและเป็นห่วงเรื่องนี้ อยากจะขอวิงวอน รัฐบาลให้ทุกรัฐบาล รวมทั้งรัฐบาลปัจจุบันเป็นพิเศษว่าต้องลดเรื่องประชานิยมลง ที่เรียกว่าประชาวิวัฒน์ ที่เรียกว่าสวัสดิการแบบผิดๆ แบบถูกๆถูกต้องไม่เป็นไรครับ แต่แบบผิดๆอันตราย และวันนี้สิ่งที่น่าห่วงมากก็คือ ภาระที่เกิดขึ้นรวมทั้งระยะยาวก็คือหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจมาอีกครั้งหนึ่งในโลกช่วงใดช่วงหนึ่งอาจเป็นอันตรายมากถ้าภาระมันมีมากมาย วันนี้รัฐบาลอ้างว่าใช้งบยังไม่เยอะแต่เรียนจริงๆมันมีเงินในงบประมาณกับเงินนอกงบประมาณมากครับ เช่นยกตัวอย่างเช่น ค่าไฟ 90 หน่วย ที่ให้ฟรีกันเนี่ยต้องใช้เงินประมาณหมื่นห้าพันกว่าล้าน ในขณะที่รัฐบาลอ้างว่าทั้งหมดทำกันเบ็ดเสร็จที่มากมายเป็นพวงมากมายทุกเรื่องรวมกันแล้ว 2 พันกว่าล้านจริงๆ นี่มันแค่หนึ่งตัวเงินนอกงบประมาณถูกนำมาใช้เยอะ อีกตัวอย่างหนึ่งง่ายๆ ถ้าหากว่าเราให้ประชาชนกู้แบบ โดยเราไม่ระวังผู้ประกอบการกันโดยความสามารถ ทักษะทุกคน การล้มละลายจะเกิดขึ้นได้ง่ายและภาระจะเกิด เงินงบประมาณแผ่นดินจะทำอย่างไร ธนาคารรัฐที่เป็นธนาคารประเภทพิเศษที่เอามาอุ้ม เมื่อให้กู้แล้วเกิดมีปัญหาก็เป็น NPL เป็นหนี้เน่าก็จะเกิดปัญหาอื่นๆตามมา อันนี้ไม่ได้นับอยู่ในงบประมาณ Dr.Kriengsak Chareonwongsakอยากฝากว่าถ้าหากเราไม่ระมัดระวังเราจะเกิดปัญหาตามมาอย่างร้ายแรง ในอนาคต ขอเตือนอีกครั้งหนึ่งเพราะว่าได้พูดมาเรื่อยๆในช่วงหลังๆนี้ทุกรัฐบาล และก็ทุกพรรคได้หาเสียงด้วยวิธีประชานิยมเรียกชื่อต่างๆกัน Dr.Kriengsak Chareonwongsakอยากขอให้คำนึงเรื่องระยะยาว และหากเราดึงสิ่งที่รัฐบาลทำมาชัดๆก็คือนโยบายนั้นเจาะไปที่กลุ่มคนที่คิดว่าอยากจะได้ฐานเสียง ไม่ได้ดูแลคนทั้งเมืองโดยรวม ก็อยากฝากว่าเป็นนโยบายที่กระเซ็นกระสายมากไม่บูรณาการให้เฉพาะบางกลุ่มที่ต้องการเจาะฐานเสียง ผมมีความรู้สึกว่าผลระยะยาวยังไม่มี และแถมถ้ามีเราเอาเงินอย่างนี้ที่เอามาแลก แจก แถมเอาไปสร้างสิ่งที่ยั่งยืนลงทุน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน น่าจะดีกับประเทศมากกว่า ถ้าDr.Kriengsak Chareonwongsakฝากดังนี้ไว้แล้วท่านไม่รังเกียจโปรดพิจารณาอีกครั้งว่า เราจะไปทิศนี้จริงหรือในประเทศของเรา เราจะมุ่งมั่นหาเสียงอย่างนี้หรือ ทำไมมาทำกันตอนนี้ สิ่งต่างๆที่ทำในเวลานี้ ถูกต้องสมควรแล้วหรือ เมื่อเราทำนั้นไม่ทำให้ประชาชนยืนด้วยลำแข้งตัวเอง Dr.Kriengsak Chareonwongsakว่าควรให้เขายืนด้วยลำแข้งตัวเองให้ได้ ช่วยเฉพาะคนที่จำเป็นให้เราช่วยจริงๆและไม่ทอดทิ้งกันแต่ไม่ควรปรนเปรอกันด้วยวิธีลวกๆง่ายๆเพื่อหวังคะแนนเสียงอย่างนี้ Dr.Kriengsak Chareonwongsakฟันธงว่า แรงจูงใจในการทำอย่างนี้มันชัด เป็นแรงจูงใจทางการเมือง ซึ่งไม่สมควร ขอให้กลับมาทบทวนมาสร้างฐานประเทศชาติกันดีกว่าครับ ขอวิงวอน กราบเรียนท่านมาด้วยความเคารพ ผมเป็นห่วงมากว่าทิศทางที่เราวางไว้ ประชาชนจะยิ่งพึ่งหวังเรายาก อีกหลายสิบปีในช่วงหนึ่งคนจะมองกลับมาและบอกว่า เราเป็นพรรคการเมืองต่างๆที่เป็นรัฐบาลที่พึ่งได้หรือไม่ บ้านเมืองจะอยู่ในสภาพอย่างไร หากเราใช้วิธีลวกๆท่านแจกเป็นเรื่องง่ายและจะแจกกันไปอย่างนี้เรื่อยๆหรือครับ ต้องสร้างสรรค์ความเข้มแข็ง ทักษะฝีมือคนให้แข่งขันได้ มีผลระยะยาวยั่งยืนแล้วก้าวหน้าไปอย่างแท้จริง ยืนบนแข้งตัวเองได้และประชาชนนั้นสามารถที่จะลืมตาอ้าปากได้เพราะเราได้ให้เขาในสิ่งที่พึ่งได้คือสอนให้เขาจับปลาไม่ใช่เอาปลาให้คนครับ

Tuesday, January 18, 2011

professor kriengsak chareonwongsak

“ ข้อคิดเพื่อครอบครัว ” ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์




1. ข้อสำคัญของการเลือกคู่ คือเราไม่ได้เลือกใครเพราะเขาสมบูรณ์แบบ แต่เพราะเขามีจุดดีหลักๆ ที่เราประทับใจ ส่วนจุดอ่อนด้อยนั้นเป็นส่วนปลีกย่อยที่เรา สามารถยอมรับได้อย่างไม่ยากเย็น



2. ในความเป็นจริงไม่มีใครดีเลิศสมบูรณ์แบบ ถ้าเรามอง ไม่เห็นจุดอ่อนด้อยของเขาเลย นั่น แสดงว่าเรายังไม่รู้จักเขาอย่างแท้จริงหรือไม่ เราก็กำลังตกอยู่ในความหลงใหล จนไม่ลืมหูลืมตา



3. การแต่งงาน คือ การผูกพันกันด้วยหัวใจ ไม่ใช่เพียงร่างกายและยิ่งไม่ใช่การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เชิงธุรกิจ



4. คนที่แต่งงานเพราะความเหงา จะยิ่งเหงาหนักเป็น 2 เท่า แต่งงานแบบคลุมถุงชน ก็มีแนวโน้มว่า ชีวิตจะมืดมนไปอีกนาน



5. ความสุข ความทุกข์ ครึ่งหนึ่งอยู่ที่ชีวิตหลังแต่งงาน คิดให้ดีก่อนที่จะเลือกใคร มาเป็นคู่ชีวิต ...



6. บ้านจะเล็กหรือใหญ่ ไม่สำคัญ แต่ " ความรัก " ต้องให่ญ่ที่สุดในบ้าน



7. คำว่า " รัก " พูดมากไป ย่อมดีกว่า พูดน้อยไป ...

Monday, January 17, 2011

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับ แง่คิดวิสัยทัศน์ในชีวิตจริง

วิสัยทัศน์ในชีวิตจริง

•    ไมเคิล ฟาราเดย์ บิดาแห่งเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า เขาเห็นภาพกระแสไฟฟ้าอยู่ในสมองของเขาตลอดเวลา แม้ว่าเขายังไม่ได้ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมาเลย

•    จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ตั้งวิสัยทัศน์ว่า "ภายในทศวรรษที่ 1970 จะส่งคนไปดวงจันทร์ และให้เขากลับคืนสู่โลกนี้ด้วยความปลอดภัย" แล้ว 20 กรกฎาคม 1969 นีล อาร์มสตรอง เป็นคนแรกที่เหยียบดวงจันทร์และกลับมาสู่โลกอย่างปลอดภัย

•    เคล็ม ลาไบน์ นักขว้างลูกเบสบอลที่มีชื่อเสียงก้องโลก เมื่อตอนเขาเป็นเด็กนั้น นิ้วชี้ข้างขวาของเขาหักโดยอุบัติเหตุ ข้อต่อนิ้วมือระหว่างข้อแรกกับข้อที่สองงออยู่ แต่ด้วยความฝันใฝ่จะเป็นนักขว้างเบสบอลที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงของอเมริกา เขาจึงพยายามฝึกฝนอย่างหนัก จนที่สุดเขาสามารถเอาชนะความจำกัดนั้น ไปถึงความสำเร็จได้

•    จอห์น มิลตั้น เคยวาดฝันตั้งแต่เด็กว่า จะเขียนวรรณกรรมชิ้นเอกที่โลกต้องจารึกไว้ และความฝันนี้เป็นอุดมคติที่ฝังลึกตั้งแต่เป็นวัยรุ่น จนเมื่อเขาเริ่มต้นเขียนหนังสือ เขาก็ต้องเจอมรสุมปัญหาอุปสรรคมากมายในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ จนกระทั่งเขาตาบอดและย่างเข้าสู่วัยชรา ผลงานวรรณกรรมชิ้นนี้ก็เสร็จสิ้น นั่นคือ "Paradise Lost" ซึ่งเป็น 1 ใน 4 วรรณกรรมชิ้นเอกของโลกตะวันตก

บทความจากส่วนหนึ่งของหนังสือ How to สุดยอดหนังสือ แห่งปี ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

Sunday, January 16, 2011

วันครูโลก

ในวันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันที่ทั่วโลกต้องให้ความสำคัญกับวิชาชีพครู ซึ่งแสดงว่า คนทั่วโลกต่างยกย่องให้ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมาก

ครูบาอาจารย์เป็นผู้ที่มีคุณค่าสูง และมีความสำคัญต่อการสร้างชีวิตและสร้างสังคม แต่สังคมไทยในปัจจุบันกลับให้ความสำคัญกับอาชีพครูน้อยมาก ผมจึงอยากใช้โอกาสวันครูโลกเพื่อเชิดชูครูทุกคน
ครูเป็นพ่อแม่คนที่สองของศิษย์ หากจะกล่าวว่าครูเป็นดัง ldquo;พ่อแม่คนที่สองrdquo; ของศิษย์คงไม่ผิดนัก เพราะครูมีบทบาทความรับผิดชอบในการสั่งสอน อบรม ให้การดูแลและพัฒนาศิษย์ตั้งแต่เยาว์วัยจนจบการศึกษา อีกทั้งในแต่ละวันเด็กมีเวลาอยู่ที่โรงเรียนมากถึง 6-8 ชั่วโมงต่อวัน หรืออาจมากกว่านั้นเมื่อศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ขณะที่ พ่อแม่มีภารกิจในการหาเลี้ยงครอบครัว ฉะนั้นบทบาทของครูในปัจจุบัน ย่อมมีอิทธิพลอย่างมากในการดูแลและอบรมเด็กเหมือนดังเช่นพ่อแม่ดูแลลูก ทั้งในด้านการให้ความรู้ การพัฒนาทักษะความสามารถ การให้ความรัก ความอบอุ่น ความใกล้ชิด การใช้เวลาในการปฏิสัมพันธ์ ดูแลเอาใจใส่เด็ก
Professor kriengsak Chareonwongsak
ครูเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา นับวันบทบาทของครูในการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้คำปรึกษาจะมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในสภาวการณ์ในปัจจุบัน ที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาในการให้คำปรึกษาแก่บุตรหลานอย่างใกล้ชิด ครูจึงควรเข้ามามีบทบาทนี้มากขึ้น โดยมีส่วนให้คำปรึกษาทั้งในช่วงที่เด็กมีปัญหา ช่วงที่ต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ หรือแม้แต่เรื่องทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งในปัจจุบันที่มีผู้กล่าวว่าวัยรุ่นไทยมีลักษณะของการ ldquo;ไร้ราก ขาดรัก ขี้เหงา มัวเมาเรื่องเพศ ไม่ปฏิเสธเรื่องร้าย ๆrdquo; และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความประพฤติของวัยรุ่นที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น ครูจึงควรต้องมีส่วนในการเข้าไปให้คำปรึกษา ชี้แนะ และให้คำแนะนำ โดยสามารถชี้และนำทิศทางได้อย่างถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อให้เด็กได้รับสิ่งที่ดีที่สุด และไม่เดินหลงทาง
ครูเป็นวิศวกรสร้างคนและสังคม วิศวกรเป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องจักรเครื่องกลฉันใด เราย่อมนับว่าครูเป็นวิศวกรในการสร้างคนและสังคมด้วยฉันนั้น คนได้รับการสร้างมาเป็นอย่างไร สังคมย่อมจะเป็นไปอย่างนั้นด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นเสมือนผู้กุมชะตาของสังคมเอาไว้ในมือ ผมได้เคยเสนอความคิดไว้ว่า หากจะเปลี่ยนแปลงสังคมใดให้ถาวรยั่งยืนได้นั้น ต้องมีการเปลี่ยนแปลง 3 สิ่งพร้อมกัน คือ คน ระบบ และ บริบท โดยที่ครูเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงคนและสร้างคนในสังคม
ผมมีจุดยืนว่า ครูควรเป็นอาชีพที่มีรายได้มากกว่าอาชีพอื่น เพื่อจูงใจให้คนเก่งที่สุด ดีที่สุดมาเป็นครู ลูกหลานไทยจะได้คนที่เหมาะสมมาปั้นแต่งเขา หากเราไม่เห็นคุณค่าครู เห็นครูต่ำต้อย ประเทศไทยจะแย่ เพราะความรู้จะไม่เกิด ความดีจะไม่เกิด ความเข้าใจโลกเข้าใจชีวิตจะไม่เกิด การปฏิรูปการศึกษาอันดับแรกควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปอาชีพครู ให้อาชีพครูเป็นวิชาชีพที่ได้รับการยกย่อง และได้รับการสนับสนุนในเรื่องรายได้ เนื่องจากครูมีความสำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคนในสังคมให้แข็งแรง ครูจึงเป็นผู้ที่ควรได้รับการยกย่องในสังคมมากที่สุด

บทความ ของ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ (Profressor Kriengsak Chareonwongsak, Senior Fellow at Harvard University's Center of Business and Government and an Associate)

credit by www.kriengsak.com

Saturday, January 8, 2011

drdancando prof.Kriengsak Chareonwongsak :พนิช-วีระ ไปเขมร

drdancando เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ กรณี พนิช-วีระ ไปเขมร


การที่คุณพนิช รวมทีม 7 คน โดนคดีของเขมรในการเข้าไปในพรมแดนของเขา ผมคิดว่าเป็นปัญหาที่ร้ายแรง เนื่องจากสิ่งที่เป็นภาพใน youtube ได้เปิดเผยชัด คือ

ประการแรก คุณพนิชบอกว่านายกรู้อยู่คนเดียว แสดงว่าการที่คุณพนิชไปครั้งนี้ นายกรู้อยู่

ประการที่สอง ชัดเจนว่าคุณพนิชเดินข้ามพรมแดนไปตรงบริเวณที่ฝ่ายพันธมิตรเชื่อว่าเป็นของไทยแต่ถูกเขมรยึดครอง แต่เขมรมองว่าตรงนั้นเป็นของเขมร ฉะนั้นพันธมิตรเอง โดยคุณวีระ สมความคิด มองว่าเป็นพื้นที่ของไทย ซึ่งถ้าใช้มาตรฐาน 1/200,000 แต่แผนที่ที่เป็นปัญหาเรื่องของเขาพระวิหารที่เขายังประท้วงกันอยู่นี้ ก็แสดงว่าเขาเชื่อว่าตรงนั้นเป็นของไทยในสายตาพันธมิตรแต่เขมรมองว่าเป็นของตัว แต่รัฐบาลไทยได้ยอมให้เขมรไปยึดครองตรงนั้น ซึ่งเป็นที่ที่พันธมิตรอ้างว่ามีโฉนดของประชาชนที่รัฐบาลไทยออกให้มาก่อน บัดนี้เขมรมายึดครอง รัฐบาลปล่อยวางเฉย ปล่อยให้เขมรยึดครองไป นั่นแสดงถึงการพยายามที่จะสนับสนุนจุดยืนของพันธมิตร การบอกว่าที่ตรงนั้นไม่ใช่ที่ของเขมรแต่เป็นที่ของไทย และเป็นข้อโต้แย้งเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้

มุมมองที่รัฐบาล ต้องตอบคำถามกับประชาชน ในกรณีที่ ข้ามแดน แบบผิดกฎหมาย

ดังนั้นการเดินทางของคุณพนิชไปพร้อมกับฝ่ายพันธมิตรแสดงถึงการประสานร่วมกันถึงระดับหนึ่ง เพราะคุณพนิช เป็นคนใกล้ชิดของคุณอภิสิทธิ์ ดูได้จากการที่เมื่อคุณพนิชอยู่ที่กทม.แล้วไม่มีความสุขเมื่ออยู่ที่นั่นในการช่วยงาน ผู้ว่าฯกทม. คุณอภิสิทธิ์ก็เอาคุณพนิชออกมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี แล้วยังมีความสามารถในการไปลงเลือกตั้งแซมเขตของอ.ทิวา เงินยวง อีก นั่นแสดงว่าคุณพนิช มีกำลังภายในต่อคุณอภิสิทธิ์มากในฐานะคนใกล้ชิด คุณพนิชเองก็รับในทางโทรศัพท์ว่า คุณอภิสิทธิ์รู้อยู่คนเดียวในเรื่องนี้เป็นความลับในแง่นั้น ฉะนั้นเป็นเหตุให้คุณอภิสิทธิ์ดิ้นได้ยากมากในเหตุการณ์นี้ว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่รับรู้ในการเดินทางไปของคุณพนิช เมื่อคุณพนิชเดินเข้าไปแล้วมีคำพูดชัดเจนใน youtubeว่า ถ้าเดินข้ามไปแล้วเดี๋ยวเขมรจะมาจับ แสดงว่าตั้งใจให้จับในสายตาของคุณวีระ สมความคิด ก็รู้อยู่ว่าจะโดนจับ แต่ในใจก็ยังกังวลก็เลยโทรมาประสานเลขาของคุณอภิสิทธิ์ ก็คือคุณสมเกียรติ ซึ่งบอกว่าให้บอกคุณอภิสิทธิ์ด้วย เผื่อมีอะไรจะได้ประสานกัน หมายความว่าก็กลัวอยู่ว่าจะถูกจับ แต่เชื่อว่าถ้าใช้การประสานกับนายกของไทยอาจจะช่วยทำให้แก้ปัญหาได้ นี่คือสิ่งที่เห็นชัดเจนว่าคุณพนิชกำลังเดินเกมให้คุณอภิสิทธิ์ อยู่ในความกังวลที่คุณอภิสิทธิ์มีต่อการที่มีเรื่องกับพันธมิตรที่จะชุมนุมใหญ่ที่เลื่อนจาก วันที่ 25 มกราคม มาเป็นต้นปี เกิดจากปัญหาที่ขัดแย้งระหว่างความคิดของฝ่ายพันธมิตรที่ไม่เห็นด้วยกับคุณอภิสิทธิ์ในเรื่องของการปล่อยให้พื้นที่หลายแห่งที่ขัดแย้งกันในเรื่องของพรมแดนเขมรกับไทย ถูกมองว่ายกให้กับเขมรไปโดยใช้แผนที่ 1/200,000 นี่คือประเด็นความขัดแย้งที่รุนแรงมาก และผมเชื่อว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ง่าย เพราะว่ารัฐบาลไทยจะเอา7คนนี้กลับมาได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อเอามาแล้ว มันย้อนกลับไปถึง 3 คนที่เคยเอากลับมาแล้ว รัฐบาลไทยไปยอมรับว่า รัฐบาลไทยเข้าไปในพรมแดนเขมร ทั้งๆที่ไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นพรมแดนเขมรจริงหรือไม่ อาจจะเป็นพรมแดนไทยก็ได้ถ้าใช้ข้อขัดแย้งเรื่องพรมแดนอยู่ แต่เท่ากับเป็นการยอมในทีไปเรียบร้อยแล้วว่าพื้นที่ที่ 3 คนเดินอยู่นั้นเป็นของเขมร ทั้งๆที่อาจจะเป็นของไทย นี่คือประเด็นที่รัฐบาลต้องตอบให้ชัดเจนว่า ไม่เพียงช่วยให้หลุดจากคดีแล้วออกจากประเทศเขมรได้ พ้นจากคุกได้แต่ได้ยอมให้พื้นที่นั้นเป็นของเขมรจริงหรือไม่ นั่นคือประเด็นที่คนรอฟังอยู่ อย่าลืมว่าทางเทคนิคถ้าเรายอมแบบนี้ก็เหมือนกับตอนเขาพระวิหาร เมื่อข้าราชการไทยหรือคนฝั่งไทย ขึ้นไปอยู่บนเขาพระวิหารแล้วบังเอิญมีธงฝรั่งเศสติดอยู่ นั่นเป็นหลักฐานสำคัญที่เท่ากับยอมรับในทีว่าตรงบริเวณเขาพระวิหารเป็นของฝรั่งเศสซึ่งยึดครองเขมรอยู่ อันนี้อันตรายมากว่าถ้าเรายอมอีกและเราบอกว่า 3คนที่เราเคยถูกจับในอดีตปล่อยออกมาคือ ขออภัยโทษออกมา แปลว่ายอมรับว่าเขาอยู่ในพื้นที่เขมร ถ้าจุดที่เขาถูกจับเป็นพื้นที่เขมร เรากับรัฐบาลไทยไปขอให้ปล่อยออกมาบนฐานที่ยอมรับว่าให้อภัยโทษ ก็ถือว่าเป็นพื้นที่เขมร รอบนี้ก็จะเป็นอย่างนั้นอีกหรือไม่ ผมจึงตั้งขอสังเกตว่าคราวนี้เป็นปัญหาที่รัดตัวคุณอภิสิทธิ์ที่แก้ตัวลำบาก คุณอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหาในสิ่งที่เขาพูดคือ คุณพนิช ที่ออกในyoutubeที่เขมรปล่อยออกมาว่า คุณอภิสิทธิ์รู้อยู่คนเดียวแปลว่าเหตุการณ์นี้คุณอภิสิทธิ์รู้เรื่องที่จะให้ไปร่วมมือไปอยู่ตรงนั้น แล้วคุณพนิชเดินเข้าไปโดยเต็มใจ คุณวีระ พาเข้าไป นั่นแสดงว่าเวลานี้เป็นประเด็นที่พันธมิตรกำลังชงให้รัฐบาลจำเป็นต้องตอบว่าตรงพื้นที่ที่ได้เดินเข้าไป ถ้าใช้แผนที่ 1/200,000 เป็นของเขมรหรือเป็นของไทย การที่รัฐบาลไทยออกมา กระทรวงต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเลขานุการหรือรัฐมนตรี ประกาศว่าเขาไปเข้าพรมแดนของเขมรเท่ากับเป็นการยอมรับว่าตรงนั้นเป็นที่ของเขมร ผมจึงมีความกังวลว่า ครั้งนี้รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์จะเจอประเด็นสำคัญเลยว่าเป็นคนรับรองว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นของเขมร คำถามจึงอยู่ที่ ต้องตอบประชาชนให้กระจ่างเลยว่า เป็นของเขมรหรือไม่เป็น ผมจึงขอฝากประเด็นนี้ไว้ให้พิจารณาและก็ช่วยตอบให้ชัดเจน ประเด็นจึงไกลไปกว่าการปล่อยคน 7คนแต่ต้องปล่อยให้ถูกต้อง เพื่อที่ไม่ให้รู้สึกว่าปัญหาพรมแดนได้ถูกอนุญาตให้ยอมรับไปในทีว่าเป็นพรมแดนของเขมร ของเขมรหรือของไทยขอพิสูจน์ให้ผมดูหน่อยได้ไหมครับ ผมเป็นประชาชนอยากรู้จริงๆครับ


ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโสมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
 



จาก YOUTUBE


ภาพข่าวจาก นสพ.

จาก เนชั่น
 
จากเดลินิวส์

เนื้อหาข่าวที่เกี่ยวข้อง 
ข่าวสด พาดหัวหลัก เขมรหยุด 3 วันขังไทยต่อ หลังศาลไต่สวน ขึ้นต่อไป-ส่งอัยการดูอาจมีสั่งสอบเพิ่มเติม ตู่เปิดคลิปเต็ม20 นาที เย้ยมาร์คคนหลงทาง 7 คนไทยเบิกความต่อศาลเขมร ครบหมดทุกคนในวันเดียว แต่ทุกคนยังต้องถูกขังต่อไป


มติชน พาดหัวหลัก ยัดข้อหาสปาย-ล้ำแดนซ้ำ วีระโวยเขมร ไต่สวน7คนไทย11ชั่วโมง ติด “วันชาติ” นอนคุกยาว ลุ้นประกันตัว-ตัดสิน10มค. สุเทพเล็งขอพระราชทานอภัยโทษให้7คนไทย ศาลเขมรไต่สวนมาราธอนแล้วขังต่อ วีระโวยกัมพูชาจ้องยัดข้อหาจารกรรม เหตุล้ำแดนซ้ำซาก กลุ่มเครือข่ายคนไทยยื่นหนังสือสถานทูตประท้วง

ไทยโพสต์ พาดหัวหลัก รอประกันตัว 10 ม.ค.ไต่สวนเสร็จ7ไทยคุกต่อ! ปฐมพงษ์ยุกองทัพขู่เขมร ทพเพื่อศักดิ์ศรี ไล่ขายเต้าฮวยถ้าไม่ชัดเจนจะพาทหารพิการไปแสดงตัวที่ชายแดน

เดลินิวส์ พาดหัวหลัก ศาลเขมรจ่อเพิ่ม้อหา วีระโวยขัง 7คนไทยงดประกัน พนิชให้การเจตนาไม่คิดล้ำแดนพธม.ขู่ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ ศาลพนมเปญไต่สวนกลับ 7 คนไทย ประเดิมพนิชคนแรก ให้การยืนยันไม่ได้เจตนา-คิดว่าเป็นดินแดนฝั่งไทย

ไทยรัฐ พาดหัวหลัก ก็ยังเป็นเรื่องการเมืองที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ 10 ม.ค. ลุ้นอิสรพภาำพ 7คนไทยหลังศาลตัดสินคดี และอีกประเด็น ภท.อ้ารับพท.โหวต400ส.ส.เขต เทือกบอกไม่กลัวพรรคร่วมจับทือกัยพท.เมินนปช.ฟ้องศาลโลก

drdancando prof. Kriengsak Chareonwongsak กับคำวิพากษ์เงินเดือน สส สว

drdandanco เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กับคำวิพากษ์เงินเดือน สส สว

จากคอลัมน์ : ทัศนะวิจารณ์ ในนสพ กรุงเทพธุรกิจ


ทฤษฎีการ เกิดขึ้นของผู้นำ: บทวิเคราะห์การขึ้นเงินเดือน ส.ส. และ ส.ว.

การยืนยันจะขึ้นเงินเดือนให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ของนายกรัฐมนตรี โดยจะนำเข้าสู่วาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ ได้กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในสังคม นายกรัฐมนตรีได้ให้เหตุผลว่าเป็นการขึ้นเงินเดือนให้สอดคล้องกันทั้งระบบ ทั้งแรงงาน ข้าราชการ และองค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้ เงินเดือนนักการเมืองยังต่ำกว่าเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงที่นักการเมือง กำกับด้วย แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นเงินเดือนให้นักการเมือง ให้เหตุผลว่า เงินเดือนของนักการเมืองในขณะนี้สูงกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว และที่ผ่านมา ส.ส.และ ส.ว.ยังทำงานไม่คุ้มค่ากับเงินเดือนที่ได้รับ เห็นได้จากการประชุมสภาที่ล่มบ่อยครั้ง และที่สำคัญ การขึ้นเงินเดือนครั้งนี้อาจเป็นความพยายามซื้อ

ขึ้นเงิน เหมาะหรือไม่

professor Kriengsak chareonwongsak
เสียงจาก ส.ส.ในการสนับสนุนให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ ในความเห็นของผม การจะวิเคราะห์ว่าเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.ในปัจจุบันเหมาะสมหรือไม่ และควรขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส.และ ส.ว.หรือไม่ เราควรทำความเข้าใจบริบทและที่มาของ ส.ส.และ ส.ว.เสียก่อน ผมจะขออธิบายประเด็นข้างต้นด้วยทฤษฎีที่ผมคิดขึ้นมา คือ "ทฤษฎีการเกิดขึ้นของผู้นำ (Model of Leadership Emergence)" ทั้งนี้ หากเราพิจารณา ส.ส.และ ส.ว.ในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของผู้นำทางสังคม เราจะพบว่าการเกิดขึ้นของผู้นำนั้นมีหลายลักษณะในกรณีของประเทศจีน ผู้นำทางการเมืองมาจากล่างขึ้นบน โดยเริ่มต้นจากการเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ถ้าไม่ใช่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จะขึ้นมาเป็นผู้นำไม่ได้ ระบบการคัดสรรผู้นำของจีนเน้นระบบอาวุโส ใช้เวลากลั่นกรองนาน ผู้นำจีนส่วนใหญ่จึงมีอายุมาก มีความสุกงอมทางความคิด มีเสถียรภาพ หนักแน่น และถูกเพาะบ่มมาเป็นเวลานาน ผู้นำแต่ละคนกว่าจะขึ้นมาได้ต้องผ่านประสบการณ์โชกโชนและหลากหลาย เพราะต้องผ่านการทดลองงานมาหลายด้าน จากงานเล็กไปงานใหญ่ ต้องพิสูจน์ตัว มีผลงาน คนที่ผลงานไม่เข้าตา จะไม่ได้รับโอกาสให้ขึ้นมาเป็นผู้นำ ผู้นำจึงไม่ได้มาเพื่อทดลองงาน ทำให้ประเทศมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายน้อย ส่วนกรณีประเทศสิงคโปร์ ผู้นำทางการเมืองมาตามความสามารถ ไม่สนใจระบบอาวุโส แต่สนับสนุนคนเก่ง คนมีความสามารถ (Merit System) หากเป็นคนเก่งจะสามารถไปได้เร็ว เพราะมีกลไกลู่วิ่งเร็ว (Fast Track) และมีกลไกให้เกิดการแข่งขันรุนแรง โดยเฉพาะกลไกราคา ข้าราชการที่เก่งจะได้รับเงินเดือนสูง จนอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเงินเดือนเอกชนและนักการเมือง ด้วยระบบเช่นนี้คนเก่งจะปรากฏออกมาให้เห็น นอกจากนี้ ผู้ที่จะขึ้นเป็นผู้นำยังมีโอกาสได้ทำงานหมุนเวียนไปในหลายหน่วยงาน ทำให้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย หากเราหันกลับมาพิจารณากรณีของประเทศไทย เราจะพบว่าผู้นำทางการเมืองของไทยส่วนใหญ่นั้นมาจากคนที่มีทุน หรือเป็นผู้ที่มีนายทุนให้การสนับสนุน โดยนายทุนจะเลือกสนับสนุนคนที่ตนเองสามารถเข้าไปมีอิทธิพลได้ ซึ่งแน่นอนว่า นายทุนส่วนใหญ่จะให้การสนับสนุนคนที่มีแนวโน้มได้รับชัยชนะมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงไม่มีผู้นำทางการเมืองหน้าใหม่หรือจากพรรคใหม่ แม้อาจมีผู้ที่มีความสามารถและมีอุดมการณ์สูง แต่จะไม่สามารถแข่งขันได้ หากไม่ได้การสนับสนุนจากนายทุนหรือไม่มีทุนมากพอ ระบบการเกิดขึ้นของผู้นำของไทยนั้น ไม่มีการแข่งขัน ค่าจ้างของคนเหล่านี้ไม่เป็นไปตามกลไกราคา ทำให้ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ตัว และไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีความสามารถ เราจะเห็นได้ว่า นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงที่ทำหน้าที่ควบคุมรัฐวิสาหกิจกลับได้รับ เงินเดือนน้อยกว่าผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจเสียอีก ซึ่งเป็นระบบที่ผิดปกติ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงมักจะไม่ค่อยได้คนเก่งมาทำงานราชการ และเข้ามาเป็นนักการเมือง ขณะที่องค์กรที่จะได้คนเก่งและมีความสามารถ คือ องค์กรธุรกิจ เพราะมีกลไกที่สามารถกลั่นกรองผู้นำ ตามระบบผลประโยชน์ของบริษัทได้ หากวิเคราะห์ประเด็นการขึ้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.ตามทฤษฎีการเกิดขึ้นของผู้นำ ผมคิดว่าเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.ของไทยในปัจจุบันถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ ผมคิดว่าควรมีการขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส.และ ส.ว. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะต้องสร้างกลไกให้มีการปรับปรุงในสองเรื่องหลักๆ คือ ต้องให้มี "การแข่งขันมากขึ้น" โดยเป็นการแข่งขันที่ความรู้ความสามารถ ไม่ใช่แข่งในการหาเสียงเท่านั้น เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความสามารถเข้าสู่ตำแหน่งได้มากขึ้น และอีกกลไกที่สำคัญด้วย คือ การทำให้การแข่งขันทำได้อย่างเสมอภาคไม่ว่ามีเงินหรือไม่มี เพื่อให้คนดีคนเก่งสามารถเข้าสู่การแข่งขันทางการเมืองอย่างเสมอภาค นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับ "การเพิ่มโทษของการคอร์รัปชันและการปราบทุจริตให้รุนแรงขึ้น" ดังนั้น เงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ หากมีการลงโทษนักการเมืองอย่างหนัก หากจับได้หรือมีแนวโน้มว่าจะมีการทุจริต นอกจากนี้ คดีทุจริตของนักการเมืองนั้นจะต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่มีอายุความด้วย การขึ้นเงินเดือน ส.ส.และ ส.ว.โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในตัวระบบอื่นๆ เพื่อรองรับนั้น อาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นหรือเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากนัก หากแต่จะยิ่งเพิ่มข้อครหาให้แก่ผู้ที่ได้ชื่อว่า "นักการเมือง" มากขึ้น


ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด



Kriengsak Chareonwongsak:เศรษฐกิจไทยปี 54

drdan Kriengsak Chareonwongsak:เศรษฐกิจไทยปี 54

drdancando ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับเศรษฐกิจปีนี้ดังนี้


ผมจึงเชื่อว่าเศรษฐกิจโตประมาณนี้คงโตได้อย่างที่บอกปีหน้า แต่มีสัญญาณการชะลอตัวในทุกตัวๆ โตแบบชะลอ ไม่ได้ชะลอแบบชะลอ โตแบบชะลอหมายความว่า เช่นการส่งออกเห็นชัดเลยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสท้ายๆ เริ่มช้าลงมาก เราเห็นตัวเลขการส่งออกไทยช่วงแรกๆ ครึ่งปีแรก ปี 53 ส่งออกประมาณ 45% ถ้าจำไม่ผิด ในเดือนท้ายๆ เหลือ 10 กว่า % นั่นแสดงว่าอาการการส่งออกจะช้าลงแล้ว ถ้าส่งออกช้า เศรษฐกิจไทยโตไม่ทันการส่งออกก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยโตช้าลง การลงทุนของภาคเอกชนก็ชัดว่านักลงทุนภาคเอกชนในเวลานี้แม้สถานการณ์เอื้อให้เขาควรจะลงทุนให้แล้ว เพราะว่ากำลังผลิตของเครื่องจักรทั้งหลายใช้ไปแล้ว 70-80% เป็นส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย นั่นหมายความว่าถึงเวลาจะขยายการลงทุน สร้างเครื่องจักร สร้างโรงงานใหม่ก็จริง แต่ปรากฏว่าสิ่งที่เกิดขึ้นน่าสนใจมาก นักลงทุนเหยียบเบรกช้าลง ทำไมเป็นเช่นนั้น อาจเป็นเพราะว่านักลงทุนยังมองว่าปีหน้ายังไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าการเมืองจะเป็นอย่างไร ความอึมครึมของสถานการณ์การเมือง จะยุบสภาเมื่อไหร่ เลือกตั้งมาแล้วใครจะเป็นรัฐบาล นโยบายจะเปลี่ยนหรือไม่ ก็ทำให้นักลงทุนโดยธรรมชาติเหยียบเบรก พอเหยียบเบรกก็จะไปมองประเทศอื่นที่เป็นคู่แข่ง ที่พอจะไปได้ ตรงนี้เป็นเหตุที่อยากบอกว่าถ้ารัฐบาลอยากจะยุบสภาก็ต้องให้ชัดไปเลยว่ายุบเมื่อไหร่ นักลงทุนจะได้วางแผนได้ จะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยไม่กระเทือนโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าเกิดว่าพูดคลุมเครืออย่างนี้เพื่อดูเกมการเมืองว่าจะยุบเมื่อไหร่เพื่อได้ประโยชน์ ผมกลับคิดว่าทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ
บทความวิเคราะห์ โดย Professor Kriengsak Chareonwongsak

ทางเศรษฐกิจ ผมอยากเห็นการประกาศชัดเจนว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ ตรงนี้จะช่วยให้นักลงทุนวางแผนได้ คำนวณเวลาได้ จัดการตัวเองได้ ดังนั้นเรื่องการลงทุนจะเป็นตัวสำคัญซึ่งจะเติบโตไม่แรงนักในบรรยากาศที่ผมเล่าเป็นตัวอย่าง การบริโภคภาคเอกชนเป็นการบริโภคที่จะต้องไปได้ไม่แรงนัก ชะลอตัวอยู่ สาเหตุมาจาก

ในส่วนแรก ปัญหาเงินเฟ้อเกิดขึ้น กำลังแรงขึ้น หักลบกลบกลับแม้ว่าได้รายได้เพิ่ม เช่น ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มประมาณ 8-10 บาท เฉลี่ยแล้วกว่า 11 บาท แต่หนุนให้เกิดการมีเงินในกระเป๋าไปใช้ของคนที่ได้เงินขั้นต่ำก็จริง หรือว่าค่าแรงของเงินเดือนข้าราชการก็ดีหรือนักการเมืองเพิ่มก็ดี คนเหล่านี้อาจจะใช้มากขึ้นก็จริง แต่ไปหักลบกลบกับเงินเฟ้อนั่นส่วนหนึ่ง

อีกส่วนที่สอง ผมมีความรู้สึกว่าประชาชนยังไม่ค่อยมั่นใจว่าสถานการณ์อนาคตจะเป็นอย่างไร ตัวเลขการใช้เงินจึงไม่ได้รุนแรงเหมือนอย่างที่อยากที่จะเห็น ฉะนั้นการบริโภคไม่ได้กระตุ้นอย่างรุนแรงนัก มันก็ไปตกอยู่ที่ตัวสำคัญตัวหนึ่งก็คือ การใช้จ่ายภาครัฐ เห็นชัดว่ารัฐบาลกระตุ้นอย่างแรง ตั้งงบประมาณขาดดุลค่อนข้างมาก จาก 2 ล้านล้าน งบประมาณแผ่นดินขาดดุลถึง 4 แสน 2 หมื่นล้าน นั่นหมายความว่าตั้งใจกระตุ้นเงินใช้จ่ายภาครัฐ และก็มีเงินไทยเข้มแข็งอีกประมาณ 2 แสนถึง 5 แสนล้าน ตรงนี้เองเป็นตัวที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามคงจะทำได้ถึงจุดหนึ่ง แบบที่เห็นเศรษฐกิจไทยปีหน้า คิดว่าโตประมาณ 3.5 – 4.7 % เป็นไปได้อยู่ที่สถานการณ์ นั่นคือสภาพที่เห็นอยู่

เราสมมติว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในสถานะที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนมาก เราสมมติว่าค่าเงินของเรานั้นจะอยู่ในสภาพที่ไม่สร้างปัญหาให้กับเรามากจนเกินไปซึ่งก็คงอยู่ในสภาพที่พอรับได้ วันนี้อย่าดูระบบเศรษฐกิจที่ตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีตัวเลขที่แสดงอาการพุ่งทะยานเป็นอันดับต้นๆ แต่มิได้หมายความว่านั่นคือสภาพจริงของเศรษฐกิจทั้งหมด เดี๋ยวจะต้องมีการปรับฐานในครึ่งปีแรก ตลาดหลักทรัพย์จะต้องปรับฐานพักหนึ่ง และก็ปรับกลับขึ้นไปใหม่ได้ แต่ต้องปรับลงอีกช่วงใดช่วงหนึ่ง ดังนั้นอย่าสนใจเรื่องตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก แม้ว่าตลาดหลักทรัพย์จะสะท้อนภาพจริงระยะยาว แต่ระยะสั้นไม่ใช่ ผมจึงอยากฝากว่าสิ่งที่เราต้องคำนึงมากๆ ไม่ใช่เรื่องอาการเศรษฐกิจว่าตัวเลขโตไม่โตเท่านั้น ต้องดูเรื่องอื่นอีกหลายเรื่อง ระยะยาวเศรษฐกิจไทยสามารถต่อสู้ได้หรือไม่ แข็งแกร่งหรือไม่ และตรงนี้คือหน้าที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องคำนึงมาก ผมกังวลมากเมื่อฝ่ายการเมืองทุกพรรคที่มาเป็นรัฐบาลมักจะสนใจเรื่องการเลือกตั้ง จึงปั๊มเศรษฐกิจแรงโดยใช้เงินอัดลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคนี้จะเห็นประชานิยมเต็มรูปแบบใส่ลงไปมากที่สุดกว่าครั้งใดๆ ผมกังวลว่าถ้าเราคิดในสไตล์นี้ ต่อไปเศรษฐกิจไทยจะไม่มีใครดูแลภาพระยะยาวอย่างแท้จริง ก็จะอ้างเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ ไปบ้าง แต่จริงๆ แล้วเงินเรามีไม่เยอะพอ เพราะว่าเงินของเราเหลือ 10 กว่า % เท่านั้น ที่เอาไว้ใช้ลงทุน ที่เหลืองบแผ่นดินใช้เป็นเงินเดือนประจำบ้าง และ 10 กว่า % นี้ มีเงินอยู่นิดเดียวเท่านั้นเองที่จะใช้ในการลงทุน และเราจะทำอย่างไร ถ้า 10 กว่า % นั้น รั่วไหลไปประมาณ 30 % ถ้าพูดตามประธานหอการค้าพูดว่ามีคอร์รัปชั่นไป 30 % หมายถึงเงินเหลืออยู่นิดเดียวในการจะไปลงทุนระยะยาว ผมกังวลว่าวิธีการจัดการบ้านเมืองโดยพรรคการเมืองปัจจุบัน ทุกพรรคที่ทำกันมา และถ้ายังปล่อยการเมืองเป็นน้ำเน่าอย่างนี้อยู่ บ้านเมืองจะถอยหลังเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ไม่ได้บินถอยหลังเหมือนเครื่องบินบินถอยหลัง บินไปข้างหน้าแต่บินไปข้างหน้าช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เห็นชัดๆ เราพ่ายแพ้ทุกประเทศรอบข้างหมดแล้ว ในอดีตไกลๆ พอใกล้จะสู้ญี่ปุ่นได้เมื่อยุคเก่าโบราณ เมื่อก่อนชนะเกาหลีจนแพ้เกาลี เมื่อก่อนชนะไต้หวันจนแพ้ไต้หวัน เมื่อก่อนเรารวยกว่าสิงคโปร์ตอนนี้สิงคโปร์รวยกว่าเรา 10 กว่าเท่า เมื่อก่อนเรากับมาเลเซียพอฟัดพอเหวี่ยง เดี๋ยวนี้มาเลเซียทิ้งเราขาด และทีนี้จะไปแข่งกับเวียดนามมันก็ถอยหลังตลอด เพราะการเมืองที่ไม่ดูแลเศรษฐกิจ

ผมอยากฝากว่าจำเป็นที่ต้องได้รัฐบาลที่ดี ที่สนใจภาพอนาคตของประเทศ ที่มีวิสัยทัศน์ ต้องระมัดระวังการทำการเมืองสไตล์น้ำเน่า เป็นการเมืองสไตล์ลดแลกแจกแถม ประชานิยม ทุ่มเทจ่ายเงินราคาถูก เพื่อหวังจะได้คะแนนเสียง เรื่องนี้เป็นเรื่องอันตรายและเรื่องคอร์รัปชั่นต้องเลิก ไม่เลิกประเทศไทยจะมีปัญหาร้ายแรง

drdancando vdo link