Tuesday, November 30, 2010

คำถาม : คลื่นอารยะ 7 ลูก

คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2553
ถามว่า :


คลื่นอารยะ 7 ลูก ตั้งแต่คลื่นลูกที่ 0 ตั้งแต่โบราณกาล
จนถึงคลื่นลูกที่ 6 ในอนาคต ที่พึงประสงค์ มีชื่อคลื่นว่าอะไรบ้าง?

Sunday, November 28, 2010

คำถาม : บวกเป็น บวก บวก


คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553
ถามว่า :


กระบวนการอารยาภิวัฒน์ ระยะที่สาม เป็นการพัฒนาให้ดีที่สุด โดยมีความดีและความถูกต้องเป็นตัวกำกับ หรือจาก + ให้เป็น ++ เรียกว่าอะไร? ยกตัวอย่างสัก 1 เรื่องที่เราต้องการตั้งเป้าหมายพัฒนาไปสู่ความดีสูงสุด

Thursday, November 25, 2010

คำถาม : ศูนย์เป็นบวก


คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2553
ถามว่า :


กระบวนการอารยาภิวัฒน์ ระยะที่สอง เป็นการพัฒนาให้ดีขึ้นจากเป็น 0 ให้เป็น + เรียกว่าอะไร? ยกตัวอย่างสัก 1 เรื่องที่เราต้องการตั้งเป้าหมายพัฒนาให้ดีขึ้น

Wednesday, November 24, 2010

professor kriengsak chareonwongsak planning for good working

professor-kriengsak-chareonwongsak
แม้แผนงานนั้นจะดีเลิศ และมีความเป็นไปได้มากเพียงใดก็ตาม แต่หากปราศจากผู้นำที่ดี แผนนั้นก็เป็นเพียงแค่เศษกระดาษที่หาคุณค่าอันใดมิได้

ปรัชญาผู้นำองค์กร

เป็นตัว

สะท้อน

ปรัชญา และ

ความสำเร็จ

ขององค์กร
หากหน่วยงานใดเจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จอย่างสูง เราสามารถสันนิษฐานได้เลยว่า หน่วยงานนั้นมีผู้นำที่ดีอยู่ที่นั่น
ภาวะขาดแคลนผู้นำเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทุกยุคทุกสมัยกว่าจะหาผู้นำได้สักคนนั้น ยากดุจงมเข็มในมหาสมุทร
แต่ปัญหาที่เลวร้ายและรุนแรงเสียยิ่งกว่าภาวะขาดแคลนผู้นำ
นั่นคือ ปัญหาการขาดผู้นำที่มีคุณลักษณะ “คุณภาพ” สูง “ศักยภาพ” สูง และ “คุณธรรม” สูง
การไร้ผู้นำนั้น เปรียบประดุจเรือเดินทะเลขาดกัปตัน เมื่อเจอพายุโหมกระหน่ำ ลูกเรือก็เคว้งคว้าง สับสน หวาดหวั่น เพราะควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวยังไม่รุนแรง เท่ากับการมีผู้นำที่เลวร้าย เพราะแม้คลื่นลมสงบก็ทำให้เรืออับปาง และลูกเรือทั้งหมดเสียชีวิตได้
ผู้นำ เป็นผู้ที่กำหนดผลปลายทางของคนอื่น ยากนักที่คนจะไปไกลกว่าผู้นำของเขา เพราะผู้นำเป็นเสมือนสมองคอยสั่งให้เท้าเดินไปตามทางที่ต้องการ เป็นไปไม่ได้ที่เท้าจะเดินไปถูกทิศทาง ก่อนสมองสั่งการ

คัดจากหนังสือข้อคิดเพื่อผู้นำ ของ ศ.ดร. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Tuesday, November 23, 2010

คำถาม : ลบเป็นศูนย์


คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553
ถามว่า :


กระบวนการอารยาภิวัฒน์ ระยะที่หนึ่ง การแก้ปัญหาต่าง ๆ
จากเคยติดลบ (-) ให้กลายเป็น 0 เรียกว่าอะไร?
ยกตัวอย่างสัก 1 เรื่องที่เราต้องการให้แก้ไข

ผู้นำ กับข้อคิดดี ๆ (ต่อ)

professor-kriengsak-chareonwongsak
  • ผู้นำ

    คือ บุคคลที่เปี่ยมล้นไปด้วยภาระใจ เป็นผู้ปรารถนา ที่จะเห็นเป้าหมายแห่งความฝันของส่วนรวมสัมฤทธิผล
  • ผู้นำ

    คือคนธรรมดาที่มี “ใจ” เกินธรรมดา
  • ทุกคนล้วนมีปรัชญาอยู่เบื้องหลังความคิดของตนเองเสมอ แต่ผู้นำคือคนที่สามารถนำปรัชญานั้นมาใช้เพื่อก่อประโยชน์หรือเกิดโทษต่อคนจำนวนมากได้
  • ผู้นำเปรียบเสมือนเด็กที่ดึงสายป่าน บังคับทิศทางของว่าวด้วยความเต็มใจ ปลื้มปิติที่เห็นว่าวมีอิสระในการล้อเล่นลม เขาจึงรับผิดชอบไม่ปล่อยให้สายป่านหลุดมือจนว่าวลอยเคว้งคว้างอย่างไร้ทิศทาง
  • ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ เริ่มต้นจากประชากรคุณภาพ ผู้ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากผู้นำที่สูงด้วยศักยภาพ ในการถ่ายทอดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ แนวทางการดำเนินชีวิต และการเสียสละเพื่อส่วนรวม
  • ปัญหาของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ จะถูกแก้ไขอย่างถาวรก็ต่อเมื่อมีผู้นำที่กล้ายืนหยัดในหลักการที่ถูกต้อง


คัดจากหนังสือข้อคิดเพื่อผู้นำ ของ ศ.ดร. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (Professor Kriengsak Chareonwongsak)

Monday, November 22, 2010

คำถาม : อารยาภิวัฒน์

คำถาม : สยามอารยะ ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553
ถามว่า :

อารยาภิวัฒน์ หรือกระบวนการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นอารยะหรือประเทศที่เจริญแล้ว แบ่งการดำเนินการเป็นกี่ระยะ ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

Friday, November 12, 2010

ข้อคิด คำคม


  • เราไม่อาจทำงานที่ยิ่งใหญ่กันได้ทุกคน

    แต่เราทำงานเล็ก ๆ ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ได้ (แม่ชีเทเรซ่า)
  • ผมไม่สามารถทำทุกอย่างเพื่อทุกคนได้ แต่ผมสามารถทำบางอย่างเพื่อใครบางคนได้ และ อะไรที่ผมทำได้ ผมก็ต้องทำ (ดร.บ๊อบ เพียส)
  • สิ่งสำคัญในชีวิตคือ มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ และ ความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย (โยฮัน วูลฟ์กัง ฟอน์ เกอเต้)
  • การมีความคิดจิตใจที่ดี ยังไม่เพียงพอ สิ่งทำสำคัญ คือ ต้องรู้จักใช้ความคิดนั้นให้ดี ด้วย (เรอเน่ เดสคาร์ทส์)